ฉบับร่าง:เรื่องเล่าเช้านี้
![]() | นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ Jeabbabe (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 2 วันก่อน (ล้างแคช) |
เรื่องเล่าเช้านี้ | |
---|---|
ประเภท | ข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน |
เสนอโดย | สรยุทธ สุทัศนะจินดา พิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ เอกราช เก่งทุกทาง |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ![]() |
ภาษาต้นฉบับ | ![]() |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง | สรยุทธ สุทัศนะจินดา อังคณา วัฒนมงคลศิลป์ |
สถานที่ถ่ายทำ | สตูดิโอชั้น 10 อาคารมาลีนนท์ |
กล้อง | หลายกล้อง |
ความยาวตอน | 145 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | ปัจจุบัน ฝ่ายข่าว ช่อง 3 เอชดี บริษัท ชัดถ้อยชัดคำ จำกัด อดีต บริษัท ไร่ส้ม จำกัด เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ บางกอกการละคอน |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ปัจจุบัน ช่อง 3 เอชดี (โทรทัศน์) วิทยุครอบครัวข่าว ส.ทร.เอฟเอ็ม 106 (วิทยุ) อดีต อีซี่เอฟเอ็ม 105.5 |
ระบบภาพ | PAL (พ.ศ. 2546 - 2563) HDTV 1080i (พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน) |
ระบบเสียง | เสียงสเตอริโอ |
ออกอากาศ | 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน |
เรื่องเล่าเช้านี้ เป็นรายการโทรทัศน์ภาคเช้าประเภทเล่าข่าว ด้วยภาษาที่เป็นกันเองกับผู้ชม ปัจจุบันผลิตโดยฝ่ายข่าวของช่อง 3 ร่วมกับบริษัท ชัดถ้อยชัดคำ จำกัด ของสรยุทธ สุทัศนะจินดา เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 รายการ คือ เรื่องเล่าเช้านี้ ออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 06:00 - 08:25 น., เรื่องเล่า เสาร์-อาทิตย์ ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 10:15 - 12:15 น., เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง ออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 05:30 - 06:00 น. โดย 3 รายการนี้ออกอากาศทางช่อง 3 เอชดี รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางช่องทางเฟซบุ๊ก ยูทูบ และติ๊กต็อกของเรื่องเล่าเช้านี้ และ กรรมกรข่าวคุยนอกจอ ออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ หลังจบรายการเรื่องเล่าเช้านี้ โดยเผยแพร่ผ่านทางช่องทางเฟซบุ๊ก ยูทูบ และติ๊กต็อกของสรยุทธ
ประวัติ[แก้]
จุดเริ่มต้นของรายการนี้มาจากการที่ สุพล วิเชียรฉาย ผู้กำกับละครจากค่ายบางกอกการละคอน ในเครือบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (ชื่อในขณะนั้น) นำสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ประกาศข่าวจากเนชั่น แชนแนล ในขณะนั้น มาเป็นพิธีกรในรายการเกมโชว์รายการใหม่ของตน ชื่อว่า "กล่องวิเศษ Magic Box" ออกอากาศทางช่อง 3 เมื่อต้นปี พ.ศ. 2546 ทำให้ประวิทย์ มาลีนนท์ ผู้บริหารช่อง 3 ในขณะนั้น เกิดแนวคิดในการผลิตรายการภาคเช้าในรูปแบบของสรยุทธ[1]
ในช่วงเริ่มแรก ช่อง 3 ต้องการให้สรยุทธทำหน้าที่จัดรายการภาคเช้าทุกวันจันทร์-ศุกร์ วันละครึ่งชั่วโมง ก่อนไปจัดรายการ "เก็บตกจากเนชั่น" ทางเนชั่น แชนแนลต่อ แต่ปรากฏว่า บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด เจ้าของสถานีโทรทัศน์เนชั่น แชนแนล ไม่ยินยอมที่จะให้ไปทำรายการดังกล่าว ดังนั้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 สรยุทธจึงลาออกจากการเป็นพนักงานของเนชั่น แชนแนล เพื่อมาทำหน้าที่ในรายการดังกล่าวเต็มรูปแบบ[2] ส่วนชื่อรายการ สรยุทธเล่าว่า เดิมเกือบตั้งชื่อรายการว่า "คุยคุ้ยข่าว" (ซึ่งต่อมาเป็นชื่อรายการที่สรยุทธทำกับกนก รัตน์วงศ์สกุล ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี) และอีกหลากหลายชื่อที่มีคำว่า "เช้า" เข้ามาผสม จนกระทั่งลงตัวที่ชื่อรายการ "เรื่องเล่าเช้านี้" และเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546[3]
ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2563 กลุ่มบีอีซีเวิลด์ ได้ขายหุ้นทั้งหมด 59.99% ที่ถืออยู่ในบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) คิดเป็นมูลค่า 15 ล้านบาท ให้กับไบรอัน ลินด์เซ มาร์การ์ กรรมการผู้จัดการของบีอีซี-เทโร บีอีซี-เทโร จึงเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) โดยเทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ได้โอนกรรมสิทธิ์ในการผลิตและบริหารรายการข่าวแบรนด์เรื่องเล่าทั้ง 3 รายการ คือ เรื่องเล่าเช้านี้ เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง และเรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ กลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของช่อง 3 และกลุ่มบีอีซีเวิลด์ เนื่องจากเป็นรายการข่าวที่เป็นแบรนด์ของช่อง 3 อย่างชัดเจน ส่งผลให้ปัจจุบันทั้ง 3 รายการ ผลิตโดยฝ่ายข่าวของช่อง 3 เป็นหลัก[4]
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2565 บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ได้ปิดกิจการ[5] ทำให้บริษัท ชัดถ้อยชัดคำ จำกัด ซึ่งเป็นอีกบริษัทหนึ่งที่สรยุทธก่อตั้ง เป็นผู้ร่วมผลิตรายการเรื่องเล่าเช้านี้ในส่วนของสรยุทธแทน
รูปแบบรายการ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (กันยายน 2023) |
เรื่องเล่าเช้านี้[แก้]
เรื่องเล่าเช้านี้ เป็นรายการโทรทัศน์ภาคเช้าประเภทเล่าข่าว ด้วยภาษาที่เป็นกันเองกับผู้ชม โดยมีรูปแบบรายการเป็นการจัดรายการคู่กันระหว่างสรยุทธ สุทัศนะจินดา กับผู้ประกาศข่าวหญิงซึ่งได้ปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย เช่น ปุณยวีร์ สุขกุลวรเศรษฐ์, มีสุข แจ้งมีสุข, สู่ขวัญ บูลกุล, กฤติกา ขอไพบูลย์ และปัจจุบันคือพิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ[6] ปัจจุบันออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 06:00 - 08:25 น. ทางช่อง 3 เอชดี รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางช่องทางเฟซบุ๊ก ยูทูบ และติ๊กต็อกของเรื่องเล่าเช้านี้ เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546[3]
เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์[แก้]
เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเล่าข่าว ด้วยภาษาที่เป็นกันเองกับผู้ชม ซึ่งแยกออกมาจากรายการเรื่องเล่าเช้านี้ โดยมีรูปแบบรายการเป็นการจัดรายการคู่กันระหว่างสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ประกาศข่าวหลักจากรายการเรื่องเล่าเช้านี้ จัดร่วมกันกับผู้ประกาศข่าวอีก 1 คน เพื่อเว้นให้ผู้ประกาศหญิงจากเรื่องเล่าเช้านี้ได้พักผ่อน[6] โดยปัจจุบันสรยุทธจัดรายการคู่กับปรินดา คุ้มธรรมพินิจ (วันเสาร์) และอริสรา กำธรเจริญ (วันอาทิตย์)
เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง[แก้]
กรรมกรข่าวคุยนอกจอ[แก้]
การตอบรับ[แก้]
รายการเรื่องเล่าเช้านี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก ในช่วง 2 ปีแรกของการออกอากาศ เนื่องจากการนำสาระมาสอดแทรกในแต่ละข่าว มุกตลกที่ดึงดูดผู้รับชม รวมถึงการเกลี่ยข่าวแบบไม่ลำดับความสำคัญ โดยเน้นเรื่องที่ชาวบ้านสนใจก่อน ทำให้มีเรตติ้งเป็นอันดับที่ 1 ในบรรดารายการภาคเช้าทั้งหมด และทำให้มีการขึ้นค่าโฆษณาในช่วง 2 ปีแรกของการออกอากาศเป็นจำนวน 3 ครั้ง จากเดิมที่เริ่มที่ 50,000 บาท ก็ค่อย ๆ เพิ่มมาเป็น 80,000 บาท, 100,000 บาท และ 135,000 บาทตามลำดับ[6] ส่งผลให้เรื่องเล่าเช้านี้สามารถสร้างรายได้ให้กับช่อง 3 ได้ถึง 200-300 ล้านบาทต่อปี จนกลายเป็นรายการที่สร้างรายได้มากที่สุดในกลุ่มรายการข่าวที่ออกอากาศในสมัยนั้น และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สถานีโทรทัศน์ช่องอื่น ๆ นำรายการข่าวมาออกอากาศมากขึ้น โดยเฉพาะการออกอากาศรายการภาคเช้าประเภทข่าวเพื่อแข่งขันกับเรื่องเล่าเช้านี้โดยเฉพาะ[3] โดยการนำจุดเด่นของแต่ละสถานีมาดัดแปลงและผสมผสานลงไปในการนำเสนอข่าวของรายการภาคเช้า เพื่อให้เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมมากกว่าเรื่องเล่าเช้านี้[7]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (กันยายน 2023) |
พิธีกร[แก้]
พิธีกรหลัก[แก้]
ปัจจุบัน[แก้]
ชื่อ | วัน | ระยะเวลา | รายการในปัจจุบัน |
---|---|---|---|
สรยุทธ สุทัศนะจินดา | จันทร์-อาทิตย์ | 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2559[8] 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564[9] – ปัจจุบัน |
|
พิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ | จันทร์-ศุกร์ | 3 มกราคม พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน |
|
เอกราช เก่งทุกทาง | พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน |
| |
ปรินดา คุ้มธรรมพินิจ | เสาร์ | 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน |
|
อริสรา กำธรเจริญ | อาทิตย์ | 24 เมษายน พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน | |
เมจกา สุพิชญางกูร | จันทร์-พฤหัสบดี | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558[10] – ปัจจุบัน |
|
อติรุจ กิตติพัฒนะ | จันทร์-พุธ, ศุกร์ | 4 มกราคม พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน | |
ประวีณมัย บ่ายคล้อย | พฤหัสบดี, ศุกร์ | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน |
อดีต[แก้]
- ปุณยวีร์ สุขกุลวรเศรษฐ์ (พ.ศ. 2546 / พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2549 / พ.ศ. 2550 – พฤศจิกายน พ.ศ. 2553)
- มีสุข แจ้งมีสุข (พ.ศ. 2546 – 2547)
- กฤติกา ขอไพบูลย์ (10 เมษายน พ.ศ. 2549 – 1 เมษายน พ.ศ. 2554)
- หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล (1 มกราคม พ.ศ. 2550 – 12 มิถุนายน พ.ศ. 2550)
- สู่ขวัญ บูลกุล (พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2557)
- พชร ปัญญายงค์ (มิถุนายน พ.ศ. 2550 – กันยายน พ.ศ. 2551)
- วิสารท เดชกุล
- เจก รัตนตั้งตระกูล (พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2559)
- พิภู พุ่มแก้วกล้า (14 มิถุนายน พ.ศ. 2559 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560)
- อดัม แบรดชอว์ (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2563)
- ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561)
- ภาษิต อภิญญาวาท (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 30 เมษายน พ.ศ. 2564)
เฉพาะกิจ[แก้]
- อริสรา กำธรเจริญ (แทนพิชญทัฬห์)
- ปรินดา คุ้มธรรมพินิจ (แทนพิชญทัฬห์)
- ภาษิต อภิญญาวาท (แทนสรยุทธ)
รางวัล[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (กันยายน 2023) |
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ""เดอะงัด"แมวมองค้นคนข่าว". Positioning Magazine. 5 กันยายน 2005. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เบื้องหลัง"สรยุทธ"หัก"เนชัน"ซบช่อง 3-โชว์เข้าตา"มิ่งขวัญ" เรียกตอบแทน". สำนักข่าวอิศรา. 19 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 3.0 3.1 3.2 "เดอะวินเนอร์…เรื่องเล่าเช้านี้". Positioning Magazine. 5 กันยายน 2005. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Techasriamornrat, Sirarom (2020-12-09). "เปิดเบื้องหลังปิดดีลขาย 'BEC-TERO' ไบรอันยกสิทธิ 'เรื่องเล่า' คืนช่อง 3 ลุ้นสรยุทธคืนจอปีหน้า". สำนักข่าวทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 2023-07-17.
- ↑ "'สรยุทธ' เลิกแล้ว บ.ไร่ส้มคดี 138 ล.! ร่วมทุน 'เสี่ยตัน' ทำธุรกิจอสังหาฯ". สำนักข่าวอิศรา. 15 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 6.0 6.1 6.2 "การกลับมาของสรยุทธ ในฐานะนักข่าวเบอร์หนึ่งของประเทศไทย". The Modernist. 15 มีนาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ เจียรนัยพานิชย์, ขจร (16 Feb 2015). "วิจารณ์ "เช้าข่าวชัดโซเชียล" เมื่อไทยรัฐทีวีท้าชน "เรื่องเล่าเช้านี้" ของช่อง 3". สืบค้นเมื่อ 31 Dec 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "14 ปีแห่งความทรงจำ สรยุทธ สุทัศนะจินดา อำลาเรื่องเล่าเช้านี้". สนุก.คอม. 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2023-07-14.
- ↑ "เปิดเรตติ้ง "สรยุทธ"คืนจอ "เรื่องเล่าเช้านี้-เรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์" ดันโฆษณารายการข่าวช่อง 3 พุ่ง 50%". Brand Buffet. 2021-05-06. สืบค้นเมื่อ 2023-07-14.
- ↑ "เซน เมจกา คนสวยอ่านข่าวที่น่ารัก เสียงหวานที่สุดแห่งปี 2558". บล็อกเกอร์. 8 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เรื่องเล่าเช้านี้ ที่เฟซบุ๊ก
- เรื่องเล่าเช้านี้ ที่ยูทูบ
- เรื่องเล่าเช้านี้ ที่ทวิตเตอร์
- เรื่องเล่าเช้านี้ ที่ติ๊กต็อก