ข้ามไปเนื้อหา

ชุดเหมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชุดทิวนิกจีน ("ชุดจงชาน"/"ชุดเหมา")
ซุน ยัตเซ็น

ชุดทิวนิกจีนสมัยใหม่เป็นเครื่องแต่งกายของบุรุษในประเทศจีน เดิมรู้จักในชื่อ ชุดจงชาน (จีนตัวย่อ: 中山装; จีนตัวเต็ม: 中山裝; พินอิน: Zhōngshān zhuāng) ตามชื่อของซุน ยัตเซ็น (ซุน จงชาน) ผู้นำสาธารณรัฐ เขานำเสนอชุดนี้ไม่นานหลังการก่อตั้งสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) ในฐานะชุดประจำชาติที่มีนัยทางการเมืองชัดเจน กล่าวกันว่ากระเป๋าเสื้อทั้งสี่เป็นสัญลักษณ์แทนคุณธรรมสี่ประการ ได้แก่ ความเหมาะสม ความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ และความละอาย ส่วนกระดุมห้าเม็ดแทนอำนาจทั้งห้าของรัฐบาลจีนในอดีต (บริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ สอบคัดเลือก และควบคุม)[1][2][3][4][5]

หลังฝ่ายคอมมิวนิสต์ชนะสงครามกลางเมืองจีนและก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นใน ค.ศ. 1949 ชุดนี้ก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่ประชาชนชายและผู้นำรัฐบาล โดยถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีของกรรมาชีพและเป็นชุดที่เป็นเอกลักษณ์ของเอเชียเทียบเท่ากับสูทธุรกิจของตะวันตก ชื่อ "ชุดเหมา" นั้นมีที่มาจากความชื่นชอบในรูปแบบการแต่งกายของเหมา เจ๋อตง ผู้นำคอมมิวนิสต์จีน ชุดนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับเขาและลัทธิคอมมิวนิสต์จีน การตัดเย็บชุดเหมาได้รับอิทธิพลจากชุดทิวนิกสตาลิน ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายที่หมู่เจ้าหน้าที่โซเวียตนิยมในสมัยนั้น[6] แม้การสวมใส่ในหมู่ประชาชนทั่วไปจะลดลงในคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 จากความนิยมของสูทธุรกิจที่เพิ่มขึ้น แต่ผู้นำจีนก็ยังคงสวมชุดนี้ในพิธีการและงานสำคัญต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ[7][8] ชุดเหมายังถูกสวมโดยชนชั้นนำของพรรคในเกาหลีเหนือด้วย

ในคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 ชุดเหมากลายเป็นแฟชั่นที่นิยมในหมู่นักสังคมนิยมและปัญญาชนชาวยุโรปตะวันตก ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. M. S., Journalism; B. A., Humanities. "The History Behind the Chinese Version of a Business Suit". ThoughtCo (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  2. Gunde, Richard (2002). Culture and customs of China (ภาษาอังกฤษ). Westport, Conn: Greenwood Press. ISBN 978-0-313-30876-5. OCLC 610665365.
  3. Johansson, Perry (2015). The libidinal economy of China: gender, nationalism, and consumer culture (ภาษาอังกฤษ). Lexington Books. ISBN 978-0-7391-9262-7. OCLC 934516889.
  4. Barmé, Geremie (2016). Shades of Mao: the posthumous cult of the great leader (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-1-315-28575-7. OCLC 999612140.
  5. Strittmatter, Kai (2012). China: an introduction to the culture and people (ภาษาอังกฤษ). London: Armchair Traveller at the bookHaus. ISBN 978-1-907973-17-8. OCLC 809224115.
  6. ""Сталинка" - Намедни. Наша Эра". namednibook.ru.
  7. "Mao suit continued choice of China's top leaders for National Day ceremony - People's Daily Online". en.people.cn.
  8. Montefiore, Clarissa Sebag. "From Red Guards to Bond villains: Why the Mao suit endures". www.bbc.com.
  9. From Red Guards to Bond villains: Why the Mao suit endures, Clarissa Sebag Montefiore, 2 November 2015, BBC Culture