ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงละคร Neue Musik-Festhalle สถานที่แสดงรอบปฐมทัศน์ ภาพนี้ถ่ายขึ้นในวันซ้อมใหญ่ก่อนการแสดงจริง
กระท่อมที่มาห์เลอร์ใช้เป็นสถานที่ประพันธ์แต่งซิมโฟนีหมายเลข 8 ในปี 1906

ซิมโฟนีหมายเลข 8 ในบันไดเสียง อี แฟลต เมเจอร์ ผลงานของกุสตาฟ มาห์เลอร์ เป็นงานประพันธ์ดนตรีสำหรับการร้องประสานเสียงประกอบดนตรีจากวงออร์เคสตรา เป็นหนึ่งในงานดนตรีคลาสสิกระดับใหญ่ที่ต้องใช้กลุ่มเครื่องดนตรี และนักร้องประสานเสียงจำนวนมากที่สุด จนบางครั้งมีผู้เรียกซิมโฟนีบทนี้ว่า "ซิมโฟนีของคนนับพัน" (Symphony of a Thousand, หมายความว่า ต้องใช้นักดนตรีและนักร้องประสานเสียงถึงหนึ่งพันคนในการแสดง) โดยตัวมาห์เลอร์เองก็ไม่ได้โต้แย้งใดๆ ที่มีคนเรียกซิมโฟนีบทนี้เช่นนั้น

มาห์เลอร์ประพันธ์ซิมโฟนีบทนี้ในช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1906 ขณะพำนักอยู่ที่เมือง Maiernigg ทางตอนใต้ของออสเตรีย และประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง นับตั้งแต่การแสดงรอบปฐมทัศน์ที่โรงละคร Neue Musik-Festhalle มิวนิก เมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1910 ซึ่งมาห์เลอร์เป็นผู้อำนวยเพลงด้วยตนเอง มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 85 นาที

ซิมโฟนีบทนี้ มาห์เลอร์ใช้รูปแบบแตกต่างไปจากซิมโฟนีทั่วไปที่แบ่งออกเป็น 4 มูฟเมนต์ โดยได้แบ่งออกเป็น 2 ภาค ภาคแรกมาห์เลอร์นำบทร้องมาจาก บทเพลงฮิมน์เก่าแก่ต้นฉบับภาษาละติน ชื่อ Veni creator spiritus (Come creator Spirit) ผลงานของราบานุส เมาริอุส บาทหลวงชาวแฟรงก์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ส่วนภาคสองมาห์เลอร์นำมาจากท่อนจบของบทละครภาษาเยอรมัน เรื่อง เฟาสต์ ของโยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ ตอนที่ดวงวิญญาณของเฟาตุส หลุดพ้นจากอำนาจของปิศาจเมฟิสโตฟิลีส

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Symphony_No._8_(Mahler)