ชื่อของประเทศอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุทวีปอินเดีย

สาธารณรัฐอินเดียมีชื่ออย่างสั้นสองชื่อทั้งในภาษาทางการและในการใช้งานในภาษาอังกฤษ "อินเดีย" และ "ภารตะ" ในมาตราหนึ่งของรัฐธรรมนูญอินเดียระบุว่า "อินเดีย ซึ่งคือภารตฺ พึงเป็นสหภาพแห่งรัฐ" ซึ่งตีความได้ว่า "อินเดีย" และ "ภารตะ" มีศักดิ์เท่ากันในฐานะชื่อโดยสั้นอย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐอินเดีย[1]

"ภารตะ", "ภารัต" หรือ "ภารตฺ" เป็นชื่อเรียกประเทศอินเดียในหลายภาษาทางการของอินเดีย เชื่อกันว่าได้มาจากชื่อของภารตะ บุตรแห่งทุศยันต์ในมหาภารตะ หรือมาจาก ภารตะ บุตรของพระฤษภนาถในความเชื่อไชนะ[2] ส่วน "อินเดีย" มาจากชื่อของแม่น้ำสินธุ (ภาษาอังกฤษคือแม่น้ำอินดัส; Indus) และปรากฏใช้ในภาษากรีกตั้งแต่สมัยของเฮรอดอตัส (500 ปีก่อนคริสต์กาล) ก่อนจะปรากฏในภาษาอังกฤษเก่าอย่างน้อยในศตวรรษที่ 9

อินเดีย[แก้]

อินเดีย ด้านล่างของที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ (อินดัส) ในมุมมองโลกของเฮรอดอตัส

คำในภาษาอังกฤษว่า "อินเดีย" มาจากภาษากรีกโบราณ: Ἰνδικά (อินดิกา) เช่นในงานเขียนของนักประวัติศาสตร์มิกาสธินีส (Indica) หรือจาก Indía (Ἰνδία) ผ่านทางการทับศัพท์เป็นภาษาละติน India[3][4][5]

คำนี้มาจาก สินธุ (सिन्धु) ชื่อของแม่น้ำสินธุ และพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ (ปัจจุบันคือแคว้นสินธ์ ในประเทศปากีสถาน)[6][7] คำเทียบเท่าของ "สินธุ" ในภาษาเปอร์เซียเก่าคือ Hindu (ฮินดู)[8] หลังกษัตริย์ดาริอัสที่หนึ่งปกครองสินธ์ได้ใน 516 ก่อนคริสต์กาล คำเทียบเท่าในตอนนั้นคือ Hinduš ในภาษาเปอร์เซียถูกนำมาใช้เรียกพื้นที่ด้านล่างของแม่น้ำสินธุ[9][10] เป็นไปได้ว่า สกีลักซ์แห่งการ์ยานดาผู้เดินทางสำรวจพื้นที่แถบแม่น้ำสินธุให้แก่กษัตริย์เปอร์เซียนำชื่อนี้มาจากเปอร์เซียและส่งผ่านไปยังกรีก[11] คำว่า Indos (Ἰνδός) เพื่อแทนแม่น้ำสินธุปรากฏในภูมิศาสตร์ของเฮรอดอตัส[12] พยัญชนะธนิต /h/ ที่ตกไปในภาษากรีกอาจเป็นเพราะสำเนียงกรีกที่พูดในแถบเอเชียไมเนอร์[13][14] เฮรอดอตัสยังใช้คำว่า "Indian" ซึ่งดั้งเดิมเพื่อแทนผู้คนที่อาศัยอยู่ทางตอนล่างของแม่น้ำสินธุ ไปใช้แทนทั้งหมดที่อยู่ทางตะวันออกของเปอร์เซีย ทั้ง ๆ ที่เค้าไม่ทราบอะไรเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ในแถบนั้นด้วยซ้ำ[15]

ฮินด์ / ฮินดูสถาน[แก้]

𓉔𓈖𓂧𓍯𓇌
H-n-d-w-y
"India" เขียนด้วยไฮโรกลิฟอียิปต์บนรูปปั้นของดาริอัสที่หนึ่ง ราว 500 ปีก่อน ค.ศ.

คำว่า ฮินดู (Hindū; เปอร์เซีย: هندو) และ ฮินด์ (Hind; เปอร์เซีย: هند) มาจากแม่น้ำสินธุ จักรพรรดิแห่งอาร์เคเมนิด ดาริอัสที่หนึ่งพิชิตลุ่มแม่น้ำสินธุได้ในราว 516 ปีก่อน ค.ศ. ช่วงที่ซึ่งคำเรียกสินธุอย่าง "Hindush" (𐏃𐎡𐎯𐎢𐏁, H-i-du-u-š) ถูกใช้เรียกพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำสินธุ[9][10] ชื่อนี้ยังปรากฏในอียิปต์ ซึ่งพบจารึกว่า 𓉔𓈖𓂧𓍯𓇌 (H-n-d-wꜣ-y) บนรูปปั้นของดาริอัสที้หนึ่ง ราว 500 ปี ก่อน ค.ศ.[16][17]

ในภาษาเปอร์เซียยุคกลาง คำต่อท้าย "สตาน" หรือ "สถาน" (-stān; เปอร์เซีย: ستان) ได้ถูกเติมเข้ามาเพื่อใช้เรียกประเทศหรือดินแดน เกิดเป็นคำว่า "ฮินดูสตาน" หรือ "ฮินดูสถาน" (Hindūstān)[18] ดังที่ปรากฏเรียกว่า Hindūstān ในจารึก Naqsh-e-Rustam ของจักรพรรดิแห่งซาสซานิด ชาปุระที่หนึ่งเมื่อ ป. ค.ศ. 262[19][20]

ส่วน "ฮินด์" (Hind) มาจากภาษาอาหรับ รูปย่อของ Al-Hind (الهند) ดังเช่นปรากฏในงานเชียนจากศตวรรษที่ 11 Tarikh Al-Hind ('ประวัติศาสตร์อินเดีย') และปรากฏใช้แทนที่อินเดียได้ในบางโอกาส เช่น ไจฮินด์ (ฮินดี: जय हिन्द; ไชหินท์ หรือ ชัยหินท์) หรือ ฮินดมหาสาคร หรือ หินทมหาสาคร (Hind Mahāsāgar; हिन्द महासागर) ชื่อเรียกมหาสมุทรอินเดียในภาษาฮินดีมาตรฐาน

ภารตะ[แก้]

รูปปั้นภารตจักรวรรตินที่ศรวนเพโคล

ภารตะถูกเลือกเป็นชื่อแทนของอินเดียในปี 1950[21]

คำว่า ภารตะ (Bhārata) และรูปเกี่ยวเนื่อง ภารัต หรือ ภารตฺ และ ภารตวรรษ (Bhārata-varṣa หรือ Bharata-varsha) เข้าใจว่ามาจากชื่อของภารตะในมหาภารตะ หรือภารตะในความเชื่อไชนะ[2] หลายปุราณะระบุว่าภารตะมาจากภารตะซึ่งเป็นบุตรของพระฤษภนาถ แต่บางปุราณะก็ระบุว่ามาจากภารตะ ซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของบรรพชนของพระฤษภนาถ นามว่าศรัทธาเทวมณู ส่วนปุราณะอื่น ๆ ระบุว่าภารตะเป็นชื่อเรียกของชนชาวภารตะ ผู้สืบทอดของภารตะ บุตรของทุศยันต์ในมหาภารตะ[22] ตัวอย่างของปุราณะที่มีการกล่าวอ้าง เช่น

วิษณุปุราณะ:

ऋषभो मरुदेव्याश्च ऋषभात भरतो भवेत्
भरताद भारतं वर्षं, भरतात सुमतिस्त्वभूत्
ฤษภะ เกิดแก่ มรุเทวี, ภารตะ เกิดแต่ ฤษภะ,
ภารตวรรษา (Bharatavarsha; "อินเดีย") เกิดจาก ภารตะ และ สุมตี เกิดจาก ภารตะ
—วิษณุปุราณะ (2,1,31)
उत्तरं यत्समुद्रस्य हिमाद्रेश्चैव दक्षिणम् ।
वर्षं तद् भारतं नाम भारती यत्र संततिः ।।
"ดินแดน (วรรษัม) ซึ่งอยู่เหนือต่อ มหาสมุทร และใต้ต่อภูเขาแห่งหิมะ ("หิมาลัย") เรียกว่า ภารตัม (Bhāratam) ที่อยู่ของผู้สืบทอดแห่งภารตะ"
—วิษณุปุราณะ

ชมพูทวีป[แก้]

ชื่อ Jambudīpasi ภาษาปรากฤตหมายถึง "อินเดีย" (อักษรพราหมี) ในสหัสรัม (จารึก Minor Rock Edict ของพระเจ้าอโศก), ประมาณ 250 ปีก่อนพุทธกาล[23]

เทียนจู[แก้]

เทียนจู (Tiānzhú) หรือ เท็งจิกู (Tenjiku; จีน: 天竺 และญี่ปุ่น: 天竺; ดั้งเดิมออกเสียง xien-t'juk) เป็นชื่อดั้งเดิมในภาษาของเอเชียตะวันออก มาจากการทับศัพท์เป็นจีนของ Hindu ในภาษาเปอร์เซีย ซึ่งเป็นคำที่รับมาจาก Sindhu ในภาษาสันสกฤตอีกทอดหนึ่ง[24] เทียนจูเป็นการทับศัพท์ Sindhu ในภาษาจีนหนึ่งในหลายแบบ คำอื่นเช่น จวนตู๋ (身毒 , Juāndú) ปรากฏในเอกสารฉื่อจี้ของซือหม่า เชียน และ เทียนตู่ (天篤 , Tiāndǔ) ในหนังสือประวัติศาสตร์ โฮ่วฮั่นชู (後漢書 , Hòu Hànshū)[25] ส่วนคำว่าอิ้นเท่อเจีย (印特伽 , Yìntèjiā) หรือ Indəkka รับมาจากคำว่า Indaka ในภาษาคูชา (Kuchean) ซึ่งเป็นการทับศัพท์อีกทอดหนึ่งจากคำว่า Hindu[24]

โฮดู[แก้]

โฮดู (Hodu; ฮีบรู: הֹדּוּ; Hoddû) เป็นคำในภาษาฮีบรูไบเบิลใช้เรียกอินเดีย ปรากฏใน หนังสือเอสเธอร์ (ฮีบรู: מְגִלַּת אֶסְתֵּר, Megillat Esther) ของทานักค์ของยิว และพันธสัญญาเดิมของคริสต์ ในเอสเธอร์ 1:1 และ 8.9[26] บรรยายว่าอาหสุเอรัส (เซอร์ซีส) เป็นกษัตริย์แห่ง 127 แคว้น จาก Hodu (อินเดีย) ถึง เอธิโอเปีย.[27]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Article 1 of the English version of the Constitution of India: "India that is Bharat shall be a Union of States."
  2. 2.0 2.1 Roshen Dalal (2010). The Religions of India: A Concise Guide to Nine Major Faiths. Penguin Books India. p. 57. ISBN 978-0-14-341517-6.
  3. Harris, J. (2012), Indography: Writing the "Indian" in Early Modern England, Palgrave Macmillan US, p. 8, ISBN 978-1-137-09076-8
  4. Mukherjee, Bratindra Nath (2001), Nationhood and Statehood in India: A historical survey, Regency Publications, p. 3, ISBN 978-81-87498-26-1: "Apparently the same territory was referred to as Hi(n)du(sh) in the Naqsh‐i‐Rustam inscription of Darius I as one of the countries in his empire. The terms Hindu and India ('Indoi) indicate an original indigenous expression like Sindhu. The name Sindhu could have been pronounced by the Persians as Hindu (replacing s by h and dh by d) and the Greeks would have transformed the latter as Indo‐ (Indoi, Latin Indica, India) with h dropped..."
  5. "Etymology of the Name India". World History Encyclopedia. 13 January 2011.
  6. Mukherjee, Bratindra Nath (2001), Nationhood and Statehood in India: A historical survey, Regency Publications, p. 3, ISBN 978-81-87498-26-1: "In early Indian sources Sindhu denoted the mighty Indus river and also a territory on the lower Indus."
  7. Eggermont, Alexander's Campaigns in Sind and Baluchistan (1975), p. 145: "Sindhu means a stream, a river, and in particular the Indus river, but likewise it denotes the territory of the lower Indus valley, or modern Sind. Therefore, the appellation Saindhavah, means "inhabitants of the lower Indus valley".... In this respect Sindhu is no tribal name at all. It denotes a geographical unit to which different tribes may belong."
  8. Thieme, P. (1970), "Sanskrit sindu-/Sindhu- and Old Iranian hindu-/Hindu-", ใน Mary Boyce; Ilya Gershevitch (บ.ก.), W. B. Henning memorial volume, Lund Humphries, pp. 447–450, ISBN 9780853312550
  9. 9.0 9.1 Eggermont, Alexander's Campaigns in Sind and Baluchistan (1975): 'The Persians coined the name of Hindush after the current Sanskrit geographical name of Sindhu. Neither the Old Persian inscriptions, nor the Avesta make use of the word hindu in the sense of "river".'
  10. 10.0 10.1 Dandamaev, M. A. (1989), A Political History of the Achaemenid Empire, BRILL, p. 147, ISBN 90-04-09172-6: "The new satrapy, which received the name of Hindush, extended from the centre to the lower part of the Indus Valley, in present-day Pakistan."
  11. Mouton, Alice; Rutherford, Ian; Yakubovich, Ilya (2013), Luwian Identities: Culture, Language and Religion Between Anatolia and the Aegean, BRILL, ISBN 978-90-04-25341-4
  12. Herodotus, with an English Translation by A. D. Godley, Volume II, London: William Heinemann, 1921, III.97–99
  13. Horrocks, Geoffrey (2009), Greek: A History of the Language and its Speakers (Second ed.), John Wiley & Sons, pp. 27–28, ISBN 978-1-4443-1892-0: "Note finally that the letter H/η was originally used to mark word-initial aspiration... Since such aspiration was lost very early in the eastern Ionic-speaking area, the letter was recycled, being used first to denote the new, very open, long e-vowel [æ:] ... and then to represent the inherited long e-vowel [ε:] too, once these two sounds had merged. The use of H to represent open long e-vowels spread quite early to the central Ionic-speaking area and also to the Doric-speaking islands of the southern Aegean, where it doubled up both as the marker of aspiration and as a symbol for open long e-vowels."
  14. Panayotou, A. (2007), "Ionic and Attic", ใน A.-F. Christidis (บ.ก.), A History of Ancient Greek: From the Beginnings to Late Antiquity, Cambridge University Press, p. 410, ISBN 978-0-521-83307-3: "The early loss of aspiration is mainly a characteristic of Asia Minor (and also of the Aeolic and Doric of Asia Minor)...In Attica, however (and in some cases in Euboea, its colonies, and in the Ionic-speaking islands of the Aegean), the aspiration survived until later... During the second half of the fifth century BC, however, orthographic variation perhaps indicates that 'a change in the phonetic quality of [h] was taking place' too."
  15. Arora, Udai Prakash (2005), "Ideas of India in Ancient Greek Literature", ใน Irfan Habib (บ.ก.), India — Studies in the History of an Idea, Munshiram Manoharlal Publishers, p. 47, ISBN 978-81-215-1152-0: "The term 'Indians' was used by Herodotus as a collective name for all the peoples living east of Persia. This was also a significant development over Hekataios, who had used this term in a strict sense for the groups dwelling in Sindh only."
  16. Yar-Shater, Ehsan (1982). Encyclopaedia Iranica (ภาษาอังกฤษ). Routledge & Kegan Paul. p. 10. ISBN 9780933273955.
  17. "Susa, Statue of Darius - Livius". www.livius.org (ภาษาอังกฤษ).
  18. Habib, Irfan (2011), "Hindi/Hindwī in Medieval Times", ใน Aniruddha Ray (บ.ก.), The Varied Facets of History: Essays in Honour of Aniruddha Ray, Primus Books, p. 105, ISBN 978-93-80607-16-0
  19. Mukherjee, Bratindra Nath (1989), The Foreign Names of the Indian Subcontinent, Place Names Society of India, p. 46: "The term Hindustan, which in the Naqsh-i-Rustam inscription of Shapur I denoted India on the lower Indus, and which later gradually began to denote more or less the whole of the subcontinent..."
  20. Ray & Chattopadhyaya, A Sourcebook of Indian Civilization (2000), p. 553: "Among the countries that fell before Shapur I the area in question appears as Hndstn, India and Hindy respectively in the three languages mentioned above [Middle Persian, Greek and Parthian]."
  21. Clémentin-Ojha, Catherine (2014). "'India, that is Bharat…': One Country, Two Names". South Asia Multidisciplinary Academic Journal. 10.
  22. Dineschandra Sircar (1971). Studies in the Geography of Ancient and Medieval India. Motilal Banarsidass. p. 3. ISBN 978-81-208-0690-0.
  23. Inscriptions of Asoka. New Edition by E. Hultzsch (ภาษาสันสกฤต). 1925. pp. 169–171.
  24. 24.0 24.1 Cheung, Martha Pui Yiu (2014) [2006]. "Zan Ning (919–1001 CE), To Translate Means to Exchange". An Anthology of Chinese Discourse on Translation: From Earliest Times to the Buddhist Project. Routledge. pp. 179, 181. ISBN 978-1-317-63928-2.
  25. Yu, Taishan (November 2013). "China and the Ancient Mediterranean World: A Survey of Ancient Chinese Sources" (PDF). Sino-Platonic Papers (242): 73, 77.
  26. Esther 1:1 and {{{3}}}
  27. "THE BOOK OF ESTHER". Uskojaelama.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 10 August 2017.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Lewis, B; Ménage, V L; Pellat, Ch; Schacht, J, บ.ก. (1971). "Hind". The Encyclopaedia of Islam. : H–Iram (New ed.). Leiden: E. J. Brill. OCLC 495469525.