ชาวซาโปเทก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กลุ่มชนซาโปเทคส์และมิกซ์เทคส์ของโออาฆากา ในสารบบของซาโปเทค มีเทพเจ้าหลายองค์มาก องค์ที่สำคัญได้แก่ ปิตาโอ โคโซบี (Pitao Cozobi) เทพเจ้าแห่งข้าวโพดและการเก็บเกี่ยว เทพเจ้าเสือ (The Jaguar God) ผู้พิทักษ์ถ้ำ ปิตาโอ ฮู (Pitao Xoo) เทพเจ้าแห่งแผ่นดินไหว เทพเจ้างูสามตัว (the Goddess of three Serpents) ผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องอาหาร เทพเจ้าผู้อาวุโส (the Old God) เทพเจ้าค้างคาว (the Bat God) เทพเจ้าแห่งความมืดมัวและใต้บาดาล นอกจากนี้ยังมีเทพนกจะงอยปากกว้าง (the Board-Beaked Bird God) ซึ่งไม่ปรากฏชื่อที่ชัดเจน และยังมีสัตว์อื่น ๆ ที่นำมาเป็นรูปเคารพด้วย อาทิ กะรอกเม็กซิกันและนกนานาชนิด

วัฒนธรรมการแต่งกายของซาโปเทค[แก้]

เครื่องแต่งกายสตรีซาโปเทคส์[แก้]

ประติมากรรมวัฒนธรรมซาโปติกาแบบเรียบง่าย สวมใส่เสื้อที่ทำจากชิ้นผ้าฝ้ายสามเหลี่ยม เรียกว่า ฮุยพิล (huipil) และมีผ้าคลุมหลังเป็นแผ่นสามเหลี่ยมเช่นเดียวกัน เรียกว่า เควกซ์เควเม็ทล์ (quexquemetl) อย่างไรก็ดี ประติมากรรมอื่น ๆ แสดงให้เห็นความประณีตของเครื่องแต่งกาย อาทิ เครื่องประดับ เศียรที่มีการตบแต่งอย่างวิจิตร ทรงผมที่ถูกจัดอย่างประดิษประดอยเป็นทรงต่าง ๆ ทำให้คาดเดาได้ว่า ในสมัยเมโซอเมริกา (Mesoamerica) สตรีชาวโออาฆากันต้องแสดงภาพลักษณ์ที่สง่างาม แสดงถึงฐานะที่สำคัญในสังคมสมัยนั้น

เครื่องแต่งกายบุรุษซาโปเทคส์[แก้]

เครื่องแต่งการส่วนใหญ่จะแยกแยะเห็นด้วยรูปแบบของเสื้อผ้าที่เป็นของผู้ชาย เช่น ผ้านุ่งคล้ายผ้าเตี่ยว ที่เรียกกันว่า maxtlatl การสลักลวดลายไปบนปฏิมากรรมเหล่านี้ทำให้มองเห็นความละเอียดอ่อนของวัสดุที่นำมาใช้เป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย บางครั้งมีเสื้อคลุมพิเศษปกคลุมร่างกายส่วนบน ซึ่งได้ถูกปั้นอย่างอะเอียดจนสามารถมองเห็นริ้วรอยของผ้าที่ตกลงมา และมีลวดลายให้เห็นเป็นผ้าปัก อันแสดงถึงฐานะของผู้สวมใส่ว่าเป็นชั้นหัวหน้า ประติมากรรมบางรูปเป็นรูปบุรุษสวมใส่กระโปรงสั้น หรือกระโปรงที่ร้อยเป็นลูกปัดทำด้วยเปลือกหอยหรือหอยทากตัวเล็ก ๆ ซึ่งทำให้เสื้อผ้าดูมีความเคลื่อนไหวราวกับเป็นคลื่นแห่งทะเล

เครื่องประดับของซาโปเทคส์[แก้]

ในวัฒนธรรมเมโสอเมริกัน (Mesoamerican) เครื่องประดับทั้งหลายถือเป็นสัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา และเครื่องประดับแต่ละประเภทจะถูกนำมาใช้ด้วยวัตถุปะสงค์ที่ชัดเจนเป็นเครื่องชี้บ่งถึงฐานะของคนในสังคมในวัฒนธรรมโบราณของโออาฆากา ช่างฝีมือในสมัยนั้นได้แสดงออกถึงความเป็นยอดในความสามารถผ่านงานปฏิมากรรมและเครื่องปั้นดินเผาที่มีคุณภาพ รูปปั้นขนาดเล็กส่วนใหญ่ ในยุคแห่งการตั้งถิ่นฐานรุ่นแรกจะปรากฏมีการใช้เครื่องประดับหลายรูปแบบ อาทิ ตุ้มหู เครื่องประดับจมูก แผ่นประดับปากและหน้าอก สร้อยคอ กำไล เข็มขัด และริ้วผ้า โดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องประดับเหล่านี้จะทำขึ้นโดยวัสดุที่หาได้ในพื้นที่ เช่น ทอง หยก หินสีเขียว obidian, mica, เปลือกหอย ขนนกและวัสดุอื่น ๆ บางกรณีอาจใช้วัสดุจากที่อื่น ๆ ที่ไกลออกไป อันเป็นผลมาจากการค้าขายกับกลุ่มวัฒนธรรมอื่น ๆ


เครื่องประดับศีรษะ[แก้]

เครื่องประศีรษะที่เป็นส่วนสำคัญของเครื่องแต่งตัวของชาวโออาฆากัน ในสมัยก่อน ฮิสปานิคผู้สวมใส่เครื่องประดับศีรษะจะแสดงให้เห็นตำแหน่งของตนในสังคม เทพเจ้าที่ตนนับถือตลอดจนกลุ่มวัฒนธรรมที่ตนสังกัดอยู่ได้ ที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็นหมวกที่ทำด้วยหนังหรือหัวสัตว์ต่าง ๆ ประดับด้วยขนนก ซึ่งจำมีสีสันสดใสทั้งใบ เป็นไปได้ว่ารูปแบบและองค์ประกอบของเครื่องประดับศีรษะทั้งหมดจะแสดงถึงบทบาท ในสังคมที่แต่ละคนปฏิบัติอยู่ในสังคมในช่วงชีวิตของตน

อ้างอิง[แก้]

  • Browner, C. H. (1986). "Gender Roles and Social Change: A Mexican Case Study". Ethnology 25 (2) : 89–106. doi:10.2307/3773662.