ชินด์เลอร์ยูเดิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชินด์เลอร์ยูเดิน (''Schindlerjuden'' แปลตามตัวอักษรจากภาษาเยอรมันว่า "ชาวยิวของชินด์เลอร์) เป็นกลุ่มชาวยิวประมาณ 1,200 คนที่ได้รับความช่วยเหลือจากอ็อสคาร์ ชินด์เลอร์ในช่วงการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุของนาซี พวกเขารอดชีวิตในช่วงยุคระบอบนาซีโดยผ่านการแทรกแซงของชินด์เลอร์ ที่พบว่าพวกเขาได้รับการปกป้องในสถานะเป็นคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่โรงงานภาชนะเครื่องเคลือบของเขาในกรากุฟ และภายหลังปี ค.ศ. 1944 ในโรงงานผลิตอาวุธยุโธปกรณ์ในเขตยึดครองเชโกสโลวาเกีย ที่นั่นพวกเขาได้รอดพ้นจากการถูกส่งไปยังค่ายมรณะและรอดชีวิตจากสงคราม ชินด์เลอร์ได้ใช้ทรัพย์สินส่วนตัวของเขาในฐานะนักอุตสาหกรรมเพื่อช่วยชืวิตเหล่าชินด์เลอร์ยูเดิน

เรื่องราวของพวกเขาถูกบรรยายในหนังสือชื่อ Schindler's Ark, โดย ทอมัส คนีลลีย์, และภาพยนตร์ของสตีเวน สปีลเบิร์กที่ดัดแปลงมาจากหนังสือนิยายอย่าง Schindler's List ชะตากรรมที่โลกไม่ลืม Poldek Pfefferberg หนึ่งในผู้รอดชีวิต เป็นคนชักชวนให้ทอมัส คนีลลีย์ เขียนนิยายและเสนอให้สตีเวน สปีลเบิร์กสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้น

ในปี ค.ศ. 2012 มีการคาดการณ์ว่า ได้มีบรรดาลูกหลานของเหล่าชินด์เลอร์ยูเดิน จำนวนมากกว่า 8,500 คนอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และอิสราเอล[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. Smith, Larry (28 มีนาคม 2012). "Survivor of the Holocaust tells how Schindler saved her life". Tribune 242 (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2018.