ข้ามไปเนื้อหา

จุม เม็ย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จุม เม็ย
ជុំ ម៉ី
เกิดค.ศ. 1930 (อายุ 94–95 ปี)
กัมพูชา อินโดจีนของฝรั่งเศส
สัญชาติกัมพูชา
อาชีพช่างยนต์, นักเขียน
มีชื่อเสียงจากผู้รอดชีวิตจากต็วลสแลง
บุตร7 คน (ถูกสังหาร 4 คน)

จุม เม็ย (เขมร: ជុំ ម៉ី, Chŭm Mei [cum məj]; เกิด ป. ค.ศ. 1930) เป็นหนึ่งใน 7 ผู้รอดชีวิตวัยผู้ใหญ่เท่าที่รู้จัก[1] จากการคุมขังของเขมรแดงในค่ายต็วลสเลง S-21 ซึ่งมีนักโทษ 20,000 คน (ส่วนใหญ่เป็นชาวกัมพูชา) ถูกส่งไปประหารชีวิต[2] เขาเป็นอดีตช่างยนต์ในพนมเปญที่ถูกนำตัวไปคุกเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1978 โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นสายลับ[3] เขารอดชีวิตมาได้ก็เพราะความสามารถในการซ่อมจักรเย็บผ้า[4][5] ใน ค.ศ. 2004 เขากล่าวถึงการสังหารภรรยาและลูกชายว่า:

"ตอนแรกพวกมันยิงภรรยาผมที่กำลังเดินนำหน้าร่วมกับผู้หญิงคนอื่น ๆ เธอกรีดร้องใส่ผมว่า 'วิ่งหนีเร็ว พวกมันจะฆ่าฉันแล้ว' ผมได้ยินเสียงลูกชายผมร้องไห้และจากนั้นพวกมันยิงอีกครั้ง ทำให้ลูกเสียชีวิต เมื่อผมนอน ผมยังคงเห็นใบหน้าของพวกเขา และทุกวันผมยังคงคิดถึงพวกเขา"[6]

ภายหลังจุม เม็ยแต่งงานใหม่และมีลูก 6 คน แบ่งเป็นชาย 3 คน และหญิง 3 คน

ห้องขังของเม็ยที่ S-21

ใน ค.ศ. 2003 เขาปรากฏตัวในสารคดี S-21: The Khmer Rouge Killing Machine ของบาน ริทธี ร่วมกับวาน ณาต จิตรกรชาวกัมพูชาที่กลับมาพบกันและเยี่ยมชมเรือนจำเดิมอีกครั้ง ซึ่งปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต็วลแซลงที่พนมเปญ พวกเขาพบกับอดีตผู้คุมขังพวกเขา ได้แก่ ผู้คุม ผู้สอบสวน แพทย์ และช่างภาพ ซึ่งหลายคนเพิ่งเป็นวัยรุ่นในช่วงยุคเขมรแดงระหว่าง ค.ศ. 1975 ถึง 1979 รูปลักษณ์ของพวกเขาแตกต่างจากอดีตนักโทษทั้งสองคนที่มีอายุมากกว่าในช่วงที่ถูกคุมขังอย่างสิ้นเชิง และเมื่อถึงเวลาถ่ายทำ ทั้งคู่ก็เป็นชายชรา วาน ณาตผู้วาดภาพเหมือนนักโทษ มีผมสีขาวทั้งศีรษะ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและผู้สอบสวนได้นำชมพิพิธภัณฑ์ โดยจำลองการปฏิบัติต่อนักโทษและกิจวัตรประจำวันของพวกเขา พวกเขาดูบันทึกของเรือนจำโดยละเอียด รวมทั้งภาพถ่าย เพื่อทบทวนความทรงจำ

จุม เม็ยให้หลักฐานในศาลคดีเขมรแดงเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2009

ใน ค.ศ. 2009 เขาให้หลักฐานในศาลคดีเขมรแดงที่ไต่สวนผู้นำที่ยังมีชีวิตอยู่ของระบอบเขมรแดง ในระหว่างการพิจารณาคดี เขากล่าวว่า "ผมร้องไห้ทุกคืน ทุกครั้งที่ได้ยินคนพูดถึงเขมรแดง มันทำให้ผมนึกถึงภรรยาและลูก ๆ ของผม"[3] เขายังแสดงความปรารถนาให้อดีตผู้นำ กัง เคกเอียว ต้องจำคุกตลอดชีวิต[4] ซึ่งกังถูกตัดสินตามนั้นใน ค.ศ. 2012[7]

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 เม็ยปรากฏตัวในรายการ The Mekong River with Sue Perkins ของบีบีซี[8]

จุม เม็ยลงลายเซ็นในหนังสือ Survivor: The Triumph of an Ordinary Man in the Khmer Rouge Genocide ของเขาเองแก่ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต็วลแซลงที่พนมเปญ (มีนาคม ค.ศ. 2015)

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Voices from S-21". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-03. สืบค้นเมื่อ 2015-03-31.
  2. "BBC - History - Into the Heart of Darkness: Extracts from a Film Diary". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-06. สืบค้นเมื่อ 2019-12-20.
  3. 3.0 3.1 "Holocaust Memorial Day Trust | Chum Mey" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-13.
  4. 4.0 4.1 Doherty, Ben (2010-07-24). "Comrade Duch, the Khmer Rouge executioner who killed thousands for Pol Pot, faces his day of justice". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-05. สืบค้นเมื่อ 2020-09-13.
  5. "Survivor rises to bear witness from the killing fields". The Age. Melbourne. 2004-01-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-07-18.
  6. "Pol Pot survivor prepares to tell horrific tale". The Sydney Morning Herald. 2004-01-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-24. สืบค้นเมื่อ 2020-02-19.
  7. Vlasic, Mark (2012-03-13). "Life for Comrade Duch, a milestone for international justice | Mark Vlasic". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2020-09-13.
  8. Robinson, Jennifer (29 September 2017). "MEKONG RIVER WITH SUE PERKINS". KPBS Public Media (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-09. สืบค้นเมื่อ 2020-09-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]