ซาโมซา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซาโมซา
ซาโมซา เสิร์ฟเคียงชัตนีย์และพริกเขียว ในรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย
ชื่ออื่นSambusa, samusa,[1] Siṅgaṛā/Siṅāṛā
ประเภทแป้งสอดไส้
มื้ออองเทร, จานเคียง, ขนม
ภูมิภาคเอเชียใต้, ตะวันออกกลาง, แอฟริกาตะวันออก, เอเชียกลาง, ฯลฯ
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักแป้งและผัก, เครื่องเทศ

ซาโมซา (อักษรโรมัน: samosa; /səˈmsə/) เป็นขนมทำจากแป้งอบหรือทอดสอดไส้ โดยใส้ทำมาจากวัตถุดิบหลายชนิด เช่น มันฝรั่ง, หอมใหญ่ และ ถั่วเขียว ใส่เครื่องเทศ ซาโมซามีหลายรูปแบบ ทั้งสามเหลี่ยม โคน จันทร์ครึ่งเสี้ยว[2][3][4] โดยทั่วไปนิยมทานซาโมซาเคียงกับชัตนีย์ ซาโมซาอาจมีที่มาตั้งแต่สมัยยุคกลางหรือก่อนหน้านั้น[2] ซาโมซาเป็นอาหารจานนิยมของเอเชียใต้, ตะวันออกกลาง, เอเชียกลาง, แอฟริกาตะวันออก เป็นต้น

คำว่า samosa มาจากภาษาฮินดี สโมสา ('samosa' ฮินดี: समोसा),[5] ซึ่งสามารถย้อนรากไปได้ถึงภาษาปาห์ลาวีคำว่า sanbosag (سنبوسگ)[6] ซึ่งแปลว่า "ขนมแป้งรูปสามเหลี่ยม"[7] นอกจากนี้ยังมีขนมแป้งคล้ายกัน เรียกว่า sambusak ในภาษาอาหรับ ในตำราอาหารอาหรับยุคกลางบางครั้งสะกดว่า sambusaj[8] ส่วนในแอฟริกาใต้นิยมใช้คำสะกดว่า samoosa[9]

ซาโมซามีที่มาจากเอเชียกลาง[10][11] ปรากฏการกล่าวถึงซาโมซาเก่าที่สุดในบทกวียุคอับซาซิด โดยกวี Ishaq al-Mawsili เขียนเชิดชู sanbusaj ส่วนสูตรอาหารพบในตำราอาหารของอาหรับยุคศตวรรษที่ 10-13 ภายใต้ชื่อต่าง ๆ เช่น sanbusak, sanbusaq และ sanbusaj ซึ่งล้วนเป็นคำที่มีรากมาจากคำภาษาเปอร์เซีย sanbosag ในอิหร่าน ซาโมซาเป็นที่นิยมจนถึงศตวรรษที่ 16 แต่ในศตวรรษที่ 20 ความนิยมมีอยู่แค่ในบางแคว้นเท่านั้น (เช่น sambusas ใน Larestan)[2] Abolfazl Beyhaqi (995–1077) นักประวัติศาสตร์ชาวอิหร่านระบุถึงซาโมซาในหนังสือประวัติศาสตร์ Tarikh-e Beyhaghi[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. "samosa". Oxford English Dictionary (2nd ed.). Oxford University Press. 1989.
  2. 2.0 2.1 2.2 Davidson, Alan (1999). The Oxford Companion to Food. Oxford University Press. ISBN 0-19-211579-0.
  3. Arnold P. Kaminsky; Roger D. Long (23 September 2011). Middle East Today: An Encyclopedia of Life in the Republic. ABC-CLIO. p. 151. ISBN 978-0-313-37462-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2013. สืบค้นเมื่อ 22 April 2012.
  4. Reza, Sa’adia (18 January 2015). "Food's Holy Triangle". Dawn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2018. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
  5. "Samosa".
  6. Lovely triangles เก็บถาวร 8 มกราคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Hindustan Times, 23 August 2008.
  7. Nişanyan - Türkçe Etimolojik Sözlük: Samsa. accessed: 26 April 2021.
  8. Rodinson, Maxime, Arthur Arberry, and Charles Perry. Medieval Arab cookery. Prospect Books (UK), 2001. p. 72.
  9. "Samoosas in South African Cuisine". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2019. สืบค้นเมื่อ 19 May 2019.
  10. Indigenous Culture, Education and Globalization: Critical Perspectives from Asia, Springer, 23 October 2015, p. 130, ISBN 9783662481592, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2019, สืบค้นเมื่อ 5 January 2019
  11. "TBI Food Secrets: Unravelling the Fascinating History of the Samosa, India's Favourite Street Snack". The Better India (ภาษาอังกฤษ). 2017-01-04. สืบค้นเมื่อ 2021-12-19.
  12. Beyhaqi, Abolfazl, Tarikh-e Beyhaghi, p. 132.