จ่าง แซ่ตั้ง
จ่าง แซ่ตั้ง | |
---|---|
![]() จ่าง แซ่ตั้ง ผู้ทำงานบทกวีรูปธรรมและงานศิลปนามธรรมเป็นคนแรก | |
เกิด | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 |
เสียชีวิต | 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 (56 ปี) |
สัญชาติ | ![]() |
อาชีพ | นักเขียน กวี จิตรกร |
มีชื่อเสียงจาก | เป็นศิลปินอิสระที่ทำงานด้านบทกวีรูปธรรม และภาพวาดนามธรรมคนแรกของประเทศไทย |
คู่สมรส | นางเซี๊ยะ แซ่ตั้ง |
จ่าง แซ่ตั้ง (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533) เป็นศิลปิน นักเขียนบทกวี และจิตรกร เขามีเชื้อสายจีน โดยบิดาอพยพมาจากประเทศจีน ส่วนมารดาเป็นคนจีนเกิดในประเทศไทย จ่างเกิดที่ตลาดสมเด็จ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี เข้าเรียนหนังสือระดับชั้นมูลที่โรงเรียนเทศบาลสอง วัดพิชัยญาติ แต่เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง จึงไม่ได้เรียนหนังสือที่ไหนอีก
จ่าง แซ่ตั้ง สมรสกับนางเซี้ยะ แซ่ตั้ง มีบุตร 7 คน เสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 อายุ 56 ปี
การทำงาน[แก้]
จ่าง แซ่ตั้ง ชื่นชอบการวาดรูปมาตั้งแต่เด็ก และได้ฝึกฝนฝีมือการวาดภาพด้วยตัวเอง ใน พ.ศ. 2505 เริ่มเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังสีน้ำมันขนาดใหญ่ โดยใช้นิ้วมือแทนพู่กัน เป็นภาพเจ้าแม่โพธิสัตว์ ที่มูลนิธิโรงพยาบาลเทียน โดยเขาเริ่มเขียนเรื่องสั้นใน พ.ศ. 2506 เรื่อง “เวลาอันยาวนาน” พิมพ์ในหนังสือรับน้องใหม่ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 เริ่มเขียนบทกวี ที่มีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เรียกว่า "กวีรูปธรรม" (concrete poetry) ซึ่งมีที่มาจากการเป็นจิตรกรวาดภาพมาแต่เดิม ลักษณะเฉพาะของบทกวีของจ่าง คือไม่ใช้ไม้ยมกแทนคำซ้ำ แต่กลับเขียนคำซ้ำ ๆ กัน และมีลักษณะคล้ายการเขียนรูป ซึ่งเป็นความแปลกใหม่ที่ไม่มีใครทำมาก่อน ทั้งนี้ จ่าง แซ่ตั้ง ถือว่าเป็นคนแรกในประเทศไทย ที่ได้สร้างงานศิลปะประเภทนามธรรมและมีอิทธิพลต่อวงการศิลปะไทยเป็นอันมาก
ในปี พ.ศ. 2510 มีการแปลผลงานกวีของจ่าง แซ่ตั้งเป็นภาษาอังกฤษ และได้รับเชิญไปร่วมงานประชุมกวรโลกที่กรุงแคนเบอร์รา ออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2514 ต่อมานิตยสาร “ลุคอิส” ได้มาทำสารคดีเกี่ยวกับชีวิต การทำงานและความเป็นอยู่ ของจ่าง รวมทั้งนำภาพสีพิมพ์เป็นปกเพื่อจำหน่ายขายทั่วโลก
ผลงาน[แก้]
การแสดงศิลปะ-วรรณกรรม
- พ.ศ. 2503
- นิทรรศการศิลปกรรมไทย-จีนแห่งประเทศไทยที่กรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2509
- นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยครั้งที่ 1 “รวมศิลปินร่วมสมัย”หอศิลป์ปทุมวัน กรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2510
- การแสดงศิลปกรรมไทยร่วมสมัยที่สิงคโปร์
- การแสดงศิลปกรรมไทยร่วมสมัยที่มาเลเซีย
- นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยครั้งที่ 3 “5 ศิลปินร่วมสมัย” หอศิลป์ปทุมวัน กรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2511
- นิทรรศการศิลปะเพื่อการกุศล “จ่าง แซ่ตั้ง ลูกศิษย์ และลูกลูก” บ้านเด็กกำพร้าบ้านกิ่งแก้ว จ.เชียงใหม่
- นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย “จ่าง แซ่ตั้ง และลูกลูก”แกลเลอรี่ 20 กรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2512
- การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัย รายการเชื้อเชิญศิลปินของ โรงเรียนเพาะช่าง
- นิทรรศการศิลปกรรม “จ่าง แซ่ตั้ง และลูกลูก”ครั้งที่๑ห้องแสดงนิทรรศการศิลปะบ้านจ่าง แซ่ตั้ง กรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2513
- นิทรรศการจิตรกรรมและบทกวี “จ่าง แซ่ตั้ง” ครั้งที่ 2 ห้องแสดงนิทรรศการศิลปะ บ้านจ่าง แซ่ตั้ง กรุงเทพฯ
- นิทรรศการศิลปกรรม-บทกวี “จ่าง แซ่ตั้ง” ครั้งที่ 3 รวมจิตรกรรมและบทกวี (2503-2513) ห้องแสดงศิลปะบ้านจ่าง แซ่ตั้งกรุงเทพฯ
- นิทรรศการศิลปะ บทกวี บทปรัชญา “จ่าง แซ่ตั้ง” สถานทูตสหรัฐอเมริกา AN INTRODUCTION TO TANG CHANG POET ARTIST AND PHILOSOPHER
- พ.ศ. 2514
- นิทรรศการศิลปกรรม “จ่าง แซ่ตั้ง ศิษย์ และบทกวีของลูกลูก”ครั้งที่ 4 ห้องแสดงนิทรรศการศิลปะ บ้าน จ่าง แซ่ตั้ง กรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2515
- นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย“จ่าง แซ่ตั้ง ลูกศิษย์ และลูกลูก” โรงภาพยนตร์วอร์เนอร์ กรุงเทพฯ
- แสดงบทกวีนิพนธ์ร่วมสมัย ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2516
- นิทรรศการศิลปะกลางแจ้ง “จ่าง แซ่ตั้ง ลูกศิษย์ และลูกลูก”แสดงบนทางเดินเท้ารอบสนามหลวง กรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2517
- นิทรรศการศิลปกรรม “จ่าง แซ่ตั้ง และลูกลูก”โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ
- นิทรรศการศิลปกรรม-วรรณกรรม หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ
- นิทรรศการศิลปกรรม “จ่าง แซ่ตั้ง และลูกลูก”สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน กรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2518
- แสดงบทกวีนิพนธ์ “แม่”นิสิตนักศึกษาชมรมพุทธมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ
- กวีสัมพันธ์ ไทย จีน อังกฤษ แห่งประเทศไทย”อ่านบทกวีนิพนธ์ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ
- แสดงบทกวีรูปธรรม (CONCRETE POETRY) และอ่านบทกวีนิพนธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2524
- การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 27 กรุงเทพฯ ในฐานะ “ศิลปินเชื้อเชิญ”
- พ.ศ. 2528
- อ่านบทกวีนิพนธ์ สมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา (A.U.A.) กรุงเทพฯ
- ก่อตั้ง “หอศิลป กวี จ่าง แซ่ตั้ง”กรุงเทพฯ
- แสดงศิลปกรรม บทกวีนิพนธ์ ย้อนหลัง จ่าง แซ่ตั้ง (2500 − 2528) หอศิลป กวี จ่าง แซ่ตั้ง กรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2534
- “พลังแห่งสัจจะ” จ่าง แซ่ตั้ง : ประเทือง เอมเจริญ ณ ศูนย์สรรพสินค้าริเวอร์ซิตี้
- พ.ศ. 2537
- “งานสีของ จ่าง แซ่ตั้ง” ณ สุขุมวิท 20 กรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2538
- “ศิลปะสมัยใหม่” (Asian Modernism) 28 ตุลาคม – 3 ธันวาคม ณ Japan Foundation Forum, Tokyo จัดโดย The Japan Foundation Asia Center
- พ.ศ. 2539
- “ศิลปะสมัยใหม่” (Asian Modernism) 6 กุมภาพันธ์ – 6 มีนาคม ณ Metropolitan Museum of Manila จัดโดย Metropolitan Museum of Manila, Embassy of Japan, The Philippines, The Japan Foundation
- “ศิลปะสมัยใหม่” (Asian Modernism) 8-28 พฤษภาคม ณ หอศิลปแห่งชาติ กรุงเทพฯ จัดโดย กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ และ The Japan Foundation
- “ศิลปะสมัยใหม่” (Asian Modernism) 1 มิถุนายน – 31 กรกฎาคม ณ Gedung Pameran Seni Rupa, Department Pendidikan dan Kebudayaan, Jakarta, Indonesia จัดโดย Diroctorate General for Culture, Ministry of Education and Culture, Republic of Indonesia, The Japan Foundation
- พ.ศ. 2543
- “จ่าง แซ่ตั้ง ก็คือ จ่าง แซ่ตั้ง” ภาพใบหน้าตัวเอง 400 ชิ้น พ.ศ. 2497-2530 ณ เดอะ เมอร์คิวรี่ อาร์ต แกเลอรี่ เพลินจิต กรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2544
- “จิตรกร ไล่จับ แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด ใส่ไว้ในภาพ” 25 มิถุนายน - 22 กรกฎาคม ณ Open Arts Space เดอะสีลม แกเลอเรีย
- พ.ศ. 2545
- นิทรรศการศิลปะ “เวลาอันยาวนาน” 17-30 กันยายน ณ ห้องศิลปนิทรรศมารศี วังสวนผักกาด กรุงเทพฯ 1-14 ตุลาคม ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ 16 ราชดำเนิน กรุงเทพฯ 11 กันยายน – 6 ตุลาคม ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ สุขุมวิท 55 กรุงเทพฯ และผลงานได้สัญจรไปจัดนิทรรศการในส่วนภูมิภาค 1-15 พฤศจิกายน ณ หอศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก 20 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 9-23 ธันวาคม 2545 ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษา อุบลราชธานี
- พ.ศ. 2550
- นิทรรศการศิลปกรรม “โลกทรรศน์จากภายใน : จ่าง แซ่ตั้ง” (World View from Within : Tang Chang) ผลงานจิตรกรรม 120 ชิ้น จากผลงานจิตรกรรมรูปธรรมสู่นามธรรมที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี 2501-2525 จัดแสดง ณ หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551
- งานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 2-4 พฤศจิกายน 2551 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
- พ.ศ. 2556
- นิทรรศการ “เพราะฉันต้องการ ที่ว่างของฉัน” 5 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม ณ หอศิลป์ ศุภโชค ดิ อาร์ต เซนเตอร์ สุขุมวิท 33 กรุงเทพฯ
- นิทรรศการ “จิตรกรรมนามธรรม บทกวีรูปธรรม” 15 กุมภาพันธ์ – 28 เมษายน ณ หอศิลป์ G23 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร กรุงเทพฯ
นิทรรศการในต่างประเทศ[แก้]
- พ.ศ. 2557
- ได้รับเชิญเข้าร่วมแสดงในมหกรรมศิลปะ “เซี่ยงไฮ้ เบียนนาเล่” ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน 2557 – 31 มีนาคม 2558 ณ Power Station of Art เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน
- พ.ศ. 2558
- ร่วมแสดงในนิทรรศการ "The World is our Home" ณ Parasite เขตปกครองพิเศษฮ่องกง
- พ.ศ. 2559
- ร่วมแสดงในนิทรรศการ "Reframing Modernism" ณ National Gallery Singaport
- พ.ศ. 2560
- ร่วมแสดงในนิทรรศการ "Misfits : Pages from loose-leaf modernity" ณ HKW กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
- พ.ศ. 2561
- นิทรรศการแสดงเดี่ยว "Tang Chang : The Painting That is Painted With Poetry is Beautiful" ณ The Smart Museum ชิคาโก สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2562
- Awakenings: Art in Society in Asia 1960s–1990s ณ National Gallery Singapore
งานสังคมและความเคลื่อนไหว[แก้]
- พ.ศ. 2503
- เขียนภาพเหมือนช่วยการกุศลงานกาชาด กรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2504
- เขียนภาพเหมือนช่วยการกุศลงานกาชาด กรุงเทพฯ
- ริเริ่มภาพจิตรกรรมสีดำบนสีดำ (นามธรรม)
- พ.ศ. 2505
- ริเริ่มภาพจิตรกรรมสีขาวบนขาว (นามธรรม)
- สร้างภาพจิตรกรรมสีน้ำมันขนาดใหญ่
- เรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าแม่โพธิสัตว์ (ด้วยนิ้วมือ) จำนวน 12 ภาพ ปัจจุบันอยู่ที่มูลนิธิโรงพยาบาลเทียนหัว สามแยก กรุงเทพฯ
- เขียนภาพเหมือนช่วยการกุศลงานกาชาด กรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2510
- ริเริ่มบทกวีสมัยใหม่ CONCRETE POETRYในนิตยสารช่อฟ้ารายเดือน
- พ.ศ. 2513
- นิตยสาร QUADRANT ของ AUSTRALIA ตีพิมพ์เผยแพร่ประวัติและผลงาน
- หนังสือบทประพันธ์แห่งเอเซียตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานกวีนิพนธ์
- สำนักข่าวสาร U.P.I. ส่งผู้สื่อข่าวชื่อ BOB NOOR บรรณาธิการข่าวภาพของสหรัฐอเมริกา ถ่ายภาพจิตรกรรมของจ่าง แซ่ตั้ง เผยแพร่ทั่วโลก
- พ.ศ. 2514
- เป็นตัวแทนชาวไทยที่ได้รับคัดเลือกผลงานกวีนิพนธ์เข้าร่วม “การประชุมใหญ่ผู้เชี่ยวชาญและนักศึกษาทางด้านภาคตะวันออกของโลก”ประเทศออสเตรเลีย (CONGRESS OF ORIENTALISTS- 1971, CANBERRA, AUSTALIA)
- นิตยสาร LOOK EASTตีพิมพ์บทกวีนามธรรม-ภาพจิตรกรรมของจ่าง แซ่ตั้งเผยแพร่ทั่วโลก
- พ.ศ. 2531
- สาธารณรัฐประชาชนจีน โดย อาจารย์ฟู่เจิงโหย่ว แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ขอประวัติ จ่าง แซ่ตั้ง ไปลงในพจนานุกรมผู้มีชื่อเสียงทางวิชาการของลูกจีนในประเทศไทยในแขนงกวีและนักจิตวิทยา
- เป็นตัวแทนชาวไทย ซึ่งได้รับเกียรติรับมอบประกาศนียบัตรยกย่องความสามารถจาก ประธานสถาบันกวีนานาชาติอินเดีย ในการประชุมกวีโลกครั้งที่ 10 ณ กรุงเทพฯ
ผลงานทางวรรณกรรม[แก้]
- “ปกดำ” กวีนิพนธ์นามธรรม, พิมพ์เผยแพร่ 2511
- “CONCRETE POETRY” ปกดำฉบับภาษาอังกฤษ, พิมพ์เผยแพร่ 2511
- “เด็กคนนั้น” กวีนิพนธ์, พิมพ์เผยแพร่ 2512
- “อภิปรัชญาศิลปะ ท่านเต้าฉี” ถอดความและบทเขียน,พิมพ์เผยแพร่ 2512
- “คัมภีร์เต้าเต้อจิงของท่านเหล่าจวื่อ” ถอดความ ขยายความ บทเขียน,พิมพ์เผยแพร่ 2515
- “สีส้ม” กวีนิพนธ์,พิมพ์เผยแพร่ 2516
- “แม่กับลูก” กวีนิพนธ์, พิมพ์เผยแพร่ 2515
- “ภาพพจน์ที่ผ่านมา” กวีนิพนธ์, พิมพ์เผยแพร่ 2517
- “บทกวีจีน” รวบรวม ถอดความ,พิมพ์เผยแพร่ 2517
- “อา Q ของท่านหลู่ซิ่น” ถอดความ,พิมพ์เผยแพร่ 2517
- “ยามเช้า” กวีนิพนธ์,พิมพ์เผยแพร่ 2528
- “เวิ้งฟ้า” กวีนิพนธ์,พิมพ์เผยแพร่ 2529
- “วันใหม่” กวีนิพนธ์และเรื่องสั้น,พิมพ์เผยแพร่ 2529
- “เด็กคนนั้น 2” กวีนิพนธ์,พิมพ์เผยแพร่ 2530
- “อาร์ต ไดอารี ” กวีนิพนธ์และจิตรกรรม,พิมพ์เผยแพร่ 2530
- “ปรมัตถ์เต๋า ของท่านเหล่าจวื่อ” ถอดความ ขยายความ บทเขียนและจิตรกรรม,2530
- “ตำราพิชัยสงคราม ซุนวู่” ถอดความ, รวมเล่มตีพิมพ์ 2553
- “บทกวีของฉัน”, แนะนำ และอธิบายการเขียนบทกวีของตนเอง, กวีนิพนธ์และบทเขียน, รวมเล่มตีพิมพ์ 2553
อ้างอิง[แก้]
- ประทีป เหมือนนิล. 100 นักประพันธ์ไทย. กรุงเทพ : สุวีริยาสาส์น, 2542. หน้า 479. ISBN 974-8267-78-4
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- พิพิธภัณฑ์ จ่าง แซ่ตั้ง เก็บถาวร 2009-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Tang Chang The Original, The Original Tang Chang! นิทรรศการแสดงผลงานของ จ่าง แซ่ตั้ง, มีนาคม-เมษายน 2543
- จ่าง แซ่ตั้ง ก็คือ จ่าง แซ่ตั้ง (ภาพใบหน้าตนเอง 400 ชิ้น พ.ศ. 2497 - 2530),ซีดีรอมรวมผลงาน จัดทำโดย The Mercury Art Gallery.
- สูจิบัตรประกอบนิทรรศการ "จ่าง แซ่ตั้ง : เพราะฉันต้องการ ที่ว่างของฉัน" และ "จ่าง แซ่ตั้ง : จิตรกรรมนามธรรม บทกวีรูปธรรม"