จิตวิทยาการรู้คิด
หน้าตา
จิตวิทยาการรู้คิด (อังกฤษ: cognitive psychology) คือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับประชาน เช่น ความใส่ใจ การใช้ภาษา ความจำ การรับรู้ การแก้ปัญหา การสร้างสรรค์ และการใช้เหตุผล[1] จิตวิทยาการรู้คิดมีต้นกำเนิดในช่วง ค.ศ. 1960 ซึ่งเป็นการแตกหักจากแนวคิดพฤติกรรมนิยมซึ่งอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1920 ถึง ค.ศ. 1950 โดยกระบวนการทางจิตที่ไม่สามารถสังเกตได้นั้นอยู่นอกขอบเขตของประสบการณ์นิยม การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อนักวิจัยด้านภาษาศาสตร์และไซเบอร์เนติกส์ รวมถึงจิตวิทยาประยุกต์ ใช้แบบจำลองของการประมวลผลทางจิตเพื่ออธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ ผลงานที่ได้รับจากจิตวิทยาการรู้คิดได้รับการรวมเข้ากับสาขาอื่น ๆ ของจิตวิทยา และสาขาวิชาสมัยใหม่อื่น ๆ เช่น ประชานศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "American Psychological Association (2013). Glossary of psychological terms". Apa.org. สืบค้นเมื่อ 2014-08-13.