ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:เฌอซ็องฟรงเตียร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฌอซ็องฟรงเตียร์
เป็นที่รู้จักกันในชื่อ
  • กรีซ Παιχνίδια Χωρίς Σύνορα
    (Paichnídia Chorís Sýnora)
  • เชโกสโลวาเกีย/เช็กเกีย Hry Bez Hranic
  • ตูนิเซีย العاب بلا حدود
    (Aleab Bila Hudud)
  • เนเธอร์แลนด์/เบลเยียมฟลานเดอส์ Spel Zonder Grenzen
  • โปรตุเกส Jogos Sem Fronteiras
  • ฝรั่งเศส/เบลเยียมWallonia/สวิตเซอร์แลนด์ Jeux sans frontières
  • มอลตา Logħob għal Kulħadd
  • สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย Игре Без Граница
    Igre Bez Granica
  • เยอรมนีตะวันตก/ลีชเทินชไตน์/สวิตเซอร์แลนด์ Spiel Ohne Grenzen
  • เวลส์ Gemau Heb Ffiniau
  • สเปน Juegos Sin Fronteras
  • สโลวีเนีย Igre Brez Meja
  • สหราชอาณาจักร It's A Knockout
  • อิตาลี/ซานมารีโน/สวิตเซอร์แลนด์ Giochi Senza Frontiere
  • ฮังการี Játék határok nélkül
ประเภทเกมโชว์
สร้างโดย
เค้าโครงจากIntervilles
กรรมการดูเพิ่มเติม
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องJacques Revaux
ประเทศแหล่งกำเนิดยุโรป ยุโรป
ภาษาต้นฉบับภาษาที่ใช้พูดของแต่ละประเทศที่เข้าร่วม
จำนวนฤดูกาล30 ฤดูกาล
การผลิต
สถานที่ถ่ายทำรอบยุโรป
บริษัทผู้ผลิตสหภาพการแพร่สัญญาณวิทยุและโทรทัศน์แห่งยุโรป
ออกอากาศ
เครือข่ายดูเพิ่มเติม
ออกอากาศ26 พฤษภาคม ค.ศ. 1965 (1965-05-26) –
23 กันยายน ค.ศ. 1999 (1999-09-23)
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
It's a Knockout
เกมบันลือโลก

เฌอซ็องฟรงเตียร์ (ฝรั่งเศส: Jeux sans frontières) เป็นการแข่งขันโทรทัศน์ระดับนานาชาติซึ่งจัดโดย สหภาพการแพร่สัญญาณวิทยุและโทรทัศน์แห่งยุโรป (EBU) โดยจัดขึ้นทั้งหมด 30 ฤดูกาล ออกอากาศตั้งแต่ปี 1965 ถึง ปี 1999 โดยผู้เข้าร่วมจะเป็นประเทศที่เป็นสมาชิกของสหภาพ โดยส่งภายใต้ชื่อของสถานีโทรทัศน์ของแต่ละประเทศ ซึ่งแต่ละสถานีโทรทัศน์จะส่งชุดทีมผสมจากเมืองต่าง ๆ มาแข่งขันระหว่างทีมในประเทศตัวเอง และทีมจากต่างประเทศ โดยการแข่งขันทั่วไปจะเป็นเกมที่ออกแบบตลก (funny game) พร้อมกับการสวมชุดประหลาด ๆ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นอุปสรรคในการเล่นก็ตาม โดยทีมของแต่ละประเทศทีมใดที่ทำอันดับดีที่สุด ทีมเหล่านั้นจะได้เข้าไปแข่งขันกันในรอบชิงชนะเลิศ ในแต่ละตอนจะจัดขึ้นโดยสถานีโทรทัศน์ที่เข้าร่วม ณ สถานที่แห่งหนึ่งในประเทศนั้น ๆ และมีธีมเกี่ยวกับหัวข้อเฉพาะ โดยจะจัดพลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปทุกประเทศที่เข้าร่วมในปีนั้น ๆ

รายการได้รับการสร้างสรรค์ให้กับ EBU โดย กี ลุกซ์ (Guy Lux) และคล็อด ซาวารี (Claude Savarit) จากสำนักงานกระจายเสียงโทรทัศน์ฝรั่งเศส (ORTF) โดยจัดเป็นรายการเวอร์ชันระหว่างประเทศของรายการ Intervilles ซึ่งเป็นรายการเกมโชว์ที่รายการครั้งแรกในฝรั่งเศสเมื่อปี 1962 ในประเทศที่ไม่ใช่ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาพูด ชื่อรายการ เฌอซ็องฟรงเตียร์ (Jeux sans frontières) ก็จะมีการเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาต่าง ๆ ในแต่ละประเทศที่มีการออกอากาศ[a] ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะใช้ชื่อว่า It's a Knockout ซึ่งเป็นชื่อที่ BBC ใช้ในรายการคัดเลือกตัวแทนในระดับชาติ

รายการมีการแข่งขันในรูปแบบในฤดูหนาว โดยจัดที่สกีรีสอร์ต และรูปแบบตอนเดี่ยวพิเศษในช่วงคริตสมาสด้วย

ประวัติ

[แก้]

ไอเดียของรายการระหว่างประเทศนี้ เกิดขึ้นจากดำริของประธานาธิบดีฝรั่งเศส ชาร์ล เดอ โกล ซึ่งมีความปรารถนาที่จะให้เยาวชนในฝรั่งเศสและในเยอรมนีได้พบกันในการแข่งขันเพื่อเสริมสร้างมิตรภาพระหว่างสองประเทศ หลังจากที่เดอ โกลได้ชมรายการแล้วเกิดความชื่นชอบ ถึงขั้นให้ผู้ติดตามทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้เดอ โกลได้รับชมขณะที่เดินทางเยือนเยอรมนีตะวันตก และเพื่อให้สอดคล้องกับการฟื้นฟูความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศจากสนธิสัญญาเอลีเซ[1] ในปี 1965 กี ลุกซ์ (Guy Lux) และคล็อด ซาวารี (Claude Savarit) จากสำนักงานกระจายเสียงโทรทัศน์ฝรั่งเศส (ORTF) และเป็นผู้ให้กำเนิดรายการ Intervilles ได้เสนอแนวคิดของรายการให้กับสถานีโทรทัศน์ในสหภาพการแพร่สัญญาณวิทยุและโทรทัศน์แห่งยุโรป (EBU). ทีมตัวแทนจากฝรั่งเศส เยอรมนีตะวันตก เบลเยียม และอิตาลี เข้าร่วมรายการในการแข่งขันครั้งแรกในปีเดียวกันภายใต้ชื่อรายการ เกมนานาชาติ หรือหากแปลจากชื่อรายการคือ เกมไร้พรมแดน

ในช่วงที่ได้รับความนิยมสูงสุด เฌอซ็องฟรงเตียร์ มีผู้ชมสูงถึง 110 ล้านคนทั่วยุโรป ในรูปแบบต้นฉบับได้ยุติการออากาศไปในปี 1982 และรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ในปี 1988 ด้วยประเทศที่แตกต่างกันออกไป ในรูปแบบระยะหลังจัดขึ้นโดยสถานีโทรทัศน์เล็ก ๆ โดยมีข้อยกเว้นที่น่าสังเกตคือสถานีโทรทัศน์ของอิตาลี (RAI) ที่เป็นเจ้าภาพในสถานที่เดียวในปี 1996 ปี 1998 และปี 1999

รูปแบบ

[แก้]

ในรูปแบบดั้งเดิมทีมจากเบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนีตะวันตก และอิตาลี จะเข้าร่วมแข่งขันกันในแต่ละสัปดาห์ สองเมืองจากสองในสี่ประเทศจะแข่งขันกันแบบตัวต่อตัว โดยในแต่ละสัปดาห์จะมีการแข่งขันในรูปแบบของการใช้พละกำลัง (กีฬา) และการใช้พลังสมอง (ตอบคำถาม) เมื่อแข่งขันกันครบทุกทีม แต่ละประเทศจะมีการแข่งขันสะสมคะแนนในแต่ทีม ทีมที่มีคะแนนสะสมสูงสุดของแต่ละประเทศ จะพบกันในรอบรองชนะเลิศสองรอบ และเมื่อได้ผู้ชนะสองทีมในรอบรอง ทั้งสองทีมจะได้มาเจอกันในรองชิงชนะเลิศ ในการแข่งขันครั้งแรกปี 1965 จบด้วยการเป็นผู้ชนะร่วมของทีมเบลเยียมจากเมืองซิเนย์ (Ciney) และทีมจากฝรั่งเศสจากเมืองแซ็งตามานด์ (St. Amand) รูปแบบนี้ยังถูกใช้อีกในปีต่อมา พร้อมกับเมืองที่มากขึ้นจากทั้งสี่ประเทศ

รูปแบบที่เป็นที่รู้จักเกิดขึ้นในปี 1967 เมื่อทีมจากบริเตนใหญ่และสวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมรายการแข่งขัน การแข่งขันและเมืองเจ้าภาพ จะปรากฏเพียงครั้งเดียวในรอบการแข่งขัน (Heat) ของฤดูกาล โดยแต่ละรอบจะจัดโดยสถานีโทรทัศน์ที่เข้าร่วมในประเทศนั้น ๆ และจะคัดเลือกเมืองที่สะสมคะแนนในดีที่สุดของแต่ละประเทศเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ รอบคำถามถูกตัดออก และเกมต่าง ๆ ถูกทำให้มีรูปแบบที่ขบขันมากขึ้น (แม้ว่าจะเป็นไปได้ยากในทางเทคนิคก็ตาม) และเริ่มมีการเล่นด้วยเครื่องแต่งกายประหลาด ๆ (มักจะใช้เป็นชุดโฟมลาเท็กซ์ตัวใหญ่ ๆ) โดยผู้เข้าแข่งขันจะแข่งขันกันทำภารกิจสุดแปลกในเกมสุดสนุก แต่ละทีมไม่สามารถเลือกได้ว่าสมาชิกคนใดจะลงเล่นในแต่ละเกม โดยจะมีการจับฉลากขึ้น เพื่อคัดเลือกผู้เข้าร่วมการแข่งขัน โดยผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะได้รับอนุญาตให้ฝึกซ้อมการแข่งขันก่อนที่จะถ่ายทอดสดรายการ หรือบันทึกรายการสำหรับบางประเทศที่จะจัดฉายออกอากาศในภายหลัง ในแต่ละทีมจะได้รับคะแนนในแต่ละเกม และการแข่งขันจะมีกรรมการระดับ "นานาชาติ" หนึ่งหรือสองคน ตัดสินการแข่งขันนั้น ๆ (โดยมีกรรมการสนับสนุนจากประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน) ทีมที่ชนะในแต่ละรอบการแข่งขันจะได้รับถ้วยรางวัลเงิน กรรมการชาวสวิสสองคน เจนนาโร โอลิเวียรี (Gennaro Olivieri) และ กุยโด ปันกาลดี (Guido Pancaldi) กลายเป็นสัญลักษณ์ประจำรายการ จากการทำหน้าที่เป็นกรรมการหลักประจำรายการด้วยกันตั้งแต่ปี 1966 ถึงปี 1982 และในปี 1988 ปันกาลดีก็ได้กลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง

โดยปกติแล้ว การแข่งขันจะจัดขึ้นในสถานที่กลางแจ้งในช่วงฤดูร้อนของยุโรป แต่ในบางครั้งก็จัดขึ้นในสถานที่ในร่ม (เช่นในรอบการแข่งขันที่เนเธอร์แลนด์เป็นเจ้าภาพในปี 1971 ที่ได้จัดขึ้นใน Ahoy Sports Arena[2]) จัตุรัสกลางเมืองในประวัติศาสตร์ หรือบริเวณสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงมักถูกใช้เป็นสถานที่จัดงาน อย่างไรก็ตามบริเวณรอบสระว่ายน้ำหรือบริเวณท่าเรือ ทะเลสาบ หรือทะเล ก็มักจะเป็นที่นิยมใช้จัดเช่นกัน ซึ่งการจัดในสถานที่กลางแจ้งมักจะมีข้อจำกัดในเรื่องของสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจในบางครั้ง ซึ่งมีผลต่อการจัดการแข่งขัน แต่การแข่งขันก็มักจะจัดต่อไปโดยไม่สนสภาพอากาศ ดังจะเห็นได้จากการแข่งขันที่ได้ชื่อว่าน่าอับอายที่สุด คือในรอบชิงชนะเลิศปี 1970 ที่เกิดเหตุการพายุฝนผัดถล่มมาในอัฒจันทร์เมืองเวโรนา ทำให้ผู้ที่เข้าชมในอัฒจันทร์ต้องหนีไปหลบฝน ในขณะที่พิธีกรภาคสนาม ผู้เข้าแข่งขัน และกรรมการต้องดำเนินรายการต่อไปจนเสร็จสิ้นท่ามกลางฝนที่ถล่มอย่างกระหน่ำ[3]

การแข่งขันในแต่ละฤดูกาลจะสิ้นสุดลงกันในรอบชิงชนะเลิศ โดยทีมที่ดีที่สุดของแต่ละประเทศจะเข้าร่วมแข่งขันกันในรอบนี้ ทั้งที่ทีมที่จะเข้าแข่งจะต้องเป็นทีมที่ชนะในรอบการแข่งขันที่ทีมตนเองลงแข่ง หากประเทศใดที่มีทีมชนะการแข่งขันในรอบการแข่งขันมากกว่าหนึ่งทีม จะคัดเลือกทีมเข้าแข่งด้วยการตัดสินกันที่คะแนนสะสมของแต่ละทีม แต่หากประเทศใดไม่มีทีมที่ชนะเลิศในรอบการแข่งขันใด ๆ จะเลือกเอาทีมที่จบในอันดับรองชนะเลิศ และหากมีอันดับเดียวกันมากกว่าหนึ่งทีม ก็จะตัดสินกันด้วยคะแนนสะสมเช่นกัน นั้นหมายความว่า หากมีทีมที่มีคะแนนสะสมมากกว่า แต่จบในอันดับที่แย่กว่ารองชนะเลิศ ก็จะไม่ได้เข้าร่วมในรอบชิงชนะเลิศ และในกรณีที่เป็นไปได้ยาก คือไม่มีทีมใดของประเทศได้รับชัยชนะหรือตำแหน่งรองชนะเลิศในรอบการแข่งขันใด ๆ เลย (เช่นทีมบริเตนใหญ่ในปี 1967, ทีมฝรั่งเศสในปี 1968 หรือทีมโปรตุเกสในปี 1979) ทีมที่ทำคะแนนสูงที่สุดจะได้เข้าร่วมในรอบชิงแทน

สถานีโทรทัศน์ของแต่ละประเทศจะเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันในแต่ละรอบการแข่งขัน โดยจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดรอบชิงชนะเลิศในแต่ละปีอีกด้วย ทีมชนะเลิศในรอบชิงชนะเลิศจะได้รับถ้วยรางวัลทอง ทีมรองชนะเลิศจะได้รับถ้วยเงิน และทีมอันดับสามจะได้ถ้วยทองแดง และไม่ใช่เรื่องแปลกที่ประเทศต่าง ๆ จะชนะการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศด้วยทีมที่ไม่เคยชนะรอบการแข่งขันของตนเลย หรือแม้กระทั่งประเทศที่ไม่เคยชนะรอบใด ๆ เลย ที่จะมาชนะการแข่งขันในรอบชิง ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วโดยมีทีมสวิตเซอร์แลนด์ที่ชนะการแข่งขันในรองชิงสองครั้งในปี 1972 และปี 1974 ทีมเยอรมันชนะในปี 1977 ทีมอิตาลีชนะในปี 1978 ทีมโปรตุเกสในปี 1980 และทีมบริเตนใหญ่ในปี 1981 ซึ่งทีมทั้งหมดเป็นทีมที่จบอันดับสอง หรือเป็นทีมที่ไม่ชนะเลิศในรอบใด ๆ เลย โปรตุเกสคว้าถ้วยรางวัลในปี 1980 โดยไม่เคยชนะการแข่งขันรอบคัดเลือกเลยแม้แต่ครั้งเดียวในสองฤดูกาล ส่วนสวิตเซอร์แลนด์เป็นผู้ชนะสองครั้งในปี 1972 และ 1974 แม้ว่าจะไม่สามารถคว้าชัยชนะในฤดูกาลใดเลยติดต่อกันตั้งแต่ปี 1971 ถึง 1974

ในรูปแบบดั้งเดิมมีเพียงเบลเยียมและอิตาลีเท่านั้น ที่เข้าร่วมครบทุกฤดูกาล (1965–1982) แม้ทีมฝรั่งเศสเข้าร่วมในปี 1968 แต่จากสถานการณ์ทางการเมืองและการร่วมประท้วงของพนักงานของสถานีโทรทัศน์ในฝรั่งเศส ทำให้ในปีนั้นฝรั่งเศสไม่มีการออกอากาศรายการในปีนั้น และยกเลิกการเป็นเจ้าภาพในรอบการแข่งขันของตนเอง ส่งผลให้ทีมเยอรมนีตะวันตกรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพถึงสองรอบการแข่งขัน และด้วยการประท้วงที่ยังคงมีมาต่อเนื่องจนถึง 1969 ทำให้ไม่มีทีมใดจากฝรั่งเศสเข้าร่วมในปีต่อมา ลีชเทินชไตน์ เข้าร่วมการแข่งขันเพียงครั้งเดียว โดยเป็นทีมที่มาแทนทีมสวิตเซอร์แลนด์ ในรอบการแข่งขันที่เจ็ดของปี 1976 โดยในครั้งนั้นมีการกำหนดรหัสประเทศเป็น FL แทนที่ CH สำหรับใช้ในการแข่งขันในตอนนั้น และได้รับการตกลงว่าหากทีมลีชเทินชไตน์สามารถเอาชนะในรอบการแข่งขันนั้น จะอนุญาตให้ทีมเข้าร่วมรอบชิงชนะเลิศร่วมกับทีมสวิตเซอร์แลนด์ที่มีอันดับดีที่สุด แต่สุดท้ายทีมลีชเทินชไทน์ก็ไม่สามารถเข้าร่วมของชิงได้ เนื่องจากจบการแข่งขันด้วยอันดับสี่ในรอบการแข่งขันนั้น ทีมจากเมืองเดร์รี (Derry) จากไอร์แลนด์เหนือเป็นตัวแทนของทีมบริเทนใหญ่ในรอบการแข่งขันที่เยอรมนีตะวันตกในปี 1978 และมีการใช้รหัสประเทศว่า NI แทนที่ GB ในการแข่งขันในตอนนั้น

สถานีโทรทัศน์ของเนเธอร์แลนด์ (ซึ่งเข้าร่วมรายการการแข่งขันครั้งแรกในปี 1970) เป็นสถานีแรกที่ได้ถอนตัวออกจากรายการอย่างถาวรหลังจบการแข่งขันในปี 1977 และไม่เคยชนะเลิศในรอบชิงชนะเลิศเลย เนื่องด้วยเรตติ้งที่ต่ำมาก อันเป็นผลมาจากการที่สถานีโทรทัศน์เบลเยียมภาคภาษาดัตช์ได้ทำการถ่ายทอดสดรายการ ในขณะที่สถานีโทรทัศน์ของเนเธอร์แลนด์จะบันทึกเทปรายการเพื่อนำไปฉายในเวลาต่อมา (เหมือนกับหลาย ๆ สถานี) ทำให้ผู้ชมในเนเธอร์แลนด์ได้รับชมรายการมาก่อนหน้าแล้วจากโทรทัศน์เบลเยียม ไม่ดูรายการจากโทรทัศน์เนเธอร์แลนด์ ในปี 1978 ทีมเนเธอร์แลนด์ได้ถูกแทนที่โดยทีมจากยูโกสลาเวีย ซึ่งก็ไม่เคยชนะเลิศในรอบชิง ทีมโปรตุเกสเข้าร่วมในปี 1979 แต่ในปี 1980 ทีมเยอรมนีตะวันตกได้ถอนตัวออกจากรายการหลังจากเรตติงของรายการลดลง และต่อมามีการตกลงกันว่าจะยุติรายการลงหลังจากการแข่งขันในปี 1982 ซึ่งจบด้วยการที่เบลเยียมสามารถคว้าชัยชนะได้เป็นครั้งแรก แต่ก็มีรื้อฟื้นรายการขึ้นมาอีกในปี 1988 โดยกลุ่มประเทศเข้าร่วมใหม่

ด้วยการพัฒนาทางเทคโนโลยีของวงการโทรทัศน์ ทำให้ในบางตอนเริ่มมีการถ่ายทำในระบบภาพสี ในปี 1968 จนกระทั่งในปี 1970 ได้มีการออกอากาศการแข่งขันตลอดรายการเป็นภาพสี แต่อย่างไรก็ตาม ในบางสถานีโทรทัศน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝรั่งเศสกับอิตาลี ที่ยังคงออกอากาศในระบบภาพขาวดำ แม้ในตอนที่ตัวเองเป็นเจ้าภาพจะผลิตรายการเป็นภาพสีแล้วก็ตาม ฝรั่เศสเริ่มออกอากาศในระบบภาพสีทุกตอนในปี 1974 ตามมาด้วยอิตาลีในปี 1976

ในแต่ละรอบการแข่งขัน รายการส่วนใหญ่จะใช้ภาษาพูดของประเทศเจ้าภาพเป็นส่วนใหญ่ ทำให้รายการจำเป็นต้องมีผู้บรรยายจากสถานีโทรทัศน์ของประเทศที่เข้าแข่งเพื่อให้ผู้ชมในประเทศได้ทราบ รูปแบบนี้ทำให้การขายลิขสิทธิ์รายการตอนต่าง ๆ ไปนอกประเทศที่เข้าร่วมเป็นไปได้ยาก และมีโอกาสคืนทุนรายการจากการขายลิขสิทธิ์ต่างประเทศได้น้อย (แม้ว่ารูปแบบนี้จะได้ขายลิขสิทธิ์ในหลาย ๆ ประเทศก็ตาม) ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษปี 1970 เป็นต้นมา BBC ได้รับหน้าที่ในการจัดชุดรายการตอนต่าง ๆ เพื่อจัดจำหน่ายในต่างประเทศ รวมถึงเสียงบรรยายภาคภาษาอังกฤษด้วย ซึ่งช่วยกระตุ้นยอดขายลิขสิทธิ์ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ ส่งผลให้มีการออกอากาศไปทั่วโลก ในบางตอน BBC จะเพิ่มช่วงแนะนำก่อนรายการจากพิธีกรภาคภาษาอังกฤษ สจ๊วต ฮอลล์ (Stuart Hall) และมักจะตัดความยาวของรายการออกจากเวอร์ชันที่ออกอากาศสดให้สั้นลง ในบางตอนก็มีการตัดในเหลือหนึ่งชั่วโมงเพื่อที่จะสามารถขายลิขสิทธิ์ในต่างประเทศได้

การให้คะแนนในการแข่งขัน จะให้ตามอันดับของทีมในแต่ละเกม เช่น หากมีทีมแข่งขันกัน 6 ทีม อันดับหนึ่งจะได้รับ 6 แต้ม รองลงมาคือ 5 แต้ม เป็นต้นไป แต่ละทีมจะไม่ได้เล่นหนึ่งเกมต่อรอบการแข่งขัน แต่ทุกทีมจะต้องเล่นเกมสุดท้ายเสมอ และแต่ละทีมสามารถเล่นโจ๊กเกอร์ (Joker) ได้หนึ่งครั้งซึ่งจะทำให้คะแนนของเกมนั้นเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในปี 1969 ได้มีการเพิ่มรอบ 'เส้นแดง' (Fil Rouge) ขึ้น แล้วแต่ละทีมจะได้เล่นรอบนี้ไม่พร้อมกัน และไม่สามารถที่จะเล่นโจ๊กเกอร์ได้ จนกระทั่งในปี 1970 – 1971 ได้มีการเปลี่ยนกฎให้สามารถเล่นโจ๊กเกอร์ได้ แต่ด้วยกฎนี้ทำให้ในหลาย ๆ รอบการแข่งขัน แต่ละทีมมักจะเก็บโจ๊กเกอร์ไว้เล่นในเกมสุดท้าย ทำให้ในปี 1972 จึงมีการเปลี่ยนกฎอีกครั้ง โดยห้ามไม่ให้เล่นโจ๊กเกอร์ในเกมสุดท้าย แต่ในรอบการแข่งขันแรกที่เบลเยียมเป็นเจ้าภาพ ทีมเบลเยียมได้ขอเก็บโจ๊กเกอร์ไว้ใช้ในเกมสุดท้าย เมื่อกัปตันทีมได้นำโจ๊กเกอร์ไปแสดงต่อกรรมการก่อนเริ่มเกมสุดท้าย กรรมการได้ปฏิเสธการใช้โจ๊กเกอร์ของทีม จึงทำให้เบลเยียมไม่ได้ใช้โจ๊กเกอร์เลยในรอบการแข่งขันนี้ ซึ่งถือเป็นครั้งเดียวที่มีทีมที่ไม่ใช้โจ๊กเกอร์เลย ทำให้ทีมจากเมืองสปาของเบลเยียม มีคะแนนห่างจากทีมอื่นที่มีคะแนนนำอยู่อย่างมาก ด้วยจำนวนทีมที่เพิ่มขึ้นเป็น 8 ทีม ในปี 1979 จึงมีการเปลี่ยนกฎของโจ๊กเกอร์อีกครั้ง โดยหากทีมที่ใช้โจ๊กเกอร์จบอันดับที่หนึ่งในเกมนั้น ได้คะแนนพิเศษ 6 คะแนน จบอันดับสอง ได้คะแนนพิเศษ 4 คะแนน จบอันดับสาม ได้คะแนนพิเศษ 2 คะแนน หากไม่จบในสามอันดับแรก จะไม่ได้คะแนนพิเศษเลย และในปี 1981 ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรอบเส้นแดง โดยเปลี่ยนให้ทุกทีมเล่นรอบนี้พร้อมกัน และจะเล่นกันสี่รอบ โดยที่แต่ละรอบจะไม่ใช้คนเล่นซ้ำกัน โดยแต่ละทีมจะต้องเก็บคะแนนให้มากที่สุด หรือทำเวลาให้ดีที่สุด และจะตัดสินรอบเส้นแดงหลังเล่นรอบที่สี่แล้ว

ผู้ตัดสินและกรรมการ

[แก้]
  • สวิตเซอร์แลนด์ Gennaro Olivieri (1965–1982)
  • สวิตเซอร์แลนด์ Guido Pancaldi (1966–1989)
  • สหราชอาณาจักร Arthur Ellis (1971–1982)
  • Nenad Romano (1979–1982)
  • สหราชอาณาจักร Mike Swann (1988–1989)
  • Bernard Galley (1990–1991)
  • เบลเยียม Denis Pettiaux (1990–1999)
  • Nikos Mperedimas (1993)
  • Irini Kamperidiou (1994)
  • ฮังการี Lehel Németh (1993–1995, 1999)
  • Babis Ioanidis (1995–1999)
  • ฮังการี Orsolya Hovorka (1996–1998)
  • สโลวีเนีย Lea Vodušek (1996–1997, 1999)
  • อิตาลี Carlo Pegoraro (1996, 1998–1999)
  • เนเธอร์แลนด์ Beertje van Beers (1997)

ประเทศที่เข้าร่วม

[แก้]

ระหว่างปี 1965 ถึงปี 1999 มีสถานีโทรทัศน์จาก 20 ประเทศเข้าร่วมแข่งขันในรายการ เฌอซ็องฟรงเตียร์ ซึ่งจัดขึ้นมาเป็นเวลา 30 ฤดูกาล (ให้แยก เช็กเกีย และ เชโกสโลวาเกีย เป็นประเทศที่เข้าร่วมคนละประเทศกัน):

คำอธิบาย
 ประเทศในอดีตที่ล่มสลายไปแล้ว
รหัสประเทศ ประเทศ สถานีโทรทัศน์ ปีที่เข้าร่วม จำนวนครั้งที่เข้าร่วม จำนวนชนะเลิศในรอบชิงชนะเลิศ จำนวนชนะเลิศในรอบการแข่งขัน
I อิตาลี อิตาลี RAI 1965–1982, 1988–1999 30 4 (1970, 1978, 1991, 1999) 33
F ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส ORTF, Antenne 2, France 2 1965–1968, 1970–1982, 1988–1992, 1997–1999 25 3 (1965, 1975, 1979) 20
CH สวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ SRG SSR 1967–1982, 1992–1999 24 2 (1972, 1974) 24
B เบลเยียม เบลเยียม BRT, RTBF 1965–1982, 1988–1989 20 2 (1965, 1982) 28
D เยอรมนีตะวันตก เยอรมนีตะวันตก ARD 1965–1980 16 6 (1966, 1967, 1968, 1969, 1976, 1977) 31
GB[b] สหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่ BBC 1967–1982 16 4 (1969, 1971, 1973, 1981) 12
P โปรตุเกส โปรตุเกส RTP 1979–1982, 1988–1998 15 5 (1980, 1981, 1988, 1989, 1997) 37
NL เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ NCRV, TROS 1970–1977, 1997–1998 10 0 13
H ฮังการี ฮังการี MTV 1993–1999 7 3 (1993, 1996, 1998) 15
GR กรีซ กรีซ ERT 1993–1999 7 0 3
YU สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวีย ‡ JRT 1978–1982, 1990 6 0 9
E สเปน สเปน TVE 1988, 1990–1992 4 1 (1990) 4
SLO สโลวีเนีย สโลวีเนีย RTVSLO 1994, 1996–1997, 1999 4 0 8
GB / C เวลส์ เวลส์[c] S4C 1991–1994 4 0 4
CZ เช็กเกีย เช็กเกีย ČT 1993–1995 3 2 (1994, 1995) 4
SM ซานมารีโน ซานมารีโน ไม่มีสถานีโทรทัศน์ [d] 1989–1991 3 0 4
M มอลตา มอลตา PBS Malta 1994–1995 2 0 0 (ดีที่สุด: 3rd)
CS เชโกสโลวาเกีย เชโกสโลวาเกีย ‡ ČST 1992[e] 1 1 (1992) 2
FL ลีชเทินชไตน์ ลีชเทินชไทน์[f] ไม่มีสถานีโทรทัศน์ [g] 1976 1 0 0 (ดีที่สุด: 4th)
TU ตูนิเซีย ตูนีเซีย ERTT 1992 1 0 0 (ดีที่สุด: 2nd)

สีประจำทีม

[แก้]

แต่ละประเทศจะถูกกำหนดสีประจำประเทศ ซึ่งนำมาใช้บนชุดและอุปกรณ์ของทีม ในรูปแบบดั้งเดิมซึ่งสิ้นสุดในปี 1982 สีที่ใช้: เบลเยียม – เหลือง; เยอรมนีตะวันตก – ฟ้า; บริเตนใหญ่ – แดง; อิตาลี – น้ำเงินเข้ม; ยูโกสลาเวีย – ขาว เดิมทีฝรั่งเศสใช้สีม่วง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นสีเขียวในปี 1977 สวิตเซอร์ถูกกำหนดให้ใช้สีน้ำตาลอ่อน แต่ต่อมาในปี 1979 ได้เปลี่ยนไปเป็นสีแดงสลับขาว ซึ่งทำให้เกิดการสับสนกับทีมบริเตนใหญ่ จึงถูกบังคับให้กลับไปใช้สีน้ำตาลอ่อน แต่ก็มีบางรอบการแข่งขันที่จะใช้สีแดงสลับขาว เนเธอร์แลนด์ถูกกำหนดให้ใช้สีส้ม แต่เมื่อเนเธอร์แลนด์ถอนตัวไปในปี 1977 สีนี้จึงกำหนดให้เป็นสีของโปรตุเกสตั้งแต่ปี 1979

ประเทศ/ฤดูกาล 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 88 89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99
เบลเยียม เบลเยียม B
เยอรมนีตะวันตก เยอรมนีตะวันตก D D
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส F F F F F F
อิตาลี อิตาลี I I I
สวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ CH CH CH CH CH
สหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่ GB GB
(NI)
GB
เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ NL NL
ลีชเทินชไตน์ ลีชเทินชไทน์ FL
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวีย YU YU
โปรตุเกส โปรตุเกส P P P P
สเปน สเปน E E
ซานมารีโน ซานมารีโน SM SM
เวลส์ เวลส์ GB
(C)
GB
(C)
เชโกสโลวาเกีย เชโกสโลวาเกีย CS
ตูนิเซีย ตูนีเซีย TU
เช็กเกีย เช็กเกีย CZ
กรีซ กรีซ GR GR GR GR
ฮังการี ฮังการี H
มอลตา มอลตา M
สโลวีเนีย สโลวีเนีย SLO SLO SLO

ฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ปี เมืองเจ้าภาพรอบชิงชนะเลิศ ทีมชนะเลิศ ทีมรองชนะเลิศ ทีมอันดับสาม
1 1965 เบลเยียม ซิเนย์
ฝรั่งเศส แซ็งตามานด์เลซอกซ์
เบลเยียม ซิเนย์
ฝรั่งเศส แซ็งตามานด์เลซอกซ์
ไม่มีทีมรองชนะเลิศ ไม่มีทีมอันดับสาม
2 1966 เยอรมนีตะวันตก ไอช์ชแทท
เบลเยียม ฌอมบ์
เยอรมนีตะวันตก ไอช์ชแทท เบลเยียม ฌอมบ์
3 1967 เยอรมนีตะวันตก โคฮ์นไชด์ เยอรมนีตะวันตก บาร์เดินแบร์ก ฝรั่งเศส โนฌ็องต์-ซูร์-มาร์น สหราชอาณาจักร เชลต์นัมสปา
อิตาลี มอนเตกาตินี
4 1968 เบลเยียม บรัสเซลส์ เยอรมนีตะวันตก ออสเตอร์โฮลซ์-ชาร์มเบก สวิตเซอร์แลนด์ ชทานส์ ฝรั่งเศส แวน
5 1969 สหราชอาณาจักร แบล็กพูล สหราชอาณาจักร ชรูส์บรี
เยอรมนีตะวันตก ว็อลฟส์บวร์ค
ไม่มีทีมรองชนะเลิศ เบลเยียม บรึคเคอ-ซีบรึคเคอ
6 1970 อิตาลี เวโรนา อิตาลี โกโม เนเธอร์แลนด์ อัลเพนอานเดนไรน์ เยอรมนีตะวันตก ราเดอฟอร์มวาลท์
7 1971 เยอรมนีตะวันตก เอ็สเซิน สหราชอาณาจักร แบล็กพูล เนเธอร์แลนด์ อัลเพนอานเดนไรน์ สวิตเซอร์แลนด์ วิลลีเซา
8 1972 สวิตเซอร์แลนด์ โลซาน สวิตเซอร์แลนด์ ลาโชเดอฟง อิตาลี ซิตตาดิกัสเตลโล
เนเธอร์แลนด์ เวนราย
ไม่มีทีมอันดับสาม
9 1973 ฝรั่งเศส ปารีส สหราชอาณาจักร อีลี เยอรมนีตะวันตก มาร์บวร์คอันแดร์ลาฮ์น ฝรั่งเศส ชาทร์
10 1974 เนเธอร์แลนด์ ไลเดิน สวิตเซอร์แลนด์ มูทาทาล อิตาลี มาโรสติกา ฝรั่งเศส น็องซี
11 1975 เบลเยียม อิพร์ ฝรั่งเศส น็องซี อิตาลี ริกโจเน เบลเยียม น็อกเกอไฮสต์
12 1976 สหราชอาณาจักร แบล็กพูล เยอรมนีตะวันตก เอ็ทลิงเงิน สวิตเซอร์แลนด์ ลาเนิฟวิลล์ เบลเยียม กีล
13 1977 เยอรมนีตะวันตก ลูทวิชส์บวร์ค เยอรมนีตะวันตก ชเลียร์ซี เบลเยียม อุกล์ สวิตเซอร์แลนด์ โอลิโวเน
14 1978 อิตาลี มอนเตกาตินี แตร์เม อิตาลี อาบาโน แตร์เม สหราชอาณาจักร แซนด์เวลล์ ฝรั่งเศส ฟงแตนโบล
15 1979 ฝรั่งเศส บอร์โด ฝรั่งเศส บาร์เลอดุก สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ซเรนยานิน เบลเยียม ลิเยอร์แด
16 1980 เบลเยียม นามูร์ โปรตุเกส วิลามูรา สหราชอาณาจักร รุดลัน เบลเยียม แมร์กเซ็ม
17 1981 สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย เบลเกรด สหราชอาณาจักร ดาร์ทมัธ
โปรตุเกส ลิสบอน
ไม่มีทีมรองชนะเลิศ สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ปูลา
18 1982 อิตาลี อูร์บีโน เบลเยียม โรเชอฟอร์ สวิตเซอร์แลนด์ แวร์ซัวร์ โปรตุเกส มาเดรา
19 1988 อิตาลี เบลลาโจ โปรตุเกส มาเดรา เบลเยียม โปรฟงเดอวีล
สเปน เซบียา
ไม่มีทีมอันดับสาม
20 1989 โปรตุเกส มาเดรา โปรตุเกส อะโซร์ส อิตาลี มอนเตอาร์เจนตารีโอ ฝรั่งเศส นิส
21 1990 อิตาลี เตรวีโซ สเปน ฆากา สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ซอร์ อิตาลี เตรวีโซ
22 1991 อิตาลี แช็งแวงซ็องต์ อิตาลี วีเจวาโน โปรตุเกส ไลรีอา ฝรั่งเศส เมเกฟ
23 1992 โปรตุเกส ปงตาแดลกาดา เชโกสโลวาเกีย เชบิช อิตาลี เบรยล์-แชร์วิเนีย
โปรตุเกส ลิสบอน
ไม่มีทีมอันดับสาม
24 1993 เช็กเกีย การ์โลวีวารี ฮังการี แก็ชแกเมต เช็กเกีย ชุมแป็ร์ก สวิตเซอร์แลนด์ เลอ บูเวอเร
25 1994 เวลส์ คาร์ดิฟฟ์ เช็กเกีย เช็สกาเตรโบวา เวลส์ เร็กซ์แฮม สวิตเซอร์แลนด์ โอลิโวเน
26 1995 ฮังการี บูดาเปสต์ เช็กเกีย เบอร์โน ฮังการี อีเกอร์ สวิตเซอร์แลนด์ วัลเลมักเจีย
27 1996 อิตาลี สตูปินิจี ฮังการี แก็ชแกเมต โปรตุเกส ลาเมกู อิตาลี กรันซันเบอร์นาโด
28 1997 โปรตุเกส ลิสบอน โปรตุเกส อามาโดรา อิตาลี วัลดีโซเล สวิตเซอร์แลนด์ ชาตต์ดอร์ฟ
29 1998 อิตาลี เตรนโต ฮังการี ซาซาลอมบัตตา กรีซ โคโมตีนี เนเธอร์แลนด์ ฟลีลันด์
30 1999 อิตาลี เลกัสเตลลา อิตาลี โบลซาโน-ซืททีโรล กรีซ เพทรัส ฮังการี บูดาเปสต์ XII. ดิสทริก

ในรอบชิงชนะเลิศปี 1969 จบด้วยการเสมอระหว่างทีมเยอรมัน ว็อลฟส์บวร์ค และทีมบริติช ชรูส์บรี ซึ่งมีคะแนน 32 คะแนนเท่ากัน ตามกติกาของการแข่งขันแล้วทีมว็อลฟส์บวร์ค เป็นทีมที่ชนะในฤดูกาลนี้ เนื่องจากมีคะแนนจากรอบเส้นแดงมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม กัปตันทีมว็อลฟส์บวร์คยืนกรานว่าถ้วยรางวัลควรจะได้ร่วมกัน และคณะกรรมการก็ตกลงที่จะให้ทั้งสองทีมได้ตำแหน่งชนะเลิศร่วมกัน

หลังจากแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในปี 1981 เสร็จสิ้นแล้ว ปรากฎว่าทีมบริเตนใหญ่ ดาร์ทมัธ ได้คว้าถ้วยทองไป แต่หลังจากมีทีมโปตุเกสคัดค้าน คณะกรรมการได้ทบทวนการแข่งขันและได้ปรับให้ทีมฝรั่งเศสไม่ผ่านและจัดให้อยู่อันดับสุดท้ายในเกมสุดท้าย ทำให้ทีมโปรตุเกสจากเมืองลิสบอนได้คะแนนพิเศษ ทำให้ทีมโปรตุเกสเป็นชนะเลิศร่วมกับทีมดาร์ทมัธ[4]

ตาราสรุปผลรอบชิงชนะเลิศ

[แก้]
ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง อันดับ 4 อันดับ 5 อันดับ 6 อันดับ 7 อันดับ 8 อันดับ 9
เยอรมนีตะวันตก เยอรมนีตะวันตก 6 1 2 4 2 1
โปรตุเกส โปรตุเกส 5 3 1 1 1 2 2
อิตาลี อิตาลี 4 6 5 6 3 2 3 1
สหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่ 4 2 1 3 4 2
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 3 1 7 6 3 2 2 1
ฮังการี ฮังการี 3 1 1 1 1
สวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ 2 3 6 4 4 3 2
เบลเยียม เบลเยียม 2 3 5 2 3 3 2
เช็กเกีย เช็กเกีย 2 1
สเปน สเปน 1 1 1 1
เชโกสโลวาเกีย เชโกสโลวาเกีย 1
เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 3 1 1 1 2 2
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวีย 2 1 1 1 1
กรีซ กรีซ 2 1 2 2
เวลส์ เวลส์ 1 1 1 1
สโลวีเนีย สโลวีเนีย 2 1 1
ซานมารีโน ซานมารีโน 2 1
มอลตา มอลตา 1 1
ตูนิเซีย ตูนีเซีย 1
ลีชเทินชไตน์ ลีชเทินชไทน์[h]

รายการพิเศษคริสต์มาส

[แก้]

รายการเวอร์ชันพิเศษที่จัดธีมของรายการเป็นเทศกาลฤดูหนาวในชื่อว่า Jeux Sans Frontieres: Christmas Special[i] มักจะฉายในช่วงคริสต์มาส และผลิตรายการแข่งขันเป็นตอนเดี่ยวมาตั้งแต่ปี 1970 ถึงปี 1981 โดยจัดขึ้นครั้งแรกที่เมืองไลเดิน ประเทศเนเธอร์แลนด์ และจะมีการจัดการแข่งขันสลับกันระหว่างเมืองกอร์ตีนาดัมเปซโซในอิตาลี โดยสถานีโทรทัศน์อิตาลี (RAI) (1973, 1975, 1976, 1979) และเมืองอาวีมอร์ในสกอตแลนด์ โดยบีบีซี (1971, 1972, 1974, 1977, 1981, 1983) สวิตเซอร์แลนด์เป็นเจ้าภาพในปี 1978 ที่วิลลาร์ซูร์โอลง และเบลเยียมเป็นเจ้าภาพในปี 1980 ที่ลีแยฌ

รายการจะจัดขึ้นในบริเวณในร่มหรือนอกร่ม บนพื้นลานน้ำแข็งหรือพื้นหิมะ แต่ในครั้งใดที่ไม่มีหิมะเลย ก็จะใช้หิมะเทียมหรือโฟมแทน เกมโดยทั่วไปที่มักจะเล่นกันจะสวมใส่รองเท้าสเก็ตหรือสกี ประเทศที่เข้าร่วมเป็นหลัก ๆ มักจะมีสี่ประเทศคือบริเตนใหญ่ เบลเยียม อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ (แม้ในรายการหลักจะถอนตัวออกไปแล้วก็ตาม) ต่อมาในปี 1977 – 1980 จึงมีสวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมเป็นประเทศที่ห้า ซึ่งจะประเทศจะส่งพิธีกรมาร่วมดำเนินรายการ และส่งเกมที่แต่ละประเทศคิดขึ้นมาร่วมแข่งขันกันในรายการ

หลักจาก เฌอซ็องฟรงเตียร์ ภาคปกติได้สิ้นสุดลงไปหลังจบรอบชิงชนะเลิศปี 1982 รายการพิเศษก็ยังคงมีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยทีมเข้าร่วมจากสี่ประเทศคือ เบลเยียม บริเตนใหญ่ เนเธอร์แลนด์ และโปรตุเกส โดยไปจัดที่ไปรยาดูราดา ในเมืองการ์โวเอโร โดยมีผู้ชนะเป็นทีมจากเบลเยียม แต่ในครั้งนี้มีการตัดสินใจไม่ออกอากาศรายการนี้ เนื่องจากรายการที่ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยในที่สุดมีเพียงโทรทัศน์เบลเยียมเท่านั้นที่ออกอากาศรายการนี้เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 1982 รายการพิเศษนี้จัดขึ้นอีกเป็น 2 ครั้งสุดท้าย โดยในปี 1983 จัดที่เมืองเอวีมอร์ โดยเป็นการแข่งขันระหว่างทีมจากบริเตนใหญ่และทีมจากสวีเดน และปี 1984 จัดที่เมืองแบล็กพูล โดยเป็นการแข่งขันระหว่างบริเตนใหญ่ ฝรั่งเศส และเยอรมนีตะวันตก

หลังจากมีการรื้อฟื้นรายการในปี 1988 รายการพิเศษคริสต์มาสก็ถูกรื้อฟื้นด้วยเช่นกันในปี 1990 โดยครั้งนี้ไปจัดที่มาเก๊า[5] และอีกครั้งในปี 1994 ที่เมืองคาร์ดิฟฟ์

รายการพิเศษคริสต์มาส

[แก้]
ปี เมืองเจ้าภาพ ทีมชนะเลิศ ทีมรองชนะเลิศ ทีมอันดับสาม
1970 เนเธอร์แลนด์ ไลเดิน เนเธอร์แลนด์ อัลเพนอานเดนไรน์ สหราชอาณาจักร เกรทยาร์มัธ
1971 สหราชอาณาจักร เอวีมอร์ เนเธอร์แลนด์ อาลเทิน อิตาลี เยโซโล สหราชอาณาจักร แบล็กพูล
1972 สหราชอาณาจักร เอวีมอร์ สหราชอาณาจักร เอวีมอร์ เนเธอร์แลนด์ ไอส์เซลสไตน์ เบลเยียม อ็องเกลอร์
1973 อิตาลี กอร์ตีนาดัมเปซโซ อิตาลี กอร์ตีนาดัมเปซโซ เนเธอร์แลนด์ ทีมดาวกีฬาชาวดัตช์ สหราชอาณาจักร เอวีมอร์
1974 สหราชอาณาจักร เอวีมอร์ สหราชอาณาจักร เอวีมอร์ เนเธอร์แลนด์ ดัตช์ 'ออล์ สตาร์' เบลเยียม โวลูเวแซ็งปีแยร์
1975 อิตาลี กอร์ตีนาดัมเปซโซ อิตาลี กอร์ตีนาดัมเปซโซ เนเธอร์แลนด์ ดัตช์ 'ออล์ สตาร์' เบลเยียม ชาร์เลอรัว
1976 อิตาลี กอร์ตีนาดัมเปซโซ เบลเยียม วอเตอร์ลู อิตาลี กอร์ตีนาดัมเปซโซ เนเธอร์แลนด์ ดัตช์ 'ออล์ สตาร์'
1977 สหราชอาณาจักร เอวีมอร์ อิตาลี โบลซาโน สหราชอาณาจักร เอวีมอร์ สวิตเซอร์แลนด์ เลเบรอเนต์
1978 สวิตเซอร์แลนด์ วิลลาร์ซูร์โอลง เบลเยียม ลีแยฌ อิตาลี อาซียาโก สวิตเซอร์แลนด์ วิลลาร์ซูร์โอลง
1979 อิตาลี กอร์ตีนาดัมเปซโซ เนเธอร์แลนด์ เด็นฮาค อิตาลี กอร์ตีนาดัมเปซโซ สวิตเซอร์แลนด์ เลย์แซ็ง
1980 เบลเยียม ลีแยฌ เนเธอร์แลนด์ เฮเรนเฟน อิตาลี โมเอนา สหราชอาณาจักร บริสตอล
1981 สหราชอาณาจักร เอวีมอร์ สหราชอาณาจักร เอวีมอร์ อิตาลี ฟัลกาเด เบลเยียม นามูร์
1982 โปรตุเกส การ์โวเอโร เบลเยียม บลังเคนแบเคอ สหราชอาณาจักร พลิมัท โปรตุเกส การ์โวเอโร
1983 สหราชอาณาจักร เอวีมอร์ สหราชอาณาจักร บริติช 'ออล์ สตาร์' สวีเดน คอลส์ครูนา
1984 สหราชอาณาจักร แบล็กพูล สหราชอาณาจักร แบล็กพูล ฝรั่งเศส ตูร์กวง เยอรมนีตะวันตก บอททรอป
1990 มาเก๊า โคโลอาน อิตาลี แบร์กาโม
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย โทรเกียร์
ไม่มีทีมอันดับสอง โปรตุเกส กีมาไรช์
1994 เวลส์ คาร์ดิฟฟ์ สวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์
เวลส์ เวลส์
กรีซ กรีซ
มอลตา มอลตา
โปรตุเกส โปรตุเกส
ไม่มีทีมอันดับสองและสาม
ฉบับพิเศษเซเลบริตี ทั้งห้าทีมเป็นทีมชนะร่วมกัน

ฉบับฤดูหนาว

[แก้]

แอ็งเตอเนจ์ (ฝรั่งเศส: Interneige) หรือ Jeux sans frontières d’hiver เป็นรายการสปินออฟฉบับฤดูหนาวที่จัดขึ้นกันในสกีรีสอร์ส โดยจัดขึ้นมาทั้งหมด 11 ฤดูกาล (1965–1968, 1976–1981, และ 1992) มีชื่อเรียกอื่น ๆ อย่าง Jeux Sans Frontieres on Ice หรือ Jeux Sans Frontieres in the Snow

ฉบับฤดูหนาว แอ็งเตอเนจ์

[แก้]
ฤดูกาล ปี เมืองเจ้าภาพรอบชิงชนะเลิศ ทีมชนะเลิศ ทีมรองชนะเลิศ ทีมอันดับสาม
1 1965 ฝรั่งเศส วิลลาร์เดอลอง
สวิตเซอร์แลนด์ กร็องซูร์ซิแยร์
ฝรั่งเศส วิลลาร์เดอลอง สวิตเซอร์แลนด์ กร็องซูร์ซิแยร์
2 1966 ฝรั่งเศส ลาปลัญ
สวิตเซอร์แลนด์ กร็องซูร์ซิแยร์
ฝรั่งเศส ลาปลัญ สวิตเซอร์แลนด์ กร็องซูร์ซิแยร์
3 1967 สวิตเซอร์แลนด์ มอนตานา-เวอร์มาลา
ฝรั่งเศส เลรูสซ์
สวิตเซอร์แลนด์ มอนตานา-เวอร์มาลา ฝรั่งเศส เลรูสซ์
4 1968 ฝรั่งเศส ลัลเปอดูเอซ
สวิตเซอร์แลนด์ เจนีวา
ฝรั่งเศส เลอโกบีเยร์ สวิตเซอร์แลนด์ อ็องแซร์
5 1976 สวิตเซอร์แลนด์ ตีอง 2000 สวิตเซอร์แลนด์ ตีอง ฝรั่งเศส เลเฌต์
6 1977 ฝรั่งเศส เลเฌต์ สวิตเซอร์แลนด์ เลย์แซ็ง
ฝรั่งเศส เลเฌต์
ไม่มีทีมอันดับสอง อิตาลี ปีลาออสตา
7 1978 สวิตเซอร์แลนด์ โอเตอร์น็องดา ฝรั่งเศส ตีนีส์ สวิตเซอร์แลนด์ ลาโชเดอฟง อิตาลี โมเอนา
8 1979 อิตาลี ปนเตดีเลโญ อิตาลี วัลการ์ลีนา สวิตเซอร์แลนด์ ซีนาล-วัล ดานิเวียร์ ฝรั่งเศส กูเร็ต
9 1980 ฝรั่งเศส มาเกฟ อิตาลี กาวาเลเซ
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ซาราเยโว
ไม่มีทีมอันดับสอง ฝรั่งเศส มงดอร์
10 1981 สวิตเซอร์แลนด์ กร็องมงตานา สวิตเซอร์แลนด์ กร็องมงตานา ฝรั่งเศส เมรีเบล อิตาลี หุบเขาฟิเอมเม
11 1992 เชโกสโลวาเกีย ปราก เชโกสโลวาเกีย โนเวเมชโตนาโมราเว อิตาลี ซันตากาเตรีนาดีวัลฟูร์วา สวิตเซอร์แลนด์ รัฐฌูรา

ความพยายามรื้อฟื้น

[แก้]

ในปี 2006 ทางอีบียูได้ประกาศแผนที่จะเปิดตัวรายการดังกล่าวอีกครั้งในช่วงฤดูร้อนปี 2007 โดยร่วมมือกับ Mistral Production และ Upside Television[6] เบลเยียม โครเอเชีย สเปน กรีซ เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สโลวีเนีย และอิตาลี จะเป็นประเทศที่เข้าร่วมรายการ อย่างไรก็ตามเนื่องจากประสบปัญหาด้านงบประมาณ แผนดังกล่าวจึงถูกระงับไป เดิมทีดำเนินการเป็นเวลา 12 เดือน แต่ภายหลังก็ถูกยกเลิกไปโดยสิ้นเชิง

ในเดือนธันวาคม 2016 ทางอีบียูได้ประกาศแผนยุทธศาสตร์สำหรับการดำเนินงานในปี 2017 – 2020 ซึ่งรวมไปถึงการรื้อฟื้นรานการโดยใช้ชื่อว่า ยูโรวิชันซูเปอร์เกมส์ (อังกฤษ: Eurovision Super Games) ซึ่งถือเป็นการรื้อฟื้นรายการหลังจากออกอากาศครั้งสุด้ายในปี 1999[7] มีประเทศเข้าร่วมและมีส่วนร่วมในโครงการนี้จำนวน 12 ประเทศ ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่าง 8 ประเทศ โดยแต่ละประเทศมีนักกีฬา 4 คนเป็นตัวแทนในการแข่งขันท้าทายทางจิตใจและร่างกาย ผู้ชมทางบ้านสามารถเลือกนักกีฬาสองคนจากประเทศของตนเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันที่เสนอได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีหลักประกันทางการเงิน อีบียูจึงประกาศในเดือนมิถุนายน 2017 ว่าจะไม่มีรายการแข่งขันนี้[8]

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2019 ในงานแถลงข่าวประจำปีของ France Télévisions มีการประกาศรื้อฟื้นรายการอีกครั้ง ซึ่งจะผลิตโดย Nagui และออกอากาศทาง France 2[9] แต่ต่อมาก็ยกเลิกในภายหลังเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูรายการ Intervilles ที่ประกาศในช่วงปลายทศวรรษ 2020 จนในที่สุดทาง Nagui ก็ประกาศในเดือนตุลาคม 2023 ว่าการรื้อฟื้นรายการจะไม่ใช่ประเด็นสำคัญอีกต่อไป เนื่องจากค่าครองชีพและปัญหาทางการเงินของเมืองต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม การฟื้นคืนการแสดงยังคงมีความเป็นไปได้ในอนาคต[10]

ยูโรเกมส์

[แก้]

ในปี 2019 ทางอีบียูได้สูญเสียลิขสิทธิ์ของรูปแบบรายการและสิทธิ์ของเฟรนไชส์ให้กับ Mediaset และมีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ยูโรเกมส์ [fr; it; es; el] (อังกฤษ: Eurogames) โดยถ่ายทำรายการกันที่ชิเนชิตตาเวิร์ดในกรุงโรม[11] รายการนี้เน้นไปที่การแข่งขันแบบสบาย ๆ ระหว่างทีมจากอิตาลี สเปน เยอรมนี และกรีซ ร่วมกับทีมน้องใหม่อย่างโปแลนด์และรัสเซีย[12][13][14][15][16]

ดูเพิ่มเติม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. อังกฤษ: It's A Knockout; เยอรมัน: Spiel Ohne Grenzen; ดัตช์: Spel Zonder Grenzen; อิตาลี: Giochi Senza Frontiere; ข้อผิดพลาด Lua: expandTemplate: template "lang-x2" does not exist; สโลวีเนีย: Igre Brez Meja; สเปน: Juegos Sin Fronteras; โปรตุเกส: Jogos Sem Fronteiras; กรีก: Παιχνίδια Χωρίς Σύνορα, อักษรโรมัน: Paichnídia Chorís Sýnora; เวลส์: Gemau Heb Ffiniau; ฮังการี: Játék Határok Nélkül; เช็ก: Hry Bez Hranic; อาหรับ: العاب بلا حدود, อักษรโรมัน: Aleab Bila Hudud; มอลตา: Logħob għal Kulħadd
  2. เมื่อทีมจากเมืองเดร์รีเป็นตัวแทนให้กับทีมบริเตนใหญ่ ได้ใช้รหัสประเทศว่า 'NI' สำหรับไอร์แลนด์เหนือ แทนที่ GB
  3. เวลส์เข้าร่วมตั้งแต่ปี 1991 ถึงปี 1994 ในนามทีมบริเตนใหญ่ และใช้รหัสประเทศว่า GB ในการออกอากาศในยุโรปภาคพื้นทวีป และใช้รหัสประเทศ C (Cymru, ชื่อดินแดนในภาษาเวลส์) ในการออกอากาศในเวลส์เอง ภาษาเวลส์ เป็นภาษาที่ถูกใช้ในการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ S4C
  4. อาศัยการรับชมจากสถานีโทรทัศน์อิตาลี (RAI)
  5. เชโกสโลวาเกียเข้าร่วมในปี 1992 ด้วยทีมที่จากฝั่งเช็กอย่างเดียว โดยที่ไม่มีทีมจากฝั่งสโลวักเลย
  6. ลีชเทินชไทน์เข้าร่วมในปี 1976 แทนที่ทีมสวิตเซอร์แลนด์ในหนึ่งรอบการแข่งขัน และใช้รหัสประเทศว่า FL (แทนที่ CH)
  7. อาศัยการรับชมจากสถานีโทรทัศน์สวิตเซอร์แลนด์ (SRG SSR)
  8. ลีชเทินชไทน์เข้าร่วมในปี 1976 เพียงรอบการแข่งขันเดียว แต่ไม่สามารถเข้ารอบชิงชนะเลิศได้
  9. อังกฤษ: It's a Christmas Knockout!; ดัตช์: Zeskamp Speciaal; อิตาลี: Giochi Sotto L'Albero; ฝรั่งเศส: Jeux de Noël; เยอรมัน: Weihnachtsspiele; สวีเดน: Nyårs Knockout

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Intervilles revient: une émission mythique avec ses couacs, chutes et scandales de triche" (ภาษาฝรั่งเศส). RTBF. 19 ธันวาคม 2019.
  2. "Jeux Sans Frontieres 1971 – Rotterdam (Heat 3)". 5 กรกฎาคม 2021 – โดยทาง www.youtube.com.
  3. "Camillo Felgen & Frank Elstner – Spiel ohne Grenzen (Finale in Verona) 1970" – โดยทาง www.youtube.com.
  4. "Jeux Sans Frontieres Belgrade 1981 (YU) English Commentary Full Show". 5 มกราคม 2014 – โดยทาง www.youtube.com.
  5. Tavares, Tiago (20 กรกฎาคม 2015). "Attention! Prêts? Piiiii! Assim eram os Jogos Sem Fronteiras". Observador (ภาษาโปรตุเกส).
  6. "EBU.CH :: Jeux sans Frontières". 24 ธันวาคม 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ธันวาคม 2006.
  7. "EBU To Launch New Format "Eurovision Super Games"". eurovoix.com. Eurovoix. 12 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2019.
  8. Granger, Anthony (26 มิถุนายน 2017). "Eurovision Super Games Will Not Be Created". eurovoix.com. Eurovoix. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2019.
  9. ""Jeux sans frontières" de retour sur France 2 avec Nagui". Le Huffington Post. 18 มิถุนายน 2019. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2019.
  10. "Intervilles: Bientôt de retour sur nos télés ?".
  11. ""Games Without Frontiers" is back on Channel 5". www.bitfeed.co. 13 กรกฎาคม 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2019.
  12. Granger, Anthony (20 กรกฎาคม 2019). "Seven Broadcasters To Take Part in EuroGames?". eurovoix-world.com. Eurovoix.
  13. ""Torna su Canale 5 Giochi Senza Frontiere: a condurlo sarà Ilary Blasi"". Il Fatto Quotidiano. 16 มิถุนายน 2019. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2019.
  14. "Ascolti TV | Giovedì 19 settembre 2019. Un Passo dal Cielo 18.6%, Eurogames parte dal 16%". DavideMaggio.it (ภาษาอิตาลี). 20 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2019.
  15. "Ascolti TV | Giovedì 24 ottobre 2019. Un Passo dal Cielo 19.3%, Eurogames chiude al ribasso (8.2%). La Carrà riparte dal 6.2%". DavideMaggio.it (ภาษาอิตาลี). 25 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2019.
  16. "Mediaset estrena por sorpresa 'Eurogames' en su plataforma de pago Mitele Plus". eldiario.es (ภาษาสเปนแบบยุโรป). 3 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2020.

ลิงก์ภายนอก

[แก้]

แม่แบบ:Jeux sans frontières แม่แบบ:European Broadcasting Union