สะพานชมัยมรุเชฐ

พิกัด: 13°45′47″N 100°30′50″E / 13.763187°N 100.513766°E / 13.763187; 100.513766
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชมัยมรุเชฐ)
สะพานชมัยมรุเชฐ
เส้นทางถนนพิษณุโลก
ข้ามคลองเปรมประชากร
ที่ตั้งแขวงสวนจิตรลดา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานชมัยมรุเชฐ เป็นสะพานข้ามคลองเปรมประชากร อยู่บนถนนพิษณุโลกบริเวณแยกพาณิชยการจุดจัดกับถนนพระรามที่ 5 แขวงสวนจิตรลดา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โรงเรียนราชวินิต มัธยม และใกล้เคียงกับวัดเบญจมบพิตร

สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2444 โดยสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงสร้างเพื่ออุทิศถวายแด่สมเด็จพระเชษฐา 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ เนื่องในวโรกาสที่ในปีนั้น พระองค์มีพระชนมายุ 15 พรรษา และจะก้าวเข้าสู่พระชนมายุ 17 พรรษา เสมอด้วยพระเชษฐาทั้งสองพระองค์ โดยชื่อของสะพานได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "สะพานชมัยมรุเชฐ" (ในราชกิจจานุเบกษาสะกดว่า "ชมัยมรุเชษฐ") ซึ่งหมายถึง "พี่ชายผู้เป็นเทพ 2 พระองค์"[1][2]

ปัจจุบัน สะพานชมัยมรุเชฐถูกต่อเติมขยายออกไปจนหมดสภาพดั้งเดิม คงเหลือเพียงป้ายโลหะชื่อสะพาน ที่ยังเป็นของเดิม

อ้างอิง[แก้]

  1. อุดม เชยกีวงศ์. อนุสาวรีย์ (วัด สะพาน คลอง ถนน). กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ภูมิปัญญา, พ.ศ. 2549. 520 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9948-37-8
  2. ราชกิจจานุเบกษา, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ทรงบริจาคทรัพย์สร้างตะพาน (ตะพานชมัยมรุเชษฐ), เล่ม ๑๗, ตอน ๓๒, ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๓, หน้า ๔๒๘

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°45′47″N 100°30′50″E / 13.763187°N 100.513766°E / 13.763187; 100.513766

สะพานข้ามคลองเปรมประชากรในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
สะพานอรไทย
สะพานชมัยมรุเชฐ
ท้ายน้ำ
สะพานศรีอยุธยา