ช่อเชิงลดมีกาบ
ช่อเชิงลดมีกาบ (อังกฤษ: spadix) เป็นช่อดอกแบบช่อกระจะประเภทหนึ่งที่ดอกย่อยเกิดบนแกนกลาง[1] ช่อเชิงลดมีกาบมักมีใบประดับที่เรียกว่า กาบหุ้มช่อดอก (spathe) ล้อมรอบ[2] ช่อดอกประเภทนี้พบได้ทั่วไปในพืชวงศ์บอน (Araceae) เช่น เผือก พลูด่าง สาวน้อยประแป้ง หน้าวัว และดอกบุกยักษ์ ซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกวงศ์บอนมีลักษณะดอกเพศเมียอยู่ด้านล่าง ขณะที่ดอกเพศผู้อยู่ด้านบน ซึ่งหลังปล่อยละอองเรณู ยอดเกสรตัวเมียมักไม่เปิดรับการผสมเพื่อป้องกันการปฏิสนธิตนเอง ช่อเชิงลดมีกาบของพืชวงศ์บอนบางชนิดมีกลไกผลิตความร้อนจากการออกซิไดซ์ลิพิดและคาร์โบไฮเดรตในเซลล์ช่วงที่อากาศเย็น เพื่อกระตุ้นการทำงานของพาหะถ่ายเรณู และเพิ่มการขับกลิ่นดอก มีรายงานว่าภายในช่อดอกบางชนิดมีอุณหภูมิสูงถึง 30 °C ในสภาพอากาศ 10 °C[3] มะพร้าวเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ดอกเป็นช่อเชิงลดมีกาบที่แกนกลางดอกแยกแขนง โดยทั้งช่อดอกหุ้มด้วยกาบหุ้มช่อดอกขนาดใหญ่[4]
ทั้งนี้คำว่า spadix มาจากคำภาษากรีกโบราณ σπᾱ́δῑξ (spā́dīx) แปลว่า "กิ่งปาล์ม"[5]
ระเบียงภาพ[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ช่อเชิงลดมีกาบ |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ spadix. CollinsDictionary.com. Collins English Dictionary - Complete & Unabridged 11th Edition. Retrieved October 18, 2012.
- ↑ "ดอกไม้ (Flowers) - Botany for Kids". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
- ↑ "Inflorescence Terminology (Part 1)". Palomar College. สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
- ↑ "Chapter 1: Botany of Coconut Palm". Bioversity International. สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
- ↑ "Definition of spadix". Dictionary.com. สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
![]() |
บทความเกี่ยวกับพืชนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:พรรณพฤกษา |