ซิดนีย์ เหล่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซิดนีย์ เหล่า แสกเฉิ่ง
เสียชีวิต1987
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยซุน ยัตเซ็น
มีชื่อเสียงจากการสอนภาษากวางตุ้ง
ผลงานเด่นA practical Cantonese-English dictionary
ซิดนีย์ เหล่า
อักษรจีนตัวเต็ม劉錫祥

ซิดนีย์ เหล่า แสกเฉิ่ง (劉錫祥; Sidney Lau Sek-cheung; เสียชีวิต 1987) เป็นครูสอนภาษากวางตุ้งในกองฝึกอบรมรัฐบาลแผนกภาษาจีน และครูใหญ่ของโรงเรียนสอนภาษาของรัฐบาลฮ่องกง[1] เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยซุน ยัตเซ็น มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

ตำราเรียน[แก้]

เหล่าเขียนชุดตำราเรียนในช่วงทศวรรษ 1960 ถึง 1970 เพื่อสอนผู้พูดภาษาอังกฤษให้พูดภาษากวางตุ้งได้ ในตอนแรกชุดตำรานี้ใช้เพื่อสอนชาวตะวันตกที่ย้ายภูมิลำเนามาทำงานในกองกำลังตำรวจฮ่องกงและหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ[2] ต่อมาได้นำชุดตำรานี้มาใช้เป็นหลักในการสอนในรายการวิทยุสำหรับชาวต่างชาติ

หนังสือที่เหล่าเขียนได้แนะนำระบบถอดเป็นอักษรโรมันของตนเอง ซึ่งแตกต่างจากระบบเยลที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และระบบอื่นก่อนหน้านี้อีก 9 ระบบ ตรงที่ระบบนี้จะใช้ตัวเลขเป็นตัวยกเพื่อระบุเสียงวรรณยุกต์ โดยวิธีการนี้ได้ถูกลอกเลียนแบบในอีก 16 ปีต่อมาโดยผู้คิดค้นระบบยฺหวิดเพ็ง ซึ่งใช้กันน้อยแต่เป็นที่นิยมในทางวิชาการ ในฮ่องกงมีอีกระบบที่ใช้กันโดยทั่วไปรองจากระบบของเหล่าและระบบเยล คือ ระบบรัฐบาลฮ่องกง หรือระบบการถอดเป็นอักษรโรมันมาตรฐาน (Standard Romanisation) ที่พัฒนาโดยเจมส์ ไดเออร์ บอล (James Dyer Ball) และแอ็นสท์ โยฮันน์ ไอเทิล (Ernst Johann Eitel) ซึ่งระบบของเหล่ามีรากฐานมาจากระบบนี้เป็นส่วนมาก[3]

พจนานุกรมของเหล่าซึ่งมีชื่อว่า A Practical Cantonese-English Dictionary มีคำศัพท์ภาษากวางตุ้ง 22,000 รายการ จัดพิมพ์โดยรัฐบาลฮ่องกงในปี 1977[4] และได้รับคำวิจารณ์อยู่ในเกณฑ์ดีโดย Dew ในวารสารภาษาศาสตร์จีน (Journal of Chinese Linguistics)[5]

การใช้ในปัจจุบัน[แก้]

แม้ว่าจะผ่านมาแล้ว 5 ทศวรรษนับตั้งแต่ตีพิมพ์ หนังสือของเหล่าก็ยังคงได้รับความนิยม โดยเป็นหนึ่งในไม่กี่หลักสูตรการสอนภาษากวางตุ้งที่มีความครอบคลุม (ซึ่งตรงกันข้ามกับภาษาเขียนและภาษาพูดของภาษาจีนกลาง ที่มีความแตกต่างกันในด้านภาษาเป็นอย่างมาก)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Chan, Sin-wai (14 April 2016). The Routledge Encyclopedia of the Chinese Language. Routledge. p. 46.
  2. Stephen Matthews; Virginia Yip (1 September 2003). Cantonese: A Comprehensive Grammar. Routledge. pp. 13–. ISBN 978-0-203-42084-3.
  3. Kataoka, Shin; Lee, Cream (2008). "A System without a System: Cantonese Romanization Used in Hong Kong Place and Personal Names". Hong Kong Journal of Applied Linguistics. Chinese University of Hong Kong. 11: 94–98.
  4. Wong, Ki-fong. (2001). "Postgraduate Thesis: A study of Sidney Lau's 'a practical Cantonese-English dictionary'". Pokfulam, Hong Kong: The University of Hong Kong. สืบค้นเมื่อ 5 January 2014.
  5. Dew, J. (1980), "Review of Sidney Lau's A Practical Cantonese-English Dictionary", Journal of Chinese Linguistics, 8 (2): 305–315

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]