เศาะฮีฟะฮ์ อัสซัจญาดียะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์)
เศาะฮีฟะฮ์ อัสซัจญาดียะฮ์  
ผู้ประพันธ์อะลี อิบน์ ฮุซัยน์ ซัยนัลอาบิดีน
ชื่อเรื่องต้นฉบับٱلصَّحِيْفَة ٱلسَّجَّادِيَّة
ภาษาอาหรับ
พิมพ์ศตวรรษที่ 7 / ฮ.ศ. 1

ตำรา เศาะฮีฟะฮ์ อัสซัจญาดียะฮ์ (อาหรับ: ٱلصَّحِيفَة ٱلسَّجَّادِيَّة) เป็นตำราที่รวบรวมบทดุอา (วิงวอน ภาวนาขอพรจากพระผู้เป็นเจ้า) ที่ถูกกล่าวโดย ท่านอิมาม (ผู้นำ) ที่สี่ของนิกายชีอะฮ์ มีนามว่า ท่านอิมาม ซัยนุล อาบีดีนหรือท่านอิมามสัจญาด(อ.)บุตรชายของท่าน ฮุเซน (อ.)[1]

คุณลักษณะของตำรา[แก้]

ตาราดังกล่าวถูกขนานนามว่า “พระวรสารแห่ง อะฮ์ลุลเบต” (อินญีล อะฮ์ลุลบัย) (ซะบูร อาลิมุฮัมมัด) และ “อุคตุลกุรอาน” [2][3]แม้ว่าตำราดังกล่าวจะเป็นบทดุอา และ การวิงวอนต่อพระองค์ แต่ยังคงมีเนื้อหาที่ครอบคลุมเรื่องราวอื่น ๆ ที่ทรงสัจธรรมจากวิชาความรู้ต่าง ๆ ในศาสนาอิสลาม รหัสยะ กฎหมาย บทบัญญัติ รวมถึงเรื่องราวทางการเมือง สังคมและ จริยธรรม ที่ท่านอิมาม(อ.)ได้กล่าวไว้ในรูปแบบของบทดุอา [4]

ในเชิงหลักฐานการรายงาน[แก้]

ตำราฉบับแรกจากตำราที่มีความเก่าแก่ที่สุด คือ “ซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์ ที่ถูกเรียบเรียงโดยสำนักพิมพ์ “ออสตอนกุดส์รอฎอวี” ณ เมืองมัชฮัด ในปี ๔๑๖ ฮิจเราะฮ์ศักราช ซอฮีฟะฮ์ที่สมบูรณ์แบบมีบทดุอาทั้งหมด ๗๕ บท ซึ่งท่านอิมามสัจญาด(อ.)ทำการกล่าว และมุฮัมหมัดรวมถึงน้องชายของเขา เซดบุตรของอาลีได้ทำการบันทึก เซดบุตรของอาลี ได้มอบฉบับที่ตนบันทึกไว้แด่ มุตะวักกิลบุตรของฮารูน เพื่อให้เขารักษาไว้


มุตะวักกิลบุตรของฮารูน เป็นสาวกท่านหนึ่งของท่านอิมามซอดิก(อ.) เขาได้กล่าวว่า “ ๑๑ บทดุอาได้ตกหล่นไปจากฉัน ฉันจึงรายไว้รายงานเพียง ๖๔ บทเท่านั้น” มุตะวักกิลนำบทดุอาทั้งหมดที่ตนมีมอบแด่ท่านอิมามซอดิก(อ.)แล้วได้นำมาเทียบกับต้นฉบับที่เป็นของท่านอิมามมุฮัมหมัด บาเกร(อ.)ก็ไม่พบข้อแตกต่างอันใดระหว่างสองฉบับ เขาได้ทำการบันทึกบทดุอาทั้งหมด ๖๔ บทจาก ๗๕ บท ซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่เพียง ๕๔ บทดุอา

ตามการรายงานจากมุฮัมหมัดบุตรของอะห์มัดบุตรของมุสลิม มุเฏาะฮ์ฮารี มีเพียง ๕๔ บทดุอา ซึ่งจำนวนของบทดุอาที่เราพบเจอในตำราซอฮีฟะฮ์ก็มีเพียง ๕๔ บทเช่นกัน ดังนั้น๒๑ บทดุอาตกหล่นไปจากต้นฉบับของซอฮีฟะฮ์ และปัจจุบันตำราซอฮีฟะฮ์ก็มีเพียง ๕๔ บทดุอาเท่านั้น

ตำราซอฮีฟะฮ์เป็นตำราซึ่งมีจำนวนฉบับที่ถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรมากที่สุด โดยในประเทศอิหร่านมีฉบับที่เป็นการบันทึกโดยลายมือมากกว่า ๓,๐๐๐ ฉบับ แม้ว่าส่วนมากจะได้มาจากฉบับของท่าน มัจลิซีที่หนึ่ง(ผู้เป็นบิดา)ก็ตาม จึงเป็นเหตุให้ไม่มีข้อแตกต่างกันมากนักในแต่ละฉบับ ท่านมัจลิซีที่หนึ่งเชื่อว่าเส้นทางการรายงานของท่านมีมากกว่า ๖๕๐,๐๐๐ เส้นทางการรายงาน [5]

อย่างไรก็ตามสำนวนและโวหารของตำราซอฮีฟะฮ์บ่งบอกว่า บทดุอาต่าง ๆ มิอาจมาจากผู้ที่ไม่ได้เป็นมะอ์ซูม(ผู้บริสุทธิ์จากบาป)อย่างแน่นอน[6]

ซอฮีฟะฮ์สัจญาดียะฮ์ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกโดย William Chittick [7]ฉบับที่ถูกบันทึกไว้ถูกต้องที่สุดคือฉบับที่ถูกเขียนโดยลายมือของ อิบรอฮีม บุตร ของ กัฟอามี อามิลี ซึ่งมูลนิธินักค้นคว้า ฏอบาฏอบาอี้ ร่วมกับห้องสมุดแห่งชาติของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านใน ปี ๑๓๙๔ได้ตีพิมพ์และจำหน่ายในรูปแบบภาพถ่ายจากต้นฉบับ

มุสตัดร็อก ซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์[แก้]

(มุสตัดร็อกหมายถึงการรวบรวมเนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับตำราฉบับหนึ่งโดยมีจุดประสงค์เพื่อทดแทนส่วนที่หายไปของตำราฉบับนั้น) เนื่องจากจำนวนบทดุอาทั้งหมดของซอฮีฟะฮ์สัจญาดียะฮ์มี ๗๕ บท และตกหล่นไป ๒๑ บท บรรดานักวิชาการผู้ยิ่งใหญ่ของนิกายชีอะฮ์จึงพยายามค้นคว้าในตำราต่าง ๆ ที่มีการบันทึกหรือรายงานบทดุอาที่ถูกกล่าวโดยท่านอิมามสัจญาด (อ.) ซึ่งบางท่านสามารถรวบรวมหนังสือและเพิ่มเติมบทดุอาต่าง ๆ ของท่านอิมามสัจญาดในนาม “มุสตัดร็อก ซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์” ซึ่งมีดังต่อไปนี้

  • ซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์ ษานียะฮ์ รวบรวมโดยเจ้าของหนังสือ วะซาอิล อัชชีอะฮ์ ท่านเชค ฮุร อามิลี
  • ซอฮีฟะฮ์ โดยเชค มุฮัมหมัด อิบนิ อาลี ฮัรฟูซี
  •  ซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์ ษาลิซะฮ์ รวบรวมโดย มิรซา อับดุลลอฮ์ อิศฟาฮานี อะฟันดี เจ้าของหนังสือ ริยาฎ อัลอุลามา ซึ่งเป็นลูกศิษย์เอกของท่านอัลลามะฮ์ มัจลิซี
  • ซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์ รอบิอะฮ์ รวบรวมโดย ท่าน มุฮัดดิษ นูรี เจ้าของหนังสือ มุสตัดร็อก อัลวะซาอิล
  •  ซอฮีฟะฮ์ คอมิซะฮ์ รวบรวมโดยซัยยิด มุห์ซิน อามีน (เจ้าของหนังสือ อะอ์ยาน อัชชีอะฮ์) ซึ่งมีทั้งหมด ๑๘๒ บทดุอา
  •   ซอฮีฟะฮ์ ซาดิซะฮ์ โดย เชค ซอเละฮ์ อิบนิ มิรซา ฟัฎลุลลอฮ์ มาซันดะรอนี ฮาฮิรี
  •  ซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์ กามิละฮ์ โดยซัยยิด มุฮัมหมัดบาเกร อับฏอฮี ซึ่งเป็นการรวบรวมหนังสือทุกเล่มที่ผ่านมา
  •   มิมมา ยุลฮัก บิฮ์ (เพิ่มเติมไปยังซอฮีฟะฮ์) เป็นบทดุอาที่ถูกรวบรวมโดย มุลลา นะกี ซียาออบอดี กัซวีนี (ลูกศิษย์เอกของท่านเชคบะฮาอี)และนำเสนอเพิ่มเติมไปยังซอฮีฟะฮ์สัจญาดียะฮ์ ซึ่งมี ๑๕ บทดุอา
  •  ซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์รวบรวมโดย เชคมุฮัมหมัดบาเกร อิบนิ ฮาซัน บิร ญันดี กออิมี
  •   ซอฮีฟะฮ์ ซาบีอะฮ์ รวบรวมโดย เชคฮาดี อิบนิ อับบาส อาลิ กาชิฟ อัล กิฏออ์ เจ้าของหนังสือมุสตัดร็อก นะฮ์ญุลบาลาเฆาะฮ์
  •  ซอฮีฟะฮ์ ซามีนะฮ์ รวบรวมโดย มิรซา อีลี ฮุซัยนี มัรอาชี ชะฮ์เรสตานี ฮาอิรี
  •  ซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์ ญามิอะฮ์ โดยซัยยิด มุฮัมหมัด บาเกร มุวะห์ฮิด อับฏอฮี อิสฟาฮานี ตีพิมพ์โดยสำนักอิมามมะฮ์ดี เมืองกุม ซึ่งหนังสือดังกล่าวได้รวบรวมบทดุอาจากหนังสือทุกเล่มที่ได้กล่าวข้างต้น เพิ่มเติมเข้าไปในซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์ต้นฉบับ ถึง ๒๗๐ บทดุอา โดยเรียบเรียงแบ่งตามหัวข้อบทดุอา

อรรถาธิบายซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์[แก้]

มีหนังสือจำนวนมากที่ถูกเขียนเพื่อทำการอรรถาธิบายตำราเล่มนี้ซึ่งมีจำนวนมากกว่า ๖๐ เล่ม อาทิ

  • อรรถาธิบายซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์ โดยท่าน มุฮักกิก ซานี เป็นภาษาอาหรับ
  •  อรรถาธิบายซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์ โดยท่านเชค กัฟอะมี
  •  อรรถาธิบายซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์ โดยเชค บะฮาอี ในนาม “ฮะดาอิก อัศซอลิฮีน”
  •  อรรถาธิบายซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์ โดยมุลลา มุฮัมหมัดฮาดี แปลเป็นภาษาเปอร์เซียโดย มาซันดะรอนี
  •   อรรถาธิบายซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์ โดย มีร ดอมอด ในนาม “อัล ฟะวาอิด”
  • อรรถาธิบายซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์ โดย มุฮัมหมัดบาเกร มัจลิซี
  • อรรถาธิบายซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์ซัยยิดอาลี ฮูซัยนี มะดะนี (โด่งดังในนามซัยยิดอาลีคาน) ในนาม “ริยาฎ อัซซาลิกีน”
  • อรรถาธิบายซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์ ลาฮิญี โดย กุฏบุดดีน ชะรีฟ ลาฮีญี

การให้ความสำคัญโดยบรรดาผู้รู้ต่อ ซอฮีฟะฮ์ สัจญาอียะฮ์[แก้]

ในปี ฮ.ศ. ที่ ๑๓๕๓ ท่าน อายะตุลลอฮ์ มัรอะชี นะญะฟี (มุจตะฮิดท่านหนึ่งของนิกายชีอะฮ์) ได้ส่งซอฮีฟะฮ์สัจญาดียะฮ์มอบแด่ ท่านอัลลามะฮ์ เญาฮารี ฏอนฏอวี (นักวิชาการชาวซุนนะฮ์ และ เจ้าของหนังสือตัฟซีรที่โด่งดัง “ อัลญะวาฮิร ฟี ตัฟซีร อัล กุรอาน”) ณ. กรุงไคโร ภายหลังจากที่ท่านอัลลามะฮ์ เญาฮารีได้รับตำราดังกล่าว ท่านได้ขอบคุณเนื่องด้วยของขวัญอันล้ำค่า และได้เขียนจดหมายตอบว่า

ข้าพเจ้าได้รับจดหมายของท่านพร้อมกับตำราซอฮีฟะฮ์ ซึ่งเป็นคำบรรยายจากอิมามผู้มีความยำเกรงต่อพระองค์ แห่งศาสนาอิสลาม ท่านอะลีซัยนุลอาบิดีน บุตรของอิมาม ฮุเซน (อ.) ผู้เป็นชะฮีด และเป็นที่รักของศาสดา ข้าพเจ้าได้รับตำราดังกล่าวด้วยความปิติยินดีและได้พบว่าตำราเล่มนี้คือตำราที่โดดเด่น เด็ดเดี่ยวแบบหามิได้ ซึ่งเต็มไปด้วยความรู้อันลึกซึ้งและปรัชญาต่าง ๆ ที่ไม่สามารถพบเจอจากตำราเล่มอื่นได้ และข้าพเจ้าได้รู้สึกโชคร้ายเสียเหลือเกินที่ก่อนหน้านี้ไม่ได้พบเจอกับสมบัติอันล้ำค่าของศาสดาและลูกหลานของท่าน ยิ่งข้าพเจ้าได้ทำการอ่านและค้นคว้ามากเท่าไรก็ยิ่งพบว่าคำกล่าวต่าง ๆ นั้นสูงสงกว่าคำกล่าวของสิ่งถูกสร้างทั้งมวลและต่ำกว่าคำกล่าวของพระผู้สร้างโลกและแท้จริงแล้วตำราเล่มนี้คือตำราอันทรงเกียรติ ขอพระองค์ทรงตอบแทนความดีงามของท่านในการมอบสิ่งที่ดีแก่ข้าพเจ้าด้วยกับผลตอบแทนที่ดีงามที่สุด และขอพระองค์ทรงทำให้ท่านเป็นผู้ที่สำเร็จในการเผยแพร่ชี้นำความรู้ ข้าพเจ้าอยากทราบว่ามีผู้รู้ท่านใดในโลกอิสลามทำการอรรถาธิบายตำราเล่มนี้แล้วหรือไม่ และท่านมีอรรถาธิบายตำราเล่มนี้หรือไม่

ท่าน อายะตุลลอฮ์ มัรอะชี นะญะฟี ได้ตอบจดหมายของท่านอัลลอมะฮ์ ฏอนฏอวี พร้อมกับส่งหนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อการอรรถาธิบาย ซอฮีฟะฮ์จำนวนหนึ่งรวมทั้งหนังสือ “ริยาฎ อัสซาลิกีน” ซึ่งทำให้ท่านอัลลามะฮ์ ฏอนฏอวี รู้สึกปิติยินดีมากและตอบจดหมายของท่าน อายะตุลลอฮ์ มัรอะชี นะญะฟี อีกครั้งว่า

ข้าพเจ้าได้รับจดหมายของท่านพร้อมกับหนังสือ "ริยาฎ อัสซาลิกีน" ซึ่งเป็นการอรรถาธิบายตำราซอฮีฟะฮ์ สัจญาอีดยะฮ์ ของท่านอิมามซัยนุล อาบิดีน อาลี อิบนิฮุเซน หลานชายของท่านศาสดา รวมถึงหนังสือเล่มอื่น ๆ ซึ่งเป็นหนังสือที่หาเทียบมิได้ ข้าพเจ้าได้มอบหนังสือทั้งหมดแด่นักวิชาการผู้รู้ ผู้ยิ่งใหญ่ ท่านซัยยิด มุฮัมหมัด ฮาซัน อะซอมี ฮินดี ซึ่งท่านเป็นตัวแทนสูงสุดของ ญะมาอัต อุคคุวัต ของโลกอิสลาม มอบในฐานะของขวัญของท่านที่มอบแด่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายังมอบให้แก่ส่วนรวมเพื่อเป็นผลประโยชน์ที่ยั่งยืนและกว้างขวาง ซึ่งจะถูกรักษาไว้ในห้องสมุดของญะมาอัต ด้วยพลังอำนาจจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) ข้าพเจ้าพร้อมที่จะเขียนอรรถาธิบายต่อตำราฉบับนี้

พร้อมที่จะเขียนอรรถาธิบายต่อตำราฉบับนี้”

ในความเป็นจริงแล้วตำราเล่มนี้เป็นที่สนใจของบรรดานักวิชาการและผู้รู้ชาวซุนนะฮ์ ในยุคก่อน และ ถูกใช้ประโยชน์จากเนื้อหาของตำราเล่มนี้ กล่าวคือ อิบนิเญาซี ในหนังสือ คอซออิศ อัลอะอิมมะฮ์ , อิบนิ อะบีฮะดีด ในหนังสือ อรรถธิบายนะฮญุลบะลาเฆาะฮ์ , ฮาฟิส สุไลมาน อิบนิ อิบรอฮีม อัลกันดูซี ในหนังสือ ยะนาบิอ์ อัลมะวัดดัต [8],ได้กล่าวถึง ซอฮีฟะฮ์สัจญาดียะฮ์ รวมทั้งบางส่วนจากบทดุอา เชค ซิบฏิบนิ เญาซี ภายหลังจากการอ่าน และให้ความสำคัญต่อ ซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์ ท่านได้เขียนว่

อ้างอิง[แก้]

๑. ซอฮีฟะฮ์ สัจญาอียะฮ์ ห้องหนังสือ ฏอฮูรอ

๒. หนังสือมะอาลิม อัลอุลามา หน้าที่ ๑๒๕

๓. หนังสือ "รู้จักกับซอฮีฟะฮ์ สัจญาอียะฮ์"

๔. บิฮารุล อันวาร เล่มที่ ๑๑๐ หน้าที่ ๖๑

๕. มุฮัมหมัด ฮูเซน บาเกรี หนังสือ "หลักฐาน ของซอฮีฟะฮ์ สัจญาอียะฮ์"

๖. ซอฮีฟะฮ์ สัจญาอียะฮ์ ฉบับภาษาอังกฤษ

๗. จดหมายของท่าน อายะตุลลอฮ์ มัรอะชี นะญะฟี ถูกบันทึกในบทนำ ของซอฮีฟะฮ์ สัจญาดียะฮ์ ของท่าน หน้าที่ ๓๗-๓๘

๘. ยะนาบิอ์ อัลมะวัดดัต เล่มที่ ๑-๒ หน้าที่ ๔๖๖

๙. وَ مِنَ الشِّقَاءِ أنَّا إلَی الآنِ لَمْ نَقِفْ عَلَی هَذَا الأثَرِ الْقَیِّمِ الْخَالِدِ مِنْ مَوَارِیثِ النُّبُوَّةِ وَ أهْلِ الْبَیْتِ. وَ إنِّی کَلَّمَا تَأمَّلْتُهَا رَأیْتُهَا فَوْقَ کَلَامِ الْمَخْلُوقِ وَ دُونَ کَلَامِ الْخَالِق

๑๐. ه حق‌التعلیم علی الناس الی یوم القیامه

  1. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  2. معالم العلماء، ص ۱۳۵.
  3. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  4. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  5. بحار الانوار الانوار، ج ۱۱۰، ص ۶۱.
  6. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  7. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  8. سلیمان بن ابراهیم قندوزی، ینابیع المودة، ج ۱–۲، ص ۵۹۹.