ชะญะรุดดุรร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชะญะรุดดุรร์
เหรียญดินาร์ของชะญะรุดดุรร์
สุลต่านหญิงแห่งอียิปต์
ครองราชย์2 พฤษภาคม – กรกฎาคม ค.ศ. 1250
ก่อนหน้าอัลมุอัซซิม ตูรอนชาฮ์
ถัดไปอิซซุดดีน อัยบัก
อุปราชแห่งอียิปต์
ครองราชย์21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1249 – 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1250[1]
สวรรคต28 เมษายน พ.ศ. 1257
ไคโร
ฝังพระศพไคโร
คู่อภิเษกอัศศอเลียะห์ อัยยูบ (เสียชีวิต 1249)
อิซซุดดีน อัยบัก
(สมรส 1250; เสียชีวิต 1257)
พระราชบุตรเคาะลีล
พระนามเต็ม
อัลมะลิกะฮ์ อัศมะตุดดีน อุมม์ เคาะลีล ชะญะรุดดุรร์
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี

ชะญะรุดดุรร์ (อาหรับ: شجر الدر, แปลตรงตัว'ต้นไม้ไข่มุก') หรือ ชะญะเราะตุดดุรร์ (شجرة الدر)[a] มีพระนามาภิไธยว่า อัลมะลิกะฮ์ อัศมะตุดดีน อุมม์ เคาะลีล ชะญะรุดดุรร์ (الملكة عصمة الدين أم خليل شجر الدر; จากพระนามลำลองว่า أم خليل อุมม์ เคาะลีล 'มารดาของเคาะลีล';[b] ? – 28 เมษายน ค.ศ. 1257) เป็นผู้นำของอียิปต์ โดยเป็นพระมเหสีของอัศศอเลียะห์ อัยยูบ สุลต่านอียิปต์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์อัยยูบิด และต่อมาคืออิซซุดดีน อัยบัก สุลต่านองค์แรกแห่งราชวงศ์บะห์รีของมัมลูก ก่อนที่จะเป็นพระมเหสีของอัยยูบ พระองค์เคยเป็นทาสเด็กและนางสนมของสุลต่านอัยยูบมาก่อน[4]

ในด้านการเมือง หลังพระราชสวามีองค์แรกสวรรคต ชะญะรุดดุรร์มีบทบาทสำคัญในช่วงสงครามครูเสดครั้งที่ 7 ตอนโจมตีอียิปต์ (ค.ศ. 1249–1250) พระองค์กลายเป็นซุลฏอนะฮ์แห่งอียิปต์ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1250 ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของราชวงศ์อัยยูบิดและเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยมัมลูก[5][6][7][8] มีทฤษฎีบางประการเกี่ยวกับเชื้อสายของชะญะเราะตุดดุรร์ โดยนักประวัติศาสตร์มุสลิมหลายคนเชื่อว่าพระองค์อาจเป็นต้นกำเนิดเป็นชาวเบดูอิน, ซีร์แคสเซีย, กรีก หรือเติร์ก และบางส่วนเชื่อว่าพระองค์มีต้นกำเนิดเป็นชาวอาร์มีเนีย[9][10]

ชื่อ[แก้]

ข้อมูลบางส่วนยืนยันว่า ชะญะตุดดุรร์นำตำแหน่งซุลฏอนะฮ์ (سلطانة) รูปเพศหญิงของสุลต่าน มาใช้งาน[11] อย่างไรก็ตาม ในข้อมูลทางประวัติศาสตร์ (โดยเฉพาะอิบน์ วาศิล) และบนเหรียญเท่าที่มีอยู่ของชะญะเราะตุดดุรร์ พระองค์มีคำนำหน้าว่า “สุลต่าน”[12]

เหรียญ[แก้]

พระนามและพระยศที่มีบนเหรียญของชะญะรุดดุรร์ มีดังนี้: อัลมุสตะอ์ซิมียะฮ์ อัศศอลิฮียะฮ์ มะลิกะตุลมุสลิมีน วาลิดะตุลมะลิก อัลมันศูร เคาะลีล อะมีรุลมุอ์มินีน (มุสตะอ์ซิมียะฮ์ อัศศอลิฮียะฮ์ ราชินีของมุสลิมทั้งปวง มารดาของกษัตริย์อัลมันศูร เคาะลีล อะมีรผู้ซื่อสัตย์) และชะญะเราะตุดดุรร์ ส่วนพระนามเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ที่อยู่บนเหรียญของพระองค์ คือ: อับดุลลอฮ์ บิน อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. Stewart, John (1989). African States and Rulers. London: McFarland. p. 8. ISBN 0-89950-390-X.
  2. Abu Al-Fida, pp.66-87/Year 648H.
  3. Al-Maqrizi,p.459/vol.1.
  4. Ruggles, D. Fairchild (2020). Tree of pearls : the extraordinary architectural patronage of the 13th-century Egyptian slave-queen Shajar al-Durr. New York, NY. p. 98. ISBN 978-0-19-087322-6. OCLC 1155808731.{{cite book}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)
  5. Some historians regard Shajar al-Durr as the first of the Mamluk sultans. – (Shayyal, p.115/vol.2)
  6. Al-Maqrizi described Shajar al-Durr as the first of the Mamluk sultans of Turkic origin. " This woman, Shajar al-Durr, was the first of the Turkish Mamluk kings who ruled Egypt " – (Al-Maqrizi, p.459/ vol.1)
  7. Ibn Iyas regarded Shajar al-Durr as an Ayyubid. – (Ibn Iyas, p.89)
  8. According to J. D. Fage " it is difficult to decide whether this queen (Shajar al-Durr) was the last of the Ayyubids or the first of the Mamluks as she was connected with both the vanishing and the oncoming dynasty". Fage, p.37
  9. Al-Maqrizi, Ibn Taghri and Abu Al-Fida regarded Shajar al-Durr as Turkic. Al-Maqrizi and Abu Al-Fida, however, mentioned that some believed she was of Armenian origin. (Al-Maqrizi, p. 459/vol.1) – (Ibn Taghri,p.102-273/vol.6)- (Abu Al-Fida, pp.68-87/Year 655H)
  10. Dr. Yürekli, Tülay (2011), The Pursuit of History (International Periodical Research Series of Adnan Menderes University), Issue 6, Page 335, The Female Members of the Ayyubid Dynasty, Online reference: "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 December 2011. สืบค้นเมื่อ 17 December 2011.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  11. Meri, Josef W., บ.ก. (2006). Medieval Islamic Civilization: An Encyclopedia. Vol. Volume 2: L–Z, index. New York: Routledge. p. 730. ISBN 978-0-415-96692-4. OCLC 314792003. สืบค้นเมื่อ 1 March 2010. ... Shajar al-Durr was proclaimed sultana (the feminine form of sultan) of the Ayyubid dominions, although this was not recognized by the Syrian Ayyubid princes. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)
  12. Ruggles, D. F. (19 May 2020). Tree of Pearls. Oxford University Press. pp. 60–62. ISBN 978-0190873202.
  13. Mahdi,pp. 68–69
หมายเหตุ
  1. บนเหรียญมีพระนามของพระองค์ว่า ชะญะเราะตุดดุรร์ ดูข้างล่าง
  2. แล้วก็ วาลิดะฮ์ เคาะลีล (والدة خليل) ซึ่งมีความหมายเดียวกัน เคาะลีลเป็นพระราชโอรสที่สวรรคตของสุลต่านอัศศอเลียะห์ อัยยูบ พระองค์ใช้พระนามนี้เพื่อเป็นทายาทและผู้ปกครองที่ถูกต้องตามกฎหมายและรวมเข้าด้วยกัน พระองค์ลงนามในเอกสารทางการและพระราชกฤษฎีกาด้วยพระนาม วาลิดะฮ์ เคาะลีล[2][3]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Abu al-Fida, The Concise History of Humanity.
  • Al-Maqrizi, Al Selouk Leme'refatt Dewall al-Melouk, Dar al-kotob, 1997.
  • Idem in English: Bohn, Henry G., The Road to Knowledge of the Return of Kings, Chronicles of the Crusades, AMS Press, 1969.
  • Al-Maqrizi, al-Mawaiz wa al-'i'tibar bi dhikr al-khitat wa al-'athar,Matabat aladab,Cairo 1996, ISBN 977-241-175-X.
  • Idem in French: Bouriant, Urbain, Description topographique et historique de l'Egypte,Paris 1895
  • Ibn Iyas, Badai Alzuhur Fi Wakayi Alduhur, abridged and edited by Dr. M. Aljayar, Almisriya Lilkitab, Cairo 2007, ISBN 977-419-623-6
  • Ibn Taghri, al-Nujum al-Zahirah Fi Milook Misr wa al-Qahirah, al-Hay'ah al-Misreyah 1968
  • History of Egypt, 1382–1469 A.D. by Yusef. William Popper, translator Abu L-Mahasin ibn Taghri Birdi, University of California Press 1954
  • Asly, B., al-Zahir Baibars, Dar An-Nafaes Publishing, Beirut 1992
  • Goldstone, Nancy (2009). Four Queens: The Provençal Sisters Who Ruled Europe. Phoenix Paperbacks, London.
  • Sadawi. H, Al-Mamalik, Maruf Ikhwan, Alexandria.
  • Mahdi,Dr. Shafik, Mamalik Misr wa Alsham ( Mamluks of Egypt and the Levant), Aldar Alarabiya, Beirut 2008
  • Shayyal, Jamal, Prof. of Islamic history, Tarikh Misr al-Islamiyah (History of Islamic Egypt), dar al-Maref, Cairo 1266, ISBN 977-02-5975-6
  • Sirat al-Zahir Baibars, Printed by Mustafa al-Saba, Cairo 1923. Repulished in 5 volumes by Alhay'ah Almisriyah, Editor Gamal El-Ghitani, Cairo 1996, ISBN 977-01-4642-0
  • Sirat al-Zahir Baibars, assembled H. Johar, M. Braniq, A. Atar, Dar Marif, Cairo 1986, ISBN 977-02-1747-6
  • The chronicles of Matthew Paris ( Matthew Paris: Chronica Majora ) translated by Helen Nicholson 1989
  • The Memoirs of the Lord of Joinville, translated by Ethel Wedgwood 1906
  • The New Encyclopædia Britannica, Macropædia,H.H. Berton Publisher,1973–1974
  • Meri, Josef W. (Editor). Medieval Islamic Civilization: An Encyclopedia. Routledge, 2006. web page
  • Perry, Glenn Earl. The History of Egypt – The Mamluk Sultanate. Greenwood Press, 2004. page 49
  • Qasim, Abdu Qasim Dr., Asr Salatin AlMamlik ( era of the Mamluk Sultans ), Eye for human and social studies, Cairo 2007
  • Irwin, Robert. The Middle East in the Middle Ages: The Early Mamluk Sultanate, 1250–1382. Routledge, 1986. web page
  • Ruggles, D. F. Tree of Pearls: The Extraordinary Architectural Patronage of the 13th Century Egyptian Slave-Queen Shajar al-Durr (Oxford University Press, 2020)
  • Ruggles, D. F. “The Geographic and Social Mobility of Slaves: The Rise of Shajar al-Durr, a Slave-Concubine in 13th-century Egypt,” The Medieval Globe, vol. 2.1 (2016): 41–55
  • Ruggles, D. F. “Visible and Invisible Bodies: The Architectural Patronage of Shajar al-Durr,” Muqarnas 32 (2015): 63–78

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]