อ่ายตน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชาวไทอ่ายตน)
อ่ายตน, อ้ายตน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
อินเดียประเทศอินเดีย5,500 คน[1]
ภาษา
ภาษาอ่ายตน
ศาสนา
ศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
พ่าเก, อาหม, คำตี่, คำยัง, ไทใหญ่

ไทอ่ายตน เป็นชาวไท ที่อพยพมาอาศัยในประเทศอินเดียปัจจุบัน มีประชากร 5,500 คน นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 92.09 ฮินดู ร้อยละ 7.91% ไทอ่ายตน มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองกอง (โมกอง) เช่นเดียวกันกับชาวไทคำยัง และชาวไทนะรา เดิมทีชาวไทอ่ายตนเป็นพวกที่ส่งขันทีให้ราชสำนักเป็นประจำ ต่อมาถูกกริ้วจึงหนีมายังอัสสัม ตั้งหลักแหล่ง 2 แห่ง คือ ที่ภูเขานาคแห่งหนึ่ง และที่สิบสาคร อีกแห่งหนึ่ง มีผู้กล่าวว่ามีผู้กระทำผิดทางชู้สาวกับธิดาเจ้าฟ้า จึงถูกตอน คนไทเหล่านี้จึงได้ชื่อว่า "ไทอ่ายตอน" แต่ออกเสียงเป็น "ไทอ่ายตน" ชาวไทอ่ายตน มีอยู่หลายหมู่บ้านที่เมืองโคลาฆาต เช่น บ้านหิน บ้านน้ำท่วม บอราปัตเถิร ชาวอ่ายตนที่บอราปัตเถิร เล่ากันว่าพวกเขาอพยพมาจากเมืองรีเมืองราม และเจล้าน

ภาษาไทอ่ายตนมีลักษณะคล้ายกันกับภาษาไทอาหม จนอาจมีถิ่นฐานเดิมร่วมกัน การแต่งกายของหญิงชาวไทอ่ายตน แต่งกายคล้ายกับหญิงชาวไทพ่าเก แต่นุ่งซิ่นดำแทนซิ่นลาย มีผ้าสไบเฉียงแบบไทย ทั้งชาวไทเหนือ ในยูนนาน และชาวไทเมา ตลอดจนชาวไทยในประเทศไทย

ส่วนชาวไทอ่ายตนที่ขริกะเตีย มีอยู่ 3 หมู่บ้าน คือ นานคาว ภลีชัน และเภชเภรี รวมเรียกว่า "สยามคาว" (หมู่บ้านสยาม) แต่ภาษาไทที่นี่นั่นสูญหายไปนานแล้ว แม้พ่อเฒ่าอายุ 70 ปีก็ยังจำไม่ได้ แม้ชาวไทอ่ายตนที่นี่ จะสูญเสียภาษาแล้ว แต่ก็ยังมีการผูกข้อมือรับขวัญ อาหารการกินก็คล้ายๆกับหมู่บ้านชาวไทอื่น ๆ รวมทั้งหนังสือ "ปู่สอนหลาน"ก็ยังเป็นคัมภีร์สำคัญของที่นี่ ถึงแม้จะไม่มีใครเข้าใจแล้ว