ซาริลูแมบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซาริลูแมบ
โมโนโคลนอล แอนติบอดี
ประเภทWhole antibody
แหล่งที่มาHuman
เป้าหมายIL-6R
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าKevzara
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa617032
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • US: N (ยังไมได้จำแนก)
ช่องทางการรับยาฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • AU: S4 (ต้องใช้ใบสั่งยา)
  • US: ℞-only
  • EU: Rx-only
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล80%
การเปลี่ยนแปลงยาอาจเป็นเอนไซม์โปรตีเอส
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ21 วัน (สภาวะคงตัว, ค่าประมาณ)
ตัวบ่งชี้
เลขทะเบียน CAS
UNII
KEGG
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC6388H9918N1718O1998S44
มวลต่อโมล144164.28 g·mol−1
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

ซาริลูแมบ (Sarilumab) หรือชื่อทางการค้า Kevzara เป็นยาจากสารภูมิต้านทานโมโนโคลนของมนุษย์ที่ต่อต้านตัวรับอินเตอร์ลิวคิน 6 (IL-6)[1] พัฒนาโดยบริษัทเภสัชกรรมรีเจนเนอรอน (Regeneron Pharmaceuticals) และบริษัทซาโนฟี่ (Sanofi) สำหรับรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) ซึ่งได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 และองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2560[2]

การพัฒนาเพื่อใช้กับโรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด (ankylosing spondylitis) ถูกระงับ หลังจากที่ยาล้มเหลวในการแสดงประโยชน์ทางคลินิกที่มากกว่าเมทโธเทร็กเซต (methotrexate) ในการทดลองระยะที่ 2[3]

การใช้ทางการแพทย์[แก้]

ซาริลูแมบ ใช้ในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในระดับปานกลางถึงรุนแรงในผู้ที่ไม่ตอบสนองหรือไม่ทนต่อการรักษาแบบเดิม ๆ สามารถใช้เดี่ยว ๆ หรือใช้ร่วมกับเมทโธเทร็กเซต หรือยาต้านรูมาติกที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค (DMARDs) อื่น[4][5]

ข้อห้าม[แก้]

ในสหภาพยุโรป ซาริลูแมบ มีข้อห้ามใช้ในผู้ที่มีการติดเชื้อรุนแรง[4] แม้ว่าไม่มีระบุว่าเป็นข้อห้ามภายใต้การอนุมัติขององค์การอาหารและยาสหรัฐ แต่ก็มีคำเตือนบนกรอบคำเตือนในเอกสารกำกับยา ที่แนะนำให้ทดสอบการติดเชื้อวัณโรคที่ซ่อนอยู่ก่อนการรักษา และติดตามสัญญาณของการติดเชื้อระหว่างการรักษาด้วยซาริลูแมบ[5]

ผลข้างเคียง[แก้]

การทดลอง MONARCH แสดงว่ามีอุบัติการณ์ที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของภาวะที่มีจำนวน​เม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลในเลือดต่ำ (neutropenia)ในผู้ป่วยที่ได้รับซาริลูแมบ 200 มิลลิกรัม ทุก ๆ 2 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยอะดาลิมูแมบ (adalimumab) (13.6% เทียบกับ 0.5%) อย่างไรก็ตาม อัตราการติดเชื้อระหว่างทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกัน (28.8% เทียบกับ 27.7%)[6]

ผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในผู้ป่วย 1% ถึง 10% ได้แก่ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและทางเดินปัสสาวะ โรคเริมในช่องปาก ภาวะไขมันในเลือดสูง และปฏิกิริยาในบริเวณที่ฉีด[4]

การทดลองทางคลินิก[แก้]

ข้ออักเสบรูมาตอยด์[แก้]

เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ทั้งสองบริษัทได้ประกาศว่ามีการทดลองใหม่ 2 โครงการ (การทดลอง COMPARE และ ASCERTAIN) และผู้ป่วยรายแรกได้รับการลงทะเบียนแล้ว[7]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 การทดลองระยะที่ 3 (กับเมทโธเทร็กเซต) สำหรับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ รายงานว่าพบผลลัพธ์หลักร่วมสามรายการ[8]

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 การทดลอง SARIL-RA-TARGET รายงานผลลัพธ์ที่ดี (ตรงตามผลลัพธ์หลักร่วมทั้งสองรายการ)[9]

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 การทดลองของ MONARCH ระยะที่ 3 ที่เปรียบเทียบซาริลูแมบ กับอะดาลิมูแมบ (ยากลุ่มยับยั้งทูเมอร์นิโครซิสแฟคเตอร์, anti-TNF) พบว่าซาริลูแมบ มีประสิทธิภาพกว่าในการลดคะแนน DAS28-ESR ในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หลังจาก 24 สัปดาห์[6]

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 มีการเปิดตัวการทดลองแบบหลายศูนย์กลางเพื่อศึกษา 'ซาริลูแมบในผู้ป่วยที่มีโรคซาร์คอยด์ที่ต้องอาศัยกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid-Dependent Sarcoidosis)'[10]

ประวัติ[แก้]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ปฏิเสธการอนุมัติให้ทำการตลาดเพื่อรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อันเนื่องมาจากการละเมิดหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (GMP)[6] ต่อมาในที่สุดยาก็ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การวิจัย[แก้]

โควิด -19[แก้]

การศึกษาผู้ป่วย 420 คนถูกระงับในเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 เนื่องจากขาดประสิทธิภาพในการรักษาอาการโรคโควิด-19[11]

เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2564 ภายหลังโครงการทดลอง REMAP-CAP มีการเพิ่มยาโทซิลิซูแมบ (tocilizumab) และซาริลูแมบ ลงในรายการแนะนำสำหรับการรักษาโควิด-19 ในสหราชอาณาจักร โดยผู้ป่วยในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตทุก 12 รายที่รับการรักษาด้วยยาดังกล่าว จะมีผู้รอดชีวิตเพิ่มอีก 1 รายเมื่อเทียบกับการรักษาตามวิธีปรกติ ยายังช่วยเร่งการฟื้นตัวและลดระยะเวลาที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตลงประมาณหนึ่งสัปดาห์[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Statement On A Nonproprietary Name Adopted By The USAN Council: Sarilumab" (PDF). ama-assn.org. American Medical Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-07-07.
  2. "Kevzara: Authorisation details". European Medicines Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-27. สืบค้นเมื่อ 28 September 2017.
  3. "Sanofi and Regeneron Report Positive Phase 2b Trial Results with Sarilumab in Rheumatoid Arthritis". regeneron.com (Press release). Paris & Tarrytown, New York: Regeneron. July 12, 2011.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Kevzara: EPAR – Product Information" (PDF). European Medicines Agency. 2017-09-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-18. สืบค้นเมื่อ 2021-07-07.
  5. 5.0 5.1 Drugs.com: Sarilumab โมโนกราฟ. Accessed 2017-11-29.
  6. 6.0 6.1 6.2 Burmester GR, Lin Y, Patel R, van Adelsberg J, Mangan EK, Graham NM, และคณะ (May 2017). "Efficacy and safety of sarilumab monotherapy versus adalimumab monotherapy for the treatment of patients with active rheumatoid arthritis (MONARCH): a randomised, double-blind, parallel-group phase III trial". Annals of the Rheumatic Diseases. 76 (5): 840–847. doi:10.1136/annrheumdis-2016-210310. PMC 5530335. PMID 27856432.
  7. "Sanofi and Regeneron Announce Patient Enrollment in Two Phase 3 Trials with Sarilumab in Rheumatoid Arthritis (RA). May 2013" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-01-19. สืบค้นเมื่อ 2021-07-07.
  8. Genovese MC, Fleischmann R, Kivitz AJ, Rell-Bakalarska M, Martincova R, Fiore S, และคณะ (June 2015). "Sarilumab Plus Methotrexate in Patients With Active Rheumatoid Arthritis and Inadequate Response to Methotrexate: Results of a Phase III Study". Arthritis & Rheumatology. 67 (6): 1424–37. doi:10.1002/art.39093. PMID 25733246.
  9. Walker, Tracey. "Sarilumab effective in broad range of RA patients: Study". Formulary Watch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 November 2015.
  10. "More Information". Sarcoidosis Program (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-09. สืบค้นเมื่อ 2019-08-09.
  11. Sanofi halts tests of arthritis drug for use as a COVID-19 treatment
  12. Roberts, Michelle (2021-01-07). "Two more life-saving Covid drugs discovered". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-01-07.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • "Sarilumab". Drug Information Portal. U.S. National Library of Medicine.