ชานมฮ่องกง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชานมฮ่องกง
ชานมฮ่องกงแบบร้อน
มื้อเครื่องดื่ม
แหล่งกำเนิดฮ่องกง
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อนหรือเย็น
ส่วนผสมหลักชาแดง นมระเหยหรือนมข้น และน้ำตาล
Hong Kong-style milk tea
ภาษาจีน港式奶茶
เยลกวางตุ้งGóngsīk náaihchà
ความหมายตามตัวอักษรHong Kong-style milk tea
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
ภาษาจีน香港奶茶
เยลกวางตุ้งHēunggóng náaihchà
ความหมายตามตัวอักษรHong Kong milk tea
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ (2)
อักษรจีนตัวเต็ม大排檔奶茶
อักษรจีนตัวย่อ大排档奶茶
เยลกวางตุ้งDaaihpàaidong náaihchà
ความหมายตามตัวอักษรdai pai dong milk tea

ชานมฮ่องกง เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากชาแดงเติมนมระเหยหรือนมข้น วิธีการชงชานมแบบฮ่องกงถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแห่งชาติของฮ่องกง

ต้นกำเนิด[แก้]

ชานมฮ่องกงมีที่มาจากสมัยอาณานิคมบริเตน วัฒนธรรมการดื่มชาของชาวอังกฤษได้รับความนิยมในฮ่องกง ข้อแตกต่างระหว่างชานมฮ่องกงและชานมอังกฤษนั้นอยู่ที่ชนิดของนม โดยชาวฮ่องกงนิยมใช้นมข้นหรือนมระเหยมากกว่านมสดธรรมดา[1]

ร้านไต่ไผ่ตงชื่อหล่านฟ้องยหวิ่น (จีน: 蘭芳園; ยฺหวิดเพ็ง: laan4 fong1 jyun4)[2] อ้างว่าเจ้าของร้านเป็นผู้คิดค้นสูตรชานมฮ่องกงและยวิ้นเยิ้งหรือกาแฟผสมชาใน ค.ศ. 1952[3] แม้ว่าจะไม่มีการยืนยันว่าเจ้าของหล่านฟ้องยหวิ่นค้นสูตรกาแฟผสมชา แต่มีหลักฐานในบันทึกการประชุมสภานิติบัญญัติฮ่องกงอ้างถึงสูตรชานมฮ่องกงของหล่านฟ้องยหวิ่น[4]

ในฮ่องกงนิยมเรียกว่า ไหนฉ่า (จีน: 奶茶; ยฺหวิดเพ็ง: naai5caa4; เยลกวางตุ้ง: náaihchà) หรือชานมเพื่อแยกจาก "ชาจีน" หรือ ฉ่า (จีน: ; ยฺหวิดเพ็ง: caa4; เยลกวางตุ้ง: chà) ซึ่งไม่เติมนม นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อได้แก่ ซี้หมัดไหนฉ่า (จีน: 絲襪奶茶; เยลกวางตุ้ง: sī maht náaihchà) หรือ "ชานมถุงน่อง" เนื่องจากถุงที่ใช้ชงชามีลักษณะคล้ายถุงน่อง[5] ชื่อเรียกนี้นิยมใช้เฉพาะในฮ่องกงและไม่นิยมเรียกในจีนแผ่นดินใหญ่หรือในจ่าจ๊านแท้งนอกฮ่องกง[6]

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแห่งชาติ[แก้]

กระทรวงนันทนาการและวัฒนธรรมของประเทศฮ่องกง (แอลซีเอสดี) ได้ประกาศใน ค.ศ. 2017 ให้ "การชงชานมแบบฮ่องกง" เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแห่งชาติในหมวด "การฝีมือแบบดั้งเดิม" โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับการพิจารณาโดยยูเนสโก[7][8]

การชงชา[แก้]

ชานมร้อนเสิร์ฟพร้อมกับอาหารเช้าในฮ่องกง
"Silk stocking" milk tea
การชงชาโดยใช้ถุงชงชา
อักษรจีนตัวเต็ม絲襪奶茶
เยลกวางตุ้งsī maht náaihchà
ความหมายตามตัวอักษรsilk-stocking milk tea

ชานมฮ่องกงทำจากชาแดงหลายชนิดผสมกัน และอาจจะมีชาผูเอ่อร์ผสมด้วย นอกจากนั้นยังมีนมระเหย (นมข้นจืด) และน้ำตาล เจ้าของร้านกาแฟแต่ละแห่งจะมีสูตรประจำของตนเอง[9] ชานมแบบ ฉ่าเจ๋า (จีน: 茶走; ยฺหวิดเพ็ง: caa4 zau2) จะใช้นมข้นหวานแทนนมระเหยและน้ำตาล ซึ่งทำให้รสชาติเข้มข้นกว่า ร้านกาแฟบางแห่งยังนิยมใช้นมที่เพิ่มไขมันซึ่งทำจากนมพร่องมันเนยผสมกับน้ำมันถั่วเหลือง

การชงชาจะต้มทั้งน้ำและใบชาให้เดือดไปพร้อมกันก่อนจะราไฟลงมาให้เดือดช้า ๆ ประมาณ 3–6 นาที ใบชามักจะใส่ลงไปในถุงชงก่อนเติมน้ำเพื่อให้แยกใบชากับน้ำออกจากกันได้ง่าย หรือถ้าไม่ใช้ถุงชงก็จะกรองด้วยที่กรองหลังต้มเสร็จ[10] บางคนนิยมยกหม้อออกหลังจากต้มเดือดแล้วประมาณ 3 นาที แล้วนำกลับไปต้มใหม่อีกเมื่อต้องการ ขั้นตอนดังกล่าวสามารถกระทำซ้ำได้เรื่อย ๆ ซึ่งทำให้รสชาติของชาเข้มข้นขึ้น[11]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. R. Wertz, Richard. "Hong Kong Style Milk Tea". CULTURAL HERITAGE OF CHINA. ibiblio. สืบค้นเมื่อ 21 March 2013.
  2. "Lan Fong Yuen (Central)". OpenRice Hong Kong (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
  3. "Brand Story_LAN Fong Yuen milk tea". www.hklanfongyuen.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
  4. "OFFICIAL RECORD OF PROCEEDINGS Wednesday, 19 December 2007" (PDF). สภานิติบัญญัติฮ่องกง (ภาษาอังกฤษ). สภานิติบัญญัติฮ่องกง. 2007-12-19. สืบค้นเมื่อ 2021-11-30.
  5. "Hong-kongers crave their iconic pantyhose tea". Reuters. สืบค้นเมื่อ 18 January 2021.
  6. CNN Go 40 Hong Kong foods we can't live without เก็บถาวร 5 พฤศจิกายน 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 13 July 2011. Retrieved 9 October 2011
  7. "First HKICH inventory" (PDF). ICSD.
  8. "Hong Kong-style Milk Tea Making Technique". Intangible Cultural Heritage Office. สืบค้นเมื่อ 18 January 2021.
  9. PeoplesProductionHK (9 November 2011). "《飲食男女—大廚秘技》第廿四回 奶茶 (Cantonese)". youtube.com. สืบค้นเมื่อ 29 October 2012.
  10. "Best milk teas in Hong Kong (Page 1)". CNN Go. 7 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2012. สืบค้นเมื่อ 29 October 2012.
  11. Santina. "Interview with tea restaurant". Taste of tea.Scent of leaves. Taste of tea.Scent of leaves. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-02. สืบค้นเมื่อ 21 March 2013.