ไทยคม (บริษัท)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชินแซทเทลไลท์)
บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน SET:THCOM
อุตสาหกรรมโทรคมนาคม
ก่อตั้ง7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 (32 ปี)
ผู้ก่อตั้งทักษิณ ชินวัตร Edit this on Wikidata
สำนักงานใหญ่กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
บุคลากรหลัก
สมประสงค์ บุญยะชัย​, ประธานกรรมการ
สารัชถ์ รัตนาวะดี, รองประธานกรรมการ
ปฐมภพ สุวรรณศิริ, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ผลิตภัณฑ์ดาวเทียมโทรคมนาคม และบริการที่เกี่ยวข้อง
รายได้500,136.40 ล้านบาท (ปี 2558)
เว็บไซต์http://www.thaicom.net

บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) (Thaicom Public Company Limited) เดิมชื่อ บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) (Shin Satellite Public Company Limited) เป็นบริษัทแรกและบริษัทเดียวของประเทศไทยที่เป็นผู้ให้บริการธุรกิจดาวเทียมเชิงพาณิชย์ ได้รับสัมปทานจากกระทรวงคมนาคม (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาถูกโอนไปยัง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ในปี พ.ศ. 2534 เพื่อดำเนินการจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรและให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียม รวมถึงบริหารงานโครงการดาวเทียมไทยคมภายใต้ข้อตกลงแบบ BTO (Build-Transfer-Operate)

"ไทยคม" (Thaicom) เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นชื่อของดาวเทียม ซึ่งมาจากคำว่า "ไทยคมนาคม" และ "Thai Communications" ในภาษาอังกฤษ[1]

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

  • 11 กันยายน พ.ศ. 2534 - บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด (SATTEL) ได้รับสัมปทานธุรกิจดาวเทียมจากกระทรวงคมนาคมเป็นระยะเวลา 30 ปี เป็นบริษัทแรกของประเทศไทยที่ประกอบธุรกิจดาวเทียม
  • 27 สิงหาคม พ.ศ. 2536 - บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ใช้ชื่อใหม่ว่า "บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ปีเดียวกัน
  • 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 - ไทยคม 1 ขึ้นสู่วงโคจร
  • 18 มกราคม พ.ศ. 2537 - บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนเข้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์
  • 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 - ไทยคม 2 ขึ้นสู่วงโคจร
  • 16 เมษายน พ.ศ. 2540 - ไทยคม 3 ขึ้นสู่วงโคจร
  • 2 สิงหาคม พ.ศ. 2542 - บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)
  • 27 กันยายน พ.ศ. 2542 - บริษัทฯ ขายหุ้นสามัญใน Shenington Investemts Pte Ltd. (Shenington) ที่ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 100 ให้แก่บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้เพื่อปรับโครงสร้างของกลุ่มบริษัทฯ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 - SATTEL ลงนามในสัญญาเงินกู้สำหรับโครงการ IPSTAR จำนวนประมาณ 390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยลงนามในสัญญากับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (US Ex-Im Bank) และองค์การเพื่อการส่งออกแห่งฝรั่งเศส (COFACE) จำนวน 265 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งได้มีการลงนามกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ นำโดยธนาคารซิตี้แบงก์ (Citibank) และธนาคารบีเอ็นพี พาร์ริบาร์ (BNP Paribas) สำหรับวงเงินกู้จำนวน 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้โครงการ iPSTAR มีความพร้อมอย่างเต็มที่ในด้านการเงิน
  • 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 - ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ (iPSTAR) ขึ้นสู่วงโคจร หลังเกิดความล่าช้าถึง 2 ชั่วโมงจากเวลาที่กำหนดไว้ เนื่องจากเกิดปัญหาด้านเทคนิคขี้นใน 15 วินาทีสุดท้าย ก่อนยิงจรวดขึ้นสู่ตำแหน่งปล่อยดาวเทียม
  • 10 เมษายน พ.ศ. 2551 - บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และเปลี่ยนตัวย่อในตลาดหลักทรัพย์เป็น THCOM
  • 7 มกราคม พ.ศ. 2557 - ไทยคม 6 ขึ้นสู่วงโคจร
  • 7 กันยายน พ.ศ. 2557 - ไทยคม 7 ในชื่อของเอเชียแซต 6 ขึ้นสู่วงโคจร
  • 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 - ไทยคม 8 ขึ้นสู่วงโคจร
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2565 - นาย ปฐมภพ สุวรรณศิริ​ ดำรงตำแหน่งประธาน​เจ้าหน้าที่​บริหาร

ดาวเทียมในจัดการ[แก้]

  • บริษัท ไทย แอดวานซ์ อินโนเวชั่น จำกัด (ไทยเอไอ)

เดิมคือ บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ได้จัดตั้งบริษัท บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส ขึ้น ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2543 โดยทำหน้าที่ให้บริการด้านการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต ด้วยความพร้อมในด้านศักยภาพ และประสบการณ์ทางด้านสื่อสารผ่านดาวเทียม การให้บริการอินเทอร์เน็ต ตลอดจนการขยายตัวของธุรกิจ นอกจากนี้ DTV ยังเป็นผู้ให้บริการการรับชมโทรทัศน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Internet Protocol TV) ภายใต้ชื่อ “iPTV” เป็นรายแรกของประเทศอีกด้วย

  • Shenington Investments Pte. Ltd. (Shenington)

Shenington เป็นบริษัทเพื่อการลงทุนที่จดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ เพื่อลงทุนด้านการสื่อสารโทรคมนาคมในระดับนานาชาติ ซึ่ง SATTEL ได้เข้าซื้อกิจการของ Shenington เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2542 ในราคา 50 ล้านบาท ซึ่งมีธุรกิจในเครือคือ บริษัท ลาวโทรคมนาคม จำกัด และ บริษัท กัมพูชา ชินวัตร จำกัด Shenington มีบริษัทในเครือ ได้แก่:

LTC เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Shenington กับรัฐบาลลาว ในสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 49 และ 51 ตามลำดับ เพื่อดำเนินกิจการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมแบบครบวงจรในประเทศลาว โดยมีบริการต่างๆประกอบด้วยบริการโทรศัพท์พื้นฐานระบบ Public Switched Telephone Network (PSTN), บริการโทรศพท์เคลื่อนที่ทั้ง Postpaid และ Prepaid ในระบบ GSM 900, International Direct Dialing (IDD), โทรศัพท์สาธารณะ วิทยุติดตามตัว และบริการอินเทอร์เน็ต

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่[แก้]

  • ข้อมูล ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 [2]
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) 450,870,934 41.14%
2 STATE STREET BANK EUROPE LIMITED 83,991,500 7.66%
3 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 66,197,580 6.07%
4 NORTRUST NOMINEES LTD-CL AC 21,582,426 1.97%
5 RBC INVESTOR SERVICES BANK S.A. 20,624,000 1.88%

อ้างอิง[แก้]

  1. https://www.youtube.com/watch?v=zyydbtSEDLM ในหลวง ร.9 เสด็จพิธีเปิดสถานีดาวเทียมไทยคม 4-5
  2. ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เซ็ทเทรดดอตคอม