จ้าว เล่อจี้
จ้าว เล่อจี้ | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
赵乐际 | |||||||||||
![]() จ้าวใน ค.ศ. 2024 | |||||||||||
ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ คนที่ 11 | |||||||||||
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 มีนาคม ค.ศ. 2023 | |||||||||||
รองประธาน | |||||||||||
เลขาธิการ | หลิว ฉี | ||||||||||
ก่อนหน้า | ลี่ จ้านชู | ||||||||||
เลขาธิการคณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลาง | |||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 25 ตุลาคม ค.ศ. 2017 – 23 ตุลาคม ค.ศ. 2022 | |||||||||||
รอง | หยาง เสี่ยวตู้ | ||||||||||
เลขาธิการใหญ่ | สี จิ้นผิง | ||||||||||
ก่อนหน้า | หวัง ฉีชาน | ||||||||||
ถัดไป | หลี่ ซี | ||||||||||
หัวหน้ากรมองค์การพรรคคอมมิวนิสต์จีน | |||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 – 28 ตุลาคม ค.ศ. 2017 | |||||||||||
รอง | เฉิน ซี | ||||||||||
เลขธิการใหญ่ | สี จิ้นผิง | ||||||||||
ก่อนหน้า | หลี่ ยฺเหวียนเฉา | ||||||||||
ถัดไป | เฉิน ซี | ||||||||||
เลขาธิการพรรคประจำมณฑลฉ่านซี | |||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 25 มีนาคม ค.ศ. 2007 – 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 | |||||||||||
ก่อนหน้า | หลี่ เจี้ยนกั๋ว | ||||||||||
ถัดไป | จ้าว เจิงหย่ง | ||||||||||
เลขาธิการพรรคประจำมณฑลชิงไห่ | |||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 19 สิงหาคม ค.ศ. 2003 – 26 มีนาคม ค.ศ. 2007 | |||||||||||
ก่อนหน้า | ซู หรง | ||||||||||
ถัดไป | เฉียง เว่ย์ | ||||||||||
ผู้ว่าการมณฑลชิงไห่ | |||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 16 สิงหาคม ค.ศ. 1999 – 20 ตุลาคม ค.ศ. 2003 | |||||||||||
ก่อนหน้า | ไป๋ เอินเผย์ | ||||||||||
ถัดไป | หยาง ฉวนถัง | ||||||||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||
เกิด | ซีหนิง มณฑลชิงไห่ สาธารณรัฐประชาชนจีน | 8 มีนาคม ค.ศ. 1958||||||||||
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์จีน (1976–ปัจจุบัน) | ||||||||||
บุตร | 2 | ||||||||||
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยปักกิ่ง | ||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 赵乐际 | ||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 趙樂際 | ||||||||||
| |||||||||||
จ้าว เล่อจี้ (จีน: 赵乐际; พินอิน: Zhào Lèjì; เกิด 8 มีนาคม ค.ศ. 1958) เป็นนักการเมืองชาวจีน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติและเป็นสมาชิกอันดับสามของคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ในอาชีพการเมืองช่วงแรกของเขา เขาเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคประจำมณฑลชิงไห่ เลขาธิการพรรคประจำมณฑลฉ่านซี และหัวหน้ากรมองค์การพรรคคอมมิวนิสต์จีน เขาเข้าสู่กรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนใน ค.ศ. 2012 และได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองในห้าปีต่อมา ระหว่าง ค.ศ. 2017 ถึง 2022 เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลาง หน่วยงานต่อต้านการทุจริตระดับสูงสุดของพรรค
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]จ้าว เล่อจี้ เกิดที่ซีหนิง มณฑลชิงไห่ เมื่อ 8 มีนาคม ค.ศ. 1958 พ่อแม่ของเขามาจากซีอาน มณฑลฉ่านซี ครอบครัวย้ายไปชิงไห่โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการช่วยเหลือพื้นที่ชายแดนในสมัยเหมา[1] ใน ค.ศ. 1974 ในช่วงปลายของการปฏิวัติวัฒนธรรม จ้าวเดินทางไปยังชนบทในฐานะเยาวชนที่ถูกส่งไปทำงานใช้แรงงานที่คอมมูนเกษตรกรรมในอำเภอกุ้ยเต๋อ มณฑลชิงไห่ หลังทำงานที่นั่นประมาณหนึ่งปี จ้าวก็กลับมายังเมืองเพื่อเป็นผู้ช่วยฝ่ายสื่อสารที่กรมพาณิชย์ของรัฐบาลมณฑลชิงไห่[1]
จ้าวเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนใน ค.ศ. 1975 และเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งใน ค.ศ. 1977 ในฐานะนักศึกษาคนงาน-ชาวนา-ทหาร เขาได้รับปริญญาตรีสาขาปรัชญาจากที่นั่นในเดือนมกราคม ค.ศ. 1980 จากนั้นเขาใช้เวลาสามปีสอนที่โรงเรียนการพาณิชย์ชิงไห่ โดยดำรงตำแหน่งต่าง ๆ เช่น ครูผู้สอน เลขาธิการฝ่ายสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์ (CYL) ของกรมการพาณิชย์ประจำมณฏล และรองหัวหน้าสำนักงานคณบดี ใน ค.ศ. 1983 เขากลับไปทำงานที่กรมพาณิชย์ชิงไห่ในตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคประจำกรมการเมือง และยังดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมาธิการสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์ของกรม เขาทำงานอยู่ที่นั่นจนถึง ค.ศ. 1984[1]
ระหว่าง ค.ศ. 1984 ถึง 1986 เขาทำงานเป็นผู้จัดการใหญ่และเลขาธิการพรรคของบริษัทอิเล็กทรอนิกส์และเคมีภัณฑ์ชิงไห่ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1986 เขาดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าและรองเลขาธิการพรรคประจำกรมพาณิชย์ของมณฑล และได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าและเลขาธิการพรรคใน ค.ศ. 1991 โดยทำงานอยู่ที่นั่นจนถึง ค.ศ. 1994[1]
อาชีพท้องถิ่น
[แก้]ชิงไห่
[แก้]ใน ค.ศ. 1993 จ้าวได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการมณฑลชิงไห่ เข้าสู่รัฐบาลประจำมณฑล และกลายเป็นส่วนหนึ่งของวงในของอิ่น เค่อเชิง เลขาธิการพรรคประจำมณฑลชิงไห่ในขณะนั้น[1] ต่อมาใน ค.ศ. 1994 เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นรองผู้ว่าการมณฑลชิงไห่ และใน ค.ศ. 1997 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคประจำเมืองซีหนิงบ้านเกิดของเขา เขาขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าการมณฑลใน ค.ศ. 1999 ขณะอายุ 42 ปี ทำให้เขากลายเป็นผู้ว่าการมณฑลที่อายุน้อยที่สุดในประเทศในเวลานั้น[1] เขาได้รับแต่งตั้งเพิ่มเติมให้เป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนหลังการประชุมสภาแห่งชาติพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 16 ใน ค.ศ. 2002[1]
จ้าวเติบโตอย่างรวดเร็ว ก้าวกระโดดข้ามหลายตำแหน่งในเวลาอันสั้น แต่เส้นทางความก้าวหน้าของเขาก็เริ่มชะลอตัวในช่วงเปลี่ยนศตวรรษ จ้าวดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคประจำมณฑลชิงไห่ใน ค.ศ. 2003 หลังใช้เวลาเกือบห้าปีในสำนักงานของผู้ว่าการ[1] ส่วนหนึ่งของความไม่สามารถของเขาที่จะย้ายไปยังมณฑลที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจและมีบทบาททางการเมืองที่โดดเด่นมากกว่านั้นถูกโยงไปถึงภูมิหลังของเขาที่เป็นชาวฉ่านซี เขาพูดภาษาถิ่นฉ่านซีแม้ในการประชุมรัฐบาล[2]
วาระการดำรงตำแหน่งของจ้าวในชิงไห่โดดเด่นด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และ GDP ของมณฑลเพิ่มขึ้นสามเท่าตั้งแต่ตอนเขาเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการกระทั่งเขาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคใน ค.ศ. 2007 มีคนกล่าวว่าจ้าวมีท่าทีผ่อนปรนกับปัญหาชนกลุ่มน้อยและสนับสนุนโครงการลงทุนที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ผลงานของเขาในชิงไห่ได้รับการชื่นชมจากผู้นำส่วนกลางของพรรค[2]
ฉ่านซี
[แก้]ใน ค.ศ. 2007 จ้าวถูกย้ายไปเป็นเลขาธิการพรรคประจำมณฑลฉ่านซี บ้านเกิดของพ่อแม่เขา ก่อนหน้านี้จ้าวได้รับตำแหน่งสูงสุดทั้งในมณฑล "บ้านเกิด" ของเขา และมณฑลที่เขาเกิด การกระทำนี้เป็นการ "แหกกฎที่ไม่ได้พูดถึง" ในพรรคคอมมิวนิสต์ที่ระบุว่า เลขาธิการพรรคไม่ควรมาจากมณฑลบ้านเกิดของตน สิ่งนี้ถูกมองว่าเป็นข้อบ่งชี้ถึงความไว้วางใจที่ผู้นำส่วนกลางมีต่อเจ้า ใน ค.ศ. 2008 ตัวเลขการเติบโตของ GDP ของมณฑลฉ่านซีแตะร้อยละ 15 ทำให้กลายเป็นหนึ่งในสองหน่วยการปกครองระดับมณฑลที่ตั้งเป้าหมายอัตราการเติบโตของ GDP ไว้ที่มากกว่าร้อยละ 13 ในมณฑลฉ่านซี จ้าวดูแลการขยายและการพัฒนาเข็มขัดเศรษฐกิจกวนจง-เทียนสฉ่ย (关中-天水)[2]
ผู้นำส่วนกลาง
[แก้]หลังการประชุมสภาแห่งชาติพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2012 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกกรมการเมืองและหัวหน้ากรมองค์การพรรคคอมมิวนิสต์จีน[3][4]
คณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลาง
[แก้]
จ้าวได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกอันดับที่ 6 ของคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมือง องค์กรตัดสินใจสูงสุดของจีน ในการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 1 ของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 19 ในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2017[5] ในการประชุมเดียวกันนั้น เขาประสบความสำเร็จในการสืบทอดตำแหน่งจากหวัง ฉีชาน เป็นเลขาธิการคณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลาง สถาบันควบคุมภายในสูงสุดของพรรคที่ได้รับการกล่าวถึงว่าดำเนินตามการรณรงค์ต่อต้านการทุจริตของสี จิ้นผิง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน[6] ตามรายงานของเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล จ้าว "ไม่ค่อยเข้ามาแทรกแซงการทำงานและแทบไม่ได้ตัดสินใจเรื่องการสอบสวนใด ๆ เลยในช่วงดำรงตำแหน่ง"[7] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2021 จ้าวกล่าวในการประชุมและประกาศว่าจะมีการตรวจสอบบริษัทการเงินขนาดใหญ่และหน่วยงานกำกับดูแลทั่วประเทศ[8]
คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ
[แก้]ภายหลังการประชุมเต็มคณะครั้งแรกของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 20 จ้าวได้รับแต่งตั้งกลับเข้าสู่คณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมือง โดยดำรงตำแหน่งสมาชิกอันดับ 3[9] และหลี่ ซีขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลางแทนเขา วันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 2023 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ สืบทอดต่อจากลี่ จ้านชู[10]
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2023 จ่าวเยือนเซเนกัลและโมร็อกโก[11] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2024 จ้าวเดินทางเยือนเกาหลีเหนือ ทำให้เขาเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดของจีนที่เดินทางเยือนเกาหลีเหนือนับตั้งแต่สี จิ้นผิงเดินทางเยือนเกาหลีเหนือใน ค.ศ. 2019 ระหว่างการเยือน จ้าวจัดการประชุมกับชเว รย็อง-แฮ คู่ตำแหน่งของเขาจากเกาหลีเหนือ ผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติของเกาหลีเหนือและกับคิม จ็อง-อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ[12]
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 ระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ จ้าวให้คำมั่นว่าจะแก้ไขกฎหมายการศึกษาด้านการป้องกันประเทศ โดยมุ่งเน้นที่ "การปรับปรุงระบบและความสามารถด้านความมั่นคงแห่งชาติของจีนให้ทันสมัย เขายังส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายความมั่นคงคอมพิวเตอร์ด้วย[13] เดือนเดียวกันนั้น เขาเข้าร่วมการประชุมฟอรัมปั๋วอ้าวแห่งเอเชีย ซึ่งเขาเรียกร้องให้ประเทศในเอเชีย "ร่วมกันรักษาความมั่นคงในเอเชีย" เขายังเรียกร้องให้มีการนำข้อริเริ่มความมั่นคงโลกไปปฏิบัติ[14]
จ้าวไม่ได้เข้าร่วมการประชุมปิดสมัยประชุมที่สามของสภาประชาชนแห่งชาติชุดที่ 14 เมื่อ 11 มีนาคม ค.ศ. 2025 เนื่องจากติดเชื้อทางเดินหายใจ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษที่การประชุมปิดสมัยประชุมของสภาประชาชนแห่งชาติไม่มีสมาชิกคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองเข้าร่วมครบทุกคน[15] รองประธานหลี่ หงจง ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่แทนจ้าว[16] เขาปรากฏตัวอีกครั้งเมื่อ 12 มีนาคม ขณะเข้าร่วมการประชุมกับพนักงานสื่อของรัฐเพื่อขอบคุณพวกเขาสำหรับการรายงานข่าวการประชุม[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 "Zhao Leji 赵乐际" (PDF). Brookings Institution. สืบค้นเมื่อ 11 September 2023.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 新任中共组织部长赵乐际的背景. Boxun via Zhou Yahui (ภาษาChinese (China)). 2012-11-16. สืบค้นเมื่อ 2018-11-26.
- ↑ "Zhao Leji appointed head of CPC Organization Department". People's Daily. Xinhua News Agency. 2012-11-19. สืบค้นเมื่อ 2018-11-26.
- ↑ "China Vitae : Biography of Zhao Leji". chinavitae.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-27. สืบค้นเมื่อ 2021-10-27.
- ↑ Wen, Philip; Blanchard, Ben (2017-10-24). "China unveils new leadership line-up with no clear successor to Xi". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 25, 2017. สืบค้นเมื่อ 2018-11-26.
- ↑ Chow, Chung-yan (2017-10-25). "China's new leadership team unveiled: Zhao Leji named as anti-graft chief while Xi Jinping elevates trusted deputy to top military role". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 2018-11-26.
- ↑ Wong, Chun Han; Zhai, Keith (2022-10-23). "China's Leaders: Xi Jinping and His Men". The Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2023-09-11.
- ↑ Tang, Frank (27 September 2021). "China steps up anti-corruption drive as Evergrande crisis puts spotlight on financial risk". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 19 December 2024.
- ↑ Jun, Mai; Zhuang, Pinghui; Guo, Rui (2022-10-23). "Xi chooses fresh faces to confront new term of 'unparalleled complexity'". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-10-29.
- ↑ Cai, Vanessa (10 March 2023). "Former anti-graft chief Zhao Leji appointed China's top lawmaker". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 11 September 2023.
- ↑ Nyabiage, Jevans (29 June 2023). "Why China gives Africa's leaders the red-carpet treatment – and a chance to ask for favours". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 18 December 2024.
- ↑ "Chinese official talks with North Korean counterpart in the nations' highest-level meeting in years". Associated Press. 12 April 2024.
- ↑ Wong, Hayley (8 March 2024). "'Two sessions' 2024: China to revise defence education law to promote patriotism and support for military". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 18 December 2024.
- ↑ Leahy, Joe (2024-03-28). "Xi Jinping lieutenant calls for Asia to 'jointly' manage its own security". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 2024-12-19.
- ↑ "China's No. 3 Leader Skips Key Political Meeting Citing Illness". Bloomberg News. 11 March 2025. สืบค้นเมื่อ 11 March 2025.
- ↑ Liang, Xinlu; Zheng, William; Chen, Alyssa (11 March 2025). "Why was China's No 3 official Zhao Leji missing at the end of 'two sessions'?". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 11 March 2025.
- ↑ Wong, Enoch (12 March 2025). "China's No 3 Zhao Leji returns to public spotlight after missing end of 'two sessions'". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 12 March 2025.