จ่อย รวมมิตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จ่อย รวมมิตร
ชื่อเกิดรวมมิตร คงชาตรี
เกิด4 มกราคม พ.ศ. 2509 (58 ปี)
จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย ไทย
แนวเพลงลูกทุ่ง
อาชีพนักร้อง
ค่ายเพลงนักร้องอิสระ

จ่อย รวมมิตร ชื่อจริง รวมมิตร คงชาตรี เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งชาวไทย

หรือผู้เป็นที่รู้จักในชื่อ จ่อย ไมค์ทองคำ เกิดวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2509 หนุ่มลูกชาวนาจากจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ประกอบอาชีพก่อสร้างเลี้ยงปากท้อง ได้มาร่วมประกวดร้องเพลงในรายการ "ชิงช้าสวรรค์ ไมค์ทองคำ" ซีซั่นแรก ในปี พ.ศ. 2557[1] จากนั้นมีการเปลี่ยนชื่อรายการเป็นไมค์ทองคำ ซึ่งเป็นรายการประกวดร้องเพลงลูกทุ่งระดับประเทศ ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์[2] จ่อยได้แสดงพรสวรรค์ที่มีเปี่ยมล้นเอาชนะใจกรรมการและผู้ชมจากทางบ้านทุกรอบการประกวด ได้รับเสียงโหวตจากคนไทยทั้งประเทศมาเป็นอันดับ 1 คว้าแชมป์ "ไมค์ทองคำคนแรก" ในปี พ.ศ. 2557[3][4][5] จากนั้นมีการเปลี่ยนชื่อรายการเป็นไมค์ทองคำ และเข้ามาเป็นศิลปินในสังกัดค่ายเพลงยุ้งข้าวเรคคอร์ด[6] ในเครือบริษัทเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) อีกด้วย ด้วยบุคลิกหน้าตาซื่อ ๆ นิสัยซื่อ ๆ ร้องเพลงซื่อ ๆ ร้องอย่างธรรมชาติไม่ดัดจริตเสียง เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองแบบลูกทุ่งไทยแท้ ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของแฟน ๆ เพลง

ผลงานเพลง[แก้]

  • กระเป๋าสมปอง (2557)
  • พระแอบ (2558)
  • ปาปาย่าตุ๊กตุ๊ก (2558)
  • ทูนหัวของบ่าว (2559)
  • เทพารักษ์กับนักร้อง (2559)
  • รอสาวที่ บขส. (2560)
  • หัวใจหล่นที่สกลนคร (2560)
  • หมดมุก (2561)[7]
  • ฝันที่รอ (2562)
  • สมศรี 2020 -​ จ่อย รวมมิตร​ (Cover version)​ (2563)
  • รถอ้อยแฟนลืม (2563)[8]
  • รอเธอที่ปราสาททอง (2564)

ผลงาน[แก้]

ซิทคอม[แก้]

ปี พ.ศ. เรื่อง รับบท ช่อง
2565 โอมเพี้ยงอาจารย์คง ตอน ทัวร์ลงคงจะดัง จ่อย (รับเชิญ) ช่องเวิร์คพอยท์

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

  • 18 ต.ค. 2557 รางวัลชนะเลิศ ประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง ในรายการ "ชิงช้าสวรรค์ไมค์ทองคำ" ครั้งที่ 1
  • 30 มิ.ย. 2558 "SIAMDARA STAR AWARDS 2015" รางวัลประเภทเพลงลูกทุ่งยอดเยี่ยม จากเพลงกระเป๋าสมปอง[9]
  • 29 ก.ค. 2558 รางวัลชนะเลิศการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย (เพชรในเพลง) ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย จากเพลงกระเป๋าสมปอง จัดโดย สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
  • 16 พ.ค. 2559 รางวัล "ทูตพระพุทธศาสนาวิสาขบูชาโลก 2559" จัดโดยสภาศิลปินส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
  • 29 ก.ค. 2559 รางวัลชมเชยการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย (เพชรในเพลง) ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย จากเพลงพระแอบ จัดโดย สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
  • 30 ก.ย. 2559 รางวัลแห่งความเมตตา 2559 ในโอกาสเทศกาลถือศีลทานเจ 2559 จัดโดยคณะกรรมการโครงการพุทธสัมพันธ์ไทย-จีน และสภาศิลปินส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
  • 3 ต.ค. 2559 รางวัลญาณสังวร "คนดีศรีสยาม" ในโครงการเฉลิมพระเกียรติองค์ราชัน “ยกย่องส่งเสริมบุคคลต้นแบบคนดีของแผ่นดินตามรอยพระยุคลบาท” จัดโดย โครงการเฉลิมพระเกียรติองค์ราชัน และ สว.นท
  • 19 ส.ค. 2560 รางวัลระฆังทอง "บุคคลแห่งปี" จัดโดย สว.นท.
  • 29 เม.ย. 2561 รางวัล เพรส อวอร์ด ประจำปี 2561 (Press Awards 2018) เณศไอยรา มอบ "รางวัลสื่อสารมวลชน" วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ประเภทรางวัลศิลปินลูกทุ่งชายดีเด่น จัดโดยชมรมสมาพันธ์สื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
  • 24 ก.ค. 2563 รางวัลชมเชยการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย (เพชรในเพลง) ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย จากเพลงฝันที่รอ จัดโดย สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม[10]
  • 28 พ.ย. 2563 รางวัลครุฑปรเมศวร สาขาศิลปินตัวอย่าง จัดโดยชมรมปันน้ำใจอุ่นไอรัก[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. https://www.facebook.com/profile.php?id=100004602587922
  2. https://www.thairath.co.th/content/459269
  3. https://www.facebook.com/profile.php?id=100004602587922
  4. https://www.dailynews.co.th/entertainment/275451
  5. https://www.naewna.com/entertain/378218
  6. https://www.facebook.com/yoongkaorecord/
  7. https://www.youtube.com/watch?v=JChvhlm12bA
  8. https://www.youtube.com/watch?v=Ys0dFl0mgko
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-23. สืบค้นเมื่อ 2018-09-03.
  10. https://www.facebook.com/yoongkaorecord/posts/3235252146513560
  11. https://www.dailynews.co.th/entertainment/809901/