จิตรคุปตมนเทียร (ขชุราโห)

พิกัด: 24°51′16″N 79°55′12″E / 24.8544234°N 79.9200664°E / 24.8544234; 79.9200664
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จิตรคุปตมนเทียร
चित्रगुप्त मन्दिर
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตฉตารปุระ
เทพพระสุริยะ
ที่ตั้ง
ที่ตั้งขชุราโห
รัฐมัธยประเทศ
ประเทศอินเดีย
จิตรคุปตมนเทียร (ขชุราโห)ตั้งอยู่ในรัฐมัธยประเทศ
จิตรคุปตมนเทียร (ขชุราโห)
ที่ตั้งในรัฐมัธยประเทศ
จิตรคุปตมนเทียร (ขชุราโห)ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
จิตรคุปตมนเทียร (ขชุราโห)
จิตรคุปตมนเทียร (ขชุราโห) (ประเทศอินเดีย)
พิกัดภูมิศาสตร์24°51′16″N 79°55′12″E / 24.8544234°N 79.9200664°E / 24.8544234; 79.9200664
สถาปัตยกรรม
เริ่มก่อตั้งศตวรรษที่ 11

จิตรคุปตมนเทียร (Chitragupta temple) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 11 เพื่อบูชาพระสุรยะ ตั้งอยู่ในเมืองขชุราโห รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย ในทางสถาปัตยกรรมแล้วมีลักษณะที่คล้ายเคียงมากกับเทวีชรทัมพีมนเทียรซึ่งตั้งอยู่ใกล้กัน

ประวัติ[แก้]

จากหลักฐานทางจารึกพบว่าการก่อสร้างของมนเทียรน่าจะมีขึ้นในราวปี 1020-1025 และน่าจะมีการวางศิลาฤกษ์ในวนัที่ 23 กุมภาพันธ์ 1023 ในโอกาสของพิธีศิวราตรี[1]

สถาปัตยกรรม[แก้]

จิตรคุปตมนเทียรมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับเทวีชคทัมพีมนเทียรซึ่งตั้งอยู่ใกล้กัน มีครรภคฤห์ที่มีพื้นที่สำหรับปริกรม, ซุ้มหน้าประตู, มหามณฑป และโถงทางเข้า โถงหลักมีเพดานเป็นการออกแบบในรูปแปดเหลี่ยม ตกแต่งอย่างวิจิตรมากกว่าชคทัมพีมนเทียร จึงเป็นไปได้ว่าจิตรคุปตมนเทียรนี้สร้างขึ้นภายหลังไล่เลี่ยกัน[2] ส่วนหลังคาที่เป็นลักษณะไล่ระดับนั้นไม่ได้โดดเด่นหากเทียบกับมนเทียรอื่น ๆ ในขชุราโห[3]

เทวรูป[แก้]

ภายในครรภคฤห์ประดิษฐานเทวรูปที่ปรักหักพังเล็กน้อยสูง 2.1 เมตร (6.9 ฟุต) เป็นรูปเคารพของพระสุรยะประทับยืนบนราชรถม้าเจ็ดตัว ทรงเครื่องประดับและทรงถือดอกบัว บนขื่อหระตูของครรภคฤห์ปรากฏรูปสลักของพระสุรยะในลักษณะใกล้เคียงกัน[4][2]

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Ali Javid; Tabassum Javeed (2008). World Heritage Monuments and Related Edifices in India. Algora. ISBN 978-0-87586-482-2.
  • "Chitragupta Temple". Archaeological Survey of India, Bhopal Circle. สืบค้นเมื่อ 2016-11-16.
  • "Alphabetical List of Monuments - Madhya Pradesh". Archaeological Survey of India, Bhopal Circle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-11-16.
  • Deepak Kannal (1995). "Khajuraho: beginning of new iconological cycle". ใน R. T. Vyas (บ.ก.). Studies in Jaina Art and Iconography and Allied Subjects. Abhinav Publications. ISBN 978-81-7017-316-8.
  • Margaret Prosser Allen (1991). Ornament in Indian Architecture. University of Delaware Press. ISBN 978-0-87413-399-8.
  • Rana P. B. Singh (2009). Cosmic Order and Cultural Astronomy. Cambridge Scholars. ISBN 9781443816076.