ฉบับร่าง:ลาภยศ ประสิทธิโศภิน

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ลาภยศ ประสิทธิโศภิน (ชื่อเล่น: เดย์) เป็น นักเขียน วิศวกร นักวิชาการ และ อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [1] เกิดเมื่อวันที่ 28 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 เป็นบุตรคนสุดท้ายในจำนวน 3 คน ครอบครัวประกอบธุรกิจด้านสื่อภาพยนต์และรับเหมาก่อสร้าง เป็นลูกหลานของพระมหาเมธังกร ประธานผู้ก่อตั้งวัดพระธาตุช่อแฮ จ. แพร่

    ดร. ลาภยศ เป็นผู้แปลหนังสือ "สร้างสมองให้อัจฉริยะ" โดยสำนักพิมพ์อนิเมท กรุ๊ป [2]

    ท่านเป็นผู้แต่งบทความเชิงวิชาการทั้งในวารสารในประเทศและนานาชาติ [3] คลอบคลุมเนื้อหาด้าน ความยั่งยืน วัสดุ การก่อสร้าง มากกว่า 50 เรื่อง [4] อาทิเช่น การศึกษาปริทัศน์ของวัสดุก่อสร้างด้วยเม็ดโฟม [5]

    และยื่นสิทธิบัตรคลอบคลุมในระดับนานาชาติจำนวน 12 เรื่อง [6][7] อีกทั้งดร. ลาภยศ ยังเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการในวารสารเชิงวิชาการทั้งในประเทศไทยและวารสารต่างประเทศ [8]

    การศึกษา [9][แก้]

    นอกจากนี้ ดร. ลาภยศ ได้เข้ารับประกาศนียบัตรในหลักสูตรความรู้เฉพาะด้าน ได้แก่ Innovative Organization Certified Assessor program จาก TRIS Corp.; Six Sigma Certified จาก Management and Strategy Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา; LEED Green Associate จาก U.S. Green Building Council ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Pass Chartered Financial Analyst (CFA) - Level 1 จากประเทศสหรัฐอเมริกา [11]

    การทำงาน[แก้]

    ดร ลาภยศ มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับองค์กรในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในหลากหลายศาสตร์ทั้งทางด้านวิศวกรรม ธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย และ การออกแบบต่าง ๆ

    • หลังจากกลับจากต่างประเทศ ดร. ลาภยศ ได้ไปปฏิบัติงานในเครือบริษัทปูนซีเมนต์ไทย[12] และยังเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนหลายแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหลักสูตรการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม มหาวิทยาลัยรามคำแหง อีกทั้งยังเป็นที่ปรึกษาให้แก่บริษัทเอกชนหลายแห่ง เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ [13]
    • จากนั้นเมื่อปีพ.ศ. 2564 ดร. ลาภยศ ได้ปฎิบัติงานเป็นอาจารย์ ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเล็งเห็นถึงประโยชน์ในการเผยแพร่ความรู้ให้กับเยาวชนรุ่นใหม่
    • นอกเหนือจากนั้น ดร. ลาภยศ ยังเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา และ คณะอนุญาโตตุลาการ ของสถาบันอนุญาโตตุลาการ [14]

    บทบาททางการเมือง[แก้]

    • ดร. ลาภยศ ได้เริ่มต้นงานทางการเมือง ในปี พ.ศ. 2563 ในตำแหน่งคณะที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการติดตามระบบการเงิน การคลัง สถาบันการเงิน และตลาดการเงิน สภาผู้แทนราษฎร
    • ต่อมาในปี พ.ศ. 2565 ได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบันการเงิน และตลาดการเงิน สภาผู้แทนราษฎร

    อ้างอิง[แก้]

    1. www.arch.chula.ac.th https://www.arch.chula.ac.th/web2017/. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
    2. "สร้างสมองให้อัจฉริยะ". m.se-ed.com.
    3. https://www.researchgate.net/profile/Lapyote-Prasittisopin
    4. "Lapyote Prasittisopin". scholar.google.com.
    5. "X-MOL". en.x-mol.com.
    6. "Lapyote PRASITTISOPIN Inventions, Patents and Patent Applications - Justia Patents Search". patents.justia.com.
    7. "Thailand Techshow". www.thailandtechshow.com.
    8. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/PTUJST/about/editorialTeam
    9. www.arch.arch.chula.ac.th https://www.arch.arch.chula.ac.th/people/lapyote-prasittisopin-ph-d/. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
    10. "Digital Library". digital.lib.kmutt.ac.th.
    11. "Lapyote Prasittisopin, Author at 3D Printing Industry". 3D Printing Industry (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
    12. ""เอสซีจี ซิเมนต์" เปิดเวทีเสวนาอัพเดตเทรนด์สถาปัตยกรรม". bangkokbiznews. 2019-02-22.
    13. https://www.scb.co.th/th/corporate-banking/mission-x/mission-x-course-2/special-lecture-course-2/special-lecture-lapyote.html
    14. https://thac.or.th/panellists/lapyote-prasittisopin/

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]