ซอมี่นละ
ซอมี่นละ စောမင်းလှ | |
---|---|
พระอัครมเหสีแห่งอังวะ | |
ดำรงพระยศ | ป. ตุลาคม ค.ศ. 1421 – สิงหาคม ค.ศ. 1425 |
ก่อนหน้า | Shin Saw |
ถัดไป | พระนางชีนโบ่แม |
ประสูติ | คริสต์ทศวรรษ 1390 อาณาจักรอังวะ |
สวรรคต | อังวะ อาณาจักรอังวะ |
คู่อภิเษก | มังรายกะยอชวา (1406–1415) พระเจ้าฝรั่งมังศรี (1416–1425) |
พระราชบุตร | Minye Kyawhtin[1] Min Hla Htut Minye Aung Naing ซอมี่น-พยู[2] พระเจ้ามี่นละแง Saw Pyei Chantha Shwe Pyi Shin Me |
พระราชบิดา | Tarabya I of Pakhan |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
ซอมี่นละ (พม่า: စောမင်းလှ, ออกเสียง: [sɔ́ mɪ́ɰ̃ l̥a̰]) เป็นพระอัครมเหสีแห่งอาณาจักรอังวะระหว่าง ค.ศ. 1422–1425 พระโอรสของพระนางคือพระเจ้ามี่นละแง ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอังวะเป็นเวลา 3 เดือนใน ค.ศ. 1425 ภายหลังการสวรรคตของพระสวามีพระองค์ที่ 2 พระเจ้าฝรั่งมังศรี พระสวามีองค์แรกคือพระเชษฐาของพระเจ้าฝรั่งมังศรี มังรายกะยอชวาซึ่งมีชื่อเสียงในช่วงสงครามสี่สิบปี
ประวัติ
[แก้]ซอมี่นละเป็นธิดาของพระเจ้าตราพระยาแห่งปะค่าน และเป็นพระเชษฐภคินีของพระเจ้าตราพระยาแห่งตองอูซึ่งปกครองตองอูในช่วง ค.ศ. 1440–1446 ในปี ค.ศ. 1406 พระนางได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายมังรายกะยอชวาในพิธีแต่งตั้งพระองค์เป็นพระมหาอุปราช โดยพระนางมีพระโอรส-ธิดากับมังรายกะยอชวาทั้งสิ้น 4 พระองค์ ต่อมาเมื่อมังรายกะยอชวาประชวรและสิ้นพระชนม์ระหว่างทำสงคราม พระนางได้กลายมาเป็นพระชายาของพระเจ้าฝรั่งมังศรี พระอนุชาของมังรายกะยอชวาซึ่งได้ขึ้นเป็นรัชทายาทผู้มีสิทธิ์โดยตรงสืบมา[1][2] พระนางและพระเจ้าฝรั่งมังศรีมีพระโอรส-ธิดาอีก 3 พระองค์[1] ทำให้พระนางมีพระโอรส-ธิดารวมทั้งสิ้น 7 พระองค์[1]
เมื่อพระเจ้าฝรั่งมังศรีองค์รัชทายาทได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง พระราชบิดาใน ค.ศ. 1422 ก็ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระอัครมเหสี[3] แต่พระนางเป็นได้แค่พระมเหสีเพียงในพระนามเท่านั้น เนื่องจากพระเจ้าฝรั่งมังศรีโปรดปรานพระมเหสีอีกพระองค์หนึ่งคือ พระนางชีนโบ่แม ทำให้พระนางซอมี่นละน้อยพระทัยออกจากพระราชวังและออกผนวชเป็นแม่ชี[4] ได้รับฉายาทางธรรมว่า ตานส้องชีนมิพะย่า (တန်ဆောင်းရှင် မိဖုရား)[5]
พระเจ้ามี่นละแง พระโอรสน้อยองค์ที่ห้าของพระนาง ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1425 หลังจากที่พระเจ้าฝรั่งมังศรี พระราชบิดาถูกลอบสังหารโดยมีพระนางชีนโบ่แมอยู่เบื้องหลัง สามเดือนต่อมา พระเจ้ามี่นละแง ยุวกษัตริย์ซึ่งมีพระชนมพรรษาเพียงแค่เจ็ดพรรษา ก็ถูกวางยาพิษโดยพระนางชีนโบ่แม เพื่อให้คนรักคือเจ้าฟ้ากะเล่เจ้ตองโญขึ้นครองบัลลังก์[6][7]
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- บรรณานุกรม
- Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
- Kala, U (1724). Maha Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2006, 4th printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
- Royal Historical Commission of Burma (1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.
- Sandamala Linkara, Ashin (1931). Rakhine Yazawinthit Kyan (ภาษาพม่า). Vol. 1–2 (1997–1999 ed.). Yangon: Tetlan Sarpay.
- Sein Lwin Lay, Kahtika U (1968). Mintaya Shwe Hti and Bayinnaung: Ketumadi Taungoo Yazawin (ภาษาพม่า) (2006, 2nd printing ed.). Yangon: Yan Aung Sarpay.