ชาวบังกลาเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาวบังกลาเทศ
বাংলাদেশি
ประชากรทั้งหมด
ป. 200 ล้านคน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 บังกลาเทศ     162,951,560[1]
ชาวบังกลาเทศพลัดถิ่น
ป. 4.5 ล้านคน
 ซาอุดีอาระเบีย1,309,004[2]
 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์1,089,917[3]
 สหราชอาณาจักร451,529[4]
 มาเลเซีย352,005[5]
 คูเวต279,169[6]
 กาตาร์220,403[7]
 แอฟริกาใต้ป. 200,000[8]
 สิงคโปร์150,000[9]
 โอมาน148,314[10]
 อิตาลี113,811[11]
 บาห์เรน100,444[12]
 มัลดีฟส์47,951[13]
 ออสเตรเลีย27,809[14]
 แคนาดา24,600[15]
 ญี่ปุ่น12,374[16]
 สหรัฐ12,099[17]
 กรีซ11,000[18]
 เกาหลีใต้8,514[19]
 สเปน7,000[18]
 เซอร์เบีย5,000
 โปแลนด์2,500
 รัสเซีย392[20]
ภาษา
[21]
ศาสนา
ส่วนมาก:
90% อิสลาม[22]
ส่วนน้อย:
ฮินดู, พุทธ, คริสต์[23] และอื่น ๆ (รวมอเทวนิยมและผู้ไม่มีศาสนา)[24]

ชาวบังกลาเทศ (เบงกอล: বাংলাদেশী;[25] อังกฤษ: Bangladeshi) เดิมเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ชาวเบงกอล (อังกฤษ: Bangalee)[26] เป็นพลเมืองของประเทศบังกลาเทศ ชื่อ "บังกลาเทศ" ตั้งตามชื่อภูมิภาคประวัติศาสตร์เบงกอลซึ่งประเทศนี้ประกอบเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดและอยู่ทางด้านตะวันออกสุด สถานภาพพลเมืองบังกลาเทศถือกำเนิดขึ้นใน พ.ศ. 2514 เมื่อผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวรของอดีตปากีสถานตะวันออกกลายเป็นพลเมืองของสาธารณรัฐแห่งใหม่[27] บังกลาเทศเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ของโลก ในทางภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ ชาวบังกลาเทศส่วนใหญ่เป็นชาวอินโด-อารยัน พูดภาษาเบงกอล และนับถือศาสนาอิสลาม ประชากรบังกลาเทศอาศัยอยู่หนาแน่นในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมเบงกอลซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์และเป็นศูนย์กลางอารยธรรมแบบเมืองและอารยธรรมการเกษตรมานานหลายพันปี พื้นที่สูงของประเทศซึ่งได้แก่เขตเนินเขาจิตตะกองและภาคสิเลฏเป็นที่อยู่อาศัยของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่าง ๆ

ชาวมุสลิมเบงกอลเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ทางศาสนากลุ่มใหญ่ของบังกลาเทศด้วยจำนวนประชากร 146 ล้านคนซึ่งถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ชาวจิตตะกอง, ชาวรังปุระ และชาวสิเลฏีเป็นประชากรส่วนใหญ่ในภาคจิตตะกอง, ภาครังปุระ และภาคสิเลฏตามลำดับ ชนกลุ่มน้อยชาวฮินดูเบงกอลในบังกลาเทศมีจำนวนมากกว่า 16,238,167 คนซึ่งคิดเป็นร้อยละ 12.07 ของประชากรทั้งหมดในประเทศ ชาวมุสลิมที่ไม่ใช่ชาวเบงกอลเป็นชุมชนผู้ย้ายถิ่นเข้าที่ใหญ่ที่สุด ในขณะที่ชาวจักมาซึ่งเป็นชนกลุ่มทิเบต-พม่า (แต่พูดภาษาจักมาซึ่งเป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยัน) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองที่ใหญ่ที่สุดรองจากชาวเบงกอลซึ่งเป็นชนกลุ่มอินโด-อารยัน[28] ชาวสานถาลซึ่งเป็นชนกลุ่มออสโตรเอเชียติกเป็นชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มใหญ่ที่สุด

ชาวบังกลาเทศพลัดถิ่นอาศัยอยู่หนาแน่นในตะวันออกกลาง, อเมริกาเหนือ และสหราชอาณาจักร ชาวบังกลาเทศหลายแสนคนผู้ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศมีสถานภาพพลเมืองสองสัญชาติในประเทศเครือจักรภพอย่างสหราชอาณาจักรและแคนาดา

อ้างอิง[แก้]

  1. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  2. Migration Profile – Saudi Arabia
  3. Migration Profile – UAE
  4. 2011 Census: KS201UK Ethnic group, local authorities in the United Kingdom ONS, Retrieved 21 October 2013
  5. Migration Profile – Malaysia
  6. Migration Profile – Kuwait
  7. Migration Profile – Qatar
  8. "দক্ষিণ আফ্রিকায় বাংলাদেশি ব্যবসায়ীদের সুনাম | Jamuna TV". Jamuna Television. 27 March 2018. สืบค้นเมื่อ 25 July 2019.
  9. "Bangladesh-Singapore Bilateral Relations". High Commission of Bangladesh, Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 30 November 2015.
  10. Migration Profile – Oman
  11. "Amministrazione Centrale". lavoro.gov.it. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 ธันวาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2015.
  12. Migration Profile – Bahrain
  13. Migration Profile – Maldives
  14. Australian Government – Department of Immigration and Border Protection. "The Bangladesh-born Community". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2014. สืบค้นเมื่อ 14 January 2014.
  15. [1] Ethnic Origin (247), Single and Multiple Ethnic Origin Responses (3) and Sex (3) for the Population of Canada, Provinces, Territories, Census Metropolitan Areas and Census Agglomerations, 2006 Census – 20% Sample Data – Statistics Canada.
  16. "バングラデシュ人民共和国(People's Republic of Bangladesh)". Ministry of Foreign Affairs (Japan) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
  17. "Profiles on Lawful Permanent Residents: 2013 Country". dhs.gov. สืบค้นเมื่อ 11 December 2015.
  18. 18.0 18.1 "IRIN Asia – BANGLADESH: Migrants fare badly in Italy – Bangladesh – Economy – Migration". IRINnews. สืบค้นเมื่อ 11 December 2015.
  19. "체류외국인 국적별 현황", 통계연보(글내용) < 통계자료실 < 출입국·외국인정책본부, South Korea: Ministry of Justice, 2014, p. 290, สืบค้นเมื่อ 15 October 2015
  20. Состав группы населения «Указавшие другие ответы о национальной принадлежности» -ВПН-2010
  21. Ethnologue. "Bangladesh". Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 6 July 2013.
  22. "Chapter 1: Religious Affiliation". The World’s Muslims: Unity and Diversity. Pew Research Center's Religion & Public Life Project. 9 August 2012.
  23. "Bangladesh". The World Factbook. CIA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-29. สืบค้นเมื่อ 22 December 2014.
  24. Bangladesh: Country Profile เก็บถาวร 6 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Bangladesh Bureau of Educational Information and Statistics (BANBEIS)
  25. "৬। নাগরিকত্ব – গণপ্রজাতন্ত্রী বাংলাদেশের সংবিধান". สืบค้นเมื่อ 29 April 2015.
  26. Murshid, Tazeen M. (2001). "State, Nation, Identity: The Quest for Legitimacy in Bangladesh". ใน Shastri, Amita; Jeyaratnam Wilson, A. (บ.ก.). The Post-Colonial States of South Asia: Political and Constitutional Problems. Curzon Press. p. 165. ISBN 978-1-136-11866-1.
  27. https://web.archive.org/web/20121007124849/http://www.unhcr.org/refworld/country%2C%2CNATLEGBOD%2C%2CBGD%2C%2C3ae6b51f10%2C0.html
  28. http://en.banglapedia.org/index.php?title=Chakmas,_The