ชาวกวนเช
อนุสาวรีย์เตเกสเตที่กันเดลาเรีย (เกาะเตเนริเฟ) | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
---|---|
ภาษา | |
ภาษากวนเช (อดีต) | |
ศาสนา | |
วิญญาณนิยม (เทพปกรณัมกวนเช) | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ชนเบอร์เบอร์, ชาวกานาเรียส |
ชาวกวนเช (สเปน: Guanche) เป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่เคยอาศัยอยู่ในกลุ่มเกาะกานาเรียสในมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งแอฟริกาเหนือไปทางตะวันตกประมาณ 100 กิโลเมตร (60 ไมล์)[1]
สันนิษฐานกันว่าชาวกวนเชได้มาถึงกานาเรียสแล้วเมื่อประมาณสหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวกวนเชเป็นชนพื้นเมืองเพียงกลุ่มเดียวที่เป็นที่ทราบกันว่าอาศัยอยู่ในกลุ่มเกาะมาคาโรนีเซียก่อนการเข้ามาของชาวยุโรป เนื่องจากไม่มีหลักฐานที่เป็นที่ยอมรับว่ามีผู้อาศัยบนกลุ่มเกาะอื่น ๆ ในมาคาโรนีเซีย (กาบูเวร์ดี มาเดรา และอะโซร์ส) หลังการพิชิตกานาเรียสของสเปนในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวสเปนกำจัดชนพื้นเมืองไปหลายคน[2][3][1] ในขณะที่อีกส่วนแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์[4]
ใน ค.ศ. 2017 มีข้อมูลยืนยันว่าชาวกวนเชมีแหล่งกำเนิดมาจากแอฟริกาเหนือและมีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายกับกลุ่มชนเบอร์เบอร์ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณตอนเหนือของทวีปแอฟริกามากที่สุด[5]
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]ศัพท์พื้นเมือง guanachinet แปลตรงตัวได้ว่า "บุคคลจากเกาะเตเนริเฟ" (จาก Guan = บุคคล และ Achinet = เตเนริเฟ)[1] ฆวน นุญเญซ เด ลา เปญญา รายงานว่า ศัพท์นี้ถูกกัสติยาดัดแปลงไปเป็น Guanches[6] แม้คำว่า Guanche ในทางศัพทมูลวิทยาจะเป็นศัพท์โบราณที่หมายถึงเกาะเตเนริเฟเป็นการเจาะจง แต่ในปัจจุบันคำนี้ส่วนใหญ่ใช้เรียกชนพื้นเมืองทั้งกลุ่มเกาะกานาเรียสก่อนการมาถึงของสเปน[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 12 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 650–651.
- ↑ Adhikari, Mohamed (7 กันยายน 2017). "Europe's First Settler Colonial Incursion into Africa: The Genocide of Aboriginal Canary Islanders". African Historical Review. 49 (1): 1–26. doi:10.1080/17532523.2017.1336863. S2CID 165086773. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2022.
- ↑ Adhikari, Mohamed (25 กรกฎาคม 2022). Destroying to Replace: Settler Genocides of Indigenous Peoples. Indianapolis: Hackett Publishing Company. pp. 1–32. ISBN 978-1-64792-054-8.
- ↑ Fregel, R; Gomes, V; Gusmão, L; และคณะ (2009). "Demographic history of Canary Islands male gene-pool: replacement of native lineages by European". BMC Evol. Biol. 9: 181. doi:10.1186/1471-2148-9-181. PMC 2728732. PMID 19650893.
- ↑ Ricardo Rodríguez-Varel; Torsten Günther; Maja Krzewińska; และคณะ (6 พฤศจิกายน 2017). Genomic Analyses of Pre-European Conquest Human Remains from the Canary Islands Reveal Close Affinity to Ancient Berbers North Africans. Current Biology (Report). Vol. 27. pp. 3396–3402. doi:10.1016/j.cub.2017.09.059.
- ↑ Juan Núñez de la Peña (1676). Conquista y antigüedades de las islas de la Gran Canaria y su descripción, con muchas advertencias de sus privilegios, conquistadores, pobladores y otras particularidades en la muy poderosa isla de Tenerife, dirigido a la milagrosa imagen de Nuestra Señora de Candelaria (ภาษาสเปน). En la Imprenta Real. pp. 102, 167, 562.
- ↑ "Guanche". Diccionario de la lengua española (ภาษาสเปน) (23 ed.). Real Academia Española. 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Canary Islands – Los Guanches ที่ Rare Plants
- พิพิธภัณฑ์เตเนริเฟ ที่ Museos de Tenerife (ในภาษาสเปน)
- The Canaries – Who were the Guanches?, "Archaeology of the Guanches and the Galdar Painted cave"