ข้ามไปเนื้อหา

ช้างอารีนา

พิกัด: 14°58′00″N 103°05′46″E / 14.96667°N 103.09611°E / 14.96667; 103.09611
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ช้าง อารีนา)
ช้างอารีนา
บุรีรัมย์ สเตเดียม
แผนที่
ชื่อเดิมไอ-โมบาย สเตเดียม
ที่ตั้งตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ไทย ประเทศไทย
พิกัด14°58′00″N 103°05′46″E / 14.96667°N 103.09611°E / 14.96667; 103.09611
ขนส่งมวลชน   สายตะวันออกเฉียงเหนือ: สถานีบุรีรัมย์
เจ้าของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ผู้ดำเนินการสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ความจุ24,000 ที่นั่ง (พ.ศ. 2554 - 2556)
32,600 ที่นั่ง (พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน) [1]
การก่อสร้าง
เปิดใช้สนาม11 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ต่อเติมพ.ศ. 2557
การใช้งาน
สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (พ.ศ. 2554–ปัจจุบัน)
เอเชียนคัพ 2019 รอบคัดเลือก – รอบที่ 3
ฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2020
ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ 2562
เอเชียนคัพ 2023 รอบคัดเลือก – รอบที่ 3

ช้างอารีนา (อังกฤษ: Chang Arena, ชื่อเดิม: ไอ-โมบาย สเตเดียม) มีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า ไอ-โมบายล์ธันเดอร์คาสเซิลสเตเดียม (อังกฤษ: Thunder Castle Stadium) เป็นสนามกีฬาที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ตั้งอยู่ที่ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ สนามแห่งนี้มีความจุ 24,000 ที่นั่ง (ในปี พ.ศ. 2557 ได้ต่อเติมเป็น 32,600 ที่นั่ง) โครงสร้างประกอบด้วยเหล็กและไฟเบอร์ ซึ่งสร้างด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท โดยเป็นเงินสนับสนุนภายใต้สัญญาการกำหนดชื่อจากไอ-โมบายและบางส่วนของนายเนวิน ชิดชอบ จัดเป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีลู่วิ่งคั่นสนามและผ่านมาตรฐานระดับโลกจากสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ,มาตรฐานสนามกีฬาระดับเอจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย และสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน และยังได้บันทึกลงกินเนสบุ๊คว่าเป็นสนามฟุตบอลในระดับฟีฟ่าที่ใช้เวลาก่อสร้างน้อยที่สุดในโลกคือ 256 วัน[2]

สนามนี้มีทั้งหมด 4 ชั้น โดยชั้นที่ 1 เป็นสำนักงานห้องแถลงข่าว ห้องสื่อมวลชน ร้านขายสินค้าที่ระลึก ห้องนักกีฬาทีมเหย้า-เยือน ห้องพักผู้ตัดสิน ห้องปฐมพยาบาล และห้องประชุม ชั้นที่ 2 จะเป็นห้องจัดเลี้ยงใหญ่จำนวน 400 ที่นั่ง ชั้นที่ 3 เป็นห้องวีไอพี 6 ห้อง และห้องจัดเลี้ยง 1 ห้อง และชั้นที่ 4 มีห้องวีไอพีจำนวน 15 ห้อง สนามแห่งนี้ยังมีการติดตั้งไฟส่องสว่างตามมาตรฐาน ของฟิลิปส์โดยมีค่าความสว่างของไฟอยู่ที่ 2,000 ลักซ์ ในส่วนอัฒจันทร์ฝั่งกองเชียร์นั้นมีเก้าอี้ที่นั่งเชียร์เป็นสีน้ำเงินเกือบหมด แต่จะใช้เก้าอี้สีขาวตรงที่มีคำว่า ธันเดอร์คาสเซิล และ บุรีรัมย์ มีหัวหน้ากองเชียร์คือ นางกรุณา ชิดชอบ เป็นแกนนำหลักในการเชียร์

ช้างอารีนา เคยใช้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ตและกิจกรรมรื่นเริงครั้งใหญ่ในเทศกาลสงกรานต์ในปี พ.ศ. 2555 โดยการจัดของนายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสร โดยมีศิลปินนักร้องมากมาย อาทิ โซระ อาโออิ, เอ็นเอส ยุน จี, ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล, นูโว, ไมโคร, ปกรณ์ ลัม, บอดี้สแลม, คาราบาว, ลาบานูน, บิ๊กแอส, โลโซ เป็นต้น[3]

ปลายปี พ.ศ. 2560 เมื่อกลุ่มสามารถคอร์ปอเรชั่น ได้ยุติตราสินค้าไอ-โมบาย ชื่อสนามจึงได้เปลี่ยนตามผู้สนับสนุนหลักของสโมสรอีกบริษัทหนึ่ง คือ เครื่องดื่มตราช้าง โดยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ซึ่งสนามแข่งรถที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ก็ใช้ชื่อตามตราสินค้านี้เช่นกัน[4]

การแข่งระดับนานาชาติ

[แก้]
วันที่ ทีม 1 ผล ทีม 2 รายการ
14 กรกฎาคม 2554 ธงชาติไทย ไทย 1 - 0 ธงชาติประเทศพม่า พม่า อุ่นเครื่อง
15 กรกฎาคม 2554 ธงชาติไทย ไทย 1 - 1 ธงชาติประเทศพม่า พม่า อุ่นเครื่อง
23 กรกฎาคม 2554 ธงชาติไทย ไทย 1 - 0 ธงชาติรัฐปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์ ฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก
10 พฤศจิกายน 2560 ธงชาติเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ 4–1 ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย เอเชียนคัพ 2019 รอบคัดเลือก – รอบที่ 3
13 พฤศจิกายน 2560 ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย 1–4 ธงชาติเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ เอเชียนคัพ 2019 รอบคัดเลือก – รอบที่ 3
5 มิถุนายน 2562 ธงชาติกูราเซา กูราเซา 3–1 ธงชาติอินเดีย อินเดีย ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47
5 มิถุนายน 2562 ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม 1–0 ธงชาติไทย ไทย ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47
8 มิถุนายน 2562 ธงชาติไทย ไทย 0–1 ธงชาติอินเดีย อินเดีย ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47
8 มิถุนายน 2562 ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม 1–1
(ดวลลูกโทษ 4–5)
ธงชาติกูราเซา กูราเซา ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47
10 มกราคม 2563 ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม 0-0 Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เอเอฟซี ยู-23 รอบแบ่งกลุ่ม
10 มกราคม 2563 ธงชาติเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ 1-2 ธงชาติจอร์แดน จอร์แดน เอเอฟซี ยู-23 รอบแบ่งกลุ่ม
13 มกราคม 2563 Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2-0 ธงชาติเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ เอเอฟซี ยู-23 รอบแบ่งกลุ่ม
13 มกราคม 2563 ธงชาติจอร์แดน จอร์แดน 0-0 ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม เอเอฟซี ยู-23 รอบแบ่งกลุ่ม
16 มกราคม 2563 ธงชาติจอร์แดน จอร์แดน 1-1 Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เอเอฟซี ยู-23 รอบแบ่งกลุ่ม
7 ตุลาคม 2564 ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 2–1 ธงชาติจีนไทเป จีนไทเป เอเชียนคัพ 2023 รอบเพลย์ออฟ
11 ตุลาคม 2564 ธงชาติจีนไทเป จีนไทเป 0–3 ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย เอเชียนคัพ 2023 รอบเพลย์ออฟ

อ้างอิง

[แก้]
  1. อลังการงานสร้าง! 'บิ๊กเน' ทุ่มเพิ่มขนาดความจุอัฒจันทร์ 32,000 ที่นั่ง
  2. "ยลโฉมสนาม ไอ-โมบาย สเตเดียม อลังการมาตรฐานสุดจะบรรยาย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2018-01-12.
  3. "อาโออิ" นำทีมโชว์สงกรานต์ "ไอ-โมบาย สเตเดียม" บุรีรัมย์ จากเดลินิวส์
  4. "เมื่อ "CHANG ARENA" คือชื่อใหม่ของ "I-mobile stadium" เหตุใดไอโมบายฯถึงไม่ได้ไปต่อ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-24. สืบค้นเมื่อ 2018-01-12.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]