ประชาคมฝรั่งเศสแห่งเบลเยียม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประชาคมฝรั่งเศสแห่งเบลเยียม

Communauté française de Belgique (ฝรั่งเศส)
สหพันธ์วอลโลเนีย-บรัสเซลส์
ตราราชการของประชาคมฝรั่งเศสแห่งเบลเยียม
ตราอาร์ม
ประเทศ เบลเยียม
แคว้น วอลลูน,
 นครหลวงบรัสเซลส์
ก่อตั้งค.ศ. 1980
เมืองหลวงบรัสเซลส์
การปกครอง
 • ฝ่ายบริหารรัฐบาลประชาคมฝรั่งเศส
 • พรรคร่วมฯ
(2019–2024)
PS, MR และ Ecolo
 • มุขมนตรีPierre-Yves Jeholet (MR)
 • ฝ่ายนิติบัญญัติสภาประชาคมฝรั่งเศส
 • ประธานสภารูว์ดี เดอม็อต (PS)
ประชากร
 • ทั้งหมด±4,500,000 คน
วันเฉลิมฉลอง27 กันยายน
ภาษาฝรั่งเศส
เว็บไซต์www.cfwb.be
ธงวอลลูนได้รับเลือกให้เป็นธงสัญลักษณ์ประจำประชาคมฯ ใน ค.ศ. 1975 และต่อมาภายหลังใน ค.ศ. 1998 ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของแคว้นวอลลูนอีกแห่งหนึ่ง[1][2]

ประชาคมฝรั่งเศสแห่งเบลเยียม (อังกฤษ: French Community of Belgium; ฝรั่งเศส: Communauté française de Belgique; ดัตช์: Franse Gemeenschap van België; เยอรมัน: Französische Gemeinschaft Belgiens) หรือ ประชาคมฝรั่งเศส (อังกฤษ: French Community; ฝรั่งเศส: Communauté française; ดัตช์: Franse Gemeenschap; เยอรมัน: Französische Gemeinschaft) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการได้ว่า สหพันธ์วอลโลเนีย-บรัสเซลส์ (อังกฤษ: Wallonia-Brussels Federation; ฝรั่งเศส: Fédération Wallonie-Bruxelles; ดัตช์: Federatie Wallonië-Brussel; เยอรมัน: Föderation Wallonie-Brüssel) เป็นหนึ่งในสามประชาคมอย่างเป็นทางการของเบลเยียม (ร่วมกับประชาคมเฟลมิชและประชาคมผู้พูดภาษาเยอรมันแห่งเบลเยียม) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบชาวเบลเยียมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาหลัก (มิใช่ชาวฝรั่งเศสที่พำนักอยู่ในเบลเยียม) บางครั้งจึงเรียกว่า ประชาคมผู้พูดภาษาฝรั่งเศสแห่งเบลเยียม[3] เพื่อความชัดเจน ประชาคมฯ มีสภาและรัฐบาลปกครองเป็นของตนเอง โดยสภาของประชาคมฯ ประกอบด้วยสมาชิกจากสภาวอลลูนและสภาของแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์

ธงสัญลักษณ์ของประชาคมฝรั่งเศสแห่งเบลเยียมใช้ธงสัญลักษณ์ของแคว้นวอลลูนที่ซึ่งกว่าร้อยละ 80 ของประชากรใช้ภาษาฝรั่งเศสในการดำรงชีพ โดยมีเมืองหลวงของประชาคมฯ อยู่ที่นครบรัสเซลส์

ความสำคัญ[แก้]

ประชาคมฝรั่งเศสแห่งเบลเยียมประกอบด้วยประชากรชาวเบลเยียมกว่า 4.3 ล้านคน ในจำนวนนี้

  • 3.4 ล้านคน (ร้อยละ 80) อาศัยอยู่ในแคว้นวอลลูน (เกือบเป็นสัดส่วนทั้งหมดของประชากรในแคว้นวอลลูน ยกเว้นผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตคอมมูนที่ใช้ภาษาเยอรมันซึ่งมีจำนวนประมาณ 70,000 คน)
  • 0.9 ล้านคน[4] (ร้อยละ 20) อาศัยอยู่ในแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์ (จากประชากรรวมทั้งหมดในเขตกว่า 1.1 ล้านคน)

ส่วนประชากรที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลักซึ่งอาศัยอยู่ในแคว้นเฟลมิชนั้นไม่ถูกนับรวมในประชาคมฝรั่งเศสแห่งเบลเยียมเพราะแคว้นดังกล่าวอยู่นอกเขตอำนาจของประชาคมฯ และไม่สามารถยืนยันจำนวนประชากรได้อย่างถูกต้อง แต่มีการประมาณคร่าว ๆ ว่ามีถึง 120,000 คน[5] บางแห่งประมาณการว่า 200,000 คน[6] จนถึง 300,000 คน[7]

ประชากรของประชาคมฝรั่งเศสแห่งเบลเยียมนั้นคิดเป็นประชากรทั้งหมดถึงร้อยละ 41 ของประชากรเบลเยียม โดยประชากรเบลเยียมส่วนที่เหลือร้อยละ 58 อยู่ในประชาคมเฟลมิช และร้อยละ 1 อยู่ในประชาคมผู้พูดภาษาเยอรมัน

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Le Drapeau - Communauté française de Belgique".
  2. Décret déterminant le jour de fête et les emblèmes propres à la Communauté française de Belgique (D. 03-07-1991, M.B. 15-11-1991)
  3. "French-speaking Community of Belgium, Université catholique de Louvain". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-07. สืบค้นเมื่อ 2021-05-30.
  4. Xavier Deniau, La francophonie, Presses universitaires de France, 1995, page 27
  5. Frédéric Lasserre, Aline Lechaume, Le territoire pensé: géographie des représentations territoriales, Presses de l'Université du Québec, 2005, page 104
  6. Catherine Lanneau, L'inconnue française : la France et les Belges francophones, 1944-1945, Peter Lang Verlagsgruppe, collection : Enjeux internationaux, 2008, page 25
  7. L'année francophone internationale, volume 15, Groupe d'études et de recherches sur la francophonie, Université Laval, 2005, page 25

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]