ซีป็อป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ซีป็อป (จีนตัวย่อ: 中文流行音乐; จีนตัวเต็ม: 中文流行音樂; พินอิน: zhōngwén liúxíng yīnyuè ; อังกฤษ: C-pop; Chinese Pop) เป็นแนวเพลงของจีน ที่มีการผสมผสานระหว่าง ป็อป, ร็อก, ฮิปฮอป และแนวดนตรีอีกมากมาย แนวซีป็อปได้รับความนิยมมากในแถบที่มีชาวจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น จีน, ฮ่องกง, มาเก๊า, ไต้หวัน, มาเลเซีย และ สิงคโปร์

ที่มาของซีป็อป[แก้]

ศิลปวัฒนธรรมดนตรีจีนมีประวัติความเป็นมายาวนานและมีความหลากหลายจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ในที่นี้จะกล่าวถึง เฉพาะกรณีดนตรีฮั่น (Cantonese Music)ซึ่งเป็นตัวแทนดนตรีขนบประเพณีของจีนมาตลอดเวลา

สมัยสาธารณรัฐ[แก้]

ราชวงศ์ชิงเสื่อม แมนจูเข้าช่วยปราบกบฏชาวนา-ยึดกรุงปักกิ่งเป็นราชธานี ช่วงหลังเกิดปัญหามาก ประเทศตะวันตกแผ่อิทธิพลเข้ามาในจีน เกิดสงครามฝิ่นกับอังกฤษ (1839-42) กบฏไตปิง (1850) สงครามญี่ปุ่น (1894) เกิดขบวนการอั้งยี่ การฉ้อราษฏรบังหลวง ฯลฯ จนกระทั่งพระเจ้าปูยีฮ่องเต้องค์สุดท้ายสละราชสมบัติ ปี 1911จีนเข้าสู่ระบบการปกครองสาธารณรัฐและเป็นการสิ้นสุดประวัติศาสตร์อันยาว นานของดนตรีจีนราชสำนักด้วย เกิดความขัดแย้งระหว่างเก่า-ใหม่ คนรุ่นใหม่ ชนชั้นกลางสนับสนุนเรียนดนตรีตะวันตกกันมากขึ้น มีการตั้งภาควิชา ดุริยางคศาสตร์ในมหาวิทยาลัยปักกิ่งในปี 1923และโรงเรียนศิลปะดนตรีตะวันตกในเซี่ยงไฮ้ปี 1927 ดนตรีฝรั่งกลายเป็นแฟชั่นของปัญญาชนจีนยุคใหม่ในขณะนั้น ส่วนดนตรีแบบฉบับดั้งเดิมและเครื่องดนตรีแท้ๆของจีนกลับเป็นของป่าเถื่อนล้า สมัยไป บทเพลงเกิดใหม่ตั้งแต่ 1930 เป็นต้นมาใช้เทคนิคการประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานแบบตะวันตก เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงก็เป็นฝรั่งอย่างไม่มีทางเลี่ยง รูปแบบคีตนิพนธ์ที่ผลิตออกมามีทั้ง leider, sonata, concerto, symphony, choral และ opera แต่ก็ยังมีคีตกวีรุ่นใหม่บางคนพยายามที่จะหาวิธีประสมประสานระหว่างดนตรีจีน เก่ากับดนตรีตะวันตกเพื่อให้เป็นมาตรฐานใหม่ของวัฒนธรรมจีน นอกจากแนวคลาสสิก ดนตรีพ็อพก็เป็นที่เฟื่องฟูมากโดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจสำคัญคือเมืองเซี่ยงไฮ้ เรียกดนตรีพ็อพนี้ว่า Yellow music เนื้อหาประโลมโลกย์ เทคนิคการร้องแบบตะวันตก ทำนองช้าเนิบหวาน มีงานเพลงใหม่มากมายเล่นในบาร์ ไนต์คลับ งานเลี้ยงสังสรรค์ และมีบทบาทสืบเนื่องไปถึงอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่เกิดใหม่ในจีนด้วย

เมื่อถึงปี 1949 เหมา เจ๋อ ตุง เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสังคมนิยม คอมมิวนิสต์เข้าควบคุมงานทางวัฒนธรรม ย้อนไปเมื่อปี 1937 ประธานเหมาเคยได้กล่าวสุนทรพจน์ที่สภาปฏิวัติเยนอานเกี่ยวกับวรรณคดีและ ดนตรีว่าควรมีหน้าที่ประหนึ่งอาวุธอันทรงพลังที่จะสร้างเอกภาพและให้การ ศึกษาทางจิตสำนึกแก่ประชาชนเพื่อเอาชนะและทำลายล้างข้าศึกที่เป็นปฏิปักษ์ ต่อสังคมนิยม เมื่อปฏิวัติสำเร็จจึงเกิดการสนองตอบในเชิงสร้างสรรค์ดนตรีเน้นนโยบายศิลปะ รับใช้มวลชน mass music ดนตรีเพื่อสังคมนิยมและเพลงชาวบ้านมีบทบาทเด่นมากโดยเฉพาะช่วง 1949-64 เกิดวรรณกรรมเพลง Geming Guqu เพื่อรับใช้อุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์ และหันมาหาวิธีการปรับแนวตะวันตกในการรับใช้จีน สนับสนุนเพลงพื้นบ้าน เพลงปฏิวัติ เพลงเชิดชูสังคมนิยม กรรมาชีพ นิยมเพลงร้องหมู่-เพลงมาร์ชที่แสดงพลังมวลชน มากกว่าเพลงร้องเดี่ยวที่ สื่อศิลปะส่วนตัว งานอุปรากรจีนสดุดีนักรบประชาชนได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขัน รวมทั้งการปรับเปลี่ยนท่วงท่าของการแสดงที่อ่อนช้อยจากจีนเดิมมาสู่การ เคลื่อนไหวแนวขึงขังทรงพลังอย่างบัลเล่ต์รัสเซีย

ยุคปฏิวัติวัฒนธรรม[แก้]

The Cultural Revolution 1966-76 ประธานเหมาเจ๋อตุงรื้อฟื้นอำนาจตนเอง เป็นผู้นำการทำลายล้างปราบปรามบุคคลฝ่ายที่ยังคงคิดเห็นในทางตรงข้ามอย่าง รุนแรงด้วยการสนับสนุนเยาวชนเรดการ์ด กองกำลังติดอาวุธ และการดำเนินงานทางวัฒนธรรมการเมืองซ้ายสุดกู่ภายใต้แก็งค์สี่คน Gang of four ผู้มีบทบาทเด่นในการปรับปรุงระบบวัฒนธรรมคือภรรยาของประธานเหมา นางเจียง ชิง Jiang Qing งดเว้นดนตรีศักดินา (ดนตรีคลาสสิคตะวันตกและดนตรีราชสำนัก) สั่งปิดโรงเรียนและกิจการดนตรีตะวันตกไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมแผ่นเสียง สถานบันเทิง สลายคณะศิลปินพื้นบ้าน ยกเลิกประเพณีโบราณเช่นเทศกาลโคมและแข่งเรือ มีกรรมาธิการตรวจสอบงานแสดงต่อสาธารณะว่ามีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐหรือ ไม่เพียงไรไม่ว่าจะเป็นเนื้อร้องทำนองหรือท่าทางในการแสดง กล่าวได้ว่ายุคปฏิวัติวัฒนธรรมนี้เป็นยุคมืดของดนตรีจีนที่สุดยุคหนึ่ง

ดนตรีจีนยุคปัจจุบัน[แก้]

หลังจากมรณกรรมของประธานเหมา ขั้วอำนาจเก่าสลายตัวลง เติ้ง เสี่ยว ผิง เข้าปกครองแทน ปรับเปลี่ยนแนวทางการเมืองจีนไปในทางผ่อนปรนมากขึ้นรวมทั้งเปิดประตูความ สัมพันธ์กับนานาชาติอีกครั้ง รัฐบาลรุ่นหลังๆใส่ใจปฏิรูปการปกครองและพัฒนาคนในชาติในทุกๆทางอย่างได้ผล ระบบดนตรีเป็นอิสระมากขึ้น คีตกวีรุ่นใหม่ที่มีความสำนึกในชาติ สนใจหันกลับไปพัฒนาดนตรีจีนเดิมให้ทันสมัยมากขึ้น มีการขยายวงดนตรีจีนเดิมจากวงเล็กๆกลายเป็นออร์เคสตร้าขนาดใหญ่ เพิ่มเติมเครื่องดนตรีจีนที่มีสุ้มเสียงแตกต่างเข้าร่วมในวงจีนเดิม พัฒนาการบรรเลงให้มีความร่วมสมัยมากขึ้นจนเป็นที่ยอมรับทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีการตั้งสมาพันธ์ดนตรีแห่งชาติยกย่องเชิดชูเกียรตินักดนตรีจีน เดิมให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม ส่วนดนตรีสากลก็ได้รับการเอาใจใส่อย่างดีจากรัฐบาล มีหน่วยงานการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ จัดการแข่งขันทางดนตรีเพื่อผลิตบุคลากรที่มีฝีมือยอดเยี่ยมออกมามากมาย มีวงดนตรีสากลประจำรัฐ ประจำท้องถิ่น ประจำสถานีวิทยุโทรทัศน์ มีอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดนตรีทุกประเภทส่งออกทั่วโลก

ศิลปินจีนยุคหลังที่มีชื่อเสียง เช่น เสียน ซิงไห่ xian xinghai(1905-45) แต่งเพลงแม่น้ำเหลือง Yellow River Cantata (ต่อมากลายเป็น Yellow River concerto), เฉิน กัง Chen gang และเหอ ซ่าน ห่าว He zhan hoแต่งเพลงบัตเตอร์ฟลายเลิฟเวอร์คอนแชร์โต้ the butterfly lovers concerto, หัว หยั่น จุ้น Hua Yan Jun (1893-1950) หรือ “อาปิง” Ah Bing อัจฉริยะตาบอด แต่งเพลงสำหรับซอเออร์หูจำนวนมาก, เติ้ง ลี่ จวิน (Deng Li-Chun หรือ Theresa Deng) นักร้องเพลงสมัยนิยมจากไต้หวันซึ่งกลายมาเป็นที่นิยมมากในจีน, ตาน ดุน Tan Dun แต่งเพลงแนวก้าวหน้า (modern music) และเพลงประกอบภาพยนตร์ (film music) มีชื่อเสียงมากในปัจจุบัน, ซุย เจี๋ยน (Cui Jian) และ หู เต้เจี๋ยน (Hou Dejian) นักดนตรีร็อคหัวรุนแรงที่มีอิทธิพลต่อคนหนุ่มสาวยุคใหม่ของจีน

ซีป็อปแบบจำแนกประเภท[แก้]

นอกจากนี้ ซีป็อปยังแยกประเภทภาษาจีนของตนอีก เช่น

เป็นแนวเพลงซีป็อปแบบใช้ภาษาจีนกลางเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งศิลปินแนวป็อปจีนกลางที่มีชื่อดังตั้งแต่ยุคอดีตถึงปัจจุบัน เช่น

ฮ่องกง ไต้หวัน

เป็นแนวซีป็อปแบบใช้ภาษาจีนกวางตุ้ง ศิลปินที่ประสบความสำเร็จกับแนวนี้ได้แก่ จางเซี๊ยะโหย่ว, หลินจื่อเสียง, เจินหนี, เฉินอี้ซวิ่น เป็นต้น

และ 2 แนวนี้ได้รับความนิยมในจีนมาก


ซีป็อปในประเทศไทย[แก้]

ในประเทศไทย ซีป็อป มักจะมาในรูปแบบของแฟชั่นการแต่งตัวและทรงผมเป็นส่วนใหญ่ และที่ซีป็อปจะโด่งดังมากก็คือเพลงประกอบละครกับภาพยนตร์เป็นส่วนมาก ซึ่งดาราไทยที่ทำทรงผมแบบนักร้องนักแสดงจีน (ในที่นี้รวมไปถึงฮ่องกงกับไต้หวันด้วย) เช่น หนุ่ม ศรราม, โชคชัย เจริญสุข, มอส ปฏิภาณ เป็นต้น ส่วนอิทธิพลทรงผมชายหญิงไทยยุคนั้น ส่วนใหญ่มาจากกัวฟู่เฉิงกับ หลินจื้ออิง เป็นส่วนมาก

อ้างอิง[แก้]