ชาวกาตาลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชาวคาตาลัน)
กาตาลา, กาตาลัน
ประชากรทั้งหมด
c. 5.5 ล้าน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 สเปน
         (คนเกิดในกาตาลุญญา)
4,800,000[1]
 อาร์เจนตินา
         (การประมาณจำนวนไม่แน่นอน)
188,000[2][3]
 ฝรั่งเศส110,000[2]
 เม็กซิโก63,000[2]
 เยอรมนี48,000[2]
 เปรู39,000[2]
 อันดอร์รา29,000[2]
 อิตาลี
         (ชาวอัลเกโรเชื้อสายกาตาลา ในอัลเกโร, ซาร์ดีเนีย)
23,000[2][4]
 ชิลี16,000[2]
 เวเนซุเอลา6,200[2]
 คิวบา3,600[2]
 สหรัฐ
         (การประมาณจำนวนไม่แน่นอน)
700-1,738[1][5]
 เอกวาดอร์850[6]
ภาษา
ภาษากาตาลา (ภาษาแรก); สเปน และ ฝรั่งเศส (ซึ่งเป็นผลมาจากการย้ายถิ่นฐาน หรือ การเปลี่ยนภาษา (language shift))
ศาสนา
ศาสนาคริสต์ (คาทอลิก)[7]
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชาวอารากอน, ชาวอันดอร์รา, ชาวแบลีแอริก, ชาวอุตซิตา, ชาวบาเลนเซีย, ชาติพันธุ์โรมานซ์อื่น ๆ

ชาวกาตาลา (กาตาลา: català) หรือ ชาวกาตาลัน (สเปน: catalán) คือกลุ่มชาติพันธุ์โรมานซ์ (Romance) ซึ่งพูดภาษากาตาลา หรือมีเชื้อชาติกาตาลาผสมผสานอยู่ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกาตาลุญญา สเปน, กาตาลุญญาดัลนอร์ต (กาตาลุญญาเหนือ) ในฝรั่งเศส และประเทศอันดอร์รา โดยคนกาตาลาส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก

ภูมิศาสตร์[แก้]

ชาวกาตาลาส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกาตาลุญญา ซึ่งเป็นเขตปกครองตนเองในสเปน ผู้พูดภาษากาตาลาจำนวนไม่น้อยกว่า 100,000 คนอาศัยอยู่ในเขตเปอีกาตาล็อง (pays catalan) ในฝรั่งเศส มีชาวกาตาลา ซึ่งมีจำนวนไม่ทราบอย่างแน่ชัด ได้อพยพย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศต่าง ๆ ที่เคยที่อยู่ภายใต้จักรวรรดิสเปน เช่น กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา และ ฟิลิปปินส์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการย้ายถิ่นฐานออกจากกาตาลุญญาไปยังประเทศอื่น ๆ ภายหลังช่วงสงครามกลางเมืองสเปนอีกด้วย

กัสเต็ลย์ (castell) คือ ประเพณีท้องถิ่นซึ่งมีการต่อตัวให้เป็นตึกสูง องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนประเพณีนี้ ให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม[8]

วัฒนธรรมและสังคม[แก้]

ภาษา[แก้]

ภาษากาตาลาเป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์อื่นที่มีความใกล้เคียงกับภาษากาตาลามากที่สุด คือ ภาษาอุตซิตา ซึ่งทั้งสองภาษานี้ มีไวยากรณ์และคำศัพท์คล้ายคลึงกับภาษาภาษาโรมานซ์ตะวันตกอื่น ๆ เช่น ภาษาสเปน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโปรตุเกส และ ภาษาอารากอน ภาษากาตาลา สามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงต่าง ๆ โดยสำเนียงที่มีผู้พูดมากที่สุดคือ กาตาลากลาง (català central)

ผู้พูดภาษากาตาลา มีมากกว่า 9.8 ล้านคน (ค.ศ. 2011) โดย 5.9 ล้านคนอาศัยอยู่ในกาตาลุญญา ซึ่งภายในกาตาลุญญา ผู้พูดกาตาลาส่วนใหญ่ สามารถพูดได้สองภาษา โดยผู้ที่อาศัยอยู่ในสเปนมักพูดภาษาสเปนเป็นอีกภาษาหนึ่ง ส่วนผู้ที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศส มักพูดภาษาฝรั่งเศสและภาษากาตาลา

เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 .cat ซึ่งเป็นโดเมนระดับบนสุดที่ใช้ภาษากาตาลาเป็นภาษาหลัก ได้รับการอนุมัติให้เป็นโดเมนของเว็บเพจที่ใช้ภาษากาตาลา เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ภาษากาตาลาในโลกออนไลน์ให้มากขึ้น

การนุ่งห่มตามประเพณี[แก้]

ปัจจุบัน เครื่องแต่งกายตามประเพณีกาตาลา มักสวมใส่ในงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ เท่านั้น ประกอบด้วย หมวกบาร์ราตินา (barretina) (หมวกยาว รูปทรงคล้ายคลึงกับหมวกนอน ทำจากขนสัตว์ โดยมากจะเป็นสีแดงหรือสีม่วง) และฟาชา (faixa) (ผ้าพันเอว หรือเข็มขัด) ซึ่งทั้งสองมักสวมใส่โดยผู้ชาย ส่วนผู้หญิงมักสวมใส่เร็ต (ret) (ผ้าคลุมผม) รองเท้าที่สวมใส่ควบคู่ เรียกว่า อัสปาร์แด็ญญา (espardenya)

เด็กชาวกาตาลาสวมใส่ชุดกาตาลา โดยสวมใส่หมวกบาร์ราตินาสีแดงอยู่ด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Idescat. Statistical Yearbook of Catalonia. Population. By place of birth. Counties, areas and provinces". สืบค้นเมื่อ 29 March 2015.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 Joshua Project. "Catalonian". สืบค้นเมื่อ 29 March 2015.
  3. Catalanes en Cuba
  4. "Catalan". Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 29 March 2015.
  5. Ancestry and Ethnic Origin, US Census
  6. El vicepresident del Govern es reuneix amb el Casal català de Quito เก็บถาวร 2011-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Generalitat de Catalunya
  7. Estadísticas Enseñanzas no Universitarias – Resultados Detallados – Curso 2007–2008, Ministry of Education, educacion.es – Compiled by Fernando Bravo. FP: Formación Profesional (Vocational training).
  8. BBC, Close-Up: Catalonia's human towers