ซีเชลล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซีเชลล์
ผู้ออกแบบPaul Falstad[1]
นักพัฒนาPeter Stephenson และคณะ[1]
วันที่เปิดตัว1990; 34 ปีที่แล้ว (1990)
รุ่นเสถียร
5.9 / 14 พฤษภาคม 2022; 21 เดือนก่อน (2022-05-14)[2]
ที่เก็บข้อมูล
ภาษาที่เขียนภาษาซี
ระบบปฏิบัติการหลากหลาย
ประเภทเชลล์ยูนิกซ์
สัญญาอนุญาตMIT-like[3]
เว็บไซต์www.zsh.org

ซีเชลล์ (Zsh หรือ Z Shell) เป็น เชลล์ยูนิกซ์ ที่สามารถใช้เป็นเชลล์ปฏิสัมพันธ์ และเป็นตัวแปลคำสั่งภาษาที่ทรงพลังสำหรับการเขียนเชลล์สคริปต์ ซีเชลล์เป็นส่วนขยายของบอร์นเชลล์ที่ได้รับการปรับปรุงเป็นอย่างมาก รวมถึงการเพิ่มฟังก์ชันบางประการของแบช เคเชลล์ และทีซีเชลล์

ต้นกำเนิด[แก้]

พอล ฟอลสเตด เขียนซีเชลล์เวอร์ชันแรกในปีคริสต์ศักราช 1990[4] ขณะเป็นนักเรียนที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน[5] ชื่อซีเชลล์มีที่มาจากชื่อล็อกอิน "zsh" ของศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเยลนามว่า Zhong Shao (ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน)[6][7]

คุณสมบัติต่าง ๆ[แก้]

เครื่องมือปรับแต่งสำหรับผู้ใช้ซีเชลล์ใหม่

ซีเชลล์มีคุณสมบัติเช่น:

  • ระบบเติมคำสั่งให้สมบูรณ์ (command-line completion) แบบปรับแต่งได้ ที่รองรับทั้งการเติมคำสั่งและอาร์กิวเมนต์ของโปรแกรม ซึ่งรองรับโปรแกรมหลายร้อยโปรแกรมมาแต่ตั้งต้น
  • การเรียกดูประวัติการเรียกคำสั่งข้ามเชลล์ทั้งหมดที่เรียกใช้อยู่
  • รองรับการทำ file globbing ซึ่งช่วยในการระบุชื่อไฟล์โดยไม่จำเป็นต้องรันคำสั่งเพิ่มเติม (เช่น คำสั่ง find)
  • ปรับปรุงการจัดการตัวแปร/อาเรย์
  • รองรับการป้อนเข้าคำสั่งแบบหลายบรรทัดในบัฟเฟอร์เดียว
  • การตรวจการสะกด
  • โหมดความเข้ากันได้ที่หลากหลาย กล่าวคือซีเชลล์สามารถทำตัวเหมือนเป็นบอร์นเชลล์ เมื่อถูกรันด้วย /bin/sh
  • บรรทัดรับคำสั่งที่สามารถตกแต่งได้ รวมถึงความสามารถในการแสดงข้อมูลบริเวณด้านขวาของหน้าจอ และซ่อนข้อมูลนั้นเมื่อพิมพ์คำสั่งที่ยาว
  • มอดูลสำหรับความสามารถอื่นที่เรียกใช้ได้เพิ่มเช่น ตัวควบคุม TCP และ Unix domain socket ขนาดเต็ม, ไคลเอนต์ FTP, และส่วนขยายฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์
  • คำสั่ง where ซึ่งทำหน้าที่เหมือนคำสั่ง which แต่แตกต่างกันที่จะแสดงรายการคำสั่งทั้งหมดที่ถูกระบุใน $PATH
  • ความสามารถในการตั้งชื่อไดเร็กทอรี ทำให้สามารถตั้งชื่อเช่น ~mydir ซึ่งมีคุณลักษณะคล้าย ~ และ ~user

Oh My Zsh[แก้]

ซีเชลล์ภายใต้ธีม Agnoster ทำงานบนโปรแกรมเลียนแบบเทอร์มินัล Konsole

เว็บไซต์ชุมชนที่ใช้ชื่อว่า "Oh My Zsh" รวบรวมโปรแกรมเสริมและธีมจากแหล่งภายนอกสำหรับซีเชลล์ ภายในปี ค.ศ. 2016 กรุโค้ดโปรแกรมบนกิตฮับของ Oh My Zsh มีผู้ร่วมเขียนมากกว่า 1,000 คน ปลั๊กอินมากกว่า 200 โปรแกรม และธีมมากกว่า 140 แบบ นอกจากนั้น Oh My Zsh ยังมาพร้อมกับเครื่องมือที่คอยจัดการปรับปรุงเวอร์ชันของปลั๊กอินและธีมอยู่เสมอ[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "The Z Shell Manual" (Version 5.0.0). Sourceforge.net. 21 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2012.
  2. "unposted: Release 5.9". sourceforge.net. 14 พฤษภาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2022.
  3. "zsh / Code / [281031] /LICENCE". Paul Falstad. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2015.
  4. "zsh - a ksh/tcsh-like shell (part 1 of 8)". alt.sources. 14 ธันวาคม 1990. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2012.
  5. "Z-Shell Frequently-Asked Questions". Sourceforge.net. 15 กุมภาพันธ์ 2010. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2012.
  6. "The Z-Shell (ZSH) Lovers' Page". Guckes.net. c. 2004. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2012.
  7. "Zsh Mailing List Archive". Zsh.org. 8 สิงหาคม 2005. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2012.
  8. Russel, Robby (23 มีนาคม 2016). "d'Oh My Zsh". freeCodeCamp. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]