ซะกาตฟิฏเราะฮ์
ซะกาตฟิฏเราะฮ์ เป็นการบริจาคแก่คนจนในไม่กี่วันก่อนสิ้นสุดเดือนเราะมะฎอน
การจัดหมวดหมู่
[แก้]ซะกาตฟิฏเราะฮ์ เป็นหน้าที่ที่วาญิบ (บังคับ) ต่อมุสลิมทุกคน ทั้งชายและหญิง ตราบเท่าที่ยังมีความจำเป็นในการทำ
รายงานจากธรรมเนียมอิสลาม (ซุนนะฮ์) อิบน์ อุมัรกล่าวว่า ท่านศาสดามุฮัมมัดให้ ซะกาตฟิฏเราะฮ์ เป็นภาคบังคับต่อมุสลิมที่เป็นทาส, อิสระ, ชาย, หญิง, หนุ่ม และชราทุกคน ซึ่งจ่ายด้วยอินทผลัมแห้ง 1 ศออ์ หรือข้าวบาร์เลย์ 1 ศออ์[1]
จุดประสงค์
[แก้]จุดประสงค์หลักของ ซะกาตฟิฏเราะฮ์ คือ ให้คนยากจนสามารถฉลองเทศกาลละศีลอด (อีดิลฟิฏร์) พร้อมกับมุสลิมที่เหลือ มุสลิมทุกคนต้องจ่าย ซะกาตฟิฏเราะฮ์ ในช่วงปลายเราะมะฎอน เสมือนเป็นเครื่องหมายคำขอบคุณจากอัลลอฮ์ จุดระสงค์คือ:
- เป็นการจัดเก็บของผู้ถือศีลอด ตามฮะดีษที่ว่า: ศาสนทูตของอัลลอฮ์กล่าวว่า "การถือศีลอดในเดือนแห่งการถือศีลอดจะถูกแขวนระหว่างโลกกับสวรรค์ และมันจะไม่ถูกยกขึ้นตราบที่ยังไม่ได้จ่าย ซะกาตฟิฏเราะฮ์"
- ทำให้ผู้ถือศีลอดบริสุทธิ์จากการกระทำหรือคำพูดที่ไม่ดี และช่วยคนยากจนและผู้ที่ต้องการ ตามรายงานจากฮะดีษของ อิบน์ อับบาส ว่า “ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์กล่าวว่า ซะกาตฟิฏเราะฮ์ จะเป็นเรื่องดีต่อผู้ที่ถือศีลอดไว้กันตนเองจากการกระทำหรือคำพูดที่ไม่ดี และจุดประสงค์คือให้แก่ผู้ที่ต้องการ ถ้าจ่ายก่อนละหมาดอีด ถือเป็น ซะกาต และถ้าจ่ายหลังจากนั้น จะถือว่าเป็นเศาะดะเกาะฮ์”[2]
เงื่อนไข
[แก้]ซะกาตฟิฏเราะฮ์ เป็นเรื่องวาญิบและต้องทำในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าใครไม่ทำโดยไม่มีเหตุอันควร พวกเขาก็ได้รับบาป การกระทำนี้เป็นสิ่งจำเป็นตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกในวันสุดท้ายของการถือศีลอดจนถึงเวลาเริ่มละหมาดอีด อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาอาจยาวกว่านี้ ตามที่เศาะฮาบะฮ์ (สหายของศาสดา) จ่าย เศาะดะเกาะฮ์ อัลฟิฏร์ หลายวันก่อนอีด[3]
นาฟีอ์รายงานว่า อิบน์ อุมัร เศาะฮาบะฮ์ของท่านศาสดาเคยจ่ายซะกาตก่อนวันอีดไปหนึ่งถึงสองวัน[4]
อัตรา
[แก้]จำนวน ซะกาต เท่ากันทุกคน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของรายได้ จำนวนขั้นต่ำสุดคือ อาหาร, เมล็ดข้าว หรือผลไม้แห้ง 1 ศออ์ (ทะนาน) ต่อครอบครัว ซึ่งเป็นไปตามรายงานของอิบน์ อุมัร
รายงานจากซะอีด อัลคุดรี "ในสมัยของท่านศาสดา เราเคยจ่ายมัน (ซะกาตฟิฏเราะฮ์) ด้วยอาหาร, อินทผลัมแห้ง, ข้าวบาร์เลย์, ลูกเกด หรือชีสแห้ง 1 ศออ์ "[5]
ข้อแม้ของผู้ให้
[แก้]- ต้องเป็นมุสลิม
- ต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์
- ต้องมีสติสัมปชัญญะ
- ไม่ยากจน จนไม่สามารถที่จะหาทานมาให้
- เป็นไทไม่ใช่ทาส
- ต้องจ่ายให้ตนเอง และผู้คนในครอบครัว บุคคลละ 1 ศออฺ (ประมาณ 1 ทะนาน หรือ 3 กิโลกรัม)
- ให้สิ่งที่เป็นอาหารหลัก เช่น เมล็ดข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาร อินทผาลัม ลูกเกด ข้าวโพด เป็นต้น หากให้เป็นเงินค่าซื้อสิ่งของดังกล่าว ถือว่าใช้ได้
เงื่อนไขของ ซะกาตฟิฏเราะฮ์ เหมือนกันกับซะกาต และเพิ่มขอบเขตอีกว่า ผู้ได้รีบ ซะกาตฟิฏเราะฮ์ ต้องอยู่ใน 8 จำพวกที่ถูกกล่าวใน ซูเราะฮ์ อัตเตาาบะฮ์ [9: 60] ไว้ว่า:
- ฟะกีร คนยากจนที่ไม่มีรายได้เฉลี่ยรายปี ไม่เพียงพอกับความต้องการของตนและครอบครัว
- มิสกีน คนขัดสนที่ไม่มีรายได้เลย หรือมีรายได้น้อยมาก ไม่พอกับความต้องการของตนและครอบครัว
- อามิล เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากผู้นำศาสนาให้เป็นผู้เก็บ ดูแล ทำบัญชี และแจกจ่ายซะกาต,
- มุอัลลัฟ อันได้แก่กาฟิรที่มีความสนใจในศาสนาอิสลาม หรือปกป้องศาสนาอิสลาม หรือ มุสลิมที่มีความศรัทธาที่อ่อนแอ
- ริกอบ เพื่อไถ่ทาส
- ฆอริม ผู้ติดหนี้จนไม่สามารถจะจ่ายหนี้สินของตนได้
- เพื่อกิจกรรมในหนทางของอัลลอฮ์ (ฟีซะบีลิลลาฮ์) ในการปกป้องพิทักษ์ หรือทำนุบำรุงศาสนา เช่น เปิดโรงเรียนสอนศาสนา สร้างมัสยิด[6] หรือญิฮาดในหนทางของอัลลอฮ์[7][8][9]
- อิบนุสสะบีล ผู้เดินทางที่ขาดเสบียง หรือทรัพย์สิน จนไม่สามารถจะเดินทางกลับบ้านได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sahih al-Bukhari, 2:25:579
- ↑ [Abu Dawood - Eng. transl. vol. 2, p. 421, no. 1605 - rated Sahih]
- ↑ Muhammed Salih Al-Munajjid (2009). "Paying the Fitr". islamhouse.com.
- ↑ [Bukhari - Arabic/English, Vol. 2, p.339, no. 579]
- ↑ [Bukhari - Arabic/English vol. 2, p. 340, no. 582]
- ↑ M.A. Mohamed Salih (2004). Alexander De Waal (บ.ก.). Islamism and its enemies in the Horn of Africa. Indiana University Press. pp. 148–149. ISBN 978-0-253-34403-8.
- ↑ David J. Jonsson (May 2006). Islamic Economics and the Final Jihad. Xulon Press. p. 245. ISBN 978-1-59781-980-0.
- ↑ Benda-Beckmann, Franz von (2007). Social security between past and future: Ambonese networks of care and support. LIT Verlag, Münster. p. 167. ISBN 978-3-8258-0718-4.
Quote: Zakat literally means that which purifies. It is a form of sacrifice which purifies worldly goods from their worldly and sometimes impure means of acquisition, and which, according to God's wish, must be channelled towards the community.
- ↑ T.W. Juynboll, Handleiding tot de Kennis van de Mohaamedaansche Wet volgens de Leer der Sjafiitische School, 3rd Edition, Brill Academic, pp. 85–88
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Zakaah al-Fitr
- Zakat al Fitr เก็บถาวร 2017-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Zakat al-Fitr Book เก็บถาวร 2011-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- (ในภาษาฝรั่งเศส) The divergence concerning the validity of payment of the zakat ul fitr in money (at-tawhid.net)
- About Saa` in Arabic Wikipedia
- Zakat al Fitr - Zakat Fitrah เก็บถาวร 2019-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน