ข้ามไปเนื้อหา

ชาหบาซ ภัตตี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาหบาซ ภัตตี
شہباز بھٹی
รัฐมนตรีกลางประจำกระทรวงกิจการชนกลุ่มน้อย
ดำรงตำแหน่ง
2 พฤศจิกายน 2008 – 2 มีนาคม 2011
ประธานาธิบดีAsif Ali Zardari
นายกรัฐมนตรีYousaf Raza Gillani
ก่อนหน้าMuhammad Ijaz-ul-Haq
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 กันยายน ค.ศ. 1968(1968-09-09)[1]
ลาฮอร์ ประเทศปากีสถาน[1]
เสียชีวิต2 มีนาคม ค.ศ. 2011(2011-03-02) (42 ปี)
อิสลามาบาด ประเทศปากีสถาน
เชื้อชาติปากีสถาน
พรรคการเมืองพรรคประชาชนปากีสถาน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยลาฮอร์
ชาหบาซ ภัตตี
นับถือ ในโรมันคาทอลิก

คลีเมนต์ ชาหบาซ ภัตตี (อูรดู: شہباز بھٹی; Clement Shahbaz Bhatti; 9 กันยายน 1968 - 2 มีนาคม 2011) เป็นนักการเมืองชาวปากีสถานและสมาชิกรัฐสภาตั้งแต่ปี 2008[2] แลเดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลางว่าการกระทรวงกิจการชนกลุ่มน้อยคนแรก[1] จนกระทั่งเขาถูกลอบสังหารเมื่อ 2 มีนาคม 2011 ในอิสลามาบาด ขณะดำรงตำแหน่ง เขาเป็นคริสต์ชนคนเดียวในคณะรัฐมนตรีของปากีสถาน[3] เตห์รีกีตาลิบานปากีสถานอ้างตนเป็นผู้ก่อเหตุลอบสังหารโดยอ้างเหตุผลว่าภัตตีเป็นผู้หมิ่นประมาทศาสดามุฮัมมัด[4] ในเดือนมีนาคม 2016 หรือห้าปีนับจากการเสียชีวิต เขาได้รับการประกาศเป็นบุญราศีอย่างเป็นทางการโดยสังฆมณฑลคาทอลิกแห่งอิสลามาบาด-ราวัลปินดี โดยประกาศตำแหน่งภัตตีเป็นผู้รับใช้พระเป็นเจ้าในคริสตจักรของโรมันคาทอลิก[5]

การงาน

[แก้]

เมื่อครั้งเป็นนักศึกษา ภัตตีได้ก่อตั้งและเป็นประธานของกลุ่มปลดปล่อยคริสต์ชนปากีสถาน (Christian Liberation Front)[6] เขาก่อตั้งเมื่อปี 1985.[7] เขาก่อตั้งสันนิบาตชนกลุ่มน้อบปากีสถานทั้งปวง (All Pakistan Minorities Alliance; APMA) ในปี 2002 และได้รับการลงคะแนนเสียงให้เป็นประธานสันนิบาต[8] ภัตตีพบกับ เปร์เวซ มุชาร์รัฟ ในฐานะสมาชิกของกลุ่มสนับสนุนสิทธิชนกลุ่มน้อย[9] ภัตตีเข้าร่วมพรรคประชาชนปากีสถาน (PPP) ในปี 2002[1] แต่ไม่ได้มีบทบาททางการเมืองมากนักขนกระทั่งเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีในปี 2008 เขาเคยเป็นบุคคลห้ามเดินทางออกนอกดินแดนของรัฐบาลในปี 2003 แต่ถูกนำชื่ออกในช่วงปลายปีเดียวกัน[10]

การลอบสังหาร

[แก้]

ภัตตีได้รับการข่มขู่เอาชีวิตหลายครั้งนับตั้งแต่ปี 2009 ที่ซึ่งเขาออกมาพูดถึงเชิงสนับสนุนแก่คริสต์ชนชาวปากีสถานที่ถูกโจมตีในจลาจลที่โกจรา ปี 2009 ในแคว้นปัญจาบ และยิ่งทวีความรุนแรงของการข่มขู่มากขึ้นหลังอาซิอา บีบี คริสต์ชนชาวปากีสถานที่ภัตตีให้การสนับสนุน ถูกตัดสินประหารชีวิตในปี 2010 โทษฐานหมิ่นศาสนา[11] สหรัฐอเมริกาเคยพยายามแทรกแซงเพิ่มความปลอดภัยแก่ภัตตีโดยการจัดหายานหุ้มเกราะให้กับภัตตี แต่ล้มเหลว[12] ภัตตีเคยกล่าวเป็นลางถึงการเสียชีวิตของตนและอัดวิดีโอซึ่งตั้งใจให้เผยแพร่หากเขาเสียชีวิต เขาระบุว่า "ผมเชื่อมั่นในพระเยซูคริสต์ ผู้ทรงมอบ[เสียสละ]ชีวิตให้แก่พวกเรา และผมพร้อมที่จะสละชีพเพื่อการณ์นี้ ผมมีชีวืตอยู่เพื่อชุมชนของผม ... และผมจะตายเพื่อปกป้องสิทธิของเรา"[13]

บีบีซีรายงานว่าขณะภัตตีกำลังเดินทางไปทำงานผ่านย่านที่อยู่อาศัย ไม่นานหลังเดินทางออกจากบ้านของมารดา รถยนต์ของภัตตีก็ถูกสาดด้วยกระสุนปืน ขณะนั้นเขาอยู่ตัวคนเดียวและไม่มียามประกบ เขาถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลทันทีแต่ได้เสียชีวิตแล้วในที่เกิดเหตุ กลุ่มเตหริกีตาลิบาน ระบุกับบีบีซีว่าเป็นผู้ก่อเหตุ เพราะภัตตีเป็น "ผู้ดูหมิ่นศาสนาอย่างชัดแจ้ง" (known blasphemer)[4]

วันหลังจากข่าวการเสียชีวิตของภัตตีแพร่ออกไป คริสต์ชนหลายร้อยคนออกมาประท้วงบนท้องถนนในแคว้นปัญจาบเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่ภัตตี[14] ต่อมาในปี 2011 ได้มีการพยายามโน้มเอียงสาเหตุการลอบสังหารว่ามาจาก "ความขัดแย้งภายใน" ของบรรดาคริสต์ชนเอง[15] ฆาตกรผู้ก่อเหตุยังคงไม่ถูกระบุตัว และบรรดาชนกลุ่มน้อยปากีสถานได้ออกมาเรียกร้องให้มีการดำเนินการหาตัวผู้ก่อเหตุ[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Dawn.com (2 March 2011). "Profile: Shahbaz Bhatti". สืบค้นเมื่อ 20 October 2016.
  2. "Pakistani minister, a Christian, assassinated". Albuquerque Express. 3 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2011. สืบค้นเมื่อ 3 March 2011.
  3. Rodriguez, Alex (3 March 2011). "Pakistan's only Christian Cabinet member assassinated". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 3 March 2011.
  4. 4.0 4.1 "Pakistan Minorities Minister Shahbaz Bhatti shot dead". BBC. 2 March 2011. สืบค้นเมื่อ 3 March 2011.
  5. "2011". สืบค้นเมื่อ 20 October 2016.
  6. Human Rights Commission of Pakistan (2004). State of human rights in 2003. Human Rights Commission of Pakistan. ISBN 978-969-8324-17-9.
  7. [1][ลิงก์เสีย]
  8. Bentham, Annabelle (10 March 2011). "Shahbaz Bhatti obituary". The Guardian. London.
  9. Charisma and Christian life. Strang Communications Co. 2002.
  10. Senate (U S ) Committee on Foreign Relations (August 2005). Annual Report on International Religious Freedom, 2004. Government Printing Office. p. 668. ISBN 978-0-16-072552-4.
  11. "Bhatti knew about threat to his life from Taliban, Qaeda". สืบค้นเมื่อ 20 October 2016.
  12. Perlez, Jane (3 March 2011). "U.S. Tried to Help Protect Slain Pakistani Minister". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 3 March 2011.
  13. Baker, Aryn (21 March 2011). "In Pakistan, Justifying Murder for Those Who Blaspheme". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2013. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
  14. Declan Walsh, Pakistani Christians protest after assassination of Shahbaz Bhatti, The Guardian, 3 March 2011
  15. Mughal, Aftab Alexander (2 July 2011). "Al Qaeda connections may provide impunity for murder in Pakistan". Spero News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 2 July 2011.
  16. Mughal, Aftab Alexander (4 May 2011). "Murder of Pakistan's minister for minority affairs still unresolved". Spero News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 4 May 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]