ชินวัฒน์ หาบุญพาด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชินวัตร หาบุญผาด)
ชินวัฒน์ หาบุญพาด
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2518 — 2530)
ชาติไทย (2530 – 2531)
มวลชน (2531 – 2534)
พลังธรรม (2534 – 2541)
ไทยรักไทย (2541 – 2549)
พลังประชาชน (2549 – 2551)
เพื่อไทย (2552 – 2564)
พลัง (2564 – ปัจจุบัน)

ชินวัฒน์ หาบุญพาด (เกิด 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2496) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[1] นายกสมาคมพิทักษ์ผลประโยชน์ผู้ขับรถแท็กซี่ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ ที่ชื่นชอบ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ก่อตั้งและผู้จัดรายการของสถานีวิทยุชุมชนคนแท็กซี่ เอฟเอ็ม 92.75 เมกกะเฮิร์ทซ์ และ เอฟเอ็ม 107.5 เมกกะเฮิร์ทซ์ และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ รุ่นที่ 2

ประวัติ[แก้]

ชินวัฒน์ หาบุญพาด เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี เป็นนายกสมาคมพิทักษ์ผลประโยชน์ผู้ขับรถแท๊กซี่ เป็นนักจัดรายการคลื่นวิทยุชุมชนคนแท็กซี่ เข้ามาเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยเข้ามาสนับสนุน ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 รวมทั้งร่วมกับกลุ่มคาราวานคนจนที่สวนจตุจักร และร่วมเข้าปิดล้อมอาคารเนชั่นทาวเวอร์ ที่ตั้งบริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จากนั้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 ร่วมกับพวก 10 คนเข้ารื้อเต๊นท์ เวที และเครื่องขยายเสียงของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่หน้าสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งที่อาคารศรีจุลทรัพย์[2] โดยนอกจากจะเป็นแกนนำกลุ่มคาราวานคนจนแล้ว ยังมีบทบาทอยู่ใน"ชมรมคนรักชาติ" ของประยูร ครองยศ เจ้าของรายการวิทยุ"เมืองไทยรายวัน" ด้วย

วิทยุชุมชนคนแท็กซี่ของชินวัฒน์เฟื่องฟูอย่างมากในสมัยเนวิน ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รับหน้าที่แก้ปัญหาจราจร ช่วงที่ ยูนิตี้เรดิโอ เอฟเอ็ม 89.75 วิทยุชุมชนเพื่อความสมานฉันท์ของคนในชาติ เปิดดำเนินการชูพงศ์และชินวัฒน์ ก็มีชื่อเป็นผู้ดำเนินรายการร่วมกับ จตุพร พรหมพันธุ์ และณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ[3]

งานการเมือง[แก้]

ในช่วงการต้านรัฐประหารของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ชินวัฒน์เข้าร่วมกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในแกนนำรุ่นที่ 2 และได้รับเลือกให้ลงสมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 72 ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก[5]

ปัจจุบันชินวัฒน์หลบหนีคำสั่งให้รายงานตัวของ คสช. ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 23 พ.ค. 2557 จาก Facebook ของนายชินวัฒน์ (วันที่ 26 พ.ค. 2557 ลบทิ้งไปแล้ว) สถานะอยู่ที่กรุงพนมเปญย่าน Toul Kork ประเทศกัมพูชา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ครม.ตั้ง ขรก.การเมือง"ปู 2"ครบทุกตำแหน่ง "วัน อยู่บำรุง"นั่งที่ปรึกษา รมช.คค.-"ผดุง"ตามโผเลขาฯ มท.1 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก มติชน
  2. ข้อมูลประวัติ 9 แกนนำใหม่ นปก.
  3. "เบื้องหลังวิทยุชุมชน-คนรักทักษิณ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2009-03-01.
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  5. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นายชินวัฒน์ หาบุญพาด)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒๒๔, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๘๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]