ชอร์บา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชอร์บา
ชอร์บาถั่วขาว มะเขือเทศ และพริกหวานแบบบัลแกเรีย
ชื่ออื่นชอร์เบอ, ชอร์โป, โชร์บา, โชร์ปา, โชร์วา, ชูร์บัด, ชูร์ปา, โซร์ปา
ประเภทซุปหรือสตู
ภูมิภาคบอลข่าน, ยุโรปกลาง, ยุโรปตะวันออก, เอเชียกลาง, แอฟริกาเหนือ

ชอร์บา (ตุรกี: çorba; บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: чорба / čorba; บัลแกเรีย: чорба) เป็นประเภทกว้าง ๆ ของสตูหรือซุปข้นที่พบในอาหารประจำชาติของประเทศในตะวันออกกลาง ยุโรปกลาง ยุโรปตะวันออก เอเชียกลาง และอนุทวีปอินเดีย นิยมเสิร์ฟเป็นจานเดี่ยว ๆ[1] ในฐานะซุป หรือเสิร์ฟกับขนมปัง[2]

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

คำว่า ชอร์บา ในภาษาต่าง ๆ มีที่มาหลากหลาย โดยอาจแผลงมาจากคำในภาษาอาหรับถิ่นว่า ชูรบะฮ์ (شوربة)[3][4] ซึ่งแปลว่า 'ซอสข้น';[5] แผลงมาจากศัพท์ในภาษาเปอร์เซียว่า โชร์บา (شوربا) ซึ่งมาจากคำว่า โชร์ (شور, 'เค็ม') ประสมกับคำว่า อาบ (آب, 'น้ำ') หรือคำว่า มา (ما, 'สตู, แกง');[6] หรืออาจมาจากคำที่สมมุติว่าเป็นคำร่วมเชื้อสายคำหนึ่งซึ่งพบทั้งในภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซีย[7]

ชื่ออื่น ๆ ได้แก่ ชอร์เบอ (โรมาเนีย: ciorbă), ชอร์โป (คีร์กีซ: шорпо), โชร์บา (อามารา: ሾርባ), โชร์ปา (อุยกูร์: شورپا / шорпа), โชร์วา (ปาทาน: شوروا; อุซเบก: shoʻrva), ชูร์บัด (โซมาลี: shurbad), ชูร์ปา (รัสเซีย: шурпа) และ โซร์ปา (คาซัค: сорпа / sorpa)

ประเภท[แก้]

โชร์วา (شوروا) เป็นซุปอัฟกันที่ทำง่าย แต่เนื่องจากใช้เวลานานในการปรุงจึงนิยมใช้หม้ออัดแรงดันเพื่อร่นระยะเวลา ส่วนผสมหลักคือมันฝรั่ง ถั่ว และเนื้อสัตว์[8] นิยมเสิร์ฟกับขนมปังแผ่นแบน[9] โดยฉีกขนมปังในวงกินข้าวลงไปผสมในซุป[10]

ชอร์เบอ (ciorbă) ตามที่เรียกในประเทศมอลโดวาและประเทศโรมาเนียนั้นประกอบด้วยผัก เนื้อสัตว์ และสมุนไพรต่าง ๆ ส่วน บอร์ช (borș) เป็นซุปเปรี้ยวที่รับประทานกันในประเทศมอลโดวาและภูมิภาคมอลโดวาของประเทศโรมาเนีย[11] กล่าวกันว่าซุปชนิดนี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ[12] โดยช่วยกระตุ้นระบบการย่อยอาหารและต้านโรคหวัด[13]

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "What is Shorba and why is it good for you in winter". Entertainment Times. India. 2019-12-27. สืบค้นเมื่อ 2021-05-25.
  2. Roden, Claudia (1974). A Book of Middle Eastern Food. United States: Random House, Inc., New York. p. 109. ISBN 0394-71948-4.
  3. Marks, Gil (2010-11-17). Encyclopedia of Jewish Food (ภาษาอังกฤษ). HMH. ISBN 9780544186316.
  4. "What is Shorba and why is it good for you in winter". Entertainment Times. India. 2019-12-27. สืบค้นเมื่อ 2021-05-25.
  5. Paniz, Neela (2015-11-05). Indian Slow Cooker (ภาษาอังกฤษ). Ebury Publishing. ISBN 9781473528673.
  6. Alan Davidson (21 September 2006). The Oxford Companion to Food. OUP Oxford. pp. 2055–. ISBN 978-0-19-101825-1.
  7. Khan, Abdul Jamil (2006). Urdu/Hindi: An Artificial Divide: African Heritage, Mesopotamian Roots, Indian Culture & Britiah Colonialism (ภาษาอังกฤษ). Algora Publishing. ISBN 9780875864396.
  8. "Shorwa-E-Tarkari (Meat & Veg Soup)". KitchenRecipes.
  9. "Shorwa-E-Tarkari (Meat & Veg Soup) | Afghan Kitchen Recipes".
  10. Bradnock, Robert W. (1994). South Asian Handbook (ภาษาอังกฤษ). Trade & Travel Publications. ISBN 9780844299808.
  11. "Teorii de istorie culinară care ne dezamăgesc: borşul şi mujdeiul, singurele alimente cu adevărat româneşti. Micii inventaţi de Cocoşatu' – un mit urban". adevarul.ro (ภาษาอังกฤษ). July 30, 2015. สืบค้นเมื่อ 2020-03-17.
  12. "Supa şi ciorba: scurtă istorie". www.historia.ro (ภาษาโรมาเนีย). สืบค้นเมื่อ 2020-03-17.
  13. "Ce ciorbă preferă să mănânce românii". A1.RO (ภาษาโรมาเนีย). สืบค้นเมื่อ 2020-03-17.