จีอี (รถจักร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Manila Railroad 2000 class
GE UM12C[1][2]
ประเภทและที่มา
ประเภทเครื่องยนต์รถจักรดีเซลไฟฟ้า[3]
ผู้สร้างGE Transportation Systems[1][2][3]
หมายเลขตัวรถ32454-32463 (2001-2020; PNR)
34850-34889 (4001-4040; รฟท.)[1][2]
35947-35956 (4041-4050; รฟท.)[1][2]
โมเดลUM12C[1][2]
วันสร้าง1956
1963,1966[1][2]
จำนวนผลิต20 (PNR)
50 (รฟท.)[1][2]
คุณลักษณะ
การกำหนดค่า:
 • AARC-C[2]
 • UICCo'Co'[3]
ช่วงกว้างราง1,067 mm (3 ft 6 in) (PNR)
1,000 mm (3 ft 3 38 in) (รฟท.)[1][2]
เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ914 mm (36.0 in)[3]
ความยาว16,288 mm (53 ft 5.3 in)[3]
ความกว้าง2,794 mm (9 ft 2.0 in)[3]
ความสูง3,753 mm (12 ft 3.8 in)[3]
Loco weight70.178 ton (empty)[3]
75.00 ton (in working order)[3]
Prime moverCummins KT38L (รฟท.)
Cooper Bessemer (PNR)
พิสัยรอบต่อนาที2,000 รอบต่อนาที[3]
ลูกสูบV12[2]
Train brakesเบรกด้วยการอัดอากาศ[3] และเบรกสุญญากาศ[3]
ค่าประสิทธิภาพ
ความเร็วสูงสุด103 km/h (64 mph)[3]
กำลังขาออก1,320 hp (0.98 MW)[3]
การบริการ
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งชาติฟิลิปปินส์
การรถไฟแห่งประเทศไทย[1][2]
หมายเลขตัวรถ2001-2020 (PNR)
4001-4050 (รฟท.) [1][2][3]
ชื่อเป็นทางการGE UM12C[3]
Localeเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์
ประเทศไทย[1][2]
Deliveredกุมภาพันธ์ - มิถุนายน 1956 (PNR)
1964 (รฟท.)[3]
ปลดประจำการ1999 (PNR)[4]
การจัดการจองทิ้งทั้งหมด (PNR)
ให้บริการ 45 คัน, ปลดประจำการ 5 คัน (รฟท.)[5]
หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้าจีอี หมายเลข 4004 ที่โรงงานรถไฟมักกะสัน กรุงเทพมหานคร

เจเนอรัล อิเล็กทริก ยูเอ็ม12ซี (General Electric UM12C) หรือ จีอี (GE) เป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้า ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย นำเข้าจาก จาก บริษัท General Electric Transportation, สหรัฐอเมริกา ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย มีรถจักรรุ่นนี้ใช้งานอยู่มากเป็นอันดับสอง รองจากรถจักร เอแอลเอส (ALS) มีจำนวนทั้งสิ้น 50 คัน หมายเลขรถ 4001 - 4050 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2509 เป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้าอายุมากที่สุด ที่ยังคงใช้งานเป็นหลัก ปัจจุบันมักจะทำขบวนรถธรรมดา เช่น ขบวนรถธรรมดาที่ 257/258 ธนบุรี - น้ำตก- ธนบุรี, 259/260 ธนบุรี - น้ำตก- ธนบุรี, ขบวนรถธรรมดาที่ 485/486 ชุมทางหนองปลาดุก - น้ำตก - ชุมทางหนองปลาดุก

รวมไปถึงขบวนรถสินค้าที่ 701/702 ชุมทางทุ่งสง - ชุมทางหาดใหญ่ - ชุมทางทุ่งสง เป็นต้น

ในปัจจุบัน รถจักรดีเซลไฟฟ้า จีอี (GE) คงเหลือใช้การได้ทั้งหมด 42 คัน และตัดบัญชีทั้งหมด 8 คัน คงเหลือตัวโครงรถอยู่ คัน คือหมายเลข 4003 , 4020 , 4030 ,4032 ,4034 ,4035 ,4046 ,4049

GE-K[แก้]

ช่วงที่มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่จากเครื่องยนต์ Cummins VT12-825B1 มาเป็นเครื่องยนต์ Cummins ตระกูล K2300 หรือ Cummins KT38-L ทำให้ช่วงนั้นมีเครื่องยนต์ในรถจักร จีอี ที่ใช้เครื่องยนต์ถึงสองแบบจึงมีการแยกประเภทด้วยการเติม -เค (-K) ต่อท้ายชื่อรุ่นที่เปลี่ยนเครื่องยนต์ เป็น จีอี-เค (GE-K) ในเอกสารการซ่อมบำรุง เพื่อแยกรถที่เปลี่ยนเครื่องยนต์แล้วกับรถที่ใช้เครื่องยนต์เดิม ปัจจุบัน จีอี ใช้เครื่องแบบ Cummins KT-38L แต่ในบัญชีและเอกสารข้อมูลต่าง ๆ ยังคงใช้ชื่อ จีอี อยู่แต่ก็มีการเรียกติดปากเป็น จีอี-เค (GE-K) อยู่บ้าง

ระบบห้ามล้อ[แก้]

  • ลมดูดอย่างเดียว หมายเลข 4001 - 4027 (ยกเว้น †4003 4004 4005 4006 4007 4008 4011 4016 4017 4018 4023 4026)
  • ลมดูด/ลมอัด หมายเลข †4003, 4004, 4005, 4006, 4007, 4008, 4011, 4016, 4017, 4023, 4026, 4029 - 4050 (ยกเว้น 4038)
  • ลมอัดอย่างเดียว หมายเลข 4018,4028, 4038

รถจักรพิเศษ[แก้]

  • หมายเลข †4030 จะมีหูสีแดงสองข้าง หลายคนเรียกว่า มิกกี้เมาส์
  • หมายเลข 4001 4002 4005 4006 4007 4008 4011 4015 4016 4017 4019 †4020 4021 4023 4025 4029 †4030 4031 4033 †4034 4036 4038 4039 4042 4043 4047 4048 เป็นรถจักรที่มีการทำสีตัวรถใหม่
  • หมายเลข 4026 เป็นรถจักรที่มีการทำสีแบบพิเศษ โดยเป็นการผสมสีรูปแบบเก่ากับสีรูปแบบใหม่เข้าด้วยกัน และเป็นรถจักรคันเดียวในรุ่น ที่มีการกำกับเลขข้างรถ 8จุด(หน้ารถจักร 2 ฝั่ง ฝั่งละ2จุด ข้างรถจักร2ฝั่ง ตำแหน่งห้องขับฝั่งละ2จุด)
  • หมายเลข 4029 4033 4047 เป็นรถจักรที่มีการหุ้มเกราะกันกระสุน
  • หมายเลข 4045 เป็นรถจักรที่มีการติดตั้งหวีดของรถจักรจีอีเอ (GEA)
  • หมายเลข †4035 4027 เป็นรถจักรที่ยังมีระฆังสัญญาณ อยู่ในสภาพที่เกือบสมบูรณ์ โดยที่หมายเลข †4035ยังมีระฆังติดอยู่กับซากรถจักร
  • หมายเลข 4047 เป็นรถจักรที่ยังมีระฆังสัญญาณ แต่ไม่มีกระเดื่องภายใน
  • หมายเลข4006 †4034 4039เป็นรถจักรที่มีการดัดแปลงระบบเร่งรอบ เป็นแบบรถจักรจีอีเอ(GEA)

รถจักรที่ประสบอุบัติเหตุ[แก้]

หมายเลข ลักษณะอุบัติเหตุ ขบวนที่ทำ วันที้ สถานที่ ความเสียหาย สถานะปัจจุบัน อ้างอิง
†4003 ไฟไหม้ขณะทำขบวนรถสินค้าสายเหนือ ขบวนรถสินค้าน้ำมันสำเร็จรูปสายเหนือ - - ตัวรถ (ไฟไหม้เสียหายทั้งหมด) ตัดบัญชี -
4016 ชนกับรถบรรทุก 10 ล้อ ขบวนรถสินค้าที่ 701 ชุมทางบางซื่อ - ชุมทางหาดใหญ่ - ระหว่างสถานีรถไฟประจวบคีรีขันธ์กับสถานีรถไฟหนองหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ - กลับมาทำการแล้ว -
†4020 ชนกับรถจักรหมายเลข 4030 และ 4034 - วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2562 สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย จังหวัดสระบุรี - ตัดบัญชี -
4029 ชนกับรถบรรทุก ขบวนรถธรรมดาที่ 211 กรุงเทพ (หัวลําโพง) - ตะพานหิน - - - กลับมาทำการแล้ว -
†4030 อุบัติเหตุเดียวกันกับหมายเลข 4020 - วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2562 สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย จังหวัดสระบุรี - ตัดบัญชี -
†4032 ตกรางเนื่องจากการกระทำของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขบวนรถสายใต้ขบวนรถท้องถิ่นที่ 456 ยะลา - นครศรีธรรมราช - ระหว่างสถานีรถไฟนาประดู่กับสถานีรถไฟปัตตานี จังหวัดปัตตานี - ตัดบัญชี -
†4034 อุบัติเหตุเดียวกันกับหมายเลข 4020 และ 4030 - วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2562 สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย จังหวัดสระบุรี - ตัดบัญชี -
†4035 ชนกับขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางนั่งปรับอากาศที่ 39/41 กรุงเทพ - สุราษฎร์ธานี/ยะลา ขบวนรถเร็วที่ 178 หลังสวน - ธนบุรี วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2550 สถานีรถไฟหนองแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เสียหายทั้งหมด ตัดบัญชี -
4040 ชนกับรถบรรทุกอ้อย ขบวนรถสินค้าที่ 648 - สถานีรถไฟปางม่วง จังหวัดลำปาง - กลับมาทำการแล้ว -
4043 ชนกับรถบรรทุก ขบวนรถธรรมดาที่ 251 ธนบุรี - ประจวบคีรีขันธ์ - - ด้านหน้ารถ กลับมาทำการแล้ว -
†4046 ถูกขบวนรถสินค้าไถลลงมาทับ ขบวนรถสินค้าน้ำมันสำเร็จรูป วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2543 สถานีรถไฟหนองบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา ไฟไหม้เสียหายทั้งหมด ตัดบัญชี -
4047 ชนกับรถจักรของขบวนรถเร็วที่ 102 เชียงใหม่ - กรุงเทพ - - สถานีรถไฟผาคัน จังหวัดแพร่ - กลับมาทำการแล้ว -
†4049 ชนกับรถบรรทุก 10 ล้อ ขบวนรถสินค้าน้ำมันสำเร็จรูปสายตะวันออก วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 บริเวณสถานีรถไฟชุมทางศรีราชา จังหวัดชลบุรี ไฟไหม้เสียหายทั้งหมด ตัดบัญชี -
4050 ชนกับรถบรรทุก 10 ล้อ ขบวนรถสินค้าที่ 701 ชุมทางบางซื่อ - ชุมทางหาดใหญ่ - ระหว่างสถานีรถไฟประจวบคีรีขันธ์กับสถานีรถไฟหนองหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ - กลับมาทำการแล้ว -

รายชื่อหมายเลขรถจักร[แก้]

เจเนอรัล อิเล็กทริก ยูเอ็ม12ซี (General Electric UM12C)
หมายเลขรถจักร หมายเลขที่ผลิต รุ่น แรงม้า เครื่องยนต์ ล้อ ขนาดความกว้างรางรถไฟ ปีที่เข้าประจำการ ระบบห้ามล้อ หมายเหตุ
4001 34850 UM12C 1320 VT12-825B1 Co-Co 1.000 เมตร (Metre gauge) ตุลาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2506 ลมดูด
4002 34851
4003 34852 ลมดูด/ลมอัด ไฟไหม้ขณะทำขบวนรถสินค้าสายเหนือ
4004 34853
4005 34854
4006 34855
4007 34856
4008 34857
4009 34858 ลมดูด
4010 34859
4011 34860 ลมดูด/ลมอัด
4012 34861 ลมดูด
4013 34862
4014 34863
4015 34864
4016 34865 ลมดูด/ลมอัด
4017 34866
4018 34867 ลมอัด
4019 34868 ลมดูด
4020 34869
4021 34870
4022 34871
4023 34872 ลมดูด/ลมอัด
4024 34873 ลมดูด
4025 34874
4026 34875 ลมดูด/ลมอัด
4027 34876 ลมดูด
4028 34877
4029 34878 ลมดูด/ลมอัด มีการหุ้มเกราะกันกระสุน
4030 34879 มีหูสีแดงสองข้าง หลายคนเรียกว่า มิกกี้เมาส์
4031 34880
4032 34881 ตกรางเนื่องจากการกระทำของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างสถานีรถไฟนาประดู่กับสถานีรถไฟปัตตานี จังหวัดปัตตานี
4033 34882 มีการหุ้มเกราะกันกระสุน
4034 34883
4035 34884 มีกระดิ่งหู;

ชนกับขบวนรถด่วนพิเศษที่ 39/41 กรุงเทพ - สุราษฎร์ธานี/ยะลา ที่สถานีรถไฟหนองแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

4036 34885
4037 34886
4038 34887 ลมอัด
4039 34888 ลมดูด/ลมอัด
4040 34889
4041 35947 กรกฎาคม - กันยายน พ.ศ. 2509
4042 35948
4043 35949
4044 35950
4045 35951 มีการติดตั้งหวีดของรถจักรจีอีเอ
4046 35952 ถูกขบวนรถสินค้าไถลลงมาทับ ที่สถานีรถไฟหนองบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา
4047 35953 มีการหุ้มเกราะกันกระสุน
4048 35954
4049 35955 ชนกับรถบรรทุก 10 ล้อ ที่บริเวณสถานีรถไฟชุมทางศรีราชา จังหวัดชลบุรี
4050 35956

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 Dave Dallner (November 20, 2010). "General Electric UM12C Production Roster".
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 Phil's Loco Page (July 4, 2015). "GE Export".
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 3.16 "SRT Diesel locomotive". September 6, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2016. สืบค้นเมื่อ July 4, 2015.
  4. "As of January 1999, the 2000 class have been withdrawn from service." from "asia pictures". locopage.net. สืบค้นเมื่อ February 28, 2021.
  5. ฝ่ายช่างกล การรถไฟแห่งประเทศไทย (July 3, 2015). "รายงานสถานการณ์รถจักร ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ประจำเดือนกรกฏาคม 2558". Facebook.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]