ข้ามไปเนื้อหา

จิตรพล ณ ลำปาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จิตรพล ณ ลำปาง
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 – 21 เมษายน พ.ศ. 2522
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
24 เมษายน พ.ศ. 2526 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กันยายน พ.ศ. 2462
เสียชีวิต17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 (84 ปี)
สัญชาติไทย
ศาสนาเถรวาท
พรรคการเมืองประชากรไทย
บุพการี
  • บุญเย็น ณ ลำปาง (บิดา)
  • เจ้าม้วน ณ ลำปาง (มารดา)
ญาติเจ้าพรหมาภิพงษธาดา (ทวด)
การศึกษาวิทยาลัยการทัพบก
อาชีพทหาร, นักการเมือง
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด
ยศ พลโท
บังคับบัญชาศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย

พลโท จิตรพล ณ ลำปาง (15 กันยายน พ.ศ. 2462 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชากรไทย 3 สมัย เป็นนักศึกษาวิทยาลัยการทัพบกรุ่นที่ 9 รุ่นเดียวกับพลเอก เทียนชัย ศิริสัมพันธ์ และนาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ[1] และมีศักดิ์เป็นหลานของหลวงพ่อเกษม เขมโก รวมทั้งมีบทบาทในการจัดสร้างวัตถุมงคลหลายครั้ง

ประวัติ

[แก้]

พล.ท.จิตรพล เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2462[2] เป็นบุตรชายคนแรกของนายบุญเย็น ณ ลำปางกับเจ้าม้วน ณ ลำปาง ธิดาเจ้าหญิงอินท์ประสงค์ ณ ลำปาง พระธิดาในเจ้าพรหมาภิพงษธาดา สำเร็จการศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิต จาก โรงเรียนเสนาธิการทหารบก

การทำงาน

[แก้]

พล.ท.จิตรพล รับราชการในสังกัดกองทัพบก เคยดำรงตำแหน่งผู้บังคับศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย

งานการเมือง

[แก้]

พล.ท.จิตรพล เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2520 ภายหลังการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร โดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ซึ่งนำโดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ในนามพรรคประชากรไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. รายชื่อศิษย์เก่าวิทยาลัยการทัพบก รุ่นที่ 9[ลิงก์เสีย]
  2. ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2532. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2532
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๙๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๖ สิงหาคม ๒๕๑๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๑๑ ง หน้า ๒๙๔๐, ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๙, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑๓ มีนาคม ๒๕๑๓