ฉบับร่าง:การถอดถอนยุน ซ็อก-ย็อล
![]() | โปรดรอสักครู่
หน้านี้อาจใช้ระยะเวลานานถึงหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากฉบับร่างจะได้รับการทบทวนตามลำดับ ขณะนี้มี 164 หน้าที่กำลังรอการทบทวน
ขอความช่วยเหลือ
วิธีปรับปรุงบทความของคุณ
คุณยังสามารถดู วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร และ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ เพื่อค้นหาตัวอย่างบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดียในหัวข้อที่คล้ายกับบทความที่คุณแจ้งทบทวน ทรัพยากรการแก้ไข
เครื่องมือตรวจสอบ
|
![]() | นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ CommonsDelinker (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 2 เดือนก่อน (ล้างแคช)
ฉบับร่างนี้ถูกส่งสำหรับการทบทวนแล้วและกำลังรอการทบทวน |
การถอดถอนยุน ซ็อก-ย็อล | |
---|---|
![]() อู ว็อน-ชิก ประธานสมัชชาแห่งชาติเกาหลีใต้ ลงนามในคำฟ้องถอดถอนยุน ซ็อก-ย็อล ออกจากตำแหน่ง ต่อหน้าสื่อมวลชน หลังจากที่ญัตติให้ฟ้องถอดถอนนั้นได้รับความเห็นชอบในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | |
ผู้ถูกกล่าวหา | ยุน ซ็อก-ย็อล ประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนที่ 13 |
วันที่ | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2567 |
ข้อกล่าวหา | การกบฏ[1] |
สาเหตุ | การประกาศกฎอัยการศึก |
การลงมติให้ฟ้องถอดถอนครั้งแรก (7 ธันวาคม พ.ศ. 2567) | |
งดออกเสียง | 105 / 300 |
ผลการลงมติ | ไม่สำเร็จเนื่องจากขาดองค์ประชุม |
การลงมติให้ฟ้องถอดถอนครั้งที่สอง (14 ธันวาคม พ.ศ. 2567) | |
คะแนนเห็นด้วย | 204 / 300
|
คะแนนไม่เห็นด้วย | 85 / 300
|
ผลการลงมติ | สำเร็จ ประธานาธิบดีหยุดปฏิบัติหน้าที่ระหว่างถูกฟ้อง และนายกรัฐมนตรีรักษาการแทน |
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2024 ยุน ซ็อก-ย็อล ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ถูกสมัชชาแห่งชาติลงมติให้ฟ้องถอดถอนออกจากตำแหน่งหลังมีญัตติให้ฟ้องถอดถอนเป็นครั้งที่สองสืบเนื่องจากการประกาศกฎอัยการศึกของยุน ซ็อก-ย็อล เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ซึ่งถูกสมัชชาแห่งชาติปฏิเสธและมีประกาศยกเลิกอีกหกชั่วโมงถัดมาในวันที่ 4 ธันวาคม
สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ 204 คน จากทั้งหมด 300 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่เกิน 2 ใน 3 ตามที่กำหนด ได้ลงคะแนนเสียงให้ฟ้องถอดถอนยุน ซ็อก-ย็อล ทำให้เขาหยุดปฏิบัติหน้าที่ประธานาธิบดีเป็นการชั่วคราว ขั้นตอนต่อไปคือศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาและวินิจฉัยว่าจะถอดถอนตามคำฟ้องหรือไม่ โดยระหว่างนั้น ฮัน ด็อก-ซู นายกรัฐมนตรี จะรักษาการแทนประธานาธิบดี
ก่อนหน้านี้มีความพยายามเสนอญัตติอย่างเดียวกันเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2024 แต่ถูกพรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นฝ่ายรัฐบาลคว่ำบาตร ทำให้ขาดองค์ประชุมที่จะลงมติ การฟ้องถอดถอนประธานาธิบดีครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ในประวัติศาสตร์เกาหลีใต้ โดยก่อนหน้านี้มีประธานาธิบดีที่ถูกฟ้องถอดถอนเช่นเดียวกับยุนอีก 2 คน คือ โน มู-ฮย็อน ซึ่งถูกฟ้องในปี 2004 แต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไม่ถอดถอน และพัก กึน-ฮเย ซึ่งถูกฟ้องในปี 2017 และถูกศาลรัฐธรรมนูญถอดถอน
ภูมิหลัง
[แก้]กระบวนการ
[แก้]กระบวนการที่ระบุไว้ในมาตรา 65 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ ฉบับที่ 10 ซึ่งเริ่มใช้เมื่อปี 1987 คือ สมัชชาแห่งชาติจะฟ้องศาลรัฐธรรมนุญให้ถอดถอนประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี หรือเจ้าหน้าของรัฐอื่นใด ออกจากตำแหน่งก็ได้ ถ้าบุคคลนั้นฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นในขณะปฏิบัติหน้าที่ทางการ[2][3]
ญัตติให้ฟ้องถอดถอนประธานาธิบดีจะต้องได้รับคะแนนเสียงจาก 2 ใน 3 ของสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ คือ อย่างน้อย 200 เสียงจากทั้งหมด 300 เสียง[4] เมื่อสมัชชาแห่งชาติเห็นชอบกับญัตติแล้ว ผู้ถูกฟ้องจะต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ทันที เพื่อรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อไป แต่การฟ้องนี้มีขอบเขตจำกัด คือ เป็นไปเพื่อถอดถอดจากตำแหน่งสาธารณะเท่านั้น ไม่ส่งผลเป็นการลงโทษใด ๆ เพิ่มเติม[5]
ตามความในรัฐบัญญัติศาลรัฐธรรมนูญที่เริ่มใช้ในปี 1988 ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องมึคำวินิจฉัยภายใน 180 วันหลังจากได้รับคดี แต่ถ้าผู้ถูกฟ้องพ้นจากตำแหน่งก่อนวินิจฉัยแล้ว ก็จะถูกยกฟ้องแทน[5] คำวินิจฉัยให้ถอดถอนประธานาธิบดีต้องได้คะแนนเสียงจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอย่างน้อย 6 คนจากทั้งหมด 9 คน แต่ปัจจุบันมีตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่างลง 3 ตำแหน่ง คำวินิจฉัยให้ถอดถอนประธานาธิบดีจึงต้องได้คะแนนเสียงจากตุลาการทั้ง 6 คน ที่เหลือ อย่างไรก็ดี ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าศาลจะรับพิจารณาคดีในระหว่างที่มีตำแหน่งว่างดังกล่าวนี้หรือไม่[4]
เมื่อสมัชชาแห่งชาติเห็นชอบให้ฟ้องถอดถอนประธานาธิบดี ประธานาธิบดีจะต้องหยุดการปฏิบัติหน้าที่ และนายกรัฐมนตรีจะรักษาการแทนประธานาธิบดี ถ้าประธานาธิบดีลาออกหรือถูกศาลรัฐธรรมนูญถอดถอน จะต้องจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีก่อนกำหนดปรกติภายใน 60 วัน ในระหว่างเวลาดังกล่าวนี้ นายกรัฐมนตรีจะยังรักษาการแทนประธานาธิบดีต่อไปจนกว่าจะได้ประธานาธิบดีคนใหม่[4]
ส่วนต่อไปนี้ยังไม่ได้ตรวจ
[แก้]ข้อเรียกร้องก่อนหน้านี้ให้ถอดถอนยุน
[แก้]ในเดือนกรกฎาคม 2024 เริ่มมีการยื่นคำร้องออนไลน์บนเว็บไซต์ของสภาแห่งชาติเพื่อเรียกร้องให้ถอดถอนยุน โดยคำร้องดังกล่าวมีผู้ลงชื่อสนับสนุนกว่า 1 ล้านคน โดยตามกฎหมายของเกาหลีใต้ คำร้องที่มีผู้ลงชื่อเกิน 50,000 คนจะต้องได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการรัฐสภา เว็บไซต์ดังกล่าวประสบปัญหาล่ม มีผู้เข้าใช้งานพร้อมกันกว่า 22,000 คน ทำให้ต้องรอการเข้าถึงเว็บไซต์ประมาณ 30 นาที[6][7]
ในเดือนพฤศจิกายน 2024 ศาสตราจารย์และนักวิจัยกว่า 3,000 คนจากมหาวิทยาลัยหลายแห่งลงนามในจดหมายเรียกร้องให้ยุนลาออก[8][9] ผู้ให้สัมภาษณ์รายหนึ่งคาดการณ์ว่าจดหมายฉบับดังกล่าวมีลายเซ็นจากนักวิชาการมากที่สุดนับตั้งแต่การประท้วงในยุคการประท้วงต่อต้านรัฐบาลพัก กึน-ฮเย[8]
ต่อมาเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน มีนักบวชคาทอลิกในเกาหลีใต้จำนวน 1,466 คนออกแถลงการณ์หัวข้อ "คนเราจะเป็นได้ถึงขนาดนี้เชียวหรือ" (어째서 사람이 이 모양인가) เพื่อเรียกร้องให้ถอดถอนยุนเช่นกัน พร้อมกล่าวหาว่ายุนเป็นเพียงหุ่นเชิดที่ถูกชักใยโดยผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่มีความเข้าใจในบทบาทของตนเอง และมอบอำนาจซึ่งประชาชนไว้วางใจให้กับภรรยาของเขาแทน[10]
การประกาศกฎอัยการศึก
[แก้]ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ประธานาธิบดียุนประกาศกฎอัยการศึกในเกาหลีใต้ โดยให้เหตุผลว่าจำเป็นต้องประกาศเพื่อปกป้องประเทศจาก “กลุ่มต่อต้านรัฐ” กองทัพและตำรวจพยายามสกัดกั้นไม่ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าสู่ห้องประชุมสมัชชาแห่งชาติ ส่งผลให้เกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจและกองทัพ กลุ่มผู้ประท้วง และเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยฝ่ายนิติบัญญัติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 190 คนที่อยู่ในห้องประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยกเลิกกฎอัยการศึก โดยบังคับให้ยุนยุติกฎอัยการศึกภายในเวลาประมาณ 04:00 KST (UTC+9) ของวันที่ 4 ธันวาคม[11]
ญัตติถอดถอนที่เกี่ยวข้อง
[แก้]นอกเหนือจากยุนแล้ว เจ้าหน้าที่หลายคนยังถูกยื่นข้อเสนอและญัตติถอดถอนเนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งรวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คิม ยง-ฮย็อน[12] ซึ่งลาออกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม[13] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อี ซัง-มิน ซึ่งถูกยื่นญัตติถอดถอนโดยพรรคประชาธิปไตยแห่งเกาหลีที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม[14] โดยอีลาออกในวันถัดมาคือวันที่ 8 ธันวาคม[15][16]
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม รัฐสภามีมติผ่านญัตติถอดถอนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พัก ซ็อง-แจ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โช จี-โฮ[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Smith, Sheila; Kim, Duyeon (2024-12-09). "President Yoon's Impeachment? The View From Seoul | Council on Foreign Relations". Council on Foreign Relations (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
- ↑ Article 65, Clause 1 of the Constitution of South Korea (1987)
- ↑ Mosler, Hannes B. (2017). "The Institution of Presidential Impeachment in South Korea, 1992–2017". Verfassung und Recht in Übersee / Law and Politics in Africa, Asia and Latin America. 50 (2): 119–120. doi:10.5771/0506-7286-2017-2-111. ISSN 0506-7286. JSTOR 26429313.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Rashid, Raphael (5 December 2024). "How South Korea's impeachment process works after Yoon Suk Yeol's martial law bid". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 6 December 2024.
- ↑ 5.0 5.1 Butts, Dylan (4 December 2024). "South Korean President Yoon faces impeachment: How did we get here?". CNBC. สืบค้นเมื่อ 5 December 2024.
- ↑ "'Public anger': Hundreds of thousands sign online petition demanding impeachment of President Yoon". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2 July 2024. สืบค้นเมื่อ 9 December 2024.
- ↑ "[Minute to Read] Over 1 m citizens demand President Yoon's impeachment in online petition". The Chosun Daily (ภาษาอังกฤษ). 3 July 2024. สืบค้นเมื่อ 9 December 2024.
- ↑ 8.0 8.1 Lee, Hae-rin (23 November 2024). "Over 3,000 university professors demand President Yoon Suk Yeol's resignation". The Korea Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 24 November 2024.
- ↑ 김, 휘란 (14 November 2024). ""권력 사유화 윤석열 퇴진" 고려대·국민대 교수들도 시국선언". JTBC (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 28 November 2024.
- ↑ ""윤석열, 사람이 어째서 그 모양인가"..천주교 사제 1466명 시국선언". MBC (ภาษาเกาหลี). 28 November 2024. สืบค้นเมื่อ 28 November 2024.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อReuters c
- ↑ "Defense minister faces treason charges for proposing declaration of martial law". The Korea Times. 4 December 2024. สืบค้นเมื่อ 4 December 2024.
- ↑ Kim, Eun-jung (5 December 2024). "(LEAD) Yoon accepts defense minister's resignation amid martial law chaos". Yonhap News Agency (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 December 2024.
- ↑ Ahn, Sung-mi (7 December 2024). "Main opposition files impeachment motion against Interior Minister Lee Sang-min". The Korea Herald (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 7 December 2024.
- ↑ "Interior Minister Lee Sang-min steps down amid martial law turmoil". The Korea Times (ภาษาอังกฤษ). 8 December 2024. สืบค้นเมื่อ 9 December 2024.
- ↑ Park, Jin-seong; Park, Su-hyeon (8 December 2024). "Interior minister linked to martial law allegations resigns; Yoon approves". The Chosun Ilbo (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 9 December 2024.
- ↑ "Ruling party chief supports impeaching president". The Korea Times. 12 December 2024. สืบค้นเมื่อ 12 December 2024.