ซุนแด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซุนแด
ประเภทไส้กรอก
แหล่งกำเนิดเกาหลี
ชาติที่มีอาหารประจำชาติที่เกี่ยวข้อง เกาหลีเหนือ
 เกาหลีใต้

ซุนแด (เกาหลี순대; อาร์อาร์sundae; เอ็มอาร์sundae) เป็นอาหารเกาหลีประเภทไส้กรอก[1][2] ซุนแดเป็นอาหารริมทางที่นิยมทั้งในเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้[3][4] โดยทั่วไปแล้ว ส่วนผสมไส้กรอกจะบรรจุในไส้วัวหรือหมูแล้วนำไปนึ่ง[5]

ประวัติ[แก้]

ประวัติของซุนแดสืบย้อนไปได้ถึงราชวงศ์โครยอ โดยในสมัยนั้นนิยมใช้หมูป่าเนื่องจากมีมากในคาบสมุทรเกาหลีในช่วงเวลานั้น[6] สูตรการทำซุนแดพบได้ในตำราอาหารเกาหลีหลายฉบับในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เช่น คยูฮับชงซอ และ ซีอึยจ็อนซอ เป็นต้น[7]

ซุนแดแบบดั้งเดิมจะใช้ไส้วัวหรือไส้หมู โดยส่วนผสมที่เป็นไส้ในนั้นประกอบด้วยเลือด (ซ็อนจี) เนื้อบด ข้าว และผัก และมักจะรับประทานในโอกาสพิเศษหรืองานเลี้ยงในครอบครัว[8] อย่างไรก็ตาม หลังสิ้นสุดสงครามเกาหลีเกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วคาบสมุทรเกาหลี ทำให้เนื้อสัตว์หาได้ยาก ซุนแดในเกาหลีใต้จึงเปลี่ยนมาใช้วุ้นเส้น (ทังมย็อน) แทนเนื้อ ซุนแดกลายมาเป็นอาหารข้างถนนที่หาได้ตามร้านขายอาหารว่าง (พุนชิกจิบ) แผงลอย (โพจังมาชา) หรือตามตลาดทั่วไป[8][9]

ซุนแดชนิดอื่น ๆ[แก้]

ซุนแดนึ่ง

ไส้ของซุนแดสูตรของชาวเกาหลีเหนือ ชาวเกาหลีในเครือรัฐเอกราช (โครยอ-ซารัมและชาวเกาหลีซาฮาลิน)[10] และชาวเกาหลีในประเทศจีนจะประกอบด้วยเลือด เนื้อบด ข้าว และผักตามธรรมเนียมดั้งเดิม ในขณะที่สูตรของชาวเกาหลีใต้ในปัจจุบันจะใช้วุ้นเส้นเป็นไส้แทน[11][12][13][14] ส่วนประกอบอื่น ๆ ที่อาจผสมลงไปด้วยได้แก่ใบแกนิบ (คล้ายกับใบชิโซะของญี่ปุ่น) ต้นหอม ทเว็นจัง (ถั่วเหลืองหมัก) กิมจิ และถั่วงอกหัวโต (ถั่วเหลืองงอก)[15]

ซุนแดสูตรอื่นในภูมิภาคได้แก่อาบาอีซุนแดจากฮัมกย็องและพย็องอัน[8] แคซ็องซุนแด (개성순대) จากแคซ็อง แพกัมซุนแด (백암순대) จากยงอิน เชจูซุนแด (제주순대) จากเกาะเชจู พย็องช็อนซุนแด (병천순대) จากชุงช็อง และอัมปงซุนแด (암뽕순대) จากช็อลลา[16]

ซุนแดบางชนิดยังใช้อาหารทะเลเป็นส่วนกรอกแทนไส้หมูหรือไส้วัว[15] โอจินกอซุนแด (오징어순대) จากคังว็อนใช้หมึกสดเป็นส่วนกรอก ในขณะที่ มารึนโอจินกอซุนแด (마른오징어순대) ในคังว็อนและคย็องกีใช้หมึกแห้ง[7][15] มย็องแทซุนแด (명태순대) จากคังว็อนและฮัมกย็องใช้ตัวปลาพอลล็อกอลาสกา[7][15] และ ออ-กยอซุนแด (어교순대) ทำจากกระเพาะปลาจวด[15][17]

เครื่องเคียง[แก้]

ซุนแดในเกาหลีใต้จะนึ่งรวมกับเครื่องในเช่นตับหรือปอด เครื่องในดังกล่าวจะเสิร์ฟพร้อมกันเป็นเครื่องเคียง[8] ซุนแดที่หั่นเป็นแว่นและเครื่องเคียงจะรับประทานคู่กับเครื่องจิ้มซึ่งจะแตกต่างกันไปตามภูมิภาค ในโซลจะใช้เกลือผสมพริกไทย ในโฮนัมจะใช้โคชูจังผสมน้ำส้มสายชู ในย็องนัมจะใช้ทเว็นจัง และในเกาะเชจูนิยมใช้ซีอิ๊ว[18] ซุนแดที่ขายในร้านของว่าง (พุนชิกจิบ) จะขายร่วมกับต็อกโบกีและทวีกิม (เท็มปูระแบบเกาหลี) ฉะนั้น ซุนแดก็นิยมรับประทานโดยจิ้มในซอสต็อกโบกีเช่นกัน นอกจากนี้ พุนชิกจิบหลายแห่งยังมีอาหารชุด ต็อก-ทวี-ซุน ซึ่งมีทั้งต็อกโบกี ทวีกิม และซุนแด

อาหารที่มีซุนแดเป็นส่วนประกอบ[แก้]

  • ซุนแดกุก (순댓국) – ซุป (กุก) ทำจากซุนแด เครื่องใน และเนื้อ[8][19]
  • ซุนแดบกอึม (순대볶음) – ซุนแด ผัก และโคชูจัง ผัด (บกอึม) รวมกัน[8]
  • แพ็กซุนแดบกอึม (백순대볶음) – ซุนแดบกอึม ที่ไม่ใส่โคชูจัง

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Korean Blood Sausage". The RushOrder Blog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-06-07.
  2. Rufus, Anneli (6 December 2017). "10 Brilliant Uses for Blood Sausage". HuffPost. สืบค้นเมื่อ 19 February 2018.
  3. Kim, Yoo-sung (9 June 2015). "Ask a North Korean: what's Pyongyang's street food speciality?". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 19 February 2018.
  4. "Sillim-dong's Sundae Town (Sundae Bokkeum Alley)". Visit Seoul. Seoul Metropolitan Government. 9 November 2011. สืบค้นเมื่อ 19 February 2018.
  5. Kim, YH Brad; Jang, A (2014). "Ethnic meat products – Japan and Korea". ใน Dikeman, Michael; Devine, Carrick (บ.ก.). Encyclopedia of Meat Sciences (Second ed.). San Diego, CA: Elsevier Academic Press. p. 548. ISBN 978-0-12-384731-7. สืบค้นเมื่อ 19 February 2018.
  6. Eaves, Gregory C. (24 November 2015). "Eat your way across Korea: North Korean blood sausage". Korea.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-12. สืบค้นเมื่อ 11 April 2018.
  7. 7.0 7.1 7.2 서혜경 (1995). "순대". Encyclopedia of Korean Culture (ภาษาเกาหลี). Academy of Korean Studies. สืบค้นเมื่อ 1 June 2008.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 Chang, Sung E. (4 October 2012). "Sundae Bloody Sundae". Roads&Kingdoms. สืบค้นเมื่อ 19 February 2018.
  9. Whitten, Richard (8 February 2017). "Tour Guide: Seoul, South Korea". Paste. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-16. สืบค้นเมื่อ 19 February 2018.
  10. Mishan, Ligaya (16 February 2017). "At Cafe Lily, the Korean-Uzbek Menu Evokes a Past Exodus". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 19 February 2018.
  11. Kim, Jin Kyung (2013). "From Lettuce to Fish Skin: Koreans' Appetite for Wrapped and Stuffed Foods". ใน McWilliams, Mark (บ.ก.). Wrapped & Stuffed Foods: Proceedings of the Oxford Symposium on Food and Cookery 2012. Totnes, Devon, UK: Prospect Books. pp. 233‒234. ISBN 978-1-903018-99-6. สืบค้นเมื่อ 19 February 2018.
  12. Goldberg, Lina (23 March 2012). "Asia's 10 greatest street food cities". CNN Travel (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 April 2012.
  13. Leith, Sam (20 March 2014). "The Edible Atlas: Around the World in 39 Cuisines – review". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 19 February 2018.
  14. Fletcher, Nichola (2012). Sausage: A country-by-country photographic guide with recipes (1st American ed.). New York: Dorling Kindersley. p. 137. ISBN 978-0-7566-8983-4.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 Allen, Gary (2015). Sausage: A Global History. London: Reaktion Books. pp. 79, 103, 110. ISBN 978-1-78023-555-4. สืบค้นเมื่อ 19 February 2018.
  16. "순대". Doosan Encyclopedia (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 1 June 2008.
  17. "어교순대". Doosan Encyclopedia (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 1 June 2008.
  18. 최승호 (22 March 2016). "(온라인)맛있는 스토리텔링<29>순대와 소시지". Seoul Shinmun (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 19 February 2018.
  19. Jung, Alex (11 November 2011). "5 Korean ways to eat a pig". CNN Travel (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 April 2012.