ชาวมลายูเคป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาวมลายูเคป
Kaapse Maleiers  (อาฟรีกานส์)
มุสลิมเคป
เจ้าสาวและเพื่อนเจ้าสาวชาวมลายูเคปในประเทศแอฟริกาใต้
ประชากรทั้งหมด
325,000 คน[1]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 แอฟริกาใต้
จังหวัดเวสเทิร์นเคป, จังหวัดเคาเต็ง
ภาษา
อาฟรีกานส์, อังกฤษแบบแอฟริกาใต้
อดีต: มลายู, มากัซซาร์, ดัตช์, อาหรับอาฟรีกานส์[2][3]
ศาสนา
อิสลามนิกายซุนนี
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชวา, มลายู, อินเดีย, คอยคอย, มาลากาซี, ดัตช์เคป, ดัตช์, ผิวสีเคป, บูกิส

ชาวมลายูเคป (อาฟรีกานส์: Kaapse Maleiers, کاپز ملیس ในอักษรอาหรับ) บ้างเรียก ชาวมุสลิมเคป[4] หรือเรียก มลายู เฉย ๆ เป็นชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์หรือชุมชนที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศแอฟริกาใต้[5] ชาวมลายูเคปมีบรรพบุรุษเป็นผู้อพยพจากเอเชียใต้ อุษาคเนย์ มาดากัสการ์ และชนพื้นเมืองแอฟริกาที่อาศัยในเคป ช่วงอาณานิคมของดัตช์และบริเตน[5][6][7]

บรรพชนของชาวมลายูเคปกลุ่มแรกที่อพยพเข้ามาสู่เคป เป็นทาสชาวชวามาจากหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์[8] (ปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย)[7] และสมรสข้ามชาติพันธุ์กับทาสมาดากัสการ์ อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแอฟริกาอื่น ๆ[9] ต่อมามีผู้โดยสารเชื้อสายชายชาวอินเดียมุสลิมตั้งถิ่นฐานในเคปและสมรสกับหญิงมลายูเคป ลูกหลานของพวกเขาก็ถูกนับว่าเป็นชาวมลายูเคปด้วย[10] โดยชื่อ "มลายู" นี้ เป็นการเรียกชาวมุสลิมแบบรวม ๆ โดยมิได้จำแนกชาติพันธุ์หรือแหล่งกำเนิด ทั้งนี้พวกเขาใช้ภาษามลายูเป็นภาษากลางสำหรับการเผยแผ่ศาสนา[9] อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ชุมชนนี้ถูกเรียกว่า "มลายู"[6] อย่างไรก็ตามพวกเขามองว่าอัตลักษณ์ความเป็นมุสลิมนั้นโดดเด่นกว่าความเป็นมลายู จึงเรียกตนเองอีกอย่างว่า "ชาวมุสลิมเคป"[4]

ชาวมลายูเคปส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองเคปทาวน์ อาหารของชาวมลายูเคปส่งอิทธิพลอย่างสูงต่ออาหารแอฟริกาใต้ และมีบทบาทสำคัญต่อการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในแอฟริกาใต้ พวกเขาได้พัฒนาภาษาอาฟรีกานส์เป็นภาษาเขียนโดยใช้อักษรอาหรับ[9] และสร้างมัสยิดแห่งแรกในดินแดนแอฟริกาใต้[11][12] แต่ปัจจุบันชาวมลายูเคปส่วนใหญ่พูดภาษาอาฟรีกานส์และภาษาอังกฤษด้วย แต่ไม่มีใครพูดภาษามลายูอีกแล้ว ยังหลงเหลือเพียงคำหรือวลีมลายูสั้น ๆ ที่ใช้อยู่บ้างในชีวิตประจำวัน

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม[แก้]

เอกลักษณ์ของชาวมลายูเคปมีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์และชุมชน ชาวมลายูเคปมีเอกลักษณ์ในความเป็นมุสลิมโดดเด่นกว่าบรรพบุรุษ "ชาวมลายู" ของพวกเขา ในบางบริบท ชาวมลายูเคปก็ถูกเรียกว่า "มาเลย์" และ มุสลิมเคป โดยประชากรทั้งในและนอกชุมชน[4] บรรพบุรุษของชาวมลายูเคปมีที่มาจากเอเชียใต้[6] เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาดากัสการ์ และแอฟริกาซึ่งเป็นชาติพันธุ์ท้องถิ่น เวลาต่อมา ชายมุสลิมชาวอินเดีย ("Passenger Indian") ได้อพยพมาที่เดอะเคปและสมรสกับชาวมลายูเคป ซึ่งบุตรของพวกเขาจะถูกนับว่าเป็นชาวมลายูเคป[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Malay, Cape in South Africa". สืบค้นเมื่อ 2022-03-21.
  2. Stell, Gerald (2007). "From Kitaab-Hollandsch to Kitaab-Afrikaans: The evolution of a non-white literary variety at the Cape (1856-1940)". Stellenbosch Papers in Linguistics (PDF). Stellenbosch University. 37. doi:10.5774/37-0-16.
  3. [https:// https://mediadiversified.org/2016/08/25/the-indonesian-anti-colonial-roots-of-islam-in-south-africa "The Indonesian anti-colonial roots of Islam in South Africa"]. สืบค้นเมื่อ 2022-04-11. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 "Cape Malay | South African History Online". V1.sahistory.org.za. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2011. สืบค้นเมื่อ 2013-05-12.
  5. 5.0 5.1 Pettman, Charles (1913). Africanderisms; a glossary of South African colloquial words and phrases and of place and other names. Longmans, Green and Co. p. 51.
  6. 6.0 6.1 6.2 "Indian slaves in South Africa". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2008. สืบค้นเมื่อ 2011-11-24.
  7. 7.0 7.1 Vahed, Goolam (13 April 2016). "The Cape Malay:The Quest for 'Malay' Identity in Apartheid South Africa". South African History Online. สืบค้นเมื่อ 29 November 2016.
  8. Theal, George McCall (1894). South Africa. New York: G.P. Putman's Sons. p. 35. สืบค้นเมื่อ 2009-12-12.
  9. 9.0 9.1 9.2 Stell, Gerald; Luffin, Xavier; Rakiep, Muttaqin (2008). "Religious and secular Cape Malay Afrikaans: Literary varieties used by Shaykh Hanif Edwards (1906-1958)". Bijdragen tot de Taal-, Land- en Volkenkunde / Journal of the Humanities and Social Sciences of Southeast Asia. 163 (2–3): 289–325. doi:10.1163/22134379-90003687. ISSN 0006-2294.
  10. 10.0 10.1 "The Beginnings of Protest, 1860–1923 | South African History Online". Sahistory.org.za. 6 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-07. สืบค้นเมื่อ 2011-11-06. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "pahadThesis1b" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  11. tinashe (2012-01-13). "History of Muslims in South Africa: 1652 - 1699 by Ebrahim Mahomed Mahida". South African History Online. สืบค้นเมื่อ 2017-09-15.
  12. "History of Muslims in South Africa". maraisburg.co.za (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-09-15.