ข้ามไปเนื้อหา

ซัยฟ์ อิบน์ อุมัร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซัยฟ์ อิบน์ อุมัร
เกิดไม่ทราบวันที่
กูฟะฮ์ ประเทศอิรัก
เสียชีวิตป. ค.ศ. 786–809
อาชีพนักประวัติศาสตร์
ยุคสมัยอับบาซียะฮ์ตอนต้น
มีชื่อเสียงจากเป็นแหล่งข้อมูลของอัฏเฏาะบะรี (839–923)
ผลงานเด่นThe Great book of Conquests and Apostasy Wars (Kitāb al-futūh al-kabīr wa-l-ridda)

ซัยฟ์ อิบน์ อุมัร อัตตะมีมี (อาหรับ: سيف بن عمر) เป็นนักประวัติศาสตร์อิสลามและผู้รวบรวมสายรายงานในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ผู้อาศัยอยู่ที่กูฟะฮ์ เขาเขียนหนังสือเรื่อง Kitāb al-futūh al-kabīr wa-l-ridda ('The Great book of Conquests and Apostasy Wars')[1] ที่เป็นแหล่งข้อมูลหลักสำหรับสงครามริดดะฮ์และการพิชิตดินแดนโดยมุสลิมของอัฏเฏาะบะรี (839–923) นักประวัติศาสตร์ยุคหลัง หนังสือนี้ยังมีข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับโครงสร้างของกองทัพและรัฐบาลมุสลิมในยุคแรกด้วย อัษษะฮะบีรายงานว่า ซัยฟ์เสียชีวิตในรัชสมัยฮารูน อัรเราะชีด (786–809)[2]

ชีวิต

[แก้]

ข้อมูลชีวิตของซัยฟ์เท่าที่รู้จัดมีน้อยมาก เว้นแต่ข้อมูลที่ว่า เขาอาศัยอยู่ที่กูฟะฮ์และอยู่ในเผ่าบะนูตะมีม[2]

ความน่าเชื่อถือ

[แก้]

ความน่าเชื่อถือในฮะดีษของเขามีการโต้แย้งกันมานานแล้ว[2]

เนื่องจากเขาเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์เพียงคนเดียว โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพิชิตอิรัก ทำให้นักประวัติศาสตร์บางคนกล่าวหาว่าเขาแต่งเรื่องหรือพูดเกินจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Julius Wellhausen[3]กล่าวกันว่าคำบรรยายของเขานั้นได้รับอิทธิพลมาจากธรรมเนียมของชนเผ่าบะนูตะมีม[2] อย่างไรก็ตาม เขายังได้รวบรวมเรื่องราวที่เน้นถึงชนเผ่าอื่น ๆ อีกด้วย[2]

ผลการศึกษาล่าสุดชี้ให้เห็นว่าซัยฟ์มีความน่าเชื่อถือมากกว่าที่เคยคาดไว้[4][5] ดับเบิลยู. เอฟ. ทักเกอร์และ Ella Landau-Tasseron ระบุว่า แม้ว่าซัยฟ์อาจเป็นนักสะสมฮะดีษที่ไม่พิถีพิถัน แต่สิ่งนี้ไม่ควรลดความน่าเชื่อถือโดยทั่วไปของเขาในฐานะผู้ส่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ (อัคบารี)[5] ทักเกอร์กล่าวเพิ่มว่า ข้อกล่าวหาเรื่องอคติอาจใช้ได้กับนักอัคบารีคนอื่นในยุคเดียวกับซัยฟ์ เช่น อะบู มิคนัฟ นักประวัติศาสตร์ชีอะฮ์[5] ฟูอัต เซซกิน, Albrecht Noth และมาร์ติน ไฮนด์สก็ท้าทายมุมมองของ Wellhausen และวางซัยฟ์ให้เท่าเทียมกับนักจารึตนิยมคนอื่น ๆ[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Thomas, David. "Kitāb al-futūḥ al-kabīr wa-l-ridda". ใน Thomas, David; Mallett, Alex (บ.ก.). Christian-Muslim Relations 600 - 1500. Brill.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Donner, Fred (1995). "Sayf B. ʿUmar". Encyclopaedia of Islam. Vol. 9 (2nd ed.). Brill Academic Publishers. pp. 102–103. ISBN 90-04-10422-4.
  3. History of al-Tabari Vol. 11, The: The Challenge to the Empires A.D. 633-635/A.H. 12-13. SUNY Press. 2015-06-15. p. xvi. ISBN 978-0-7914-9684-8.
  4. Kennedy, Hugh (2010-12-09). The Great Arab Conquests: How the Spread of Islam Changed the World We Live In. Hachette UK. ISBN 978-0-297-86559-9. Medieval and modern historians have suspected that he fabricated some of his accounts, but the most recent scholarship suggests that he is more reliable than previous authors had imagined.
  5. 5.0 5.1 5.2 Tucker, William Frederick (2008). Mahdis and millenarians: Shī'ite extremists in early Muslim Iraq. Cambridge University Press. pp. 10–12. ISBN 978-0-521-88384-9.
  6. Landau-Tasseron, Ella (January 1990). "Sayf Ibn 'Umar in Medieval and Modern Scholarship". Der Islam. 67: 1–26. doi:10.1515/islm.1990.67.1.1. ISSN 1613-0928. S2CID 164155720.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Landau-Tasseron, Ella (January 1990). "Sayf Ibn 'Umar in Medieval and Modern Scholarship". Der Islam. 67: 1–26. doi:10.1515/islm.1990.67.1.1. ISSN 0021-1818. S2CID 164155720.
  • Linda D. Lau (1978). "Sayf b. 'Umar and the battle of the Camel". Islamic Quarterly. 20–23: 103–10.