จินตามณีมนเทียร (เถอูร์)

พิกัด: 18°31′25.67″N 74°2′46.62″E / 18.5237972°N 74.0462833°E / 18.5237972; 74.0462833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก จินตมณีมนเทียร (เถอูร์))
จินตมณีมนเทียร
ศิขรของมนเทียร
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตอำเภอปูเน
เทพพระพิฆเนศ "จินตมณี"
เทศกาลคเณศจตุรถี, คเณศชยันตี
ที่ตั้ง
ที่ตั้งเถอูร์ (Theur)
รัฐรัฐมหาราษฏระ
ประเทศประเทศอินเดีย
จินตามณีมนเทียร (เถอูร์)ตั้งอยู่ในรัฐมหาราษฏระ
จินตามณีมนเทียร (เถอูร์)
ที่ตั้งในรัฐมหาราษฏระ
พิกัดภูมิศาสตร์18°31′25.67″N 74°2′46.62″E / 18.5237972°N 74.0462833°E / 18.5237972; 74.0462833

จินตมณีมนเทียรแห่งเถอูร์ (อังกฤษ: Chintamani Temple of Theur) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่บูชาพระพิฆเนศ ตั้งอยู่ในเถอูร์ (थेऊर; Theur) 25 กิโลเมตรจากเมืองปูเน[1] ที่นี่เป็นหนึ่งในแปดมนเทียรของอัษฏวินายก เทวสถานพระคเณศทั้งแปดแห่งอันโด่งดังของรัฐมหาราษฏระ

ตำนานของมนเทียรระบุถึงที่มาของการที่พระพิฆเนศทรงได้รับอัญมณีศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยอำนวยอวยพรได้ที่เรียกว่าจินตมณี (Cintamani) เพื่อใช้อวยพรแด่ผู้ที่สักการะพระองค์ มาจากฤาษีกปิล (Kapila) จากพระเจ้าคณะ หรือ คุณะ (Gana or Guna; गुण) กษัตริย์ผู้โลภ มนเทียรนี้มีความสัมพันธ์กับสันตะแห่งคาณปัตยะนามว่า โมรยา โคสาวี (Morya Gosavi) ถึงแม้จะเชื่อว่ามนเทียรตั้งอยู่โดยไม่มีจุดเริ่มต้น แต่อาคารของมนเทียรในปัจจุบันเชื่อว่าสร้างขึ้นโดยโมรยา โคสาวี หรือโดยลูกหลานของท่าน จินมณีมนเทียรได้รับการทำนุบำรุงอย่างดีโดยกษัตริย์เปษว (Peshwa) โดยเฉพาะพระเจ้ามธวเราที่หนึ่ง (Madhavrao I; 1745–1772) ผู้ทรงทำนุบำรุงและสร้างโครงสร้างต่าง ๆ ในมนเทียร

เถอูร์ (Theur) ตั้งอยู่ในแขวง (ตลุกะ; taluka) หาเวลีตลุกะ (Haveli taluka) ของอำเภอปูเน[2] ใกล้กับจุดที่แม่น้ำภิมา (Bhima) กับแม่น้ำมูลมุถ (Mula-Mutha) มาบรรจบกัน[1]

ความสำคัญ[แก้]

เถอูร์นั้นเป็นมนเทียรลำดับที่ห้าจากแปดมนเทียรตามอัษฏวินายกยาตรา (การจาริกแสวงบุญตามอัษฏวินายกทั้งแปดแห่ง) แต่ผู้จาริกแสวงบุญนิยมเดินทางมาสักการะมนเทียรนี้เป็นลำดับที่สองถัดจากที่โมรคาว (Morgaon) เนื่องจากเป็นเส้นทางที่เดินทางได้สะดวกกว่า[3]

ในคัมภีร์มุทคลปุราณะ (Mudgala Purana) ระบุว่า พระเจ้าคณะ, คุณะ หรือ คนสุระ (Gana or Guna or Ganasura)[2] เป็นบุตรของพระเจ้าอภิชิต (Abhijit) และพระนางคุณวตี (Gunavati) พระเจ้าคุณะเป็นกษัตริย์ที่แข็งแกร่งแต่หัวร้อน และเป็นกษัตริย์นักรบ พระองค์บูชาพระศิวะ พระบิดาของพระคเณศ พระศิวะจึงเมตตาประทานให้พระเจ้าคุณะได้ปกครองสามโลก สวรรค์ โลกมนุษย์ และโลกบาดาล และได้ให้ประกาศิตว่าพระเจ้าคณะจะไม่สามารถถูกสังหารได้ ครั้งหนึ่งพระคณะและบริวารได้เดินทางไปถึงอาศรมของฤาษีกปิล (Kapila) ผู้ครอบครองอัญมณีศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถประสาทคำขอได้ "จินตมณี" ฤาษีกปิลต้อนรับพระเจ้าคณะและบริวารด้วยอาหารเลิศรสซึ่งสร้างขึ้นดวยพลังของจินตมณี ด้วยความโลภที่อยากครอบครองจินตมณี แต่ฤาษีกปิลปฏิเสธ พระเจ้าคณะได้ยึดอัญมณีนั้นมาจากฤาษี ฤาษีกปิลผู้ศรัทธาในพระพิฆเนศจึงสวดภาวนาให้พระคเณศทรงช่วยนำอัญมณีนั้นกลับมา พระพิฆเนศและกองทัพองพระองค์ปรากฏในฝันของพระเจ้าคณะ ที่ซึ่งในฝันนั้นมีทหารนายหนึ่งได้ตัดศีรษะของพระเจ้าคณะ พระเจ้าคณะทรงตื่นขึ้นและกรีฑาทัพตรงไปยังอาศรมของฤาษีกปิล โดยมีเป้าหมายเพื่อจะสังหารฤาษีเสีย พระเจ้าอภิชิตผู้เป็นบิดาทรงพยายามห้ามปรามและแนะนำให้คืนจินตมณีกลับไปแก่ฤาษี แต่พระเจ้าคณะทรงไม่เชื่อฟังและเข้าทำลายอาศรมของฤาษีกปิล พระพิฆเนศเสด็จลงมาสังหารพระเจ้าคณะโดยการตัดศีรษะ และพระนางสิทธิ ศักติของพระคเณศเป็นผู้ทรงเนรมิตกองทักกว่าพันคนเข้ากำจัดกองทัพของพระเจ้าคณะ หลังจากนั้นพระคเณศทรงนำจินตมณีคืนให้แก่ฤาษีกปิล แต่ฤาษีเลือกที่จะถวายจินตมณีนั้นให้กับพระคเณศแทน[4]

ชื่อ "เถอูร์" (Theur) นั้นมาจากภาษาสันสกฤต "สถาวร" (Sthavar; स्थावर) แปลว่ามั่นคง ในอีกตำนานหนึ่งเล่าว่าพระพรหมได้ทรงทำสมาธิที่นี่ และจิตอันไม่ได้พักผ่อนของพระองค์ได้ "สถาวร" ที่นี่ด้วยพระพรจากพระคเณศ เนื่องจากพระคเณศได้ทรงช่วยให้พระพรหมหลุดพ้นจาก "จินตะ" (ความกังวล) ของพระองค์ จึงเป็นที่เรียกขานว่า "จินตมณี"[5] ในอีกตำนานหนึ่งเล่าว่าพระอินทร์ได้บูชาขอพรพระคเณศภายใต้ต้น Kadamba ให้พระองค์หลุดพ้นจากคำสาปของเคาตมะมหาฤษี (Gautama Maharishi) ที่นี่จึงเป็นที่รู้จักในชื่อ Kadamaba นคร แปลว่าเมืองแห่งต้น Kadamba[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ satguru
  2. 2.0 2.1 2.2 Singh, Sanjay (2009). Yatra2Yatra. ICEM Communications (P) Ltd. pp. 217–8. ISBN 978-81-908569-0-4.
  3. Anne Feldhaus. "Connected places: region, pilgrimage, and geographical imagination in India". Palgrave Macmillan. pp. 142, 145–6. ISBN 978-1-4039-6324-6. สืบค้นเมื่อ 13 January 2010.
  4. Grimes pp. 118–9
  5. "SHREE CHINTAMANI – THEUR". Ashtavinayaka Darshan Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2011. สืบค้นเมื่อ 20 August 2011.

บรรณานุกรม[แก้]