ชาโดว์แดนเซอร์: เดอะซีเครตออฟชิโนะบิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาโดว์แดนเซอร์: เดอะซีเครตออฟชิโนะบิ
ภาพปกเกมของญี่ปุ่น
ผู้พัฒนาเซก้า
ผู้จัดจำหน่ายเซก้า
ออกแบบฮิโระยุกิ คะวะงุชิ (ฮิโระ เค.)
เรโกะ โคะดะมะ (ฟีนิกซ์ ริเอะ)
โปรแกรมเมอร์ทะคุบน
คะสุ เค.
ศิลปินฮิโระยุกิ คะวะงุชิ
แต่งเพลงเคซุเกะ สึกะฮะระ (สึกะจัง)
ชุดชิโนะบิ
เครื่องเล่นเมกะไดร์ฟ, เวอร์ชวลคอนโซล, วินโดวส์
วางจำหน่าย1 ธันวาคม ค.ศ. 1990
แนวเกมแพลตฟอร์ม, เลื่อนฉากด้านข้าง
รูปแบบผู้เล่นคนเดียว

ชาโดว์แดนเซอร์: เดอะซีเครตออฟชิโนะบิ (ญี่ปุ่น: シャドー・ダンサー ザ・シークレット・オブ・シノビ; อังกฤษ: Shadow Dancer: The Secret of Shinobi) เป็นเกมแอ็คชันเลื่อนฉากด้านข้างที่ได้รับการผลิตโดยเซก้าสำหรับระบบเมกะไดร์ฟใน ค.ศ. 1990 เกมนี้ได้รับการเปิดตัวอีกครั้งผ่านทางการบริการดาวน์โหลด ดังเช่น เวอร์ชวลคอนโซลและสตีมของระบบวี และรวมอยู่ในเซก้าเจเนซิสคอลเลกชัน สำหรับระบบเพลย์สเตชัน 2 และเพลย์สเตชันพอร์เทเบิล แต่เกมนี้ได้ถูกละไว้ในเวอร์ชันระบบพาล (เซก้าเมกะไดร์ฟคอลเลกชัน)

เกมนี้เป็นภาคสองในซีรีส์ชิโนะบิที่ได้รับการเปิดตัวสำหรับระบบเมกะไดร์ฟต่อจากเดอะรีเวนจ์ออฟชิโนะบิ อย่างไรก็ตาม เกมนี้ก็ไม่ได้มีเนื้อหาที่ต่อเนื่องจากภาคก่อน หากแต่ค่อนไปในทางรีเมกจากเกมอาเขดชื่อชาโดว์แดนเซอร์ [1] เช่นเดียวกับของเดิมในระบบอาเขด ที่ผู้เล่นสามารถควบคุมนินจา พร้อมกับสุนัขที่เป็นสหายร่วมศึกได้

รูปแบบการเล่น[แก้]

ภาพหน้าจอรูปแบบการเล่น

รูปแบบการเล่นของเกมเหมือนกับเวอร์ชันอาร์เขดพอสังเขป กับแตกต่างที่สำคัญคือการเพิ่มเกจของสุนัขนินจาซึ่งติดสอยห้อยตามผู้เล่น เพื่อใช้สุนัขในการโจมตีศัตรู ผู้เล่นจะต้องกดปุ่มโจมตีจนกว่าพลังเกจจะเต็ม สุนัขจะโจมตีเมื่อมันกำลังเห่าต่อศัตรูที่อยู่ใกล้เคียงเท่านั้น นอกจากนี้ สุนัขนินจายังเป็นผู้ช่วยในการไล่งับศัตรูเมื่อผู้เล่นกำลังยืนหรือกำลังกระโดด ซึ่งก่อให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้นกว่าเวอร์ชันอาเขด (โดยสุนัขจะโจมตีขณะผู้เล่นกำลังนั่งหมอบเท่านั้น) ส่วนท่าไม้ตายของแต่ละด่านมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจากการร่ายอาคมกวาดล้างเพื่อช่วยตัวประกัน ซึ่งเหมือนกับเกมอาเขดชิโนะบิ ฉบับดั้งเดิม ตัวประกันชายจะให้โบนัสเพิ่มและชีวิตพิเศษตามแต่โอกาส ในขณะที่ตัวประกันหญิงจะเพิ่มพลังโจมตีพื้นฐานจนกว่าจะถึงด่านต่อไปหรือจนกว่าจะสูญเสียชีวิต

ในขณะที่ระบบการลดจุดเมื่อถูกโจมตีของหนึ่งชีวิตจากสองระบบอาเขดได้รับการสงวนไว้ โดยจะมีโบนัสชีวิตจำนวนมากซ่อนอยู่ตลอดทั้งเกม เมื่อจบด่าน ผู้เล่นจะเข้าสู่โบนัสสเตจโดยเขาจะกระโดดลงมาจากอาคารและปาอาวุธใส่กองทัพนินจาฝ่ายศัตรู 50 คนที่กระโดดมาจากฝั่งตรงข้ามของเขา หลังจากสิ้นสุดโบนัสสเตจ ผู้เล่นจะได้รับจุดพลังหรือชีวิตพิเศษจำนวนหนึ่ง

มีสามระดับความยากที่สามารถตั้งค่าได้ในเกมนี้ โดยแต่ละระดับจะมีผลต่อตำแหน่งของศัตรูและจำนวนครั้งในการเล่นต่อของผู้เล่น ผู้เล่นยังสามารถเลือกที่จะปิดการใช้งานของดาวกระจาย โดยสามารถใช้ได้ในช่วงสู้กับบอส กับช่วงโบนัสสเตจเท่านั้น คะแนนโบนัสจะได้รับเมื่อชนะในแต่ละด่านรวมถึงการต่อสู้กับบอส (ยกเว้นด่านสุดท้าย) โดยขึ้นอยู่กับเวลาที่เหลืออยู่ของผู้เล่นในแต่ละด่านและพิจารณาว่าได้มีการใช้อาคมนินจุสึกวาดล้างหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีโบนัสที่ซ่อนอยู่ที่ผู้เล่นสามารถบรรลุได้เมื่อผ่านด่านหรือต่อสู้กับบอสภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง

เนื้อเรื่องย่อ[แก้]

ใน ค.ศ. 1997 กลุ่มวายร้ายที่ชื่อ "ยูเนียนลิซาร์ด" ได้บุกเข้ายึดนครนิวยอร์ก และแปรเปลี่ยนเมืองให้กลายเป็นซากปรักหักพังอย่างมาก มีเพียงไม่กี่คนที่รอดชีวิตจากการโจมตีของกลุ่มยูเนียนลิซาร์ดท่ามกลางความวุ่นวาย สมาชิกของพวกมันจึงได้เลือกที่จะจับบุคคลที่เหลือนี้ไว้เป็นเชลย นักรบนินจาผู้หนึ่ง พร้อมด้วยสุนัขผู้ซื่อสัตย์ของเขาซึ่งมีชื่อว่า ยะมะโตะ (大和) ได้โผล่ออกมาจากที่ซ่อนเพื่อต่อสู้กับอำนาจมืดของยูเนียนลิซาร์ด รวมถึงทำการช่วยเหลือเหล่าตัวประกัน ตัวตนของตัวละครเอก ยังคงมีความคลุมเครือในช่วงเปิดเกม โดยเป็นผู้ใช้พลังอาคมกวาดล้างหลากรูปแบบ ซึ่งในคู่มือเกมภาษาญี่ปุ่นได้ระบุชื่อของเขาคือ ฮายาเตะ (疾風) ซึ่งเป็นบุตรชายของโจ มุซะชิ จากซีรีส์ชิโนะบิในภาคก่อน[2][3] ในขณะที่คู่มือเกมเวอร์ชันภาษาอังกฤษได้ระบุว่าเป็นโจ มุซะชิ ที่เกษียณตัวออกมา[4] นอกจากนี้ ชื่อของบอสแต่ละตัวยังต่างกันในแต่ละเวอร์ชัน[5]

เกมนี้มีทั้งหมดห้าด่านใหญ่ ในแต่ละสี่ด่านแรกจะประกอบด้วยสามด่านย่อย โดยในด่านย่อยที่สามจะเป็นการเผชิญหน้ากับบอสประจำด่าน ในขณะด่านที่ห้าจะมีเพียงหนึ่งด่านย่อยที่เป็นห้าห้องซึ่งนำไปสู่ห้องของบอสสุดท้ายที่ซ่อนอยู่ ซึ่งมีด่านดังต่อไปนี้:

  • ด่าน 1: "เบิร์นนิงดาวน์ทาวน์" - เกิดขึ้นท่ามกลางซากปรักหักพังของเมืองที่เต็มไปด้วยอาคารที่ถูกเผาไหม้ บอสด่านนี้คือ สตอมเปอร์ (ญี่ปุ่น: โรมาจิโยะโระอิทับศัพท์: "มารหุ้มเกราะ") เป็นนักรบหุ้มเกราะร่างยักษ์ ผู้สามารถก่อให้เกิดแผ่นดินไหวด้วยการกระทืบพื้นดิน รวมถึงมีการยิงลูกไฟ
  • ด่าน 2: "แบทเทิลอินเดอะเรลเวย์" - เป็นการอิงด่าน 2 ของเวอร์ชันอาเขดแบบคร่าว ๆ ซึ่งเป็นฉากบนสะพานที่นำไปสู่ทางรถไฟ บอสของด่านนี้คือ มิราจ (ญี่ปุ่น: โรมาจิคะเบะทับศัพท์: "มารกำแพง") ซึ่งเป็นปีศาจที่สิงสถิตอยู่ในผนังอิฐซึ่งสามารถเผยใบหน้าและแขนคู่หนึ่ง
  • ด่าน 3: "อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ" - เป็นฉากสถานที่ก่อสร้างซึ่งนำไปสู่การขึ้นลิฟต์ไปยังด้านบนของอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ โดยมีบอสของด่านนี้คือ เบลด (ญี่ปุ่น: โรมาจิ: 'ไยบะ') เป็นหญิงสาวหุ้มเกราะร่างยักษ์ผู้มีใบจักรสังหารอยู่ในมือทั้งสองของเธอ
  • ด่าน 4: "อินเดอะดาร์คเนส" - เป็นการอิงสเตจ 4-1 จากเวอร์ชันอาร์เขดแบบคร่าว ๆ โดยมีฉากอยู่ในถ้ำมืด บอสของด่านนี้คือ กงล้ออัคคี (ญี่ปุ่น: 車火โรมาจิคุรุมะบิ) เป็นกงล้อหมุนบินได้ ซึ่งมีสามโฉมหน้าที่หายใจเป็นเปลวเพลิง
  • ด่าน 5: "ยูเนียนลิซาร์ด" - เป็นฉากที่ซ่อนของศัตรู ที่ผู้เล่นต้องบุกตะลุยถึงหกห้อง โดยแต่ละห้องจะมีศัตรูที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ ห้องที่หกเป็นห้องที่ซ่อนของบอสสุดท้ายที่ชื่อ โซรอส (ไม่มีชื่อในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่น) ผู้ซึ่งได้ทำการเรียกลิ่วล้อนินจาสีดำออกมาเพื่อโจมตีผู้เล่น

การตอบรับ[แก้]

การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เกมแรงกิงส์80.00 เปอร์เซ็นต์[6]

ชาโดว์แดนเซอร์: เดอะซีเครตออฟชิโนะบิ ได้รับการตอบรับในทางที่ดี นิตยสารเมกะ ได้จัดให้เกมนี้อยู่ในอันดับที่ 33 ของสุดยอดเกมเมกะไดร์ฟตลอดกาล[7] ใน ค.ศ. 2008 บล็อกจอยสติค ได้กล่าวถึงเดอะซีเครตออฟชิโนะบิ ว่า "มีการเปิดตัวที่น่ายำเกรงที่สุด" ในแฟรนไชส์ชิโนะบิ ที่มีอยู่ทั้งหมด และเพิ่มเติมถึงเกมว่า "เป็นการแสดงถึงสิ่งที่มีมากกว่าการเป็นนินจาสะกดรอยไปตามเมืองที่เป็นผืนทราย นั่นคือสุนัขนินจา"[8] ตามคำวิจารณ์ของเวอร์ชวลคอนโซลโดยเว็บนินเทนโดไลฟ์ใน ค.ศ. 2012 ได้กล่าวว่า "ขอแนะนำให้แก่บรรดาเหล่าแฟนเกมนินจาทั้งหมด"[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. The next game in the series, Shinobi III: Return of the Ninja Master, serves as the sequel to The Revenge of Shinobi. Both games were released under the "Super Shinobi" name.
  2. "Shadow Dancer at Sega of Japan's Virtual Console website" (ภาษาญี่ปุ่น). Sega.
  3. Sega. Shadow Dancer (Mega Drive) (ภาษาญี่ปุ่น). Level/area: Instruction manual, pages 3-7.
  4. Sega. Shadow Dancer (Genesis). Level/area: Instruction manual, page 2.
  5. The names of the bosses are listed with their English version names first, followed by their names in the Japanese version in parentheses.
  6. "Shadow Dancer for Genesis". GameRankings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-24. สืบค้นเมื่อ 2013-12-22.
  7. Mega magazine issue 1, page 76, Future Publishing, October 1992.
  8. Virtually Overlooked: Shadow Dancer: The Secret of Shinobi, Joystiq, Feb 7th 2008.
  9. Mega Drive Shadow Dancer - Nintendo Life

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]