ฉบับร่าง:เรือโดยสารคลองผดุงกรุงเกษม
ฉบับร่างนี้ถูกตีกลับ เมื่อ 11 กรกฎาคม 2565 โดย Lookruk (คุย) แหล่งอ้างอิงในบทความที่ส่งไม่ได้แสดงให้เห็นว่าหัวข้อของบทความมีคุณสมบัติเพียงพอจะมีบทความในวิกิพีเดีย กล่าวคือ ไม่ได้มีการกล่าวถึงหัวเรื่องดังกล่าวอย่างมีนัยยะสำคัญ (คือไม่ได้กล่าวถึงอย่างลอย ๆ) ในแหล่งอ้างอิงที่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ, เชื่อถือได้, เป็นแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิ ซึ่งเป็นอิสระจากหัวเรื่อง ก่อนจะส่งบทความอีกครั้ง คุณควรใส่แหล่งอ้างอิงที่ตรงกับเงื่อนไขดังกล่าวเพิ่มเติม (โปรดดู ความช่วยเหลือทางเทคนิค และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ข้อผิดพลาดที่ควรเลี่ยง) หากไม่มีแหล่งอ้างอิงอื่นมาเพิ่มเติม หัวข้อดังกล่าวก็อาจไม่เหมาะสมสำหรับวิกิพีเดีย
ขอความช่วยเหลือ
วิธีปรับปรุงบทความของคุณ
คุณยังสามารถดู วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร และ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ เพื่อค้นหาตัวอย่างบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดียในหัวข้อที่คล้ายกับบทความที่คุณแจ้งทบทวน ทรัพยากรการแก้ไข
|
ความคิดเห็น: กรุณาเพิ่มแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิ และอย่าอ้างอิงจาก YouTube เพราะเป็นแหล่งอ้างอิงที่ไม่น่าเชื่อถือ 402359 (คุย) 14:35, 11 กรกฎาคม 2565 (+07)
![]() | นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ Lookruk (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 31 วันก่อน (ล้างแคช) |
เรือโดยสารคลองผดุงกรุงเกษม เป็นบริการเรือโดยสารในคลองผดุงกรุงเกษม มีเส้นทางระหว่างท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพง เขตปทุมวัน ถึงท่าเรือตลาดเทวราชกุญชร เขตพระนคร โดยเรือโดยสารเส้นทางนี้ ได้มีการนำเรือโดยสารรูปแบบพลังงานไฟฟ้า ออกให้บริการเป็นเส้นทางแรกของประเทศไทย โดยเปิดให้บริการครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ให้บริการโดย บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด
ประวัติ[แก้]
เรือโดยการคลองผดุงกรุงเกษม เกิดมาจากนโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มอบหมายให้กรุงเทพมหานคร ดำเนินการพัฒนาคลองผดุงกรุงเกษม และคลองสายอื่น ๆ เมื่อปี พ.ศ. 2558 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยจะให้เป็น "เวนิสตะวันออก" และพัฒนารูปแบบการเดินทาง เชื่อมต่อล้อ ราง เรือ แบบไร้รอยต่อ เพื่อลดปัญหาการจราจรโดยรอบเส้นทาง และเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้กับประชาชนในพื้นที่
เมื่อปี พ.ศ. 2559 กรุงเทพมหานคร ได้เริ่มการทดลองเดินเรือโดยสารเส้นทางนี้ เริ่มต้นจากท่าเรือหัวลำโพง ไปจนถึงท่าเรือเทเวศร์ จำนวนทั้งสิ้น 9 ท่าเรือ ระยะทาง 5 กิโลเมตร โดยแรกเริ่มให้บริการจำนวน 4 ลำ จำนวนที่นั่ง 12 ที่นั่ง ภายหลังจำนวนเรือเพิ่มเป็น 6 ลำ ต่อมาได้เริ่มนำเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าต้นแบบ ที่ดัดแปลงจากระบบน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่ม 1 ลำ จำนวนที่นั่ง 40 ที่นั่ง ให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการ และได้พัฒนาเรือโดยสารไฟฟ้ามาเรื่อย ๆ จนเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563[1]
ท่าเทียบเรือ[แก้]
- ท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพง เชื่อมต่อ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีหัวลำโพง
- ท่าเรือหัวลำโพง เชื่อมต่อรถไฟทางไกล ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
- ท่าเรือนพวงศ์
- ท่าเรือยศเส
- ท่าเรือกระทรวงพลังงาน เชื่อมต่อเรือโดยสารคลองแสนแสบ ที่ท่าเรือตลาดโบ๊เบ๊
- ท่าเรือแยกหลานหลวง
- ท่าเรือนครสวรรค์
- ท่าเรือราชดำเนินนอก
- ท่าเรือประชาธิปไตย
- ท่าเรือเทเวศร์
- ท่าเรือตลาดเทวราช เชื่อมต่อเรือด่วนเจ้าพระยา ที่ท่าเรือเทเวศร์
ชื่อเรือโดยสาร[แก้]
แรกเริ่มของการเปิดให้บริการเรือโดยสารสายนี้ เรือโดยสารทั้ง 7 ลำ ยังไม่มีชื่อเรืออย่างเป็นทางการ จนกระทั่งทางกรุงเทพมหานคร ได้มีการประกวดตั้งชื่อเรือโดยสารในเส้นทางนี้ สาเหตุที่ต้องมีการจัดประกวดตั้งชื่อเรือโดยสารสายนี้ เนื่องจากทางกรุงเทพมหานคร จะต้องดำเนินการจดทะเบียนเรือกับกรมเจ้าท่า ซึ่งชื่อเรือนั้น เป็นหนึ่งในขั้นตอนของการจดทะเบียนด้วย โดยชื่อเรือโดยสารเส้นทางนี้ นายจักรินทร์ ธนากรเกรียงไกร เป็นผู้ชนะในการประกวดตั้งชื่อเรือโดยสาร โดยมีรายชื่อดังนี้
- เรือเลาะกรุง
- เรือผดุงศักดิ์
- เรือบริรักษ์นาวา
- เรือเมฆามาศ
- เรืออาจอง (อาจ-อง)
- เรือดำรงเกียรติ
- เรือเลียบนคร
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]