ฉบับร่าง:โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล
![]() | นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ Phaisit16207 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 9 เดือนก่อน (ล้างแคช) |
โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล | |
---|---|
Sakonrajwittayanukul School | |
ที่ตั้ง | |
74/26 ถนนใสสว่าง ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ส.ก.ร. |
ประเภท | โรงเรียนสังกัด สพฐ. โรงเรียนประจำจังหวัด โรงเรียนประเภทสหศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | รักการอ่าน วิชาการเป็นเลิศ |
ก่อตั้ง | 23 มกราคม พ.ศ. 2454 (112 ปี) |
รหัส | 1047540626 |
ผู้อำนวยการโรงเรียน | นายยงค์ยุทธ เขื่อนขันธ์ |
ครู/อาจารย์ | 199 คน[1] |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาตอนต้น - มัธยมศึกษาตอนปลาย |
จำนวนนักเรียน | 3,636 คน ปีการศึกษา 2564[2] |
ภาษา | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
ห้องเรียน | 95 ห้อง |
สี | ขาว - แดง |
เพลง | มาร์ชโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล |
คติพจน์ | นตฺถิปญฺญา สมาอาภา (แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี) |
ต้นไม้ประจำโรงเรียน | พิกุล |
สหวิทยาเขต | สกลราช |
เว็บไซต์ | www |
โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล (อังกฤษ : Sakonrajwittayanukul School) เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดสกลนคร เปิดสอนแบบโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีชื่อเรียกอย่างย่อว่า สกลราช อักษรย่อ ส.ก.ร.
ประวัติโรงเรียน[แก้]
โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดสกลนคร ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานเพียงแต่พอทราบจากการบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระผู้พระราชทานการศึกษาแก่ทวยราษฎร์พระองค์ ได้ทรงขยายการศึกษาออกสู่หัวเมืองต่างๆ การเรียนการสอน ในจังหวัดสกลนครได้มีขึ้นในช่วงรัชสมัยของพระองค์ท่านด้วย
โดย มีโรงเรียนเดิมตั้งอยู่วัดกลาง (บริเวณตลาดศรีคูณเมืองปัจจุบัน) มีชื่อเรียกว่า “ โรงเรียนวัดกลางรามวิทยา ” โดยมีพระครูคำ เป็นผู้ดำเนินการสอน บางครั้งก็ย้ายไปสอนตามบ้านข้าราชการในสมัยนั้นบ้าง นักเรียนในสมัยนั้นเมื่อจบหลักสูตรก็ต้องออกไปรับราชการเป็นเสมียน เท่าที่ทราบจากการบอกเล่าโดยย่อมีเพียงเท่านี้ ต่อมาโรงเรียนได้รับการพัฒนาด้านอาคารสถานที่ และปรับปรุงหลักสูตรสรุปได้ ดังนี้
พ.ศ. 2454 ได้ย้ายมาจากวัดกลาง มาตั้งที่โรงเรียนเชิงชุมราษฎร์นุกูลในปัจจุบัน มีอาคารเรียนเป็นเรือนไม้ ยกพื้นสูง มีหน้ามุขหนึ่งมุขสี่หน้องเรียน
พ.ศ. 2455 ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนในเมืองสกลนครร่วมกันบริจาคทรัพย์ สร้างอาคารใหม่เพิ่ม เป็นอาคารไม้หลังคามุงกระเบื้อง ได้รับการสถาปนาชื่อเป็น “ โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ” ทำบุญฉลองและเปิดทำการเรียนการสอน เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2455 จึงถือเอาวันที่ 23 มกราคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล[3]
พ.ศ. 2461 ได้รื้ออาคารเรียนหลังเดิมสร้างใหม่เป็นเรือนไม้ใต้ถุนเตี้ย มีแปดห้องเรียน หันหน้าออกสู่ถนนด้านทิศใต้ สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2463
พ.ศ. 2467 ได้ขยายเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
พ.ศ. 2475 ได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่เป็นเรือนไม้สูง เสาอิฐถือปูน มีเก้าห้องเรียน
พ.ศ. 2480 ขยายชั้นเรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
พ.ศ. 2503 ขยายชั้นเรียนถึงชั้นเตรียมวิทยาศาสตร์ (ตว.1) ม.7-ม.8 นายแก้ว อุปพงษ์ เป็นอาจารย์ใหญ่ ขณะนั้นได้เชิญชวนคหบดีเมืองสกลนคร นายเขียน-นางบัวแถว มาลัยกรอง บริจาคเงินสร้างอาคารเรียนให้โรงเรียน ชื่อ “ ตึกมาลัยกรอง ”
พ.ศ. 2510 นายสำเริง นิลประดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนขณะนั้น ได้เสนอรวมโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล โรงเรียนสตรีสกลรัตน์และโรงเรียนการช่างสตรีสกลนครเข้าด้วยกัน
พ.ศ. 2511 ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2511 ให้รวม 3 โรงเรียนเข้าด้วยกันโดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล” ตามนโยบายของกรมสามัญศึกษา เพื่อใช้หลักสูตร คมส.( โครงการ โรงเรียนมัธยมแบบผสม) โดยความร่วมมือช่วยเหลือของ USOM เนื่องจากบริเวณโรงเรียนเดิมมีโรงเรียนเชิงชุมราษฎร์นุกูลกั้นอยู่ ทำให้ไม่สะดวกต่อการบริหารงานด้านการเรียนการสอน ดังนั้น ทางโรงเรียนและจังหวัดได้ทำเรื่องเสนอกระทรวงศึกษาธิการ ขอแลกเปลี่ยนบริเวณ โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล กับ โรงเรียนเชิงชุมราษฎร์นุกูล กระทรวงศึกษาได้อนุมัติให้ดำเนินการตามประสงค์ ซึ่งมีที่ตั้งและอาณาเขตดังเช่นปัจจุบัน
โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล มีการพัฒนาให้ก้าวหน้ามาเป็นลำดับ ปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล พุทธศักราช 2552 (ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551) หลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ พุทธศักราช 2553 และหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล พุทธศักราช 2553 มีนักเรียนทั้งสิ้น 3,990 คน มีครูและบุคลากรทางการศึกษา 189 คน มีนายประทวน สมบูรณ์ เป็นผู้บริหารโรงเรียน
พ.ศ. 2554 วันที่ 23 มกราคม 2554 โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ได้ทำการเฉลิมฉลองครบรอบการก่อตั้ง 100 ปี 2454 จากวัดกลางรามวิทยา สู่ สกลราชวิทยานุกูล
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน[แก้]
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล[4] | |||
---|---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | วุฒิการศึกษา | ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง |
1 | พระครูคำ | - | ก่อน - พ.ศ. 2454 |
2 | ขุนบริรักษ์สิกขาการ | - | พ.ศ. 2454 - พ.ศ. 2461 |
3 | ราชบุรุษทัศน์ วีระกุล | - | พ.ศ. 2461 - พ.ศ. 2463 |
4 | ขุนภูมิภักดิ์ศึกษาการ(สอน ภูมิภักดิ์) | - | พ.ศ. 2463 - พ.ศ. 2472 |
5 | นายสนิท สุวรรณทัต | ป.ม. | พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2482 |
6 | นายถวิล สุริยนต์ | ป.ม.,อ.บ.,ธ.บ. | พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2483 |
7 | นายสนอง สุขสมาน | ป.ม.,อ.บ. | พ.ศ. 2483 - พ.ศ. 2485 |
8 | นายพิษณุ ชัชวาลย์ปรีชา | ป.ม. | พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2487 |
9 | นายเรวัต ชื่นสำราญ | ป.ม. | พ.ศ. 2487 - พ.ศ. 2490 |
10 | นายเหลือ คำพิทักษ์ | ป.ม. | พ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2494 |
11 | นายแก้ว อุปพงษ์ | ป.ม. | พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2503 |
12 | นายสุวิต โรจนชีวะ | ป.ม.,ธ.บ. | พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2511 |
13 | นายสำเริง นิลประดิษฐ์ | ป.ม.,กศ.ม. | พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2517 |
14 | นายมงคล สุวรรณพงษ์ | ป.ม.,นบ.ท. | พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2529 |
15 | นายนิรัตน์ วิภาวิน | ป.ม.,ศศ.บ. | พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2533 |
16 | นายบุญธรรม กัลยาบาล | กศ.ม.,ศษ.ม. | พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535 |
17 | นายล้วน วรนุช | พ.ม.,กศ.ม. | พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2538 |
18 | นางสุมาลี บุณยารมย์ | อ.บ.,M.E d | พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2541 |
19 | นายแสง ชานัย | กศ.ม.,ศศ.บ. | พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2544 |
20 | นายเบญจกูล ศิริพรรณ | กศ.บ.,น.บ.,กศ.ม. | พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2549 |
21 | นายสมชาย โสมรักษ์ | กศ.ม.,วท.ม. | พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2553 |
22 | นายประทวน สมบูรณ์ | กศ.ม.,ศษ.ม. | พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2557 |
23 | นายวราพจน์ บุตรราช | กศ.ม. | พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2558 |
24 | นายประเสริฐ สวัสดิ์จิตร์ | กศ.ม. | พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2561 |
25 | นายยงศ์ยุทธ์ เขื่อนขันธ์ | ศษ.บ.,ค.ม. | พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_techer.php?School_ID=1047540626&Area_CODE=101723
- ↑ https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_student.php?School_ID=1047540626&Area_CODE2=470001
- ↑ แจ้งความกระทรวงธรรมการแผนกศึกษามณฑล เรื่องผู้ว่าราชการกรมการได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นที่วัดกลางเมืองสกลนคร
- ↑ http://www.sakolraj.ac.th/about/executives/
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล
- ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูลในระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
![]() |
บทความเกี่ยวกับสถานศึกษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |