จาตุรันต์ ศิริพงษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร

คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำรงตำแหน่งคณบดีวาระที่ 2

“วิสัยทัศน์ที่ดีนั้นต้องมีความก้าวล้ำ ไม่ใช่แค่ก้าวทัน และต้องไม่ใช่สิ่งที่เราทำได้ดีอยู่แล้ว แต่ต้องเป็นจุดหมายที่เรายังไม่เคยไปมาก่อนเพื่อท้าทายเราฝันให้ใหญ่ และไปให้ถึงความเป็นเลิศ” จาก..ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจและองค์กรจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ


ประวัติการศึกษา

● ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต(เกียรตินิยม) (สาขาการเงินและการธนาคาร), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

● ปริญญาโท Master of Public and Private Management, Yale University, USA

● ปริญญาโท Master of Business Administration, Yale University, USA

● Certificate in Human Resource Management, Harvard University, USA

● DPhil (Management Studies), University of Oxford, UK


สู่…ความเชี่ยวขาญ ด้านการบริหารธุรกิจและองค์กรจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ

–––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––

ประวัติการทำงาน

● ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ สาขาบริหารธุรกิจ สังกัดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ.2564

● คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วาระที่ 1 ตั้งแต่ พ.ศ.2562 ถึง เมษายน 2566

● คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วาระที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ.2566 ถึงปัจจุบัน

● อดีตหัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 2 วาระ ปี พ.ศ.2557-2562

● อดีตประธานคณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

● อดีตรองประธานคณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

● อดีตรองประธานกรรมการดำเนินงานหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

● อดีตหัวหน้าหน่วยงานสื่อสารองค์กร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

● อดีตกรรมการดำเนินงานหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

● กรรมการสภามหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565 ถึงปัจจุบัน

● คณะกรรมการนโยบายการเงิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

● คณะกรรมการพิจารณากำหนดตำแหน่งเชี่ยวชาญระดับต้น เชี่ยวชาญระดับกลาง และเชี่ยวชาญระดับสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

● คณะกรรมการประกันคุณภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

● คณะกรรมการอำนวยการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลังของมหาวิทยาลัย

● อดีตผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ระดับนานาชาติ

● กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก AACSB (Association to Advance Collegiate Schools of Business)

● สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ จากสหรัฐอเมริกา

● กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก EQUIS (EFMD Quality Improvement System)

● สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ จากสหภาพยุโรป

● กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก AMBA (Association of MBAs)

● สถาบันรับรองมาตรฐานหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับบัณฑิตศึกษา จากสหราชอาณาจักร

● ประธานกรรมการวิจัยร่วมกับ The World Economic Forum : WEF ในส่วนของการทำวิจัยในประเทศไทย

● กรรมการตัดสินในงานระดับโลก Youth4South Entrepreneurship Competition at United Nations จาตุรันต์ ศิริพงษ์ (19 ตุลาคม พ.ศ. 2494 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542)[1] เป็นชาวไทยที่ถูกรัฐแคลิฟอร์เนียลงโทษประหารชีวิต เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2524 ในคดีฆาตกรรมสองศพ ระหว่างการโจรกรรมในเมืองการ์เดนโกรฟ รัฐแคลิฟอร์เนีย จาตุรันต์ยืนยันว่าเขาเกี่ยวข้องกับการโจรกรรม แต่ไม่ใช่ผู้ลงมือฆ่า ในที่สุด เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดและถูกตัดสินประหารชีวิตในปี พ.ศ. 2526 และต่อมาถูกประหารชีวิตในปี พ.ศ. 2542 ที่ เรือนจำซานเควนติน ด้วยการฉีดยาพิษ นับเป็นอาชญากรชาวไทยคนแรกที่ถูกประหารชีวิตในสหรัฐอเมริกา[2][3]

ชีวิตในวัยเด็ก[แก้]

จาตุรันต์เกิดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ที่ประเทศไทย[4] ในครอบครัวที่ยากจน โดยอาศัยอยู่ในซ่องหลังจากที่พ่อแม่หย่าร้างกัน เขาเติบโตโดยถูกทารุณกรรมทางร่างกายและเติบโตสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยหนู รวมถึงไม่มีไฟฟ้าหรือน้ำประปาให้ใช้ เมื่ออายุได้ 20 ปี เขาถูกยิงที่ศีรษะขณะปล้นห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในประเทศไทย เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานมีส่วนร่วมในการโจรกรรมและถูกคุมขังในเรือนจำในประเทศไทย[5] หลังจากที่เขาถูกปล่อยตัวจากเรือนจำเนื่องจากมีความประพฤติดี เขาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ต่อมาเขาได้งานเป็นพ่อครัวบนเรือบรรทุกสินค้า หลังจากนั้นเขาได้ช่วยเหลือหน่วยงานด้านยาเสพติดของสหรัฐในปฏิบัติการล่อซื้อ ทำให้ได้รับเงินสำหรับใช้ตั้งตัวในสหรัฐ[6]

คดีฆาตกรรม[แก้]

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2524 พบศพของ แพทโคเวน วัฒนาพร ผู้จัดการร้าน อายุ 36 ปี และ ควอช เหงียน พนักงานร้าน อายุ 52 ปี ในห้องเก็บของของร้านค้าปลีกในเมืองการ์เดนโกรฟ รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยสภาพศพของผู้จัดการร้านถูกรัดคอจนเสียชีวิต ขณะที่พนักงานร้านถูกแทงหลายครั้งที่ศีรษะและคอ[2]

การจับกุม และการพิจารณาคดี[แก้]

รูปถ่ายหน้าตรงของจาตุรันต์ในปี พ.ศ. 2526 ของเรือนจำซานเควติน

สองวันต่อมา วันที่ 17 ธันวาคม จาตุรันต์พยายามซื้อสินค้าโดยใช้บัตรเครดิตของผู้จัดการร้านที่เสียชีวิต ตำรวจจึงจับกุมตัวเขาและนำตัวเขาไปสอบปากคำ นอกจากนี้คราบเลือดที่พบในที่เกิดเหตุก็ตรงกับกรุ๊ปเลือดของจาตุรันต์ และเขามีบาดแผลที่นิ้วหลายจุด ต่อมาพบว่า ในบางครั้งเขาก็ทำงานที่ร้านค้าเดียวกันนั้น[7] การค้นหาที่รถ และบ้านของเขาเผยให้เห็นว่าเขาเป็นเจ้าของมีดที่คล้ายกับอาวุธที่ใช้ฆ่าพนักงานร้าน นอกจากนี้ยังมีการค้นพบเครื่องประดับของผู้จัดการร้านที่เสียชีวิตหลายชิ้น รวมถึงพบหยดเลือดแห้งเปื้อนอยู่ในรถของเขา[2]

จาตุรันต์ถูกตัดสินเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2526 ว่ามีความผิดฐานลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ และฆาตกรรม คณะลูกขุนเทศมณฑลออเรนจ์ ลงความเห็นให้ตัดสินประหารชีวิต[2]

จาตุรันต์ให้การยอมรับว่าเขามีส่วนร่วมในการปล้น แต่มักจะอ้างว่าการฆาตกรรมเกิดขึ้นโดยผู้สมรู้ร่วมคิดทว่าไม่ได้ซัดทอดไปยังบุคคลดังกล่าว ทนายฝ่ายจำเลยของเขากล่าวว่า ผู้สมรู้ร่วมคิดของเขาคือน้องสาววัย 17 ปีของแฟนสาว ซึ่งเป็นพยานคนสำคัญในการพิจารณาคดีของเขา แต่เธอได้กลับประเทศไทยไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 ผู้พิพากษาของรัฐบาลกลางได้ทำการไต่สวนอยู่ 8 วัน และไม่พบหลักฐานที่สนับสนุนว่าจาตุรันต์มีผู้สมรู้ร่วมคิด[8]

การประหารชีวิต[แก้]

เดิมทีจาตุรันต์มีกำหนดประหารชีวิตในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2541 แต่ผู้พิพากษาของรัฐบาลกลางสหรัฐ มีมติให้ระงับการประหารชีวิตไว้ ต่อมาในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ผู้พิพากษาศาลสูงเทศมณฑลออเรนจ์ได้ลงนามในคำสั่งบังคับคดีสำหรับจาตุรันต์อีกครั้ง โดยกำหนดประหารชีวิตในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542[9]

ประชาชนหลายกลุ่มพยายามอุทธรณ์การประหารชีวิตของเขา ซึ่งรวมถึงสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 สามีซึ่งนับถือศาสนาพุทธของผู้จัดการร้านที่เสียชีวิต คณะลูกขุนสองคนในการพิจารณาคดีของเขา และอดีตผู้คุมเรือนจำซานเควนติน (แม้ว่าจะสนับสนุนให้คงมีการประการชีวิต แต่ได้พยายามไว้ชีวิตในกรณีของจาตุรันต์) รัฐบาลไทย ยังขอให้ไว้ชีวิตจาตุรันต์และให้เขากลับมารับโทษจำคุกตลอดชีวิตที่ประเทศไทย เกรย์ เดวิส ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียในขณะนั้น ปฏิเสธข้อเสนอและคำร้องขอที่เกี่ยวข้องกับจาตุรันต์[10] โดยกล่าวว่า "พฤติกรรมแบบอย่างที่ดี (ของจาตุรันต์) ไม่สามารถนำชีวิตของเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายสองคนกลับคืนมาได้"[11] แม้ว่าหลายภาคส่วนจะไม่เห็นด้วยกับการประหารชีวิต แต่ก็มีกลุ่มคนที่สนับสนุน รวมทั้งลูกชายของ ผู้จัดการร้านที่เสียชีวิตด้วย โดยเขากล่าวว่า “จาตุรันต์ควรชดใช้ในสิ่งที่เขาทำ”[12]

เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 จาตุรันต์ถูกประหารชีวิตในเรือนจำซานเควนตินด้วยการฉีดสารพิษ[13] อาหารมื้อสุดท้ายของเขาประกอบด้วย ชาเย็น Lucky Arctic สองกระป๋อง และลูกพีชกระป๋อง Mission Pride สองถ้วย[14] เขามิได้สั่งเสียอะไรในห้องประหารชีวิต[15] และถูกประกาศว่าเสียชีวิตในเวลา 00.19 น.[16] ในคืนที่เขาถูกประหารชีวิต พื้นที่รอบนอกเรือนจำซานเควนติน มีผู้ต่อต้านโทษประหารชีวิตปะทะกับผู้สนับสนุนโทษประหารชีวิตอย่างรุนแรง จนทำให้ตำรวจเทศมณฑลมารินต้องแยกทั้งสองกลุ่มออกจากกัน[17] ระหว่างที่เขารอรับโทษประหารชีวิต จาตุรันต์ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นนักโทษต้นแบบ เขาเชื่อว่าเขาจะกลับชาติมาเกิดหลังจากการประหารชีวิต ทั้งนี้ เขาประสงค์ที่จะเผาและโปรยอัฐิของเขาลงในทะเล[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Death Penalty Stats" (XLS). Death Penalty Information Center. สืบค้นเมื่อ December 19, 2021.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Executed Inmate Summary – Jaturun Siripongs". California Department of Corrections and Rehabilitation. สืบค้นเมื่อ December 19, 2021.
  3. "People v. Siripongs (1988)". Justia Law (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-07.
  4. "Capital Punishment". California Department of Corrections and Rehabilitation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 11, 2014. สืบค้นเมื่อ December 19, 2021.
  5. Marosi, Richard; Hernandez, Greg (February 9, 1999). "Convicted Killer Siripongs Put to Death". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-19. สืบค้นเมื่อ December 19, 2021.
  6. 6.0 6.1 Hatfield, Larry D. (February 9, 1999). "Siripongs put to death". San Francisco Chronicle. สืบค้นเมื่อ December 19, 2021.
  7. "National News Briefs; California Executes A Remorseful Killer". The New York Times. February 10, 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-19. สืบค้นเมื่อ December 19, 2021.
  8. Salladay, Robert (February 7, 1999). "Governor refuses mercy for killer". San Francisco Examiner. pp. 1, 14. สืบค้นเมื่อ December 21, 2021 – โดยทาง Newspapers.com.
  9. "New execution order signed for killer who got reprieve". The Sacramento Bee. December 15, 1998. p. 2. สืบค้นเมื่อ December 21, 2021 – โดยทาง Newspapers.com.
  10. "Governor Rejects Clemency For Murderer From Thailand". Chicago Tribune. February 7, 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-19. สืบค้นเมื่อ December 19, 2021.
  11. Gumbel, Andrew (February 8, 1999). "Buddhist monk to be executed in California". The Independent. สืบค้นเมื่อ December 19, 2021.
  12. Hatfield, Larry D. (February 9, 1999). "Pope's plea can't halt San Quentin execution". San Francisco Examiner. pp. 1, 12. สืบค้นเมื่อ December 21, 2021 – โดยทาง Newspapers.com.
  13. "California executes former monk for killing 2". Deseret News. February 9, 1999. สืบค้นเมื่อ December 19, 2021.
  14. Dillow, Gordon (December 11, 2005). "The killers die too easy and too full in this state". Orange County Register. สืบค้นเมื่อ December 19, 2021.
  15. Fimrite, Peter (February 9, 1999). "Double-Slayer Dies at San Quentin / Ex-Buddhist monk executed despite appeal by pope". SFGATE (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ January 5, 2022.
  16. Dougan, Michael (February 9, 1999). "Eerie echoes rattle state death chamber". San Francisco Examiner. pp. 1, 12. สืบค้นเมื่อ December 21, 2021 – โดยทาง Newspapers.com.
  17. Warren, Mackenzie (February 9, 1999). "Heckling, fistfights erupt at death penalty vigil". San Francisco Examiner. p. 12. สืบค้นเมื่อ December 21, 2021 – โดยทาง Newspapers.com.