ซากเรืออับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก
ซากเรืออัปปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก | |
---|---|
ซากหัวเรือไททานิก ถ่ายภาพเมื่อปี ค.ศ. 2004 | |
เหตุการณ์ | การอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก |
สาเหตุ | เรือชนภูเขาน้ำแข็ง |
วันที่ | 15 เมษายน 1912 |
สถานที่พบ | 370 ไมล์ (600 กิโลเมตร) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์, มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 41°43′32″N 49°56′49″W / 41.72556°N 49.94694°W |
พบซาก | 1 กันยายน 1985 |
ซากเรืออัปปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก พบอยู่ในระดับความลึกประมาณ 12,500 ฟุต (3.8 กิโลเมตร; 2.37 ไมล์) ตรงทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ห่างไปประมาณ 370 ไมล์ (600 กิโลเมตร) ณ ที่นั้น พบชิ้นส่วนซากเรือสองจุดหลัก ห่างกันประมาณ 3 ไมล์ (600 เมตร) ส่วนของบริเวณหัวเรือและภายในยังคงสภาพสมบูรณ์ แม้จะมีการเสื่อมสภาพตามเวลา และความเสียหายจากการกระทบกับพื้นทะเล ในทางตรงกับข้ามกับท้ายเรือที่ถูกทำลายอย่างสมบูรณ์ พื้นที่โดยรอบพบสิ่งของนับแสนชิ้นกระจัดกระจายอยู่ภายในบริเวณพื้นที่ ซึ่งหล่นลงมาขณะเรือกำลังอัปปาง ร่างของผู้โดยสารและลูกเรือพบในบริเวณรอบพื้นที่ ต่อมา ถูกสิ่งมีชีวิตใกล้เคียงย่อยสลายจนหมด
ไททานิกอัปปางลงในปี ค.ศ. 1912 เมื่อเรือได้ชนกับภูเขาน้ำแข็งในระหว่างการเดินเรือครั้งแรกของไททานิก มีความพยายามหลายครั้งที่จะค้นหาซากของเรือโดยวิธีทำแผนที่ด้วยระบบโซนาร์ในการระบุตำแหน่ง แต่ไม่สำเร็จผล ในปี ค.ศ. 1985 ซากของเรือได้ถูกระบุพิกัดโดยสมบูรณ์ อันเป็นความร่วมมือจากการสำรวจระหว่างสหรัฐและประเทศฝรั่งเศส นำโดย ฌ็อง-หลุยส์ มิเชลแห่งไอเอฟอาร์อีเอ็มอีอาร์ และโรเบิร์ต บัลลารด์แห่งสถาบันสมุทรศาสตร์วูดสโฮล ซากของเรือเป็นที่น่าสนใจ ส่งผลให้มีการสำรวจเป็นจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงการสำรวจในปี ค.ศ. 2023 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย การกู้ของรอบบริเวณซาก พบมีของมากถึงหนึ่งพันกว่าชิ้น โดยทั้งหมดถูกนำมาแสดงต่อสาธารณชน แม้ว่าจะมีการถกเถียงถึงการกู้สิ่งของ
มีการเสนอแผนปฏิบัติการในการกู้ซากเรือไททานิกมากมาย อาทิ การใช้ลูกปิงปองในการถมซากโดยใส่วาสลีนกว่า 180,000 ตันลงไปในนั้น หรือการใช้ไนโตรเจนเหลวห่อหุ้มกว่าครึ่งล้านตัน เพื่อให้ซากลอยขึ้นมาเสมือนภูเขาน้ำแข็ง อย่างไรก็ตาม ซากของเรือนั้นเปราะบางเกินกว่าที่จะสามารถนำขึ้นมาได้ และซากนี้ถูกคุ้มครองโดยยูเนสโก
กู้ซากเรือไททานิก
[แก้]หลังจากที่เรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก อัปปางลงเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 ได้ไม่นานนัก มีการเตรียมการปฏิบัติงานกู้ซากของเรือภายในอาณาเขตของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ แม้จะไม่ทราบพิกัดและสถานที่ที่แน่นอน ครอบครัวของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ – ครอบครัวกุกเกนไฮม์, ครอบครัวแอสเตอร์ส และครอบครัวไวด์เนอร์ส – ได้ก่อตั้งกิจการค้าร่วมกับบริษัทเมอริฟแอนด์แชฟแมนเดอร์ริคแอนด์เวกกิง เพื่อดำเนินการกู้ซากของเรือ ไททานิก[1] โครงการล้มเหลวไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยเหตุว่านักดำน้ำไม่สามารถดำน้ำลงส่วนที่ลึกของมหาสมุทรซึ่งมีความดันมากถึงกว่า 60,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (410 บาร์) ทรัพยากรเรือดำน้ำไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ประกอบกับระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โครงการนี้จึงล่าช้า[2] บริษัทพิเคราะห์ว่าจะหย่อนระเบิดตรงบริเวณของซากเรือเพื่อให้แรงดันซากศพขึ้นมาผิวน้ำ แต่นักสมุทรศาสตร์แย้งว่า การกระทำแบบนี้อาจทำให้ซากศพถูกแรงดันจนเป็นก้อนวุ้น[3] ในความเป็นจริง ข้อความไม่ถูกต้อง ไม่มีการค้นพบปรากฏการณ์ตกปลาวาฬตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987—ในการสำรวจหาซากเรือ ไททานิก โดยเรือดำน้ำกลับพบเจอภายในก่อนปีในการสำรวจครั้งแรก[4]—แสดงให้เห็นถึงซากศพภายในใต้น้ำ เช่นเดียวกับวาฬและโลมาที่จมน้ำลงไปสู่ก้นมหาสมุทร[5] ด้วยสภาวะแรงดันสูงและอุณหภูมิต่ำของน้ำ จึงทำให้ช่วยซับแรงของแก๊สในระหว่างกระบวนการการย่อยสลายของผู้เสียชีวิตเหตุเรือ ไททานิก ส่งผลให้ร่างกายผู้เสียชีวิตไม่ขึ้นมาสู่เหนือผิวน้ำ[6]
ในหลายปีต่อมา มีการพยายามอย่างมากมายที่จะกู้ซากเรือ ไททานิก อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรและเทคโนโลยีไม่ทันสมัย ทำให้ต้องปฏิบัติการอย่างยากลำบาก ประกอบกับการขาดงบประมาณ และขาดความเข้าใจกับสภาพกายภาพบริเวณพื้นที่อัปปางของเรือ ชาร์เลต สมิท สถาปนิกจากเมืองเดนเวอร์, สหรัฐ นำเสนอแผนปฏิบัติในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1914 ว่าใช้วิธีติดแม่เหล็กไฟฟ้ากับเรือดำน้ำในการระบุตำแหน่ง เพื่อให้เกิดแรงดึงดูดระหว่างแม่เหล็กไฟฟ้ากับซากเหล็กของเรือ เมื่อสามารถระบุพิกัดได้แล้ว จึงส่งสัญญาณไปยังกองเรือบรรทุกสินค้าเพื่อนำซากเรือ ไททานิก ขึ้นมาเหนือผิวน้ำมหาสมุทร[7] มีการตีงบประมาณไว้ที่ 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (35 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน) แนวคิดนี้เป็นไปไม่ได้ จึงไม่ได้นำมาใช้ในการกู้ซากของเรือ อย่างไรก็ดี มีแนวดิดมากมายสำหรับการปฏิบัตการกู้ซากเรือ ไททานิก อาทิ การใช้ลูกโป่งนำเข้าไปยังซากของเรืออาศัยแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเมื่อลูกโป่งมีจำนวนมาก ส่งผลให้ดันซากเรือมาเหนือยังผิวน้ำ แต่แล้วแนวคิดนี้ก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้จริง[8]
ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970
[แก้]ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 คนงานขายเครื่องถุงเท้า และเสื้อกับกางเกงชั้นในจากเมืองโบลด็อค, ประเทศอังกฤษ ชื่อว่า ดักลาส วูเรย์ มีแผนปฏิบัติในการหาพิกัดของซากเรือ ไททานิก โดยใช้วิธียานสำรวจน้ำลึก และกู้ซากของเรือโดยลูกโป่งไนลอนซึ่งจะนำไปใส่ภายในซากของเรือ[9] จุดประสงค์ของแนปฏิบัติในครั้งนี้คือ "ต้องการนำซากไปยังเมืองลิเวอร์พูล เพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ลอยน้ำ"[10] บริษัทไททานิกเซอร์เวจก่อตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมนักธุรกิจจากเบอร์ลินตะวันตกซึ่งเรียนกันว่า ไททานิก-ทรีเซอร์ เพื่อสนับสนุนการเงินในการปฏิบัติการกู้ซากของเรือ[9] อย่างไรก็ดี โครงการล้มเหลวเนื่องด้วยผู้ร่วมลงทุนพบว่าการใช้ลูกโป่งทำให้ซากเรือลอยขึ้นทำไม่ได้ เมื่อคำนวณแล้วอาจจะต้องใช้ถึงเวลาถึงสิบปีในการสร้างแก๊ส[11]
ในช่วงระหว่างนี้มีหลากหลายแนวคิดสำหรับกู้เรือแต่มีความพยายามกู้เรือด้วยวิถีใหม่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 หนึ่งในข้อเสนอใช้วิธีบรรจุขี้ผึ้งเหลว (หรือรู้จักกันว่า วาสลีน) จำนวน 180,000 ตันภายในของเรือไททานิก เพื่อให้ดันซากเรือขึ้นมาผิวน้ำ[12] และข้อเสนอในการกู้ซากเรือ ไททานิก โดยใช้ลูกปิงปอง แต่เมื่อนึกถึงสภาพแวดล้อมความเป็นจริงแล้ว ลูกปิงปองจะถูกแรงกดดันของน้ำทำให้ไม่สามารถนำไปบรรจุที่ความลึกของซากเรือได้[13] แนวคิดที่คล้ายคลึงกัน เพียงเปลี่ยนเป็นกระจกแก้วทรงกลมเบนทอส จะทำให้แรงกดดันของน้ำไม่สามารถกระทำต่อวัตถุได้ มีการตีงบประมาณในการจัดทำแก้วทรงกลมนี้กว่า 238 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[12] ผู้รับเหมารับจ้างลำเลียงของจากเมืองวอลสอร์ ชื่อว่า อัลทรูน ฮิกกรี ได้เสนอให้เปลี่ยนซากเรือ ไททานิก ให้เป็นภูเขาน้ำแข็ง โดยกระทำแช่แข็งน้ำบริเวณโดยรอบซากของเรือแล้วจึงห่อหุ้มแล้วนำขึ้นมาเหนือผิวมหาสมุทร ซึ่งจะต้องมีน้ำหนักเบากว่าน้ำ ต่อมาจึงลากเข้าสู้ฝั่ง เดอะบีโอซีกรุ๊ปคำนวณว่า จะต้องใช้ไนโตรเจนเหลวกว่าครึ่งล้านตันลงไปยังซากของเรือ[14] ในปี ค.ศ. 1976 ภาพยนตร์ระทึกขวัญ เรส เดอะ ไททานิก! กำกับโดยครีฟ ครุยเซอร์ เนื้อเรื่องคือฮีโร่ เดิรก์ พิตต์ ได้อุดรูรั่วเรือไททานิก แล้วได้ปั้มอากาศส่งผลให้ "ลอยขึ้นมาเป็นคลื่นเหมือกับทิ้งอับเฉาเรือดำน้ำ" ฉากนี้ปรากฏใบปิดภาพยนตร์ แม้ว่าจะเป็นเพียง "ภาพศิลปะปลุกกระตุ้น" ของจุดเด่นภาพยนตร์[15] ภาพยนตร์ได้สร้างแบบจำลองของเรือไททานิก ขนาด 55 ฟุต (17 เมตร) ในความเป็นจริง ไม่สามารถกู้เรือได้ในทางกายภาพ[16]
โรเบิร์ต บัลลารต์แห่งสถาบันสมุทรศาสตร์วูดสโฮล มีความสนใจในการค้นหาเรือ ไททานิก แม้จะมีการอภิปรายในช่วงต้นกับผู้สนับสนุน เมื่อปรากฏว่าผู้สนับสนุนต้องการเปลี่ยนซากเรือให้เป็นชิ้นส่วนกระดาษเพื่อเป็นของที่ระลึก แต่ผู้สนับสนุนยังคงเข้าร่วมกับบัลลารต์เพื่อก่อตั้งบริษัทซีซอนิกส์ อินเตอร์แนชันแนล จำกัด (Seasonics International Ltd.) เพื่อสร้างพาหนะในการค้นหาและสำรวจเรือ ไททานิค อีกครั้ง ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1977 เขาได้พยายามค้นหาเรือลำนี้เป็นครั้งแรกด้วยเรือกอบกู้ใต้ท้องทะเลลึก ซีพร็อบ (Seaprobe) ของเอคโคคอปปอเรชัน นี่คือเรือขุดเจาะที่มีอุปกรณ์โซนาร์และกล้องติดอยู่ที่ปลายท่อเจาะ สามารถยกของขึ้นจากก้นทะเลได้โดยใช้กรงเล็บกลที่ควบคุมจากระยะไกล[17] ปฏิบัติการสำรวจจบลงด้วยความล้มเหลวเมื่อท่อขุดเจาะแตก ส่งผลให้ท่อขุดเจาะ 3,000 ฟุต (900 เมตร) และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มูลค่า 600,000 ดอลลาร์สหรัฐ (เทียบกับมูลค่า 2,683,031 ดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 2021) ดิ่งจมสู่ก้นทะเล[17]
ในปี ค.ศ. 1978 บริษัทวอลต์ดิสนีย์และนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟิก ได้พิจารณาให้มีการบูรณาการร่วมกันเพื่อค้นหาเรือ ไททานิค โดยใช้ปั๊มอะลูมิเนียมใต้น้ำ อะลูมินอลต์ เรือ ไททานิคน่าจะอยู่ในขอบเขตความลึกของปั๊มอะลูมิเนียม แต่แผนดังกล่าวถูกยกเลิกด้วยเหตุผลทางการเงิน[9]
ในปีต่อมา มหาเศรษฐีชาวอังกฤษ เซอร์ เจมส์ โกลด์สมิธ ได้ก่อตั้งบริษัทซีไวร์ & ไททานิคซัลเวจ จำกัด โดยมีผู้เชี่ยวชาญการดำน้ำและช่างภาพร่วมงาน นำมาประชาสัมพันธ์การกู้เรือ ไททานิค เพื่อส่งเสริมนิตยสารของเขาที่ตีพิมพ์ขึ้นมาใหม่ ชื่อว่า นาว! โดยมีโครงการเดินทางสู่แอตแลนติกเหนือในปี ค.ศ. 1980 แต่โครงการถูกยกเลิกโดยปัญหาด้านการเงิน[9] ปีต่อมานิตยสาร นาว! ได้ยุติกิจการด้วยพบปัญหา 84 จุดส่งผลให้เกิดสภาวะสูญเสียการเงินเป็นจำนวนมาก[18]
บรรณานุกรม
[แก้]- ↑ Eaton & Haas 1987, p. 130.
- ↑ Willmott 2003, p. 307.
- ↑ Wade 1992, p. 72.
- ↑ Little 2010.
- ↑ Estes 2006, p. 298.
- ↑ Ballard 1987, p. 207. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFBallard1987 (help)
- ↑ Lord 1987, p. 226.
- ↑ Lord 1987, p. 227.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 Eaton & Haas 1987, p. 132.
- ↑ Eaton & Haas 1994, p. 302.
- ↑ Lord 1987, pp. 230–231.
- ↑ 12.0 12.1 Lord 1987, p. 231.
- ↑ Serway & Jewett 2006, p. 494.
- ↑ New Scientist 1977.
- ↑ Suid 1996, p. 210.
- ↑ Hicks & Kropf 2002, p. 194.
- ↑ 17.0 17.1 Ballard 1987, p. 38. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFBallard1987 (help)
- ↑ Time 1981.
อ้างอิง
[แก้]หนังสือ
- Ballard, Robert D. (1987). The Discovery of the Titanic. New York: Warner Books. ISBN 978-0-446-51385-2.
- Ballard, Robert (1988). Exploring the Titanic. New York: Scholastic. ISBN 0590419528.
- Ballard, Robert D.; Hively, Will (2002). The Eternal Darkness: A Personal History of Deep-Sea Exploration. Princeton, NJ: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-09554-7.
- Ballard, Robert D. (2008). Archaeological Oceanography. Princeton, NJ: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-12940-2.
- Butler, Daniel Allen (1998). Unsinkable: The Full Story of RMS Titanic. Mechanicsburg, PA: Stackpole Books. ISBN 978-0-8117-1814-1.
- Crosbie, Duncan; Mortimer, Sheila (2006). Titanic: The Ship of Dreams. New York, NY: Orchard Books. ISBN 978-0-439-89995-6.
- Eaton, John P.; Haas, Charles A. (1987). Titanic: Destination Disaster: The Legends and the Reality. Wellingborough, UK: Patrick Stephens. ISBN 978-0-85059-868-1.
- Eaton, John P.; Haas, Charles A. (1999). Titanic: A Journey Through Time. Sparkford, Somerset: Patrick Stephens. ISBN 978-1-85260-575-9.
- Eaton, John P.; Haas, Charles A. (1994). Titanic: Triumph and Tragedy. Wellingborough, UK: Patrick Stephens. ISBN 978-1-85260-493-6.
- Estes, James A. (2006). Whales, Whaling, and Ocean Ecosystems. Los Angeles, CA: University of California Press. ISBN 978-0-520-24884-7.
- Gibson, Allen (2012). The Unsinkable Titanic: The Triumph Behind A Disaster. Stroud, Glos.: The History Press. ISBN 978-0-7524-5625-6.
- Halpern, Samuel; Weeks, Charles (2011). "Description of the Damage to the Ship". ใน Halpern, Samuel (บ.ก.). Report into the Loss of the SS Titanic: A Centennial Reappraisal. Stroud, UK: The History Press. ISBN 978-0-7524-6210-3.
- Heyer, Paul (1995). Titanic Legacy: Disaster as Myth and Event. Westport, CT: Praeger. ISBN 978-0-275-95352-2.
- Hicks, Brian; Kropf, Schuyler (2002). Raising the Hunley: the remarkable history and recovery of the lost Confederate submarine. New York: Ballantine Books. ISBN 978-0-345-44771-5.
- Jorgensen-Earp, Cheryl R. (2006). "Satisfaction of Metaphorical Expressions through Visual Display". ใน Prelli, Lawrence J. (บ.ก.). Rhetorics of display. Columbia, SC: University of South Carolina Press. ISBN 978-1-57003-619-4.
- Lord, Walter (1987). The Night Lives On. London: Penguin Books. ISBN 978-0-670-81452-7.
- Lynch, Don (1992). Titanic: An Illustrated History. New York: Hyperion. ISBN 978-1-56282-918-6.
- Lynch, Don; Marschall, Ken (2003). Ghosts of the Abyss. New York: Madison Press Books. ISBN 0306812231.
- MacInnis, Joseph B.; Cameron, James (2005). James Cameron's Aliens of the Deep. Washington, D.C.: National Geographic Society. ISBN 978-0-7922-9343-9.
- Parisi, Paula (1998). Titanic and the Making of James Cameron. New York: Newmarket Press. ISBN 978-1-55704-364-1.
- Pellegrino, Charles (2012). Farewell, Titanic: Her Final Legacy. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons. ISBN 978-0-470-87387-8.
- Scovazzi, Tullio (2003). "The Application of "Salvage Law and Other Rules of Admiralty"". ใน Garabello, Roberta; Scovazzi, Tullio (บ.ก.). The protection of the underwater cultural heritage: before and after the 2001 UNESCO Convention. Leiden: Martinus Nijhoff Publishers. ISBN 978-90-411-2203-2.
- Serway, Raymond A.; Jewett, John W. (2006). Principles of Physics: A Calculus-Based Text, Volume 1. Belmont, CA: Cengage Learning. ISBN 978-0-534-49143-7.
- Spignesi, Stephen (2012). The Titanic For Dummies. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons. ISBN 978-1-118-20651-5.
- Suid, Lawrence H. (1996). Sailing on the Silver Screen: Hollywood and the U.S. Navy. Annapolis, MD: Naval Institute Press. ISBN 9781557507877.
- Wade, Wyn Craig (1992). The Titanic: End of a Dream. London: Penguin Books. ISBN 978-0-14-016691-0.
- Ward, Greg (2012). The Rough Guide to the Titanic. London: Rough Guides Ltd. ISBN 978-1-4053-8699-9.
วารสารและบทความข่าว
- Ballard, Robert D. (December 2004). "Why is Titanic Vanishing?". National Geographic Magazine. สืบค้นเมื่อ 29 January 2011.
- Broad, William A. (17 October 1995). "The World's Deep, Cold Sea Floors Harbor a Riotous Diversity of Life". The New York Times.
- Canfield, Clarke (8 มีนาคม 2012). "Full Titanic site mapped for 1st time". The Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2012.
- Cohen, Jennie (8 มีนาคม 2012). "First Map of Entire Titanic Wreck Site Sheds New Light on Disaster". History.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2012.
- Ferguson, Jonathan (4 September 1985). "Texas oilman says he found Titanic first – 'it's my wreck'". The Toronto Star.
- Gannon, Robert (February 1995). "What Really Sank the Titanic". Popular Science. p. 54.
- Handwerk, Brian (18 August 2010). "Titanic Is Falling Apart". National Geographic Magazine. สืบค้นเมื่อ 7 March 2012.
- Kelly, Ray (27 October 2009). "Titanic salvage raises concerns". The Republican. Springfield, MA.
- Little, Crispin T. S. (February 2010). "The Prolific Afterlife of Whales". Scientific American. 302 (2): 78–84. Bibcode:2010SciAm.302b..78L. doi:10.1038/scientificamerican0210-78. PMID 20128227. สืบค้นเมื่อ 2 March 2010.
- Mone, Gregory (July 2004). "What's Eating the Titanic?". Popular Science: 42.
- Portman, Jamie (12 November 1994). "U.K. Titanic exhibit an off-season draw". The Toronto Star.
- Riding, Alan (16 December 1992). "1,800 Objects From the Titanic: Any Claims?". The New York Times.
- Stearns, David Patrick (17 May 1995). "Relics display shows interest in Titanic hasn't sunk". USA Today.
- Stephenson, Parks (20 September 2005). Titanic Wreck Observations 2005 (Report). Marine Forensic Panel.
- Taylor, Joe (2 October 1992). "Texas Oilman Seeking Titanic Artifacts Loses Case". The Associated Press.
- Information, Reed Business (6 October 1977). "Ariadne". New Scientist: 78–84. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-24. สืบค้นเมื่อ 5 March 2012.
- "Press: Suddenly, Now! Is Never". Time. 11 May 1981. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2007. สืบค้นเมื่อ 5 March 2012.
- "Memphian Seeks Titanic Salvage". The Associated Press. 30 September 1992.
- "New species of bacteria found in Titanic 'rusticles'". BBC News. 6 December 2010. สืบค้นเมื่อ 8 March 2012.
- Symonds, Matthew (April 2012). "Titanic: The archaeology of an emigrant ship". Current Archaeology (265): 14.
สารสนเทศออนไลน์
- Marschall, Ken (December 2001). "James Cameron's Titanic Expedition 2001: What We Saw On and Inside the Wreck". marconigraph.com. สืบค้นเมื่อ 13 April 2017.
- "RMS Titanic International Agreement". National Oceanic and Atmospheric Administration. 29 February 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-01. สืบค้นเมื่อ 9 March 2012.
- "R.M.S. Titanic Expedition 2003". NOAA. 8 June 2010. สืบค้นเมื่อ 9 March 2012.
- "R.M.S. Titanic Expedition 2004". NOAA. 27 February 2012. สืบค้นเมื่อ 9 March 2012.
- "The Titanic Story: Timeline For 2000". Titanic Heritage Trust. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2012.
- "The Titanic Story: Timeline For 2001". Titanic Heritage Trust. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2012.
- "The Titanic Story: Timeline For 2004". Titanic Heritage Trust. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2012.
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Ballard, Robert D. (December 1985). "How We Found Titanic". National Geographic. Vol. 168 no. 6. pp. 696–719.
- Ballard, Robert D. (December 1986). "A Long Last Look at Titanic". National Geographic. Vol. 170 no. 6. pp. 698–727.
- Ballard, Robert D. (October 1987). "Epilogue for Titanic". National Geographic. Vol. 172 no. 4. pp. 454–463.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Titanic wreck