ฉบับร่าง:ฉลอง อุชุโกมล
![]() | นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ GardVP123 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 25 วันก่อน (ล้างแคช)
ฉบับร่างนี้ถูกส่งสำหรับการทบทวนแล้วและกำลังรอการทบทวน |
ฉลอง อุชุโกมล | |
---|---|
เจ้ากรมสารบรรณทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2496 – 30 กันยายน พ.ศ. 2498 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | พลตรี ประทักษ์ จันทราภา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา |
เสียชีวิต | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 (77 ปี) |
คู่สมรส | จันทร์นวล จันทรโชติ (สมรส 2470) |
บุตร | 6 คน |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | ![]() |
ประจำการ | พ.ศ. 2468 – พ.ศ. 2507 |
ยศ | ![]() |
บังคับบัญชา | กรมสารบรรณทหารบก กรมกำลังพลทหารบก กรมแผนที่ทหารบก |
ผ่านศึก | กรณีพิพาทอินโดจีน กบฏบวรเดช สงครามมหาเอเซียบูรพา |
พลโท ฉลอง อุชุโกมล (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523) เป็นนายทหารชาวไทย ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น เจ้ากรมสารบรรณทหารบกคนแรก, เจ้ากรมกำลังพลทหารบก เจ้ากรมแผนที่ทหารบก และราชองครักษ์พิเศษ
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พลโท ฉลอง อุชุโกมล[1] เกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 (นับแบบปัจจุบันคือปี พ.ศ. 2446) เป็นบุตรของมนู และแสวง อุชุโกมล ณ ตำบลตลาดเหนือ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เมื่อวัยเด็กเมื่อ 2 ขวบ มารดาถึงแก่กรรม ต่อมาเมื่ออายุได้ 4 ขวบ บิดาได้ไปทำงานค้าขายที่รัฐปีนัง สหพันธรัฐมลายู และก็ขาดการติดต่อ เวลาต่อมา พลโท ฉลอง ได้อาศัยอยู่กับยายมาจนโต
หลังจากจบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 คุณยายของฉลองร้องขอให้บวชเป็นสามเณร ช่วงที่เป็นสามเณรก็ช่วยสอนหนังสือที่โรงเรียนตะกั่วป่า"เสนานุกูล" ในอายุ 13 ปี ต่อมาพระยาสุรินทราชา ซึ่งเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ได้ขอคุณยายให้สามเณรฉลองเป็นลูกบุญธรรม เพื่อไปชุบเลี้ยงที่ภูเก็ต
พลโท ฉลอง อุชุโกมล ได้สมรสกับจันทร์นวล จันทรโชติ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 เมื่อบุตรทั้งหมด 6 คน
การศึกษา
[แก้]พลโท ฉลอง[1] เริ่มศึกษาเมื่ออายุ 7 ขวบ โดยที่คุณยายไปฝากตัวที่วัดในสำนักพระใบฎีกาแดง เจ้าอาวาสวัดเสนานุชรังสรรค์ ต่อมาจึงเข้าเรียนที่โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล" เริ่มศึกษาประถมศึกษาปีที่ 1 ต่อมาอีก 5 ปี ก็จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อมา ในปี พ.ศ. 2459 หลังจากสึกการเป็นสามเณร ได้ไปศึกษาต่อที่โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ในชั้นมัธยมปีที่ 4 - 5 ในปี พ.ศ. 2461 ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ จังหวัดพระนคร แต่เมื่อไกล้สิ้นปี ฉลองจึงต้องเรียนซ้ำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อีก
หลังจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และเข้าไปเรียนในโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในปี พ.ศ. 2463 เลขประจำตัว 3427 และจบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2468 สอบได้ลำดับที่ 12 ในจำนวน 50 คนเศษ
โรงเรียนสารบรรณทหารบก
[แก้]โรงเรียนทหารสารบรรณ กำเนิดโดยความดำริของพลโท ฉลอง อุชุโกมล เจ้ากรมสารบรรณทหารบกคนแรก ที่เห็นสมควรเปิดให้การศึกษาวิทยาการของทหารสารบรรณ เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติงานด้านสารบรรณ การจัดการด้านธุรการ ตลอดจนระเบียบแบบธรรมเนียม ทำเนียบและประวัติรับราชการ[2]
การทำงาน
[แก้]พลโท ฉลอง อุชุโกมล ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น[1]
ราชการทหาร
[แก้]- พ.ศ. 2483 : ประจำแผนกที่ 1 กรมเสนาธิการทหารบก (สนาม) ในช่วงกรณีพิพาทอินโดจีน
- พ.ศ. 2487 : ประจำกรมเสนาธิการ จังหวัดเพรชบูรณ์ ในช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพา
- พ.ศ. 2591 : เสนาธิการ กรมแผ่นที่ทหารบก
- พ.ศ. 2495 : เจ้ากรมสารบรรณทหารบก[3]
- พ.ศ. 2498 : เจ้ากรมกำลังพลทหารบก[4]
- พ.ศ. 2501 : เจ้ากรมแผนที่ทหาร[5]
ราชการพิเศษ
[แก้]- พ.ศ. 2491 : ราชองครักษ์เวร
- พ.ศ. 2500 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภท 2
- พ.ศ. 2491 : สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
- พ.ศ. 2491 : ราชองครักษ์พิเศษ
ถึงแก่กรรม
[แก้]พลโท ฉลอง อุชุโกมล ได้ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 เวลา 14:00 น. ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า สิริอายุ 77 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดโสมนัสราชวรวิหาร[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พลโท ฉลอง อุชุโกมล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้[1]
- พ.ศ. 2505 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2502 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2484 –
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[8]
- พ.ศ. 2505 –
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[9]
- พ.ศ. 2477 –
เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[10]
- พ.ศ. 2484 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[11]
- พ.ศ. 2497 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[12]
- พ.ศ. 2468 –
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 –
เหรียญพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 –
เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 พระเสด็จสุเรนทราธิบดี (เปีย), เจ้าพระยา, 2410-2459. พลเมืองดี เมืองตะกั่วป่า. [ม.ป.ท.]: ไทยมิตรการพิมพ์; 2523.
- ↑ โรงเรียนทหารสารบรรณ, ประวัติโรงเรียนทหารสารบรรณ
- ↑ กรมสารบรรณทหารบก, ทำเนียบอดีตเจ้ากรมสารบรรณทหารบก
- ↑ กรมกำลังพลทหารบก, ผู้บังคับบัญชาในอดีต
- ↑ กรมแผนที่ทหาร, รายนามเจ้ากรมแผนที่ทหาร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๙๗, ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๙๓, ๓๐ กันยายน ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๓๓, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๖ ง หน้า ๓๕๐, ๒๖ มกราคม ๒๔๙๗
![]() | โปรดรอสักครู่
หน้านี้อาจใช้ระยะเวลานานถึงหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากฉบับร่างจะได้รับการทบทวนตามลำดับ ขณะนี้มี 128 หน้าที่กำลังรอการทบทวน
ขอความช่วยเหลือ
วิธีปรับปรุงบทความของคุณ
คุณยังสามารถดู วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร และ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ เพื่อค้นหาตัวอย่างบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดียในหัวข้อที่คล้ายกับบทความที่คุณแจ้งทบทวน ทรัพยากรการแก้ไข
|