ฉบับร่าง:ฉายารัฐบาล (ประเทศไทย)
![]() | ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำหรับผู้ตรวจสอบ
ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ Alert9654 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 3 วันก่อน (ล้างแคช) |
การตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำปี ของสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนานเกือบ 40 ปี สะท้อนความคิดเห็นของสื่อมวลชนต่อการทำงานของรัฐบาลโดยปราศจากอคติ ซึ่งรัฐบาลแรกที่ถูกนักข่าวทำเนียบตั้งฉายา ก็คือ "รัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์" (ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ช่วงปี พ.ศ.2523-2531)
ช่วงแรก ๆ ปี พ.ศ.2523-2525 จะเป็นการจัดอันดับให้กับรัฐมนตรี (รวม 3 ครั้ง) และในปี พ.ศ.2526-2530 จะเป็นการจัดอันดับและตั้งฉายาให้กับรัฐมนตรี (รวม 4 ครั้ง) ก่อนที่ภายหลังปี พ.ศ.2531 เป็นต้นมา จะเป็นการตั้งฉายาให้กับรัฐมนตรีเหมือนดังปัจจุบัน ส่วนวาทะแห่งปี ช่วงแรกนั้นจะเรียกว่า "คำขวัญประจำปี" ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นวาทะแห่งปี
ฉายารัฐบาลฯ ประจำปี 2523-2527[แก้]
ฉายารัฐบาลฯ ประจำปี 2528-2532[แก้]
ฉายารัฐบาลฯ ประจำปี 2533-2537[แก้]
ฉายารัฐบาลฯ ประจำปี 2538-2542[แก้]
ปี | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ | ฉายาะวาทะแห่งปี | ความหมายและที่มา | |
---|---|---|---|---|
พ.ศ.2538[1] | 51 | รัฐบาล | รัฐบาลต่างตอบแทน | เนื่องจากรัฐบาลได้อ้างอาญาสิทธิ์จากประชาชนเข้ามาทำการจัดตั้งรัฐบาลโดยแบ่งสรรโควตา รมต. และงานที่รับผิดชอบกันภายใน 7 พรรคร่วมรัฐบาล เหมือนการแบ่งสัมปทานประเทศและรัฐบาลยังเมินเฉยต่อกระแสเรียกร้องของสังคมที่ต้องการให้ปรับ รมต.ประเภท "ยี้" หรือ รมต.ผู้ไม่เป็นที่พึงประสงค์ออกจากคณะรัฐมนตรี สะท้อนให้เห็นภาพการทำงานของรัฐบาลที่มุ่งสานผลประโยชน์ของกลุ่มการเมืองมากกว่าประโยชน์ของประชาชน |
นายบรรหาร ศิลปอาชา
(นายกรัฐมนตรี) |
หลงจู๊เสียศูนย์ | เนื่องจากลักษณะการทำงานแบบเถ้าแก่บริษัท ไม่ค่อยมีหลักการในการบริหารประเทศ อีกทั้งในส่วนของมติคณะรัฐมนตรีที่ออกมานั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงกันง่ายดายราวกับว่าเป็นการเล่นขายของ รวมทั้งไม่สามารถควบคุมการบริหารงานตลอดจนพรรคร่วมรัฐบาลและลูกพรรคชาติไทยได้
คำว่า "หลงจู๊" เป็นคำจีนสยาม ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้จัดการ" ในกิจการใดกิจการหนึ่ง ในบริบทของสังคมสมัยก่อนหลงจู๊มีหน้าที่กำกับดูแลแทบทุกเรื่องในกิจการนั้น ๆ แต่ในปัจจุบันสภาพของสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้ผู้ที่เป็นหลงจู๊ต้องปรับเปลี่ยนลดบทบาทของการกำกับดูแลเรื่องต่าง ๆ ทุกเรื่อง รวมทั้งการเข้าไปล้วงลูกก็ลดลงตามไปด้วย เมื่อคำนี้ถูกนำมาใช้ตั้งฉายา จึงมีความหมายเชิงเสียดสีถึงลักษณะการบริหารงานว่าเข้าข่าย "หลงจู๊" กล่าวคือ นายบรรหารเข้าไปล้วงลูกการทำงานของลูกพรรคตนเอง | ||
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
(รองนายกรัฐมนตรี) |
หน้ากากเทวดา | เนื่องจากเป็นผู้ที่มีแบบฉบับของบุคลิกและการทำงานต่างจากพลตรีจำลอง ศรีเมือง อดีตหัวหน้าพรรคพลังธรรม โดยเน้นการสร้างภาพที่ดีให้กับตนเองและพรรคเพื่อให้คนกรุงเทพฯ มองเขาเหมือนกับเป็นเทวดาผู้มีบทบาทอันโดดเด่นอยู่เพียงคนเดียว ในขณะที่หลังฉากนั้นยังมีข้อเคลือบแคลงสงสัยในธุรกิจส่วนตัวของเขา | ||
นายสมัคร สุนทรเวช
(รองนายกรัฐมนตรี) |
ไดโนเสาร์ติดหล่ม | เนื่องจากถูกมองว่าเป็นผู้ที่เล่นการเมืองมายาวนานประมาณ 20 ปีแล้ว แต่ยังมีพฤติกรรมการทุบกระจกเล่นบทบาทอนุรักษนิยม มักจะทะเลาะกับสื่อมวลชน รวมทั้งไม่ยอมเปลี่ยนแนวความคิดและพฤติกรรมของตน | ||
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) |
คลื่นใต้น้ำ | เนื่องจากเป็นผู้ที่พยายามดำเนินบทบาททางการเมืองอย่างเงียบ ๆ มีการสั่งสมบารมี การเตรียมความพร้อม และการจัดขบวนทัพใหม่เพื่อให้สามารถบรรลุความใฝ่ฝันอันสูงสุดในชีวิต คือ "ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี" จึงทำให้พรรคร่วมรัฐบาลเกิดความหวาดระแวงในความซุ่มเงียบ ซึ่งเปรียบเสมือนคลื่นใต้น้ำที่รอวันโผล่ขึ้นมาประกาศศักดาเหนือพื้นผิวน้ำ | ||
นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) |
วิญญูชนจอมปลอม | เนื่องจากเป็นผู้ที่ย้ำอยู่เสมอว่าตนเองเป็นนักวิชาการ หวังจะเข้ามาทำงานเพื่อช่วยให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลดีขึ้น แต่กลับกล่าวหาสังคมไร้สติ อีกทั้งมีพฤติกรรมเป็นที่น่าเคลือบแคลงสงสัยอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะการถูกกล่าวหาว่าใช้วิชาการที่ร่ำเรียนมาเป็นประโยชน์ในอาชีพนายหน้า
ในขณะที่ไม่แสดงความรับผิดชอบหรือเคลียร์ปัญหาใด ๆ ทว่ากลับใช้อำนาจสั่งปลดรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยออกจากตำแหน่ง โดยอ้างว่ามีหลักฐานการกระทำความผิด แต่ไม่ยอมแสดงหลักฐานดังกล่าวให้สังคมประจักษ์ นอกจากนั้นพฤติกรรมการอัดฉีดเม็ดเงิน 3 หมื่นล้านบาท เข้าตลาดหุ้น ก็เป็นการแก้ปัญหาโดยไม่ตั้งสติให้ดีเสียก่อน | ||
นายมนตรี พงษ์พานิช
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) |
นักรื้อจอมล้วง | เพราะการกลับเข้ามาดำรงตำแหน่ง รมต.ในครั้งนี้ นายมนตรีมีพฤติกรรมอันโดดเด่น คือเป็นผู้ที่รื้อทุกอย่างที่ขวางหน้า ไม่ว่ากรณีเรื่องการประมูลปุ๋ย การเปลี่ยนแปลงจัดสรรงบประมาณ การรื้อบอร์ดการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การรื้อบอร์ดการท่าอากาศยาน รวมไปถึงการออกคำสั่งย้ายข้าราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | ||
นายชูชีพ หาญสวัสดิ์
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) |
ลาดื้อ | เนื่องจากเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ความสามารถทางด้านนี้โดยตรง แต่กลับดื้อรั้นไม่ยอมฟังเสียงทักท้วงจากผู้ใด ยกตัวอย่าง กรณีการแต่งตั้งปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรณีการดันทุรังคงไว้ซึ่งโควตามันสำปะหลังโดยไม่สามารถอธิบายเหตุผลให้เป็นที่ยอมรับได้ เป็นต้น | ||
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม) |
จอมวางยา | เพราะการทำหน้าที่เหมือนกับเป็นสายลับในรัฐบาลและช่วยเหลือนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นบทบาทเดียวกันกับสมัยที่อยู่ร่วมรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ บทบาทอันโดดเด่น คือ การออกมาตอบโต้หัวหน้าพรรคพลังธรรมที่กำลังเขย่าบัลลังก์ของรัฐบาล ด้วยการวางยาหลอกล่อให้คนอื่นตกหลุมพราง | ||
นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม) |
จิ้งจกเปลี่ยนสี | เนื่องจากเคยเคลื่อนไหวโค่นล้มรัฐบาลพลเอกสุจินดา และรัฐบาลนายชวน แต่พอเข้ามาร่วมทำงานกับรัฐบาลนายบรรหาร กลับไม่แยแสต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของสังคม ลืมคำที่ตนเองเคยประกาศไว้ว่าจะไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคชาติไทย โต้ตอบองค์กรประชาธิปไตยที่เคยร่วมต่อสู้เคียงบ่าไหล่กันมา และไม่มีผลงานด้านการปราบปรามน้ำมันเถื่อนปรากฏให้เห็นชัดเจนดังเช่นที่ได้คุยไว้ก่อนหน้าที่จะมารับตำแหน่ง | ||
นายเนวิน ชิดชอบ
(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง) |
ยี้ห้อยร้อยยี่สิบ | มาจากความหมายของคำ 3 คำรวมกัน คือ "ยี่" "ห้อย" และ "ร้อยยี่สิบ"
ในส่วนของคำว่า "ยี้" นั้น เป็นคำบ่งบอกพฤติกรรมในอดีตของนายเนวินที่ไม่ค่อยได้รับการยอมรับจากคนในสังคมส่วนหนึ่งมากเท่าใดนัก ซึ่งพอเวลาผู้คนเหล่านั้นได้ยินชื่อของนายเนวิน ก็จะออกอาการยี้ขึ้นมาทันทีทันใด ส่วนคำว่า "ห้อย" เป็นการล้อเลียนถึงลักษณะรูปปากของนายเนวิน และคำว่า "ร้อยยี่สิบ" เป็นเรื่องราววิบากกรรมของนายเนวินที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2538 กรณีนายนฤดล และนางประภาพร ศิริพานิช เตรียมการซื้อเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งคนหนึ่งของทีมนายเนวิน ชิดชอบ โดยตำรวจชุดเฉพาะกิจพบธนบัตรใบละ 100 บาท และใบละ 20 บาท เย็บติดกันเป็นชุด ๆ รวมเป็นเงิน 11,399,900 บาท | ||
วาทะแห่งปี | "ผมจะไม่ทำให้ประชาชนผิดหวัง" | วาทะของ นายบรรหาร ศิลปอาชา (นายกรัฐมนตรี)
คำพูดสัญญาประชาคมที่เคยให้ไว้กับประชาชนทั้งประเทศในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ปี 2538 แต่ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นไปตามสิ่งที่ท่านตั้งใจไว้ว่าจะให้ทุกอย่างเป็นไปตามคำพูดนั้น | ||
พ.ศ.2539 | 52 | งดตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2539 เพื่อรอการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 17 พฤจิกายน พ.ศ.2539 ก่อนจะมีการประกาศพระบรมราชโองการ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 แต่งตั้งพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาลชี้แจงว่า "รัฐบาลชุดดังกล่าว เพิ่งเข้ามาทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ จึงไม่อาจสะท้อนภาพการทำงานของรัฐบาลได้มากนัก จึงมีมติงดตั้งฉายาฯ" | ||
พ.ศ.2540 | 53 | งดตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เนื่องจากพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรีประกาศลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2540 จากกรณีวิฤกติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ก่อนจะมีการลงมติเลือกผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ก่อนจะมีการประกาศพระบรมราชโองการ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2540 แต่งตั้งนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาลชี้แจงว่า "รัฐบาลชุดดังกล่าว เพิ่งเข้ามาทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ จึงไม่อาจสะท้อนภาพการทำงานของรัฐบาลได้มากนัก จึงมีมติงดตั้งฉายาฯ" | ||
พ.ศ.2541 | 53 | รัฐบาล | อัศวินม้าไม้ | |
นายชวน หลีกภัย
(นายกรัฐมนตรี) |
ช่างทาสี | |||
นายศุภชัย พานิชภักดิ์
(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) |
อาทิตย์ผิดฟ้า | |||
พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์
(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) |
ชะลาวันสันหลังหวะ | |||
คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์
(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) |
ฉุยฉาย | |||
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) |
สาระแนหน้าจอ | |||
นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) |
นักกู้สิบทิศ | |||
นายปองพล อดิเรกสาร
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) |
หนังใหญ่เมืองสุพรรณ | |||
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม) |
กล่องดำนายหัว | |||
นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล
(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง) |
โกลบอล (ปาก) บอน | |||
นายวัฒนา อัศวเหม
(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย) |
เจ้าพ่ออสรพิษ | |||
วาทะแห่งปี | "ปัญหานี้สืบเนื่องจากรัฐบาลชุดที่แล้ว" | วาทะของ นายชวน หลีกภัย (นายกรัฐมนตรี) | ||
พ.ศ.2542 | 53 | รัฐบาล | รัฐบาลชวนเชื่อ | |
นายชวน หลีกภัย
(นายกรัฐมนตรี) |
นายประกันชั้น 1 | |||
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี
(รองนายกรัฐมนตรี) |
ตลกหลวง | |||
พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์
(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) |
มาเฟียเสียฟอร์ม | |||
คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์
(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) |
ตุ๊กตาทองเค | |||
นางปวีณา หงสกุล
(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) |
แม่พระผิดโบสถ์ | |||
นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) |
คนขายฝัน | |||
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) |
หางเครื่องลุงแซม | |||
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม) |
หอกข้างแคร่ | |||
นายวัฒนา อัศวเหม
(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย) |
อัศว-เหิม | |||
นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา
(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) |
รัฐมนตรีเงาเตี่ย | |||
วาทะแห่งปี | "ผมไม่ขอโทษ แต่ถ้าทำให้เสียความรู้สึก ผมก็เสียใจ" | วาทะของ นายชวน หลีกภัย (นายกรัฐมนตรี) |
ฉายารัฐบาลฯ ประจำปี 2543-2547[แก้]
ปี | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ | ฉายาะวาทะแห่งปี | ความหมายและที่มา | |
---|---|---|---|---|
พ.ศ.2543 | 53 | งดตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกาประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2543 เพื่อรอการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2554 ทำให้รัฐบาลชุดนี้มีสถานะเป็นรัฐบาลรักษาการ | ||
พ.ศ.2544[1] | 54 | รัฐบาล | บริษัท จำกัด (ไม่มหาชน) | นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีส่วนใหญ่ของรัฐบาลชุดนี้ ล้วนมีที่มาจากการเป็น "ผู้ประสบความสำเร็จในการบริหารบริษัทมหาชน" เมื่อเข้ามาทำหน้าที่ในการบริหารประเทศชาติ ก็ได้นำเอารูปแบบการบริหารแบบบริษัทมหาชนมาปรับใช้กับการบริหารราชการแผ่นดิน จนเรียกกันว่า "ระบบ CEO"
และเมื่อมีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นภายในกระทรวงต่าง ๆ นายกฯ จะเป็นผู้ที่ลงมาตัดสินใจแก้ไขปัญหาทุกครั้ง นอกจากนั้นแล้วลักษณะของการบริหารก็ไม่อิงรูปแบบตามหลักเกณฑ์เดิม ทำให้เกิดความแปลกใหม่ อย่างไรก็ตาม มีอยู่หลายครั้งหลายกรณีด้วยกันที่รัฐบาลถูกมองว่าไม่ค่อยให้ความสนใจในการรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ และข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย ดังนั้น ลักษณะการบริหารของรัฐบาลจึงเปรียบเสมือนกับ "บริษัท" แต่ไม่มีความเป็นมหาชนเพราะผู้ถือหุ้น (ประชาชน) ไม่มีสิทธิแสดงความคิดเห็น หรือมีสิทธิแสดงความคิดเห็น แต่ไม่ได้รับความสนใจและการตอบสนอง |
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
(นายกรัฐมนตรี) |
เศรษฐีเหลิงลม | เนื่องจากเป็นผู้ที่มีฐานะร่ำรวยเข้าขั้นอภิมหาเศรษฐีคนหนึ่งของเมืองไทย และภายหลังพ้นจากข้อกล่าวหากรณีซุกหุ้นซึ่งส่งผลให้นายกฯ ได้ดำรงตำแหน่งต่อไป ได้แสดงออกมาอย่างชัดเจนว่าต้องการบริหารประเทศชาติเป็นรัฐบาล 2 สมัย หรือ 8 ปี
ทั้ง ๆ ที่เพิ่งเป็นนายกฯ ได้ยังไม่ถึงปี การใช้อำนาจบริหารประเทศก็เป็นไปในลักษณะของความมั่นอกมั่นใจว่าสามารถนำพาประเทศชาติให้พ้นจากภาวะวิกฤติได้ หากนายกฯ ถูกวิพากษ์วิจารณ์หรือติติงเรื่องการบริหาร ก็มักตอบโต้กลับด้วยท่าทีแข็งกร้าวพร้อมกับแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว จนทำให้มีภาพลักษณ์เชื่อมั่นในตัวเอง คล้าย ๆ กับคนที่กำลังเหลิงในอำนาจที่ตนมีอยู่ | ||
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) |
เสือเฒ่าจำศีล | เนื่องจาก พล.อ.ชวลิต เคยตำรงตำแหน่งสูงสุดในกองทัพและนายกฯ มาแล้ว เปรียบเสมือนเสือใหญ่ที่ผ่านสมรภูมิทั้งทางการทหารและการเมืองมาอย่างโชกโชน มาในสมัยรัฐบาลทักษิณ แม้ว่าจะยอมลดตัวเองลงมาดำรงตำแหน่งรองนายกฯ และ รมว.กลาโหม ทว่ายังคงเป็นเสือเฒ่าทางการเมืองที่มีเขี้ยวเล็บอันน่ากลัว อย่างไรก็ตาม ท่วงท่าการแสดงออกในการอยู่ร่วมกันกับรัฐบาลยังคงสงบนิ่งอยู่ เปรียบเสมือน "เสือเฒ่าจำศีล" นั่นเอง | ||
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) |
ร่างทรงตึกไทย | นายสมคิดมักเดินทางเข้ามาปรึกษาหารือกับนายกฯ ที่ห้องทำงานบนตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ก่อนจะกำหนดออกมาเป็นนโยบายหรือมาตรการในการแก้ไขปัญหาเรื่องต่าง ๆ นอกจากนี้นายสมคิด ยังมักให้สัมภาษณ์กล่าวยกย่อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อยู่เสมอ ๆ รวมทั้งมักอ้างอิงว่าทิศทางในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมีที่มาจากแนวความคิดของนายกฯ จึงเปรียบเสมือน "ร่างทรงของนายกฯ หรือร่างทรงตึกไทยคู่ฟ้า" | ||
นายอดิศัย โพธารามิก
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) |
ขุนนางค้างสต็อก | ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบถึงบุคลิกการทำงานของนายอดิศัย ว่าเหมือนกับขุนนางเก่าที่เป็นคนเจ้ายศเจ้าอย่าง ถือตนเป็นใหญ่ ทำให้เกิดกรณีปัญหาความขัดแย้งกับข้าราชการระดับสูงในกระทรวง และกรณีไม่สามารถแก้ปัญหาการส่งออกที่ไม่บรรลุเป้าหมายได้ ดังนั้น ท่าทีการทำงานเหมือนขุนนางเก่า จึงไม่สามารถนำมาปรับใช้กับสถานการณ์ในตอนนี้ได้ เช่นเดียวกันกับสินค้าไทยจำนวนมากที่ยังคงค้างสต็อกอยู่ ไม่สามารถส่งออกได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ | ||
ร้อยตํารวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) |
มือปราบสายเดี่ยว | ด้วยภาพลักษณ์ที่ยึดมั่นในหลักการและกฎระเบียบบ้านเมือง ใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา จริงจังกับนโยบายการปราบปรามอบายมุข และเน้นการบังคับใช้กฎหมายกับสถานบันเทิงและสถานบริการอย่างเข้มงวด ตามนโยบาย "จัดระเบียบสังคม" ที่กำหนดให้สถานบันเทิงและสถานบริการ ต้องไม่ให้เด็กวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าไปใช้บริการ
แต่ในสายตาวัยรุ่นจำนวนมาก กลับมองภาพของ ร.ต.อ.ปุระชัย ว่าเป็นมือปราบสายเดี่ยวที่เข้ามาสร้างผลกระทบกับวิถีชีวิตของพวกตน หรือพูดง่าย ๆ คือ "การสวมใส่เสื้อสายเดี่ยวออกไปเที่ยวยามค่ำคืนทำได้ยากมากขึ้น" | ||
นายสุวิทย์ คุณกิตติ
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) |
กลวง | เนื่องจากในอดีตได้รับการยกย่องว่าเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีภาพลักษณ์ดีและมีคุณภาพเพียงพอที่จะไม่ไต่เต้าบนเส้นทางการเมืองไปจนถึงขั้นได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี แต่ครั้นพอได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบในนโยบายกองทุนหมู่บ้านและการปฏิรูปการศึกษา กลับไม่ได้รับการยอดรับจากคนจำนวนหนึ่งในวงการศึกษาและบุคคลที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งลักษณะของการทำงานดูเหมือนไม่รู้จริง เข้าทำนองที่ว่าท่าดีแต่ทีเหลว ไม่สามารถนำเอาแนวนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุผลได้อย่างแท้จริง | ||
นายนที ขลิบทอง
(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) |
ตั๋วจำนำ | เพราะเมื่อครั้งที่มีการจัดตั้ง ครม.ชุดแรกในสมัยรัฐบาลทักษิณ 1 นายเนวิน ชิดชอบ สังกัดพรรคชาติไทย ได้รับการเสนอชื่อจากนายบรรหาร ศิลปอาชา ให้เข้ามาดำรงตำแหน่ง รมต. ในโควตาของพรรคชาติไทย แต่เนื่องจากนายเนวินถูกสังคมส่วนหนึ่งตีตราว่าเป็นบุคคลเข้าข่ายประเภทที่เรียกว่า "ยี้" นายกฯ จึงไม่อาจกล้าฝืนกระแสสังคม
ส่งผลให้นายบรรหารต้องเสนอชื่อ "นายนที ขลิบทอง" ให้เข้ามาดำรงตำแหน่งแทนนายเนวินไปพลาง ๆ ก่อน จึงเปรียบเสมือนทรัพย์สินที่นายเนวินนำไปจำนำไว้กับรัฐบาล แล้วรอเวลาที่จะไถ่ถอนกลับคืนมาในอนาคต | ||
นายประชา มาลีนนท์
(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม) |
เถ้าแก่บ้อท่า | ก่อนหน้าที่จะเข้ามาเล่นการเมือง นายประชาเป็นนักธุรกิจด้านสื่อสารมวลชน เมื่อเข้ามาทำงานในฐานะ รมต. ก็ยังคงไว้ซึ่งบุคลิกของการบริหารงานแบบเถ้าแก่ ด้วยการใช้อำนาจในการกำหนดทิศทางการบริหารงานกับข้าราชการประจำและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ
จนก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ อาทิ "การบินไทย สถานบินสุวรรณภูมิ ถึงขนาดถูกประท้วงขับไล่และทุบรถยนต์ กลายเป็นข่าวหน้าหนึ่ง" | ||
นายสมบัติ อุทัยสาง
(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย) |
มรดกบาป | เนื่องจากภายหลังการเข้ามาดำรงตำแหน่ง รมต. คุณสมบัติได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลปัญหาที่ค้างคามาจากรัฐบาลชุดก่อน ๆ ซึ่งถือว่าเป็นมรดกบาป
ที่ทำให้คุณสมบัติต้องถูกฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจในเวลาต่อมา ปัญหาต่าง ๆ นั้น ได้แก่ "กรณีการนำที่ดินสงฆ์ของวัดธรรมมิกการามไปขาย ให้แก่บริษัทอัลไพน์ เรียลเอสเตท จำกัด, กรณีการเก็บภาษีเพิ่มรวมกับค่าทางด่วน และกรณีบริษัทบีบีซีดี ฟ้องเรียกค่าเสียหาย จำนวน 6,200 ล้านบาทจากรัฐ" | ||
นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข) |
หมอหลังฉาก | เนื่องจากเป็นคุณหมอที่เป็นคนต้นคิดนโยบาย "30 บาท รักษาทุกโรค" และเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้นโยบายดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ
แต่ นพ.สุรพงษ์ กลับไม่ค่อยปรากฏเป็นข่าวมากนัก เพราะมักทำงานอยู่เบื้องหลังมากกว่าการสร้างภาพทางการเมืองเหมือนนักการเมืองทั่วไป นอกจากนั้นแล้วการทำงานในกระทรวง ภาพเบื้องหน้าส่วนมากจะเป็นการประชาสัมพันธ์การทำงานของ รมต.เจ้ากระทรวงเสียมากกว่า | ||
วาทะแห่งปี | "บกพร่องโดยสุจริต" | วาทะของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) กล่าวระหว่างให้คำแถลงการณ์ปิดคดีด้วยวาจาต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ณ ศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2544
กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จงใจซุกซ่อนบัญชีทรัพย์สิน ยื่นทรัพย์สินอันเป็นเท็จ (คดีซุกหุ้นทักษิณ ภาค 1) โดยในถ้อยแถลงได้เน้นว่าตนไม่มีเจตนาในการกระทำความผิด แต่อาจจะมีความบกพร่องผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสารและความสับสนในข้อกฎหมาย ซึ่งถือเป็น "ความบกพร่องโดยสุจริต มิได้ทำการทุจริตแต่อย่างใด" และเมื่อถึงวันที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลงมติคำวินิจฉัยกลางในคดีนี้ ผลออกมา 8 ต่อ 7 เสียง ส่งผลให้พ้นผิดในคดีซุกหุ้นไปได้อย่างหวุดหวิด | ||
พ.ศ.2545[1] | 54 | รัฐบาล | รัฐบาลหลอน | เนื่องจากนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลที่ได้นำเสนอต่อประชาชน เป็นนโยบายที่สร้างความหวังให้กับคนทุกชนชั้นในสังคม ทั้งที่นโยบายเดิมยังไม่สัมฤทธิ์ผล แต่กลับมรนโยบายใหม่ ๆ ออกมาเพื่อให้ประชาชนเกิดความศรัทธาและความหวังว่าจะหายยากจน สำหรับผู้ที่เป็นนักธุรกิจก็จะมีกำไรมากขึ้น รวมทั้งเหล่าข้าราชการก็จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วย ครั้นพอนโยบายถูกตรวจสอบและส่อให้เห็นว่าจะมีปัญหายุ่งยากในทางปฏิบัติ กลับออกนโยบายและมาตรการใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เปรียบเสมือนการหลอนให้ประชาชนเกิดความรู้สึกที่ดีกับรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา |
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
(นายกรัฐมนตรี) |
เทวดา | จากสไตล์การบริหารงานที่มีลักษณะเชื่อมั่นในตนเองสูง หากบุคคลใดแสดงความคิดเห็นท้วงติงการทำงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็มักถูกตอบโต้กลับไปอย่างรุนแรง ว่าไม่มีความรู้บ้าง ขาดความเข้าใจบ้าง เสมือนเป็น "เทวดา" ที่ยึดติดกับความคิดของตนเองว่าถูกต้องแต่เพียงผู้เดียว สามารถชี้ถูกชี้ผิดในปัญหาต่าง ๆ ภายใต้บรรทัดฐานของตนเอง พยายามเนรมิตนโยบายที่ให้ความหวังกับประชาชนทุกกลุ่มชนชั้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และพยายามแสดงบทบาทให้สังคมเห็นว่าสามารถดำรงตนเป็นผู้นำในระดับเอเชียและระดับโลกได้ | ||
นายวิษณุ เครืองาม
(รองนายกรัฐมนตรี) |
เนติบริกร | เพราะความเป็นมือกฎหมายของรัฐบาลมาแล้วหลายชุดในฐานะเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มาในสมัยรัฐบาลทักษิณก็ทำหน้าที่ดังกล่าวอีกเช่นเคยถึงขนาดเข้าตากรรมการอย่างนายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร) ที่สามารถใช้ความรู้ทางกฎหมายในการพลิกแพลงให้รัฐบาลมีความชอบธรรมและได้เปรียบฝ่ายที่เห็นแตกต่างจากรัฐบาล นับว่าเป็นข้าราชการการเมืองมืออาชีพที่สามารถตอบสนองความต้องการของฝ่ายการเมืองได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แบบ จึงถูกเลือกให้มาบริการทางด้านกฎหมายในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี | ||
นายแพทย์ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
(รองนายกรัฐมนตรี) |
นาย...ลิขิต | เป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายงานให้กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจทั้งที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ ขาดการยอมรับจากนักธุรกิจและนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของประเทศ เพราะมองว่ามีประสบการณ์การทำงานเพียงแค่ลูกจ้างของบริษัทชินวัตรฯ เท่านั้น เมื่อครั้งที่ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการนายกฯ ก็ทำงานภายใต้การสั่งงานของนาย (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร) อยู่ตลอดเวลา และคอยแปลความคิดของนายถ่ายทอดออกมาสู่การปฏิบัติ ซึ่งหมายความว่า "ทุกอย่างได้มา ก็เพราะนายลิขิต" | ||
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม) |
จอมจัดฉาก | เนื่องจากถูกมองว่าพยายามสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับตนเองและรัฐบาล (ช่วงนั้นรัฐบาลมีลักษณ์ที่ไม่ค่อยดีนัก เกี่ยวกับเรื่องราวการทุจริตคอร์รัปชันหลายกรณีด้วยกัน) ด้วยการจัดฉากโชว์ผลงานฟันข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตทางด่วนสายมอเตอร์เวย์ แต่ไม่สามารถสาวไปถึงตัวนักการเมืองผู้อยู่เบื้องหลังได้ | ||
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) |
ไอ้ก้านน่วม | เนื่องจากในอดีตสมัยเหตุการณ์ 14 ตุลา เคยได้รับฉายาว่า "ไอ้ก้านยาว" ผู้ซึ่งกล้าหาญชาญชัยถือไม้ท่อนยาวยืนประจันหน้ากับรถถังบริเวณหน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ ทำให้มีภาพลักษณ์ของความเป็นฮีโร่ผู้ต่อสู้กับอำนาจเผด็จการ แต่พอได้มาเป็น รมว.กลับถูกกล่าวหาจากฝ่ายค้านว่าเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องพัวพันกับการทุจริตหลายเรื่อง อาทิ เรื่องโค-กระบือ เรื่องการรับจำนำลำไยอบแห้ง การบุกรุกที่ดินป่าสงวน จนทำให้ "น่วมไปทั้งตัว" เหมือนคนที่ถูกตีจนร่างกายน่วมไปหมดทั้งตัว | ||
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) |
สิงห์ซุ่ม | เพราะในอดีตเป็นผู้ที่มีบุคลิกค่อนข้างนุ่มนวล แต่เมื่อเข้ามาดำรงตำแหน่ง รมว.มหาดไทย กลับพลิกบทบาทกลายเป็นสิงห์ที่มีความดุดันในการทำงาน คล้ายกับ "สิงห์ที่ซุ่มตัว เพื่อรอจังหวะในการโชว์ผลงานให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาคนทั่วไป" | ||
ร้อยตํารวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม) |
ไม้บรรทัดงอ | เนื่องจาก ร.ต.อ.ปุระชัย เคยได้รับการยอมรับจากสังคมและสื่อมวลชนว่าเป็นคนเถรตรง ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร ยอกหักไม่ยอมงอ แต่ในที่สุดก็ต้องยอมโอนอ่อนผ่อนตามฝ่ายการเมืองเพื่อความอยู่รอดของตนเอง โดยไม่สามารถรักษาหลักการเอาไว้ได้
อย่างเช่นกรณีไม่พยายามสืบสาวราวเรื่องเอาความผิดกับผู้ครอบครองสนามกอล์ฟอัลไพน์ ซึ่งสร้างอบู่บนธรณีสงฆ์, กรณีการยอมจับมือยอมความ กับนายสุขวิช รังสิตพล ผู้ซึ่งเคยกล่าวหา ร.ต.อ.ปุระชัย ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีค่าโง่ทางด่วน | ||
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) |
ตุ๊กตาทอง 2 หน้า | เพราะถูกมองว่ายังคงรูปแบบการทำงานแบบเดิม ๆ ในลักษณะของการสร้างภาพโชว์ผลงานผ่านสื่อมวลชนโดยตลอด ทั้งที่เนื้องานต่าง ๆ ไม่ปรากฏเป็นชิ้นเป็นอันอย่างชัดเจน แต่กลับสามารถสร้างกระแสความนิยมกลายเป็นขวัญใจของชาวบ้านได้ จึงเปรียบเสมือนได้กับนักแสดงที่มีความสามารถระดับรางวัลตุ๊กตาทอง | ||
นายเนวิน ชิดชอบ
(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) |
จิ้งจกตีนกาว | ก่อนหน้านั้นเคยถูกกีดกันไม่ให้เข้ามาเป็นรัฐมนตรี ทั้งจากนายกฯ และพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล เพราะกระแสสังคม แต่ในท้ายที่สุดก็สามารถเบียดแทรกเข้ามาเป็นรัฐมนตรีช่วยได้เป็นผลสำเร็จ เปรียบเสมือนจิ้งจกตีนกาวเหนียวหนึบ ที่สามารถเกาะติดกับเก้าอี้รัฐมนตรีได้อย่างเหนียวแน่นโดยไม่ยอมปล่อยง่าย ๆ | ||
นางอุไรวรรณ เทียนทอง
(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม) |
มรดกเจ้าพ่อ | ถูกมองว่าได้เข้ามาเป็นรัฐมนตรีช่วย เนื่องจากแรงหนุนของนายเสนาะ เทียนทอง สามี ผู้ซึ่งสื่อมวลชนเคยตั้งฉายาให้ว่าเป็น "เจ้าพ่อวังน้ำเย็น" | ||
วาทะแห่งปี | "รู้น้อยอย่าพูดมาก" | วาทะของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) กล่าวระหว่าง ณ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2545
มักใช้คำพูดนี้ตอบโต้กับผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากตนในหลายครั้งหลายคราว | ||
พ.ศ.2546 | 54 | รัฐบาล | รัฐบาลตระกูลเอื้อ | |
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
(นายกรัฐมนตรี) |
นายทาส | ผู้ประกาศปลดปล่อยประชาชนให้พ้นจาก "พันธนาการ" ความยากจน ยาเสพติด ผู้มีอิทธิพล และพ้นจากทาสไอเอ็มเอฟ แต่กลับนำกลไกของรัฐมาสร้างพันธนาการใหม่ให้กับประชาชนด้วยนโยบาย "ก่อหนี้" ทุกรูปแบบ ทั้งยังส่งเสริมระบบเศรษฐกิจใต้ดินขึ้นมาบนดิน เปรียบประหนึ่งว่ากำลังสนับสนุนค่านิยมเสี่ยงโชค อาจส่งผลให้ประชาชนต้องตกเป็นทาสการพนันไปในที่สุด | ||
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
(รองนายกรัฐมนตรี) |
สมรู้ร่วมคิด | |||
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) |
อธิบดีคลัง | |||
นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) |
ผู้ดีฟอร์มยักษ์ | |||
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) |
ร้อยลิ้นพันล้าน | |||
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม) |
เลขาฯ ก๊วนชวนอิ่ม | |||
นายวัฒนา เมืองสุข
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) |
ไก่ชน GMO | |||
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) |
ร.ม.ต.นอร์หัก | |||
นายอนุรักษ์ จุรีมาศ
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม) |
ลูกโป่งหลงจู๊ | |||
นายอดิศัย โพธารามิก
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) |
ครูพันธุ์ดื้อ | |||
วาทะแห่งปี | "ยูเอ็นไม่ใช่พ่อ" | วาทะของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2546
กรณีที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights: UNHCHR) จะส่งผู้แทนพิเศษเข้ามาตรวจสอบข่าวการฆ่าตัดตอนคดียาเสพติด และกรณีนายแพทย์ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เตือนว่า การฝ่าฝืนสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองจะไปสิ้นสุดที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ | ||
พ.ศ.2547 | 54 | รัฐบาล | รัฐบาลกิน-แบ่ง | |
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
(นายกรัฐมนตรี) |
ผู้นำจานด่วน | เนื่องจากเป็นปีสุดท้ายของการเป็นรัฐบาลไทยรักไทยวาระแรก 4 ปี ทักษิณจึงคลอดนโยบายประชานิยมออกมามากมาย เพื่อรองรับการหาเสียงเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในช่วงต้นปี 2548 | ||
พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
(รองนายกรัฐมนตรี) |
ขุน...สึก | |||
ร้อยตำรวจเอกปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
(รองนายกรัฐมนตรี) |
คนดีที่ลืมโลก | |||
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน
(รองนายกรัฐมนตรี) |
โคบาลเป่าปี่ | |||
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
(รองนายกรัฐมนตรี) |
ส.โหย | |||
นายวัฒนา เมืองสุข
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) |
เขยเอื้ออาทร | |||
นายอดิศัย โพธารามิก
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) |
เอี้ยมจุ๊นติดหล่ม | |||
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) |
หน้าเด้งดอตคอม | |||
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม) |
เฮีย..ฟุ้ง | |||
นายเนวิน ชิดชอบ
(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) |
ห้อย...จัดให้ | |||
วาทะแห่งปี | "โจรกระจอก" | วาทะของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) กล่าว ณ กองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายปิเหล็ง กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2547
หลังเกิดกรณีโจรใต้บุกเข้าปล้นปืนไป 400 กว่ากระบอก จนส่งผลให้ทหาร 4 นายเสียชีวิตจากการต่อสู้ |
ฉายารัฐบาลฯ ประจำปี 2548-2552[แก้]
ปี | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ | ฉายาะวาทะแห่งปี | ความหมายและที่มา | |
---|---|---|---|---|
พ.ศ.2548[2] | 55 | รัฐบาล | ประชาระทม | ที่ผ่านมารัฐบาลโหมใช้นโยบายประชานิยมโฆษณาชวนเชื่อ จนประชาชนมอบความไว้วางใจด้วยคะแนนท่วมท้นให้เป็นรัฐบาลอีกสมัย โดยหวังว่าจะเข้ามาพลิกฟื้นคุณภาพชีวิตให้อยู่ดีกินดี แต่หลังจากบริหารประเทศยังไม่ทันครบปี ปรากฏว่า "นโยบายประชานิยมกลับพ่นพิษ" ทำให้ประชาชนต่างทุกข์ระทม ภาวะหนี้สินทุกครัวเรือนพุ่งขึ้นไม่หยุด เข้าสู่ยุคข้าวยากหมากแพง เกิดความรุนแรงในสังคม กอปรกับสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่มีทีท่าจะยุติ มิหนำซ้ำยังมีข่าวฉาวคอร์รัปชัน เอื้อผลประโยชน์พวกพ้อง ขนาดองค์กรอิสระที่ชาวบ้านหวังเป็นที่พึ่งยังถูกครอบงำจนไม่สามารถทำหน้าที่ได้
แม้รัฐบาลจะตีปี๊บประโคมข่าว ตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะดีดตัวสูงขึ้น แต่ประชาชนชั้นรากหญ้ายังต้องระทมทุกข์ต่อไป |
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
(นายกรัฐมนตรี) |
พ่อมดมนต์เสื่อม | ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนอย่างท่วมท้นกว่า 19 ล้านเสียง นั่งแท่นเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 อย่างสง่างาม แต่จากการทำงานช่วงระยะเวลาไม่ถึงปี ภาพเดิมที่เคยถูกมองว่าเป็น "เทวดา" เก่งและเนรมิตได้ทุกเรื่อง ใครแตะต้องไม่ได้ กลับกลายเป็น "พ่อมด" ที่ใช้แต่อารมณ์ ยิ่งเมื่อถูกรุมเร้าด้วยปัญหาสารพัด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง สุดท้ายต้องแหงนหน้าพึ่งดาวพุธ ถอยฉากตั้งหลัก
ขณะเดียวกัน ความเชื่อมั่นลดลงไปเรื่อย ๆ เพราะถูกจับได้ไล่ทันว่าไม่สามารถทำตามสัญญาที่ให้ไว้ได้ ประชาชนเสื่อมศรัทธาไม่เชื่อถือในความซื่อสัตย์ ไม่เพียงแค่ประชาชน แม้แต่ลูกพรรคไทยรักไทยยังออกมาลองของไม่เว้นแต่ละวัน คำพูดของท่านผู้นำที่เคยศักดิ์สิทธิ์ในวันนี้กลับเสื่อมถอยลง | ||
นายวิษณุ เครืองาม
(รองนายกรัฐมนตรี) |
ทนายหน้าหอ | เป็นเนติบริกร ให้กับรัฐบาลทักษิณเพื่อใช้ข้อกฎหมายมาพลิกแพลงให้เป็นคุณต่อรัฐบาล บางครั้งถึงกับยอมพลิกลิ้น ฉีกตำรากฎหมาย หาช่องทางสนองบัญชาให้เป็นไปตามความต้องการของรัฐบาล
มาในปีนี้ยิ่งหนักข้อขึ้น เมื่อรัฐบาลเจอวิกฤติร้อน ๆ สารพัดเรื่องจากสถานะมือกฎหมายของรัฐบาล นายวิษณุ จึงต้องตกที่นั่งกลายมารับหน้าที่เป็นทนายแก้ต่าง เพื่อคลายปมปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง "การทุจริตซีทีเอ็กซ์ ปัญหา กสช. การแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช การถ่ายโอนโรงเรียนไปยังท้องถิ่น" จึงเปรียบได้แค่ทนายหน้าหอ มีหน้าที่คอยแก้ตัวสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลเท่านั้น | ||
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
(รองนายกรัฐมนตรี) |
พี.อาร์.25 ชั่วโมง | ขึ้นชื่อเป็นรัฐมนตรีที่เน้นการประชาสัมพันธ์ให้ตัวเองเป็นหลัก มากกว่าผลงานในหน้าที่ มุ่งทำตัวเองให้เป็นข่าวออกหน้าจอทีวีเสมอ เก็บทุกประเด็นไม่แยกแยะเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ขอให้ได้เป็นข่าวก็พอ จนเกิดปัญหาเกาเหลากับรัฐมนตรีเจ้าสังกัดโดยตรง ตกเป็นข่าวคึกโครมกับนายประชา มาลีนนท์ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา กรณี "รับธงซีเกมส์" | ||
นายแพทย์ สุชัย เจริญรัตนกุล
(รองนายกรัฐมนตรี) |
เด็กนายหญิง | รัฐมนตรีสายตรงจากนายหญิง ถูกส่งเข้ามาคุมกระทรวงหมอ แต่ด้วยความที่เป็นเด็กเส้น ขาดประสบการณ์งานบริหาร แค่ช่วงเวลาสั้น ๆ ที่เข้าไปทำงาน ได้สร้างความปั่นป่วน ด้วยการสั่งปลดโยกย้ายบิ๊กสาธารณสุข รวดเดียว 9 คน จนเกิดแรงต้านจากกลุ่มหมอ และลุกลามไปสู่การประลองกำลังระหว่าง "เจ๊ใหญ่" กับ "นายหญิง" ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีต้องรีบปลดชนวนระเบิด สั่งทบทวนโผโยกย้าย แต่เจ้าตัวยังฮึดฮัด ขัดขืน ประกาศยื่นใบลาออก ร้อนถึงนายหญิง ต้องออกแรงอุ้ม ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี เพื่อรักษาศักดิ์ศรีจันทร์ส่องหล้า | ||
พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์
(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม) |
ปลั๊กหลวม | เป็นนายตำรวจรุ่นพี่นายกรัฐมนตรี มีดีกรีถึงดอกเตอร์ ถูกคาดหวังให้มารับผิดชอบเรื่องความมั่นคง แทน พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รับหน้าเสือดับไฟใต้ แต่เมื่อทำงานจริงกลับไม่สัมฤทธิ์ผลตามราคาคุย ขยันออกนโยบายแต่ไม่เป็นผลในทางปฏิบัติ เพราะฝีมือไม่ถึง บารมีไม่พอ ขาดประสบการณ์
เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ "ปลั๊กหลวม" เสียบแล้วใช้การได้ไม่เต็มที่ ติด ๆ ดับ ๆ จึงไม่สามารถลดสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ลงได้ | ||
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม) |
ซากซีทีเอ็กซ์ | ถูกฝ่ายค้านลากขึ้นเขียงอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นคนแรกของรัฐบาล "ทักษิณ 2" จากกรณีการทุจริตจัดซื้อเครื่องตรวจระเบิด ซีทีเอ็กซ์ 9000 ในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ ส่งผลให้ภาพลักษณ์รัฐบาลติดลบ สอบตกเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตอย่างร้ายแรงนับตั้งแต่นั้นมา
แม้นายกรัฐมนตรีจะปรับพ้นเก้าอี้ รมว.คมนาคม เพื่อลดกระแส แต่ยังเอื้ออาทร ยอมให้ตำแหน่งรองนายกฯ ควบกระทรวงอุตสาหกรรม แถมยังให้อำนาจกำกับดูแลกระทรวงคมนาคมต่อ และแม้จะพยายามดิ้นสุดฤทธิ์จนได้เครื่องซีทีเอ็กซ์ เจ้าปัญหามาการันตีความบริสุทธิ์แล้วก็ตาม แต่สังคมปักใจเชื่อว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง ชะตากรรมของนายสุริยะ จึงไม่ต่างกับซากซีทีเอ็กซ์ ที่อยู่ในความทรงจำของผู้คนตลอดไป | ||
นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ
(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) |
คลื่นแทรก | รับบทบาทพิมาตสื่อ คอยเป็นกันชนไม่ให้เกิดผลกระทบต่อรัฐบาล ซ้ำร้ายจ้องจับผิดสื่อที่เป็นอริ สร้างความอึดอัดใจกันทั้งวงการ มีการใช้สารพัดวิชามารใต้ดิน บนดิน แทรกแซงจนสื่อแทบขาดอิสระในการทำงาน โดยเฉพาะสื่อของรัฐโดนครอบงำ ให้เสนอแต่เรื่องที่เป็นคุณแก่รัฐบาลข้างเดียว
บทบาทของนายสุรนันทน์ จึงเป็นเหมือนคลื่นแทรก ที่คอยก่อกวน และสกัดการทำงานของสื่อ | ||
นายวัฒนา เมืองสุข
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) |
อิกคิวเซ็ง | มีไอเดียแหวกแนว เหมือน "อิกคิวซัง" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของผู้มีปัญญา แต่ทว่าชอบคิดอะไรเพี้ยน ๆ สวนกระแสสังคมบ่อยครั้ง หวังสร้างกระแสให้ตัวเอง อาทิ "การจัดถนนให้วัยรุ่นซิ่งรถจักรยานยนต์ ให้ภรรยากราบเท้าสามีก่อนนอน การฉายสปอตไลต์หน้าโรงแรมม่านรูดในคืนวันลอยกระทง จนถูกประณามอย่างหนัก"
พฤติกรรมดังกล่าวจึงน่าจะเข้าข่าย "อิกคิวเซ็ง" ที่คิดอะไรแย่ ๆ อวดฉลาด จนคนในสังคมเซ็งกับความคิดของ ท่าน รมต.วัฒนา | ||
นายวิเศษ จูภิบาล
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) |
โบรกเกอร์รัฐบาล | ถูกส่งมากำกับดูแลด้านพลังงาน ท่ามกลางวิกฤตน้ำมันแพง แต่กลับทำตัวเป็นโบรกเกอร์ ที่คอยต่อรองสร้างผลกำไรให้กับกลุ่มทุนซีกรัฐบาล โดยเฉพาะการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ที่นำ กฟผ.เข้าตลาดหลักทรัพย์ จนถูกมองว่า นำทรัพย์สินของประเทศไปขาย
ขณะเดียวกันปัญหาน้ำมันแพงก็ยังแก้ไม่ตก ส่งผลให้กองทุนน้ำมันติดลบมหาศาล เนื่องจากนำเงินไปพยุงราคาน้ำมัน แบบฝืนกลไกการตลาด สุดท้ายชาวบ้านต้องก้มหน้ารับกรรมใช้น้ำมันแพงต่อไป | ||
พลอากาศเอก คงศักดิ์ วันทนา
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) |
รมต.พลัง "น้ำ" | อาศัยบารมี "ลูกน้ำ" ศรีภรรยา ซึ่งเป็นเพื่อนและเลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยานายกรัฐมนตรี จนได้นั่งเก้าอี้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ท่ามกลางเสียงคัดค้านของกลุ่มมุ้งการเมืองในพรรคไทยรักไทยที่พลาดตำแหน่ง
ขณะที่ผลงานติดลบตลอด ถูกลูบคมด้วยประทัดยักษ์ถึงหัวบันไดกระทรวง ไม่สามารถบำบัดทุกข์ บำรุงสุขประชาชนได้ เสนอไอเดียออกมาแต่ละอย่างมีแต่เสียงโห่ไล่ เช่น "การติดยูบีซีในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้" จนถูก ส.ส.รวมหัวตะเพิดออกจากตำแหน่ง แต่ด้วยพลังภายในของ "ลูกน้ำ" ทำให้ "พี่บิ๊ก" ยังเกาะเก้าอี้แน่นต่อไป | ||
วาทะแห่งปี | "จังหวัดไหนมอบความไว้วางใจให้เรา ต้องดูแลเป็นพิเศษ" | วาทะของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) กล่าวระหว่างเป็นประธานมอบหนังสือแสดงสิทธิสัญญาเช่าที่ราชพัสดุให้กับประชาชนตามโครงการรัฐเอื้อราษฎร์ ณ หอประชุมโรงเรียนบรรพตพิทยาคม อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2548
หลังการเลือกตั้งซ่อมใน 3 จังหวัดที่พรรคไทยรักไทยส่งผู้สมัครลงแข่งขัน หลังผู้สมัคร 3 คนของพรรคได้รับใบเหลืองจาก กกต. แต่สามารถชนะการเลือกตั้งกลับเข้าสภามาได้เพียง 1 จังหวัด คือที่จังหวัดสิงห์บุรี ที่ชนะผู้สมัครจากพรรคชาติไทย กลับเข้ามาแบบฉิวเฉียด 700 กว่าคะแนน จากที่เคยชนะกว่า 2 หมื่นคะแนน ส่วนจังหวัดพิจิตรพ่ายแพ้ผู้สมัครจากพรรคมหาชน กว่า 17,000 คะแนน และแพ้พรรคชาติไทยในจังหวัดอุทัยธานี ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ประกาศว่าเป็นบ้านเกิดของพ่อตาที่จะต้องเอาชนะให้ได้ เกือบ 1 หมื่นคะแนน เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดของผู้นำในการเลือกปฏิบัติ เน้นการเมืองสำคัญมากกว่าการบริหารประเทศ จนสร้างความฮือฮาให้กับคนทั้งประเทศและถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด[3] | ||
พ.ศ.2549 | 56 | งดตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และบรรยากาศทางการเมืองยังอยู่ในภาวะไม่ปกติ อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง เชื่อมโยง หรือขยายผลทางการเมือง | ||
พ.ศ.2550 | งดตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และบรรยากาศทางการเมืองยังอยู่ในภาวะไม่ปกติ อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง เชื่อมโยง หรือขยายผลทางการเมือง | |||
พ.ศ.2551 | 57-59 | งดตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ถึง 3 ครั้ง ภายในปีเดียว ตั้งแต่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช, รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | ||
พ.ศ.2552[4] | 59 | รัฐบาล | ใครเข้มแข็ง? | รัฐบาลประกาศแผนพลิกฟื้นประเทศไทยให้พ้นจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและการเมือง ผ่านแผนปฏิบัติการ "ไทยเข้มแข็ง" เพื่อลงทุนยกเครื่องประเทศครั้งใหญ่ ภายใต้ พ.ร.บ. และ พ.ร.ก.เงินกู้รวม 8 แสนล้านบาท เมื่อโครงการนี้ไปสู่การปฏิบัติมีเสียงวิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งเรื่องผลประโยชน์ของพรรคร่วมรัฐบาล ความไม่โปร่งใส จนเกิดคำถามว่าการสร้างหนี้เพื่อฟื้นประเทศไทยทำให้ใครเข้มแข็งระหว่างประชาชน หรือนักการเมือง ? |
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
(นายกรัฐมนตรี) |
หล่อหลักลอย | เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีภาพลักษณ์ดี หน้าตาดี การศึกษาดี จึงมีแม่ยกเป็นจำนวนมาก มักประกาศจุดยืนและหลักการด้านประชาธิปไตย โดยเฉพาะเมื่อรับตำแหน่งได้ประกาศกฎเหล็ก 9 ข้อให้ ครม. มีความรับผิดชอบทางการเมืองมากกว่าความรับผิดชอบทางกฎหมาย
แต่เมื่อรัฐมนตรีบางคนมีปัญหาเรื่องข้อกฎหมาย หรือมีปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใส กลับไม่ได้แสดงความรับผิดชอบทางการเมือง นั่นเท่ากับไม่สามารถกำกับให้กฎเหล็กมีผลใช้บังคับได้ หลักที่เคยประกาศไว้จึงเหมือนคำพูดที่เลื่อนลอย ไม่เป็นไปตามหลักการที่วางไว้ | ||
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
(รองนายกรัฐมนตรี) |
แม่นม อมทุกข์ | แม้ไม่ใช่เป็นผู้ให้กำเนิดทางการเมืองแก่นายอภิสิทธิ์โดยตรง แต่ก็คอยดูแล อุ้มชู และสนับสนุนในทางการเมืองทุกอย่าง ถึงขั้นประกาศว่าความใฝ่ฝันทางการเมืองสูงสุด คือ การผลักดันให้นายอภิสิทธิ์ได้เป็นนายกฯ แต่เมื่อสานฝันได้สำเร็จ นายอภิสิทธิ์กลับสร้างปัญหาหนักอกให้นายสุเทพตามล้างตามเช็ด อาทิ "การแก้รัฐธรรมนูญ การแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)"
ทำให้ผู้จัดการรัฐบาลถูกพรรคประชาธิปัตย์วิจารณ์อย่างหนักว่าตีตัวออกห่าง มัวแต่เอาใจพรรคร่วมรัฐบาล จนเจ้าต้องอยู่ในอาการอมทุกข์ | ||
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
(รองนายกรัฐมนตรี) |
กั๊ก-กอบ-โกย | ขึ้นชื่อว่าเป็นรองนายกฯ จอมตรวจสอบ กั๊ก และคอยดักจับโครงการของพรรคร่วมรัฐบาล จนเกิดเหตุกระทบกระทั่งกันอยู่เนือง ๆ และถูกแกนนำพรรคร่วมตั้งสมญาว่า "พ่อชุนละเอียด"
แต่ไป ๆ มา ๆ กลับสะดุดขาตัวเอง เมื่อพบปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนจากการแต่งตั้งน้องชาย เป็นรองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน (สพช.) ที่มีตัวเองเป็นประธาน สุดท้ายทั้งพี่และน้องก็ฝ่าแรงกดดันจากสังคมไม่ไหว จำต้องโกยออกจากตำแหน่ง แม้กระทั่งตำแหน่งตัวเองก็ต้องโกยออกไปเป็นเลขาธิการนายกฯ | ||
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) |
ช่างจัดฉาก | เป็นคนสนิทของนายกฯ กำกับดูแลสื่อของรัฐ มักเปรียบเปรยว่าตัวเองเป็น "อิมเมจ เมเกอร์" พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อสร้างภาพลักษณ์ด้านบวกให้รัฐบาล เป็นจอมจัดการ เช่น "การจัดคิวให้นายกฯ และครม., ลงพื้นที่จัดฉากให้ครม. ออกทีวีวิทยุ, จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาล" ทว่าเสียงสะท้อนกลับติดลบเป็นส่วนใหญ่
โดยเฉพาะโครงการ "ไทยสามัคคี ไทยเข้มแข็ง" ที่ให้ทุกจังหวัดเกณฑ์คนมาร้องเพลงชาติ แต่ถูกตั้งข้อสงสัยเรื่องงบประมาณ เสมือนช่างที่พยายามจัดฉากให้ดูดี แต่ไม่มีเนื้องานเป็นรูปธรรม | ||
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) |
ป้อมพลัง "ป" | ชื่อเล่นเขา คือ "ป้อม" ได้เป็นรัฐมนตรีที่ไม่มีความชัดเจนว่าเป็นโควตาของกลุ่มการเมืองใด ไม่ใช่สายตรงประชาธิปัตย์ ไม่มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับภูมิใจไทย ไม่ใช่ตัวแทนของกองทัพอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ได้รับความเกรงกลัว-เกรงใจจากคนในรัฐบาลอย่างมาก ถึงขั้นปล่อยผ่านเมกะโพรเจกต์ของกองทัพอย่างง่ายดาย
เนื่องจากมีพลัง อิทธิพล และบารมีของคนชื่อ "ป ปลา" แห่งกองทัพเป็นป้อมปราการค้ำบัลลังก์และป้องกันภัยทางการเมือง | ||
นายกรณ์ จาติกวณิช
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) |
ทวิต-กู้ | เป็นขุนคลังที่ประชาชนจดจำผลงานในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ นอกจากภาพการกู้เงินที่เป็นไม้ตายการแก้ปัญหา แต่ภาพของนายกรณ์ในโลกไซเบอร์คือนักโพสต์มือหนึ่ง ผ่านเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และไฮไฟว์ มักเข้าไปอัปเดตภาพ-ข่าวของตัวเองอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งขณะนั่งประชุม ครม. ก็ยังทวิตข้อความและรูปภาพให้สมาชิกได้เข้ามาแสดงความคิดเห็น
ในช่วงที่ถูกโจมตีเรื่องการทำงาน บางครั้งศรีภริยาก็ออกมาทวิตแก้ต่างให้ สมเป็นขุนคลังออนไลน์ที่มีผลงานกู้เร็วทันใจราวกับไฮ-สปีด อินเทอร์เน็ต | ||
นายกษิต ภิรมย์
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) |
ไส้ติ่งรัฐบาล | เป็นอดีตนักการทูตที่ได้เข้ามารับตำแหน่งในรัฐบาล จากการเป็นดาวไฮปาร์กบนเวทีกลุ่มพันธมิตรฯ แต่กลับไม่ยอมใช้วาทศิลป์ทางการทูตเชื่อมสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน ตรงกันข้ามถูกวิจารณ์ว่าปากเป็นพิษ โดยเฉพาะการเปรียบเปรยนายกฯ กัมพูชา ว่าเป็น "แก๊งสเตอร์" จึงเปรียบเสมือนเป็น "ไส้ติ่ง" ที่แม้จะอยู่ในร่างกายได้ แต่ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ดีไม่ดีพอเกิดการอักเสบขึ้นมาจะเป็นโทษต่อร่างกายถึงขั้นเสียชีวิตด้วย | ||
นายโสภณ ซารัมย์
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม) |
ภูมิใจ "นาย" | ไม่เคยทำงานบริหาร และผ่านงานคมนาคมมาก่อน แต่เป็นลูกน้องคนสนิทของนายเนวิน ชิดชอบ จึงได้รับความไว้วางใจให้คุมกระทรวงเกรดเอ อย่างกระทรวงคมนาคม จากนักการเมืองโนเนมจึงมีชื่อติดกระแสขึ้นมา การเสนอโครงการเป็นไปตามใบสั่ง "นาย" แทบทุกโครงการ โดยเฉพาะโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน หลังต่อสู้กับพรรคร่วมหลายรอบ เป็นโต้โผใหญ่ในการเปิดบ้านพักที่จังหวัดบุรีรัมย์ต้อนรับนายกฯ แทนลูกพี่ โดยไม่มีกลุ่มคนเสื้อแดงมาปั่นป่วน จึงถือเป็นลูกน้องที่สร้างความภาคภูมิใจให้ผู้เป็น "นาย" อย่าง "เนวิน" | ||
นางพรทิวา นาคาศัย
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) |
เจ้าแม่แพ้หน้าเน็ต | เป็นรัฐมนตรีหญิงที่มีบทบาทสำคัญใน ครม. เพราะพยายามผลักดันโครงการของพรรคภูมิใจไทย (ภท.) เข้าสู่ครม. ตลอดเวลา อาทิ "การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูง, การปรับเปลี่ยนระบบการจัดงบเพื่อบริหารสินค้าเกษตร ฯลฯ" แต่ถูกแกนนำรัฐบาลรุมเตะสกัด ทำให้บางโครงการไม่ผ่านการอนุมัติ บางครั้งถึงกับร่ำไห้กลางวงประชุม ครม. เปรียบเสมือนนักตบลูกหนังที่แค่ตั้งท่ายังไม่ทันตบ ก็ติดบล็อกจากฝ่ายตรงข้ามเสียแล้ว | ||
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) |
สตั๊นท์เฒ่าเฝ้าเก้าอี้ | สิงห์เฒ่า วัย 73 ปี ผู้นี้ได้เข้ามารั้งเก้าอี้ มท.1 พร้อมตำแหน่งหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) แทนบุตรชายที่อยู่ในบ้านเลขที่ 111 การเป็นรัฐมนตรีถูกมองว่าเป็นการแสดงบทตามที่ลูก และเพื่อนลูกอย่างนายเนวิน ชิดชอบ คอยกำกับเท่านั้น เหมือนเป็นตัวแทนมานั่งเฝ้าเก้าอี้รอตัวจริง แต่แม้จะเป็น "สตั๊นท์เฒ่า" ก็มากด้วยเล่ห์เหลี่ยม และมีชั้นเชิงทางการเมืองสูง ทำให้สามารถเฝ้าเก้าอี้ มท.1 เฝ้าเก้าอี้หัวหน้าพรรคอยู่ในรัฐบาลได้อย่างเหนียวแน่น | ||
วาทะแห่งปี | "ใครก็ตามที่ประกาศชัยชนะ ผมถือว่าคน ๆ นั้นและกลุ่มคนนั้นคือศัตรูของประเทศอย่างแท้จริง" | วาทะของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) กล่าวระหว่างแถลงต่อสื่อมวลชน ณ โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช พัทยา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2552
หลังจากกลุ่มคนเสื้อแดงนำมวลชนบุกล้มการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) และคู่เจรจา ครั้งที่ 14 ณ เมืองพัทยา ก่อนจะประกาศว่าเป็นชัยชนะของชาวเสื้อแดง |
ฉายารัฐบาลฯ ประจำปี 2553-2557[แก้]
ปี | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ | ฉายาะวาทะแห่งปี | ความหมายและที่มา | |
---|---|---|---|---|
พ.ศ.2553[5] | 59 | รัฐบาล | รัฐบาลรอดฉุกเฉิน | ตลอดปี 2553 รัฐบาลต้องเผชิญกับวิกฤตหลายด้าน ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตภัยธรรมชาติ วิกฤตการเมืองทั้งในและนอกสภา เกิดความขัดแย้งและแตกแยกอย่างรุนแรงในสังคม จนต้องประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในหลายพื้นที่เพื่อควบคุมสถานการณ์ ยังไม่รวมวิกฤตสังคมอื่น ๆ จนทุกฝ่ายมองว่า รัฐบาลไม่น่าจะบริหารราชการแผ่นดินต่อไปได้ แต่สุดท้ายรอดจากวิกฤตต่าง ๆ รวมทั้งรอดพ้นจากคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ท่ามกลางข้อกังขาจากสังคม |
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
(นายกรัฐมนตรี) |
ซีมาร์กโลชัน | ในภาวะที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจโลก วิกฤติความขัดแย้งทางสังคมทั้งระดับประเทศ ลงไปถึงระดับครอบครัว เปรียบเสมือนผู้ป่วยหนักที่ต้องการยารักษาโรคให้หายขาด บางปัญหาต้องทำการผ่าตัด-ปรับโครงสร้าง-เปลี่ยนอวัยวะ สังคมคาดหวังว่านายกฯ จะเข้ามาแก้ไขปัญหาและรักษาอาการของประเทศได้ แต่ผลการปฏิบัติหน้าที่ของนายกฯ ยังทำได้ผลเพียงการบรรเทาโรค เปรียบเสมือนการใช้ "ซีมาโลชัน" ทาแก้คันเท่านั้น | ||
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
(รองนายกรัฐมนตรี) |
ทศกัณฐ์กรำศึก | เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในทุกเรื่อง เปรียบเหมือนทศกัณฐ์ที่มีหลายหน้า อาทิ "รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง แม่บ้านพรรคประชาธิปัตย์ ผู้จัดการรัฐบาล บิดาของนายแทน เทือกสุบรรณ" ที่ถูกโจมตีเรื่องการครอบครองที่ดินเขาแพง เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ทำให้ต้องเผชิญศึกหนักจากรอบด้าน ทั้งศึกที่จบไปแล้ว และศึกที่ยังดำรงอยู่
แต่ด้วยความมีประสบการณ์การเมืองสูง รอบจัด จึงเอาตัวรอดจากศึกรอบด้านมาได้ ขนาดหลุดจากเก้าอี้ ส.ส. เพราะถือหุ้นต้องห้าม ตามด้วยการไขก๊อกจากเก้าอี้รองนายกฯ ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม สุดท้ายก็ฟื้นชีพการเมืองครบทุกตำแหน่ง เปรียบเสมือนทศกัณฐ์ที่ถอดกล่องดวงใจได้ ไม่มีวันสิ้นชีพ | ||
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
(รองนายกรัฐมนตรี) |
ลิ้นชาละวัน | ผลงานในตำแหน่งรองนายกฯ ไม่เป็นที่ประจักษ์-เป็นรูปธรรม แต่บทบาทที่เด่นชัด คือ "การเดินสายเจรจาสร้างความปรองดองกับทุกพรรคการเมืองทั้งฝ่ายค้าน-รัฐบาล และกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองทุกสี รวมทั้งการเจรจากับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี" จนถูกวิจารณ์ว่า อยากเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ผลการเจรจาก็ไม่สำเร็จ
เปรียบเหมือนการใช้ลิ้นจระเข้ที่ไม่มีต่อมรับรส กินอะไรก็ไม่รู้รสชาติ การเจรจาของชาละวัน-สนั่น จึงไม่มีการตอบรับจากทุกฝ่าย | ||
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) |
กริ๊ง...สิงสื่อ | แม้จะพ้นจากการกำกับดูแลสื่อในช่วงครึ่งปีหลัง แต่บทบาทที่เด่นชัด คือ "การสั่งการสื่อสำนักต่าง ๆ ของรัฐ" โดยเฉพาะในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมือง มักโทรศัพท์สายตรงไปถึงกองบรรณาธิการ-สถานีโทรทัศน์ เพื่อชี้นำและกำหนดทิศทางในการนำเสนอประเด็นข่าว ทำให้บางสื่อเกิดความอึดอัด แต่ต้องทำตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกครั้งที่เสียงโทรศัพท์ของสื่อดังขึ้น มีชื่อผู้โทร. เข้าเป็นรมต.สาทิตย์ จะทำให้ทุกสื่อรู้สึกสยองขวัญกับคำสั่งที่สิงสู่ส่งมาตามสาย | ||
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) |
ป้อมทะลุเป้า | ชื่อเล่นคือ "บิ๊กป้อม" เป็นพี่ใหญ่ของนายพลทุกเหล่าทัพ แม้คนภายนอกมองว่า บทบาทของเขาไม่โดดเด่น แต่ในความเป็นจริงเขากลับสร้างผลงานได้ทะลุเป้าในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น "การกุมอำนาจในฝ่ายความมั่นคง การปฏิบัติการกระชับพื้นที่ชุมนุมย่านราชประสงค์ การขออนุมัติใช้งบของกองทัพ ทั้ง งบลับ-งบแจ้งที่ถูกครหาว่าสูงเป็นประวัติการณ์ การได้รับอนุมัติจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากรัฐบาลทุกรูปแบบ ทุกเงื่อนไข" ทำให้เป็นปีที่ "ป้อมทะลุทุกเป้า" | ||
นายกรณ์ จาติกวณิช
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) |
โย่งคาเฟ่ | ในฐานะ รมว.คลัง จำเป็นต้องมีภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือ การแสดงบทบาทต่อสาธารณะทุกครั้ง เท่ากับเป็นการส่งสัญญาณต่อความเชื่อมั่นเรื่องภาวะเศรษฐกิจ และเป็นท่าทีทางนโยบายของรัฐบาล แต่สำหรับนายกรณ์กลับแสดงออกไม่สมบทบาทขุนคลัง ในหลายกรณี อาทิ "การเปิดผับเชียร์ฟุตบอลโลก การแสดงบท พ.ต.ประจักษ์ มหศักดิ์ คู่กับแอฟ ทักษอร ในละครวนิดา ภาคปลดหนี้" จนถูกวิจารณ์ว่า มีพฤติกรรมที่เน้นสร้างความบันเทิง-เฮฮา มากกว่าบทบาท รมว.คลัง | ||
นายจุติ ไกรฤกษ์
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) |
หัวเทียนบอด-แบน | เป็นคนหนุ่มไฟแรงที่นายกฯ ตั้งความหวังเอาไว้มากว่าจะเข้ามาพัฒนาระบบไอทีของประเทศ แต่ทั้งนายกฯ และคนไทยกลับต้องผิดหวังแทบทุกเรื่อง เพราะทั้งระบบ 3 จี บัตรประชาชนอเนกประสงค์ (สมาร์ตการ์ด) ทุกโครงการยังไม่สำเร็จ ทั้งที่พยายามสตาร์ตมาทั้งปี แต่ยังไม่ติด เหมือนรถที่หัวเทียนบอด
แต่รูปธรรมการทำงานกลับเป็นการไล่บี้-สั่งแบนเครือข่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้แบนติดดิน โดยเฉพาะการมุ่งแต่สะสางสัญญาสัมปทานของค่ายชินคอร์ป | ||
นางพรทิวา นาคาศัย
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) |
นาง "ฟ้า" สต็อกลม | เป็นอดีตแอร์โฮสเตสที่ผันตัวมาเล่นการเมือง ก่อนรับบทแม่ค้าในฐานะ รมว.พาณิชย์ ต้องค้า-ขายบริหารสินค้าเกษตร และระบายสต็อกสินค้าเกษตรทั้งหมด แต่ทุกครั้งที่มีการเปิดประมูลสินค้าเกษตร มักมีปัญหาส่อความไม่ชอบมาพากล จนถูกสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งอนุกรรมการสอบสวน เมื่อตรวจพบสินค้าเกษตรบางรายการเป็นเพียงสต็อกลม และสินค้ามีที่มาที่ไปไม่โปร่งใส ขณะเดียวกันยังเกิดปัญหาสินค้าราคาแพง ทำให้สบช่องจัดรายการ "ธงฟ้าราคาประหยัด" อยู่ตลอดทั้งปี | ||
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) |
เสืออิ่ม สิงห์โอด | ถูกวิจารณ์จากทั้งคนในและนอกกระทรวงมหาดไทยว่า "เป็นยุคตกต่ำที่สุดของกระทรวงนักปกครอง" ที่ถูกเรียกขานตามสัญลักษณ์ "สิงห์" โดยปรากฏข่าวไม่ชอบมาพากลสารพัดโครงการ มีการแต่งตั้งโยกย้ายที่ถูกร้องเรียนว่าไม่เป็นธรรมมากที่สุด ทำลายสถิติเรื่องการมีว่าที่ปลัดกระทรวงมากที่สุด
จนนักปกครองทุกสี ทั้ง สิงห์ดำ-สิงห์แดง-สิงห์ขาวออกมาโอดครวญ เพราะถูก "เสือ" เจ้ากระทรวงขย้ำ จนไม่เหลือความเป็น "สิงห์" ขณะที่เสือ-คนรอบตัว รมว.กลับอิ่มหมีพีมันเสพสุข | ||
นายมั่น พัธโนทัย
(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง) |
หยากไย่ | เป็นนักการเมืองรุ่นเก่าที่ได้เข้ามาร่วมรัฐบาลชนิดที่หลายฝ่ายคาดไม่ถึง เมื่อนำ ส.ส.พรรคมาตุภูมิ เพียง 3 เสียงมาร่วมรัฐบาล หลังพรรคประชาธิปัตย์ขับพรรคเพื่อแผ่นดินออกจากรัฐบาล แม้งานที่ทำจะเงียบเชียบ ไม่มีผลงานชัดเจน แต่ก็ยังชักใย-เกาะติดอยู่กับฝ่ายรัฐบาลได้ทุกยุค เปรียบเหมือน "หยากไย่" ที่เกาะอยู่ในบ้านเรือน ที่ไม่มีประโยชน์ รอวันถูกปัด-กวาดทิ้ง | ||
วาทะแห่งปี | "ถ้าเลือกตั้งแล้วนองเลือด แล้วผมชนะ ผมไม่เอาหรอก" | วาทะของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ณ โรงแรมเซนทาราแกรนด์ เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2553 | ||
พ.ศ.2554[6] | 60 | รัฐบาล | ทักษิณส่วนหน้า | สืบเนื่องจากการบริหารงานของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ไม่สามารถสลัดภาพว่ามีพี่ชายอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อยู่เบื้องหลังได้ จนรัฐบาลชุดนี้เปรียบเหมือนศูนย์บัญชาการส่วนหน้าของตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ต้องทำตามสิ่ง ที่พ.ต.ท.ทักษิณ คิดและวางไว้ให้
ไม่ว่าจะเป็นนโยบายประชานิยม ที่ชูสโลแกน "ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ" หรือในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี ผู้ที่มีสิทธิได้ตำแหน่ง ต่างเดินทางไปถึงดูไบ เพื่อแสดงวิสัยทัศน์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ล่าสุด พ.ต.ท.ทักษิณ ยังได้ไปกรุยทางให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก่อนการเดินทางไปเยือนประเทศต่าง ๆ นอกเหนือไปจากการการันตีว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ คือโคลนนิ่งของตัวเอง |
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
(นายกรัฐมนตรี) |
นายกฯ นกแก้ว | เนื่องจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นผู้หญิงที่มีความสวย บุคลิกดี มีความความโดดเด่น คล้ายกับนกแก้วที่มีสีสันสวยงาม แต่กลายเป็นนกแก้วที่ต้องติดอยู่ในกรงทอง ไม่สามารถบินไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง ต้องมีพี่เลี้ยงคอยประกบดูแลอย่างใกล้ชิด
บทบาทที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ แสดงต่อสาธารณชน จึงเป็นเพียงนกแก้วที่พูดตามบทที่มีคนเขียน หรือบอกให้พูดเท่านั้น และลักษณะการตอบคำถามก็มักพูดซ้ำไปซ้ำมา วกวนจนไม่รู้ข้อเท็จจริงคืออะไร หลายครั้งก็พูดผิด กระทั่งตกเป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์ในที่สุด | ||
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง
(รองนายกรัฐมนตรี) |
กุมารทองคะนองศึก | กุมารทองมักสวมเครื่องทรง แทนสัญลักษณ์ของผู้มีตำแหน่งสำคัญ โดยลักษณะทั่วไปของกุมารทอง คือ จะทำงานตามคำสั่งและทำเพื่อประโยชน์ของผู้เลี้ยงเท่านั้น เช่นเดียวกับ ร.ต.อ.เฉลิม ที่จะทำงานตามคำสั่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อประโยชน์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ
นอกจากนี้ ร.ต.อ.เฉลิม ยังมักจะเป็นพรายกระซิบ คอยบอกบทของเพื่อนรัฐมนตรีระหว่างการชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้ง ร.ต.อ.เฉลิม ยังมีความซุกซน ชอบเข้าไปเกี่ยวข้องกับหลายเรื่องที่ไม่ใช่งานในความรับผิดชอบของตัวเอง หวังเพียงสร้างประเด็นข่าว และยังมีความคึกคะนองพร้อมที่จะประกาศศึกกับใครก็ได้ จนบางครั้งกลายเป็นการชักศึกเข้าบ้านไป | ||
พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ
(รองนายกรัฐมนตรี) |
ประแจปากตาย | อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ผู้นี้ เป็นคนที่มีบุคลิกพูดน้อย มีท่าทีแข็งทื่อ หลายครั้งทำเหมือนพูดไม่รู้เรื่อง ทำให้ไม่มีบทบาทตามหน้าสื่อหรือภายในพรรคเพื่อไทย
แต่ความจริง พล.ต.ท.โกวิท เป็นตัวเดินเกมและคอยแก้ไขปัญหาให้กับรัฐบาล รวมถึงพรรคเพื่อไทยในหลาย ๆ เรื่อง ที่โดดเด่น คือ การกล่อมให้ "พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี" ย้ายจากตำแหน่ง ผบ.ตร. มาเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อเปิดทางให้กับ "พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์" พี่ภรรยาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เป็น ผบ.ตร. สมใจ หลังเจ้าตัวรอคอยตำแหน่งนี้มาอย่างยาวนาน | ||
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ
(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) |
ทักษิโด้ โชว์ห่วย | จากอดีตที่ผ่านมา นายยงยุทธเคยเป็นถึงแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี มีประวัติการทำงานที่เป็นถึงอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง ได้จัดตั้งรัฐบาล นายยงยุทธจึงถูกวางตัวให้รับตำแหน่งสำคัญในฐานะ รมว.มหาดไทย เพื่อตอบแทนความภักดีที่คอยดูแลพรรคในช่วงเวลาที่ตกต่ำสุดขีด
แต่นอกจากการเป็นผู้ที่แต่งกายและมีบุคลิกดี คล้ายผู้ชายใส่ "ทักซิโด" เมื่อถึงเวลาแสดงผลงานกลับสอบตก "โชว์ห่วย" จนมีเสียงเรียกร้องภายในพรรคให้ปรับออกจากตำแหน่ง นอกจากนี้ คำว่า "ทักษิโด้" ยังเป็นการล้อจากชื่อของ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้อยู่เบื้องหลังของการได้มาซึ่งตำแหน่งของนายยงยุทธด้วยเช่นกัน | ||
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) |
"ปึ้ง" เป้าเป๊ะ | "ปึ้ง" เป็นชื่อเล่นของนายสุรพงษ์ ผู้ที่ถูกสังคมตั้งคำถามนับแต่เข้ารับตำแหน่ง รมว.การต่างประเทศ ว่ามีความรู้ความสามารถเพียงพอต่อการรับตำแหน่งสำคัญนี้ได้หรือไม่
แต่ผลงานตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา สะท้อนผลงานนายสุรพงษ์เข้าเป้าทุกประการ เพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ว่าจะเป็นการขอวีซ่าเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ และอาศัยจังหวะชุลมุนช่วงน้ำท่วม ออกหนังสือเดินทางให้กับอดีตนายกฯ หรือแม้แต่การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในกระทรวง | ||
นายธีระ วงศ์สมุทร
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) |
ขงเบ๊ | "ขงเบ้ง" เป็นกุนซือคนสำคัญในเรื่อง สามก๊ก ซึ่งนายธีระเคยนำไปเปรียบเปรยในสภา ถึงปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมาว่า "ต่อให้ขงเบ้งมาเกิดใหม่ ก็แก้ปัญหาไม่ได้"
ซึ่งนอกจากนายธีระไม่ใช่คนที่คอยวางแผนให้คนอื่นปฏิบัติตามแล้ว ยังจะเป็นคนที่รับคำสั่งจาก นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ทั้งงานในกระทรวงเกษตรฯ และการบริหารจัดการน้ำ คำว่า "เบ๊" นอกจากแปลว่า ทำตามคำสั่งคนอื่นแล้ว ยังมาจากแซ่ของนายบรรหาร ที่แปลว่า "ม้า" หรือ "อาชา" ด้วย | ||
นายพิชัย นริพทะพันธุ์
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) |
ไอเดียกระฉอก | เป็นเจ้าโพรเจกต์ สารพัดคิด หลายเรื่องยังไม่ได้ข้อสรุปในที่ประชุม ก็เป็นเจ้าตัวที่ทำให้กระฉอกออกมา อย่างโครงการ "นิวไทยแลนด์" ที่เจ้าตัวออกมาเปิดเผยว่า รัฐบาลเตรียมกู้เงิน 9 แสนล้านบาท เพื่อมาฟื้นฟูประเทศ แต่สุดท้ายนายกรัฐมนตรีกลับปฏิเสธว่า ไม่มีโครงการดังกล่าว
หลายไอเดียที่เจ้าตัวคิดออกมาดัง ๆ แล้วถูกติติงจากผู้รู้ว่า ไม่น่าจะนำไปปฏิบัติได้จริง เพียงข้ามวัน นายพิชัยก็ออกมาปฏิเสธว่าไม่ใช่ไอเดียของตน เหมือนน้ำที่กระฉอกไป กระฉอกมา หาอะไรแน่นอนไม่ได้ สุดท้ายผลงานเลยไม่เป็นไปตามเป้า | ||
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) |
ปุเลง...นอง | ล้อมาจากคำว่า "บุเรงนอง" ที่เป็นแม่ทัพใหญ่ในนิยาย "ผู้ชนะสิบทิศ" เช่นเดียวกับนายกิตติรัตน์ที่เป็นขุนพลด้านเศรษฐกิจ ผู้ประกาศตัวว่าจะเข้ามากู้วิกฤติให้กับประเทศ แต่การทำงานของนายกิตติรัตน์ กลับเป็นไปอย่างติด ๆ ขัด ๆ ไม่ราบรื่นเหมือนกับปุเลง ๆ ไปเรื่อย ๆ
นอกจากนี้ ยังมีปัญหากับ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง หลายครั้งหลายหน กระทั่งเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่ ทะลักเข้านิคมอุตสาหกรรมสำคัญหลายแห่ง สร้างความเสียหายมหาศาล จนท้ายที่สุด นายกิตติรัตน์ต้องน้ำตานองหน้าต่อคนทั้งประเทศ | ||
พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม) |
อินทรีหลงป่า | พล.ต.อ.ประชา มีดีกรีเป็นถึงอดีตอธิบดีกรมตำรวจ พื้นเพเป็นคนอีสาน และได้แสดงผลงานการปราบปรามสมัยสวมเครื่องแบบสีกากีอย่างโดดเด่น จนถูกขนานนามว่า เป็น "อินทรีอีสาน"
แต่เมื่อเข้ามาเป็นรัฐมนตรี กลับได้รับงานที่ผิดฝาผิดตัว คือ "งานแก้ปัญหาน้ำท่วม" ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ซึ่งไม่ใช่งานที่ถนัด อีกทั้งการแก้ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ได้ดีเท่าที่ควร หลงทิศหลงทาง ส่งผลให้ปัญหาน้ำท่วมลุกลาม ประชาชนหลายพื้นที่เกิดความขัดแย้ง กระทั่งตัว พล.ต.อ.ประชา ยังถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ และถูกฝ่ายค้านยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่ง จึงเป็นที่มาของ "อินทรีหลงป่า" | ||
นายปลอดประสพ สุรัสวดี
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) |
ผีเจาะปลอด | เป็น รมว.วิทยาศาสตร์ฯ แต่โด่งดังจากการเตือนภัยว่าน้ำจะท่วม กทม. ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า "ตื่นตูมเกินเหตุ" แต่ท้ายสุดน้ำก็ท่วม กทม.จริง ๆ นับจากนั้น นายปลอดประสพจึงมีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลเรื่องน้ำ อย่างไรก็ตาม การเตือนภัยระยะหลังของนายปลอดประสพ จะเป็นไปในลักษณะให้ตื่นกลัวมากกว่าตื่นตัว
ที่สำคัญด้วยบุคลิกของนายปลอดประสพที่เป็นคนพูดเก่ง แม้แต่เรื่องที่ไม่ให้พูด เปรียบเสมอ "ผีเจาะปาก" แต่สำหรับนายปลอดประสพกลายเป็น "ผีเจาะปลอด" เพราะการพูดแต่ละครั้ง มักจะทำให้คนตื่นกลัว หรือตกใจ | ||
วาทะแห่งปี | "น้ำตาที่ไม่ได้ไหลจากความอ่อนแอ ใครไม่โดนไม่รู้ มันเป็นอารมณ์ร่วม" | วาทะของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ณ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2554
ในช่วงเวลาที่รัฐบาลกำลังเผชิญวิกฤติอย่างหนัก หลังจากไม่สามารถสกัดกั้นไม่ให้น้ำเข้ามาท่วม กทม. รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ ผลโพลต่าง ๆ ก็ออกมาตรงกันว่า ไม่เชื่อถือการทำงานของรัฐบาล นำไปสู่คำถามที่ว่า รัฐบาลจะสามารถประคองตนจนถึงสิ้นปีหรือไม่ ช่วงเวลานั้นไม่ว่าจะไปปฏิบัติงานที่ใด น.ส.ยิ่งลักษณ์ มักจะหลั่งน้ำตาออกมา จนหลายคนมองว่า เป็นพฤติกรรมที่สะท้อนภาวะจิตใจของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ไม่ได้ต้องการเล่นการเมืองมาแต่ต้น แต่ถูกพี่ชายผลักดันให้มาทวงความเป็นธรรมให้กับตระกูลชินวัตร แม้จะเฉไฉไปว่าร้องไห้เพราะเห็นใจประชาชนก็ตาม | ||
พ.ศ.2555[7] | 60 | รัฐบาล | พี่คนแรก | ล้อคำมาจากนโยบายที่ขึ้นชื่อของรัฐบาล เช่น รถคันแรก บ้านหลังแรก แต่ด้วยความที่รัฐบาลต้องทำงานบริหารประเทศ โดยมีเงาของพี่ชาย พี่สาว พาดผ่านเข้ามา
รวมไปถึงปัญหาต่าง ๆ ก็มาจากเรื่องของพี่ ทั้งปัญหาของบ้านเมือง ข้าวของแพง ปัญหาปากท้องของชาวบ้าน ข้อครหาทุจริตไม่ได้รับการแก้ไข หรือชี้แจงอย่างชัดเจน เรียกได้ว่า เอะอะอะไรก็พี่ เรื่องของพี่ต้องมาก่อน ต้องมาเป็นอับดับแรก |
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
(นายกรัฐมนตรี) |
ปูกรรเชียง | ล้อจากชื่อเล่นของนายกฯ คือ "ปู" ซึ่งลักษณะของปู คือ เดินเซไปเซมา ไม่ตรงทาง
ในการบริหารงานของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ต้องแบกภาระ และใบสั่งจากพี่ชายชื่อทักษิณ พี่สาว (เจ๊ ด.) แม้แต่คนรอบข้างก็คอยลากไปลากมา ทำงานไม่เห็นผลงานที่เป็นรูปธรรม ได้แต่เดินโชว์ไปโชว์มา เมื่อมีปัญหาทางการเมือง ก็มักจะตีกรรเชียง ลอยตัวหนีปัญหา | ||
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง
(รองนายกรัฐมนตรี) |
กันชนตระกูลชิน | บอดี้การ์ดคอยปกป้องนายกฯ และนายใหญ่ โดยเฉพาะคนตระกูลชินวัตร ทุกรูปแบบทั้งงานในสภา และม็อบต้านรัฐบาล เดินหน้าท้าชนทุกเรื่อง แต่กลัวการลงไปแก้ปัญหาภาคใต้ ผลงานโดดเด่น คือ การปราบปรามยาเสพติด | ||
นายปลอดประสพ สุรัสวดี
(รองนายกรัฐมนตรี) |
ปั้นน้ำเป็นทุน | ผลงานโดดเด่น คือ "รับผิดชอบการแก้ปัญหาน้ำท่วม" และเนื่องจากปีนี้น้ำไม่ท่วม จึงแอ็กอาร์ต คุยโม้ มั่นใจว่าเป็นฝีมือของตนเอง โดยเฉพาะเมื่อได้รับการเลื่อนขั้นจากรัฐมนตรี ขึ้นเป็นรองนายกฯ ที่ได้ดูแลโพรเจกต์น้ำ มูลค่ากว่า 3.5 แสนล้าน | ||
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง
(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) |
ลูกไก่ไวต์ไล | เป็นถึงรองนายกฯ ที่กำกับดูแลงานด้านเศรษฐกิจของประเทศ แต่กลับดิสเครดิตตัวเองจากกรณีโกหกสีขาว (White Lie) คือ การตั้งเป้าทางเศรษฐกิจเกินจริง จนถึงถูกตราหน้าว่าขี้โกหก เหมือนเด็กเลี้ยงแกะ
ส่วนคำว่าลูกไก่ ล้อจากชื่อเล่น "โต้ง" แต่เนื่องจากผลงาน และประสบการณ์ ทางการเมืองยังไม่เด่นชัด และเก่งกาจตามที่ถูกคาดหวัง จึงเป็นได้เพียงลูกไก่ ไม่ใช่ไก่โต้ง | ||
พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) |
ตามล่าหน้าหล่อ | ตำแหน่งใหญ่โตแต่กลับไม่มีผลงานโดดเด่นด้านความมั่นคง ผลงานเป็นที่ประจักษ์เพียงอย่างเดียว คือ การไล่ล่าอดีตนายกฯ หน้าหล่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อถอดยศ กรณีหนีการเกณฑ์ทหาร
นอกจากนี้ยังถูกหลาน "โอ๊ก - พานทองแท้ ชินวัตร" โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กสั่งสอนข่าวลอบทำร้าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้ง ๆ ที่พานทองแท้ เป็นเพียงเด็กที่ผ่านการเรียน ร.ด.มาเท่านั้น แต่สามารถสั่งสอนคนระดับนายพลได้ | ||
นายชัชชาติ สิทธิพันธ์
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม) |
โฟร์แมนสแตนบาย | เป็นรัฐมนตรีน้องใหม่ เป็นที่คาดหวังของรัฐมนตรีน้ำดี ถูกมอบหมายให้ทำงานสารพัด เป็นคนเก่ง ไฟแรง ประกาศไม่ขอยุ่งการเมือง เร่งผลักดันงานด้านคมนาคมด้านต่าง ๆ อาทิ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้า ฯลฯ | ||
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) |
บุญทรุด | รัฐมนตรีที่รับผิดชอบนโยบายหลักของรัฐบาล คือ "การรับจำนำข้าว การแก้ปัญหา สินค้าราคาแพง" แต่กลับถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าไม่สามารถแก้ปัญหาได้ โดยเฉพาะเรื่องการรับจำนำข้าว แทนที่จะเป็นผลงาน กลับกลายเป็นจุดอ่อนให้ถูกโจมตี ข้อกล่าวหาต่าง ๆ ไม่สามารถชี้แจงได้ อาทิ สัญญาซื้อขายข้าวแบบจีทูจี
ขณะเดียวกันกลับถูกมองว่า ที่ยังสามารถเป็นรัฐมนตรีอยู่ได้ เพราะเป็นเด็กเจ๊ ด. | ||
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) |
สิงห์สำรอง | สัญลักษณ์ของกระทรวงมหาดไทย คือ "สิงห์" แต่เส้นทางการเข้ามาทำหน้าที่ของนายจารุพงษ์ ทั้งตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ถูกมองว่าเป็นเพียงหุ่นเชิด ไม่ใช่ตัวจริง เป็นการเดินตามรอย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ที่เจอวิกฤติการเมืองจนต้องลาออกไป จึงถูกมองว่าเป็นได้เพียงสิงห์สำรองเท่านั้น | ||
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโลโนยี) |
ด.ดันดี | เด็กเจ๊แดง (นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์) ผลงานไม่เป็นที่ปรากฏ แต่ไม่เคยถูกปรับออกจากคณะรัฐมนตรี ยึดเก้าอี้ได้เหนียวแน่นแถมล่าสุด ยังไต่ระดับขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีว่าการเลยทีเดียว เชื่อว่ามีแรงดันดีจากเจ๊ ด. อีกคน | ||
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์) |
ไพร่เทียม | เป็นโควตาหนึ่งเดียวของ นปช. คนเสื้อแดง ที่ได้เป็นรัฐมนตรี แม้ในการปรับ ครม.ล่าสุด ก็ยังคงเป็นได้เป็นรัฐมนตรี ส่งผลให้นายจตุพร พรหมพันธ์ หนึ่งในแกนนำ นปช. ที่ได้รับการคาดหมาย จะได้รับตำแหน่งต้องพลาดหวัง ขณะที่ผลงานไม่เด่นชัด มีชัดเจนเพียงการพูดเก่ง ดีแต่ปาก ขณะที่เมื่อมาเป็นรัฐมนตรี กลับใช้ชีวิต และการทำงาน ลักษณะอำมาตย์ ไม่ต่างจากคำว่าไพร่เทียม | ||
วาทะแห่งปี | "คำว่าลอยตัวนั้น ต่างกับคำว่าไม่รับผิดชอบ" | วาทะของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) กล่าวระหว่างชี้แจงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ณ รัฐสภา เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2555
หลังถูกกล่าวหาเรื่องการขาดความรับผิดชอบ ลอยตัวเหนือปัญหา ไม่ชี้แจงประเด็นที่ถูกกล่าวหา โดยเฉพาะเรื่องนโยบายรับจำนำข้าว โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ที่ถูกตั้งข้อสังเกตถึงความไม่โปร่งใส และเอื้อผลประโยชน์พวกพ้อง | ||
พ.ศ.2556 | 60 | งดตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลประกาศยุบสภา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2556 เพื่อรอการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ทำให้รัฐบาลชุดนี้มีสถานะเป็นรัฐบาลรักษาการ | ||
พ.ศ.2557 | - | งดตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และบรรยากาศทางการเมืองยังอยู่ในภาวะไม่ปกติ อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง เชื่อมโยง หรือขยายผลทางการเมือง |
ฉายารัฐบาลฯ ประจำปี 2558-2562[แก้]
ปี | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ | ฉายาะวาทะแห่งปี | ความหมายและที่มา | |
---|---|---|---|---|
พ.ศ.2558 | - | งดตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และบรรยากาศทางการเมืองยังอยู่ในภาวะไม่ปกติ อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง เชื่อมโยง หรือขยายผลทางการเมือง | ||
พ.ศ.2559 | ||||
พ.ศ.2560 | ||||
พ.ศ.2561 | ||||
พ.ศ.2562[8] | 61 | รัฐบาล | รัฐเชียงกง | สะท้อนภาพรัฐบาลคล้ายแหล่งค้าขายอะไหล่มือสอง ประกอบกันขึ้นจากข้าราชการยุคก่อน และนักการเมืองหน้าเก่า แม้ใช้ประโยชน์ได้ แต่ยังขาดความน่าเชื่อถือ สะท้อนความไม่มีเสถียรภาพ |
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) |
อิเหนาเมาหมัด | ยกคำสุภาษิตไทย "ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง" เปรียบแนวทางปฎิบัติและนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่เห็นได้ชัดหลายเรื่อง มักจะตำหนิหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต และสุดท้ายก็กลับมาทำเอง เช่น โครงการลักษณะประชานิยม, บอกไม่เป็นนายกฯ สุดท้ายก็กลับมา, ไม่อยากเล่นการเมืองก็หนีไม่พ้น, หนีการตอบกระทู้ในสภาฯ, มองข้ามข้อครหาเรื่องงูเห่าการเมือง, การซื้อตัว ส.ส., ตั้งคนมีคดีความที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองเป็นรัฐมนตรี, แต่งตั้งญาติพี่น้องเข้าสภาฯ, ยอมให้พรรคที่สนับสนุนใช้นโยบายค่าแรงหาเสียง, ทั้งที่เคยตำหนิว่าการขึ้นค่าแรงเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน
อีกทั้งไม่สามารถควบคุมให้รัฐบาลมีความเป็นเอกภาพ เกิดปัญหาติดขัดการทำงานกับพรรคร่วมรัฐบาล รวมถึงงบประมาณที่ยังไม่ผ่านความเห็นชอบ และ ฝ่ายตรงข้ามรุมเร้าคล้ายโดนระดมหมัดเข้าถาโถม แม้พยายามสวนหมัดสู้ แต่หลายครั้งถึงกับมึนชกโดนตนเองก็มี | ||
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
(รองนายกรัฐมนตรี) |
พี่ใหญ่สายเอ็นฯ | ในฐานะพี่ใหญ่ของ สาม ป. นอกจากจะต้องคอยดูแลน้องรักแล้ว ยังต้องเอ็นเตอร์เทนพรรคร่วมรัฐบาล และต้องเอ็นดูคนในพรรคพลังประชารัฐที่ได้รับมอบหน้าที่ประธานยุทธศาสตร์ทุกด้าน ตั้งแต่คดีระหว่างประเทศ ยันฟาร์มไก่ ทำให้งานด้านความมั่นคงที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล เหลือเพียงเดินสายเปิดงานอีเวนต์ และประชุมทั่วไปเท่านั้น | ||
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
(รองนายกรัฐมนตรี) |
ชายน้อยประชารัฐ | เจ้าของโครงการประชารัฐ ที่หวังเดินหน้าต่อยอดในรัฐบาลนี้ กลับทำไม่ได้อย่างที่หวัง ถูกริบอำนาจงานด้านเศรษฐกิจหลายกระทรวง คล้ายคนง่อยเปลี้ยเสียขา ขาดมือไม้ในการทำงาน ทำให้เดินหน้าโครงการไม่ได้ 100% ถึงกับออกปากว่า "ตอนนี้เหมือนคนที่เหลือเพียงขาเดียวเท่านั้น สุดท้ายเหมือนตัวคนเดียว พรรคร่วมก็ไม่เอาด้วย" | ||
นายวิษณุ เครืองาม
(รองนายกรัฐมนตรี) |
ศรีธนญชัยรอดช่อง | ความเป็นกูรูด้านกฎหมายของรัฐบาล สามารถช่วยรัฐบาลรอดพ้นปากเหวได้ทุกครั้ง เปิดทางตันด้วยช่องว่างทางกฎหมายที่แม้แต่แว่นขยายก็ยังมองไม่เห็น | ||
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) |
รัฐอิสระ | เมื่อฝ่ายค้านมีฝ่ายค้านอิสระ รัฐบาลนี้ก็มีฝ่ายรัฐบาลอิสระเช่นกัน ให้ความสำคัญและเดินหน้าเฉพาะนโยบายของพรรคตนเองเป็นหลัก ไม่สนใจภาพรวมของรัฐบาล ไม่สามารถควบคุม ส.ส. ของพรรคได้ สร้างความหวาดระแวงภายในรัฐบาลตลอดเวลา ส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐ | ||
นายอนุทิน ชาญวีรกุล
(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) |
สารหนู | แม้มีชื่อเล่นว่า "หนู" แต่ก็ไม่หนูอย่างที่คิด พิษสงรอบตัว ด้วยจำนวน ส.ส. ในมือ มีผลต่อความเป็นไปของรัฐบาล จนสามารถต่อรองคุมกระทรวงใหญ่ไว้ในมือได้ อีกทั้งนโยบายแบนสามสารพิษ ก็โดดเด่นและถูกจับตามอง ถึงกับเป็นชนวนความขัดแย้งเกิดขึ้นในรัฐบาล ก่อนจะสยบรอยร้าวได้ในที่สุด | ||
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม) |
โอ๋ แซ่รื้อ | ตั้งแต่เข้ามากำกับดูแลกระทรวงคมนาคม ผุดไอเดียบรรเจิดจนคนต่อต้าน เช่น ติดตั้ง GPS ในรถยนต์ส่วนบุคคล ไม่พอยังเดินหน้ารื้อหลายโครงการที่เป็นปัญหา เช่น "รื้อมาตรการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า, รื้อคดีค่าโง่ทางด่วน, รื้อหลักสูตรสอบใบขับขี่, รื้อแผนท่าเรือปากบารา-สงขลา 2, รื้อแผนฟื้นฟู ขส.มก. แม้แต่ไม้กั้นรถไฟยังถูกรื้อ" | ||
นายวราวุธ ศิลปอาชา
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) |
สัปเหร่อออนท็อป | นับแต่เข้ารับตำแหน่ง ได้เกิดเหตุไม่คาดฝันซ้ำไปซ้ำมา กับบรรดาสิงสาราสัตว์ที่มีชื่อเสียง ทั้ง พะยูนมาเรียม, แพนด้าช่วงช่วง, เสือของกลาง, ช้างป่าเขาใหญ่ เป็นความสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ก็สามารถแสดงศักยภาพรับมือเหตุต่าง ๆ ได้ดี คล้ายทำหน้าที่สัปเหร่อเก็บกวาดทุกเรื่อง รวมไปถึงคดีความร้อน ๆ ของคน และพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ | ||
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า
(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) |
เทามนัส | แม้คดีความต่าง ๆ จะสิ้นสุดลงแล้ว แต่การถูกขุดคุ้ยล่าสุดทั้งเรื่องคดียาเสพติดในต่างประเทศ และวุฒิการศึกษา ยังทำให้คนกังขา ไม่เชื่อมั่นในความโปร่งใส รวมถึงการทำหน้าที่มือประสานสิบทิศทางการเมือง ก็ยังถูกครหาเรื่องการซื้อตัว ส.ส.พรรคเล็ก และดีลการเมืองกับฝ่ายค้านอีกด้วย | ||
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์
(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) |
มาดามแบนเก้อ | ด้วยบุคลิกเฉิดฉาย เด็ดเดี่ยว และโดดเด่น เดินหน้าแบนสามสารพิษ อย่างไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหม แม้ต้องชนกับเจ้ากระทรวงของตัวเองก็ไม่หวาดหวั่น เดินหน้าตามธงที่ถือไว้ แต่จนแล้วจนรอด การแบนสามสารก็ยังไม่สามารถปฏิบัติได้จริง | ||
วาทะแห่งปี | "อย่าเพิ่งเบื่อผมก็แล้วกัน ยังไงผมก็อยู่อีกนานพอสมควร" | วาทะของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) กล่าวระหว่างให้โอวาทเจ้าหน้าที่และนักกีฬาทีมชาติไทยที่จะเดินทางไปร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 30 ที่สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2562 |
ฉายารัฐบาลฯ ประจำปี 2563-ปัจจุบัน[แก้]
ปี | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ | ฉายาะวาทะแห่งปี | ความหมายและที่มา | |
---|---|---|---|---|
พ.ศ.2563[9] | 61 | รัฐบาล | VERY กู้ | เปรียบเปรยการทำงานของรัฐบาล ที่ต้องกอบกู้วิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 กู้ชีวิตคนไทยให้อยู่รอดปลอดภัย แม้จะยังไม่สามารถกลับสู่ภาวะปกติได้ แต่ก็ยังดีกว่าหลายประเทศ แม้จะไม่ถึงขั้น Very Good ก็ตาม
ขณะเดียวกัน ผลพวงจากวิกฤตเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้องคนไทยที่ต้องแบกรับภาระหนี้สิน และภาวะตกงาน บางคนต้องจากโลกนี้ไปด้วยไม่อาจรับได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลต้องกู้เงินสูงที่สุดในประวัติศาสตร์มาบรรเทาปัญหา |
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) |
ตู่ไม่รู้ล้ม | เป็นการล้อคำ "โด่ไม่รู้ล้ม" ชื่อยาดองชนิดหนึ่ง สรรพคุณคึกคัก กระปี้กระเปร่า ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย สะท้อนถึงการทำงานของนายกรัฐมนตรีที่ไม่ว่าจะประสบปัญหา อุปสรรคการเมือง หรือชุมนุมขับไล่ถาโถม ก็ยังยืนหยัดฝ่าฟันอยู่ในตำแหน่งได้ต่อไป | ||
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
(รองนายกรัฐมนตรี) |
ป้อมไม่รู้โรย | ล้อจากคำว่า "บานไม่รู้โรย" ด้วยภาพลักษณ์ของพี่ใหญ่ 3 ป. ในวัย 75 ปี ยังคงทำหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีเคียงข้างน้อง ๆ ได้ แถมยังแผ่บารมีควบเก้าอี้หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล เหมือนกับดอกไม้ แม้จะบานนานมากแล้วแต่ก็ยังไม่รู้โรย ประกอบกับวลีติดปากที่มักจะตอบคำถามสื่อมวลชน แทบทุกครั้งว่า "ไม่รู้ ๆ" อยู่เสมอ | ||
นายวิษณุ เครืองาม
(รองนายกรัฐมนตรี) |
ไฮเตอร์ เซอร์วิส | เป็นการยกคุณสมบัติเด่นของนายวิษณุ ที่สามารถหาทางออกปัญหาหนักอกของคนในรัฐบาล โดยอาศัยช่องว่างทางกฎหมายได้อย่างเชี่ยวชาญ และมักถูกวิจารณ์เรื่องความน่าเชื่อถือของรัฐบาล เปรียบได้กับผลิตภัณฑ์ซักฟอกขาวยี่ห้อดังที่สามารถล้างคราบสกปรกให้ขาวสะอาดหมดจดได้ แต่อาจทำให้เนื้อผ้าเสียหาย ขาดความสวยงาม คล้ายกับชื่อเสียงของรัฐบาลที่สึกกร่อนตามไปด้วย | ||
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) |
เช้าสายบ่ายเคลม | สะท้อนการทำงานที่เห็นได้บ่อยครั้งว่ามักไม่ตรงต่อเวลา เข้าร่วมประชุมสายสม่ำเสมอ ส่วนในแง่การทำงานมักนิ่งเงียบเมื่อมีประเด็นที่ส่งผลลบต่อตนเองและพรรคประชาธิปัตย์ แต่หากเป็นเรื่องที่เป็นผลดีต่อคะแนนนิยมก็จะรีบเคลมผลงานดังกล่าวทันที | ||
นายอนุทิน ชาญวีรกุล
(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) |
ทินเนอร์ | ด้วยชื่อ "อนุทิน" ซึ่งพ้องกับสารระเหยที่มีทั้งคุณและโทษ ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หากสูดเดาเข้าไปมาก ๆ อาจทำลายระบบประสาท กระทบกระเทือนความรู้สึกนึกคิด คล้ายพฤติกรรมการใช้คำพูดที่ขาดความยั้งคิด ส่งผลลบต่อตัวเองและรัฐบาลโดยเฉพาะการให้สัมภาษณ์ จนเป็นประเด็นลดความน่าเชื่อถือของตนเอง เช่น "โควิด...กระจอก, การไล่นักท่องเที่ยวต่างชาติกลับประเทศ หรือตอบโต้กับบุคลากรทางการแพทย์" จนเกิดกระแสต่อต้านหลายครั้ง | ||
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม) |
ศักดิ์สบายสายเขียว | ลือลั่นมากกับปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว และอีกหลายโครงการที่ขัดแย้งกับหลายหน่วยงาน แต่ก็ยังได้รับการสนับสนุนเกื้อกูลอย่างดีจากนายกรัฐมนตรี โดยระยะหลังเรียกได้ว่า "ขึ้นหม้อ" ตามติดนายกรัฐมนตรีอย่างใกล้ชิด ส่วนการทำงานในพรรคภูมิใจไทยก็อยู่อย่างไร้ความกังวล เพราะมีพี่ชายที่ชื่อ "เนวิน ชิดชอบ" คอยดูแลปัดเป่าทุกข์ภัยต่าง ๆ ให้ | ||
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) |
พัง PORN | สะท้อนการทำงานที่ล้มเหลวในฐานะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานด้านโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นเครื่องมือหลักที่ถูกนำมาใช้โจมตีรัฐบาลอย่างหนัก แม้จะเปิดศูนย์ Anti-Fake News แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และล่าสุดเกิดดรามาหลังสั่งปิดการเข้าถึงเว็บไซต์ปลุกใจเสือป่าชื่อดัง จนเกิดกระแสต่อต้านและลุกลามบานปลาย | ||
นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) |
หวีดดับ | ภาพลักษณ์แกนนำ กปปส. ยังคงเป็นภาพจำที่ไม่อาจลบเลือนได้ เช่นเดียวกับนกหวีดที่ถูกยกมาใช้เป็นสัญลักษณ์เปรียบเปรย ได้กำกับดูแลงานกระทรวงเกรดเอ แต่กลับไม่มีผลงานโดดเด่นปรากฏให้เห็น มีเพียงข่าวกระแสต่อต้านรายวัน หนักหน่วงที่สุด คือ ถูกกลุ่มนักเรียนนักศึกษารวมตัวขับไล่ | ||
นายสันติ พร้อมพัฒน์
(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง) |
ค้างคลัง | ยังคงไปไม่ถึงดวงดาว โดยเฉพาะตำแหน่ง รมว.คลัง ที่เปลี่ยนตัวว่าการไปถึง 2 ครั้ง แต่สุดท้ายก็ยังเป็นคนนอกสายตา ถูกรั้งให้อยู่ได้แค่ตำแหน่ง รมช.คลัง เท่านั้น ทั้งที่ทุ่มเทให้กับพรรคอย่างมาก อีกทั้งยังออกตัวแรง แสดงออกชัดเจนว่า "พร้อมมาก" ที่จะทำหน้าที่นี้ก็ตาม | ||
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์
(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) |
แชมป์ไตรกีฬา | "ไตรกีฬา" ประกอบด้วยกีฬา 3 ชนิดคือ วิ่ง วายน้ำ และปั่นจักรยาน สะท้อนภาพลักษณ์ได้ครบถ้วนชัดเจนในบุคลิกที่สื่อมวลชนประจักษ์ ทั้งในตำแหน่งรัฐมนตรี และเหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ ที่มีทั้งการวิ่งเต้น การเข้าหาผู้ใหญ่ และการปลุกปั่นกระแส แม้จะถูกกล่าวหาว่าลืมบุญคุณผู้ชักนำเข้าสู่การเมือง แต่ก็ไม่สนใจเสียงวิจารณ์ เดินหน้าจนสามารถคว้าตำแหน่งที่ต้องการได้สำเร็จ ทั้งที่เป็นนักการเมือง และ ส.ส. สมัยแรกเท่านั้น | ||
วาทะแห่งปี | "ไม่ออก...แล้วผมทำผิดอะไรหรือ" | วาทะของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) กล่าวระหว่างตอบข้อสักถามสื่อมวลชน พร้อมกับบรรดาคณะรัฐมนตรีที่ยืนเรียงหน้าประกาศความเหนียวแน่น ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2563
หลังกลุ่มผู้ชุมนุมยื่นข้อเสนอให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง |
สถิติฉายาที่น่าสนใจ[แก้]
สถิติตำแหน่งรัฐมนตรีที่มักได้รับการตั้งฉายา[แก้]
อันดับที่ | ตำแหน่ง | ปี |
---|---|---|
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | 2531, 2534 (3 ตำแหน่ง), 2536, 2541 (2 ตำแหน่ง), 42 (2 ตำแหน่ง), 2548, 2552, 2553, | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | 2544, 2552, 2553, 2555, 2562, 2563, | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 2531, 2532, 2533, 2536, 2538, 2541, 2542, 2544, 2546, 2552, 2553, 2555, | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | 2531, 2532, 2533, 2537, 2542, 2546, 2552, 2554, | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | ||
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | 2548, | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | 2531, 2532, 2537, 2538, 2541, 2546, 2554, | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | 2532, 2533, 2534, 2541, 2545, 2546, 2552, 2555, 2562, 2563, | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | 2545, 2562, | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(อดีตคือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) |
2553, 2563, | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน | 2548, 2554, | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | 2532, 2533, 2534, 2536, 2537, 2538, 2541, 2544, 2546, 2547, 2552, 2553, 2554, 2555, 2562, 2563, | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 2531, 2532, 2534, 2536, 2537 (2 ตำแหน่ง), 2538, 2541, 2542, 2544, 2545, 2546, 2548, 2552, 2553, 2554, 2555, | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | 2534, 2538, 2545, 2548, 2554, | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน | ||
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม | 2546, | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
(อดีตคือ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) |
2554, 2555, | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | 2544, 2546, 2547, 2563, | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | 2532, 2545, 2547, 2562, 2563, | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 2532, 2533, 2536, 2538, 2542, 2547, 2548, |
สถิติตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยที่มักได้รับการตั้งฉายา[แก้]
อันดับที่ | ตำแหน่ง | ปี |
---|---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม | 2534, | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | 2536, 2538, 2541, 2553, 2563, | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | 2537, 2544, 2545, 2547, 2562 (2 ตำแหน่ง), 2563, | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | 2536, 2537, 2544, | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | 2531 (3 ตำแหน่ง), 2533 (2 ตำแหน่ง), 2541, 2542, 2544, | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | 2555, | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม | 2545, | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | 2533, 2542, | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | 2544, |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 วีระ เลิศสมพร. (2546). ชื่อ ฉายา และสมญานามทางการเมืองไทย พ.ศ. 2475-2545 เล่ม 3. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : กิจเสรีการพิมพ์. https://onedrive.live.com/?id=2771A82432FEB0BE%21231&cid=2771A82432FEB0BE
- ↑ สื่อตั้งฉายารัฐบาล 2548 "ประชาระทม" https://mgronline.com/daily/detail/9480000178881
- ↑ "ทักษิณ" ประกาศใครไม่เลือก ทรท.ช่วยทีหลัง https://mgronline.com/politics/detail/9480000150744
- ↑ สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายารัฐบาล 2552 "ใครเข้มแข็ง" https://www.posttoday.com/politic/news/5599
- ↑ ฉายารัฐบาล 2553 "รอดฉุกเฉิน" - นายกฯ "ซีมาร์กโลชัน" https://www.thairath.co.th/content/137597
- ↑ ฉายา 2554 "นายกฯ นกแก้ว" สื่อทำเนียบตั้งฉายาลักษณ์ รัฐบาล "ทักษิณส่วนหน้า" https://www.thairath.co.th/content/226130
- ↑ ฉายารัฐบาล ปี 2555 "พี่ชายคนแรก" ยิ่งลักษณ์ "ปูกรรเชียง"https://www.sanook.com/news/1161028/
- ↑ รวมฉายารัฐบาล รัฐมนตรี และ วาทะแห่งปี ประจำปี 2562 https://www.bbc.com/thai/thailand-50891016
- ↑ ฉายารัฐบาล 2563 : สื่อทำเนียบตั้งฉายา พล.อ. ประยุทธ์ "ตู่ไม่รู้ล้ม" กับรัฐบาล "VERY กู้" https://www.bbc.com/thai/thailand-55463071